การควบคุมคุณภาพในความหมายง่ายๆ คือ การทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีการควบคุมคุณภาพในการผลิตสินค้าย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้จะคุ้มค่าหากสามารถลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น และกำไรเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่า สินค้าคุณภาพต่ำ หรือคุณภาพสูง กับค่าใช้จ่ายต่ำ และค่าใช้จ่ายสูง สองสิ่งนี้นี้จุดพอดีอยู่ตรงจุดใด และตัวแปรสำคัญในการควบคุมคุณภาพและต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งคือ บรรจุภัณฑ์ เพราะในการบรรจุภัณฑ์สินค้านั้น หากเกิดความเสียหายหรือผิดพลาดแล้วย่อมทำให้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้า
ในเรื่องต้นทุนบรรจุภัณฑ์กับความเสียหายของสินค้านั้น จะมีจุดความเสียหายที่สามารถยอมรับได้อยู่ หากปริมาณความเสียหายที่เกิดจากการบรรจุภัณฑ์เกินกว่านั้นถือว่ารับไม่ได้ กล่าวคือ การบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าได้ในจุดที่พอดี ถือว่า ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่ำเกินไป Under Packaging ถือว่าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถคุ้มครองคุณภาพสินค้าได้ แต่ถ้าต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงเกินไปทำให้เกิดความเสียหายน้อยแต่ต้องใช้เงินลงทุนเรื่องบรรจุภัณฑ์สูง over packaging ก็นับเป็นจุดที่รับไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น จุดที่ผู้ผลิตต้องการ รับได้ และสมเหตุสมผลน่าจะเป็นการบรรจุภัณฑ์ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายในปริมาณที่ยอมรับได้ แต่มีต้นทุนที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด
ดังนั้น ในการควบคุมคุณภาพการบรรจุภัณฑ์มีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่า วัตถุดิบที่สั่งเข้ามาตรงตามคุณภาพที่ต้องการ เพราะหากวัตถุดิบที่ใช้ไม่ต้องตามคุณภาพที่ต้องการจะก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ประการที่สอง ต้องมั่นใจว่า ภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ตรงตามคุณภาพที่ต้องการและจะสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตัวอย่างเช่น หากสั่งเม็ดพลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพมาผลิตถุงพลาสติกไปเข้าเครื่องจักร และทำให้เครื่องจักรหยุดชะงัก ก็จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ประการที่สาม มั่นใจว่าสินค้าสำเร็จรูปถูกต้อง และผู้ใช้รวมถึงผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด กล่าวคือ สินค้าคุณภาพดีที่สุด แต่ราคาสูงเกินไปก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้ แต่ในราคาต้นทุนที่เหมาะและได้คุณภาพสินค้าที่ดีที่สุดคุ้มกับต้นทุนนั้น เป็นเรื่องที่จะทำความพอใจให้ลูกค้ามากที่สุด
ในการใช้บรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องมีการตั้งข้อกำหนดคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ไว้ เพราะ ผู้ผลิตต้องสร้างความมั่นใจว่า บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน และใช้งานได้ดีกับเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความเข้าใจผิดทางด้านเทคนิค และการจัดส่งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นหลักฐานเมื่อมีการเรียกร้องในภายหลัง และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดซื้อในการเสาะหาผู้ผลิต และสามารถเปรียบเทียบข้อเสนอที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ควรจะประกอบด้วย
-ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุ คุณลักษณะเฉพาะ วิธีการบรรจุพร้อมเงื่อนไข และความต้องการในการปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่ง (ข้อมูลนี้จำเป็นที่สุดสำหรับข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์) เช่น หากเป็นสินค้าอาหาร ต้องพิจารณาแยกด้วยว่าอาหารนั้นมีลักษณะทางกายภาพอย่างไร เป็นของเหลวหรือของแห้งซึ่งย่อมมีคุณลักษณะจำเพาะของแต่ละชนิด และบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมกับลักษณะของสินค้าแต่ละชนิดด้วย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความต้องการในการปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่งด้วย เช่น หากส่งสินค้าในประเทศควรจะบรรจุภัณฑ์คุณภาพระดับหนึ่ง แต่ถ้าส่งไปต่างประเทศจะต้องเพิ่มระดับการป้องกันมากกว่าเดิม เป็นต้น
-การออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ปริมาณ / ปริมาตรที่จะบรรจุ พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ ในการบรรจุภณฑ์ต้องคำนึงถึงปริมาตรที่แตกต่างของสินค้าที่จะบรรจุในบรรจุภัณฑ์ด้วย ตัวอย่างเช่น ในกรณีบรรจุอาหาร น้ำที่อัดก๊าซ จะต้องมีช่องว่างระหว่างผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในถึงปากขวด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์บางอย่าง ซึ่งผู้ผลิตต้องศึกษาให้ดี
-เกรดของวัตถุดิบ คุณภาพ น้ำหนักมาตรฐาน และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกรดของพลาสติกที่จะนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร เช่น บางบริษัท อาจจะต้องซื้อพลาสติกจากเม็ดพลาสติกใหม่เท่านั้น ไม่ใช้พลาสติกที่เกิดจากการนำมา recycle ใหม่ น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษที่จะนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
-โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ถ้าจำเป็นควรมีภาพวาดประกอบ
-มิติของบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ มีมิติมากน้อยเพียงใด ต้องมีส่วนแตกต่างที่เป็นช่องว่างระหว่างบรรจุภัณฑ์กับสินค้าหรือไม่แค่ไหน เนื่องจากจะต้องวัดกระดาษที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์อันจะมีผลต่อการสั่งซื้อวัตถุดิบให้พอดีกับปริมาณสินค้า เพื่อลดการสิ้นเปลือง สูญเสีย เป็นต้น
-คุณลักษณะพิเศษ ส่วนประกอบ และอื่นๆ
-การออกแบบทางกราฟฟิค/รายละเอียดข้อแนะนำสำหรับการพิมพ์หรือการตกแต่งๆ อื่นๆ
-ปริมาณที่ต้องการ / สั่งซื้อ
-กำหนดวันส่งมอบที่ต้องการ / ตกลงกัน
-ข้อแนะนำสำหรับการบรรจุและการส่งของจากผู้ผลิตมายังผู้ซื้อ
-ราคาตามที่ตกลง
-เงื่อนไขในการส่งมอบ
ในการบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญในการคัดเลือกวัสดุที่จะนำมาทำบรรจุภัณฑ์ โดยควรจะต้องทำการทดสอบคุณภาพของวัสดุก่อน โดยศึกษาคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุหรือตัวผลิตภัณฑ์ ต้องมีการตรวจเช็คตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ก่อนการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ใดๆ จะต้องรู้ถึงจุดมุ่งหมายในการทดสอบ เนื่องจากการทดสอบมีหลายวิธี แต่ละวิธีกำหนดมาตรฐานและวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน แม้จะว่าจะใช้เครื่องมือทดสอบอย่างเดียวกัน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การทดสอบบรรจุภัณฑ์มีจุดมุ่งหมาย คือ
-เปรียบเทียบวัสดุต่างชนิดกัน โดยทำการทดสอบพร้อมๆ กัน
-ควบคุมคุณภาพของวัสดุที่ใช้จริงกับวัสดุที่เคยผ่านการทดสอบมาแล้วโดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการทดสอบต่างชนิดและต่างวาระกัน
-ศึกษาถึงคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุหรือตัวบรรจุภัณฑ์ เช่น การทดสอบความสามารถทนแรงกดในแนวดิ่ง เพื่อจำลองรับน้ำหนักขณะเรียงซ้อนของสินค้า เป็นต้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกงวดสินค้าที่ทำการส่ง มักจะมีบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเสียหายอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งผู้ผลิตต้องพิจารณาเพื่อการจัดขั้นลำดับความเสียหาย จำนวนชิ้นของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ในการดำเนินงานปกติ และการตั้งระเบียบหรือข้อกำหนดสำหรับการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้จะต้องมีการสุ่มตัวอย่างของการประเมินคุณภาพ จะมีการแบ่งประเภทชั้นของความเสียหายในขณะส่งมอบออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ระดับ A : ความเสียหายระดับวิกฤติ คือ ความเสียหายที่สินค้าหรือวัสดุมีความเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ แต่ยังสามารถนำมาใช้ตามจุดประสงค์เดิม หรือตามจุดประสงค์รองดดยการแก้ไขปรับปรุงบางอย่าง เช่น การใช้แรงงานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์นั้นทำการแก้ไข
ระดับ B : ความเสียหายระดับใหญ่ คือ สินค้าหรือวัสดุมีความเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ แต่ยังสามารถนำมาใช้ตามจุดประสงค์เดิมหรือตามจุดประสงค์รอง โดยการแก้ไขปรับปรุงงานบางอย่าง เช่น ใช้แรงงานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์นั้นทำการแก้ไข
ระดับ C : เป็นความเสียหายระดับเล็ก คือ ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือวัสดุแตกต่างจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในด้านเทคนิค แต่ยังสามารถทำตามหน้าที่ได้
ในความเสียหายระดับวิกฤตินั้น สินค้าจะนำมาใช้ไม่ได้ หากเป็นในต่างประเทศ สินค้าล็อตนั้นจะถูกปฏิเสธหมด ส่วนการเสียหายในระดับใหญ่ สินค้ายังใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิมอาจจะต้องมีการคัดออกในส่วนที่เสียหาย ส่วนความเสียหายระดับเล็ก เช่น ฉลากเลือน แต่บังใช้ได้ ถ้าผู้ผลิตยอม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตต้องกำหนดคุณภาพเอง จะมีการสุ่มตัวอย่างสินค้าออกมาตรวจสอบ หากพบสินค้าที่เสียหายจะตั้งไว้ว่าพบกี่ชิ้นจึงจะเป็นความเสียหายระดับวิกฤติ ระดับใหญ่ หรือระดับเล็ก
ตารางตัวอย่างการตรวจสอบมาตรฐานระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์สินค้า
จำนวนใน 1 ล็อต จำนวนตัวอย่าง ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ (AQL)
(ชิ้น) (ชิ้น) 0.1% 0.65% 1.0% 2.5% 4.0% 6.5%
Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Rc
50-1,200 80 0 1 1 2 2 3 5 6 7 8 10 11
1,201-3,200 125 0 1 2 3 3 4 7 8 10 11 14 15
3,201 - 10,000 200 0 1 3 4 5 6 10 11 14 15 21 22
10,001-35,000 315 1 2 5 6 7 8 14 15 21 22 21 22
35,001-150,000 500 1 2 7 8 10 11 21 22 21 22 21 22
150,001-500,000 800 2 3 10 11 14 15 21 22 21 22 21 22
มากกว่า 500,000 1,250 3 4 14 15 21 22 21 22 21 22 21 22
AQL = เปอร์เซนต์สูงสุดของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ใน 1 ล็อต
Ac = ล็อตที่ยอมรับถ้าจำนวนชิ้นตัวอย่างที่พบว่าเสียหายไม่เกินกว่าตัวเลขที่กำหนด
Re = ล็อตที่ไม่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบเสียหายเท่ากับหรือเกินกว่าตัวเลขที่ กำหนด
ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยรอบด้าน ทั้งเรื่องคุณภาพ และต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบรรจุ ทำอย่างไรที่จะควบคุมคุณภาพสินค้าที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์ให้ดีที่สุดที่พอเหมาะกับต้นทุน การปิดผนึก เช็คตะเข็บ เก็บกลิ่น สามารถขนส่งได้โดยปลอดภัยกี่ช่องทางก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบรรจุนั้นจะต้องสามารถยืดอายุของผลิตภัณฑ์ได้นานพอเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะในเรื่องของการออกแบบให้รักษาคุณภาพและดึงดูดความสนใจนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลานาน และงบประมาณสูง แต่วิธีง่ายๆ ที่ผู้ประกอบการ SMEs จะสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ได้ มีอยู่ 3 วิธีคือ
-การสำรวจดูคู่แข่งขันในตลาด เช่น จะทำบรรจุภัณฑ์ซ๊อส จะต้องไปสำรวจตัวฉลากของซ๊อสต่างๆ ว่าในตลาดเป็นอย่างไร พิมพ์กี่สี แล้วนำมาประยุกต์ปรับปรุงของตัวเอง
-ขอซื้อแบบบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่เราไม่สามารถพัฒนาได้เองในประเทศ ซึ่งราคาแพงมาก
-พัฒนาขึ้นเอง แต่ข้อนี้จะต้องใช้ระยะเวลา
แนวโน้มของการบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมคุณภาพนั้น จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์กับตัวงบประมาณการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จะต้องคุ้มกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ผลกำไรที่ได้รับ และความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
อ้างอิงข้อมูลจาก : "SMEs กับกลยุทธ์การควบคุมคุณภาพ" โดย อ.สมพร คงเจริญเกียรติ
จากงานสัมมนาอุตสาหกรรมทั่วไทย จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กรกฏาคม-สิงหาคม 2545--
ในเรื่องต้นทุนบรรจุภัณฑ์กับความเสียหายของสินค้านั้น จะมีจุดความเสียหายที่สามารถยอมรับได้อยู่ หากปริมาณความเสียหายที่เกิดจากการบรรจุภัณฑ์เกินกว่านั้นถือว่ารับไม่ได้ กล่าวคือ การบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าได้ในจุดที่พอดี ถือว่า ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่ำเกินไป Under Packaging ถือว่าบรรจุภัณฑ์ไม่สามารถคุ้มครองคุณภาพสินค้าได้ แต่ถ้าต้นทุนบรรจุภัณฑ์สูงเกินไปทำให้เกิดความเสียหายน้อยแต่ต้องใช้เงินลงทุนเรื่องบรรจุภัณฑ์สูง over packaging ก็นับเป็นจุดที่รับไม่ได้เช่นกัน ดังนั้น จุดที่ผู้ผลิตต้องการ รับได้ และสมเหตุสมผลน่าจะเป็นการบรรจุภัณฑ์ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายในปริมาณที่ยอมรับได้ แต่มีต้นทุนที่เหมาะสมที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด
ดังนั้น ในการควบคุมคุณภาพการบรรจุภัณฑ์มีหลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ผู้ผลิตต้องมั่นใจว่า วัตถุดิบที่สั่งเข้ามาตรงตามคุณภาพที่ต้องการ เพราะหากวัตถุดิบที่ใช้ไม่ต้องตามคุณภาพที่ต้องการจะก่อให้เกิดความเสียหาย และทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ประการที่สอง ต้องมั่นใจว่า ภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ตรงตามคุณภาพที่ต้องการและจะสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ตัวอย่างเช่น หากสั่งเม็ดพลาสติกที่ไม่ได้คุณภาพมาผลิตถุงพลาสติกไปเข้าเครื่องจักร และทำให้เครื่องจักรหยุดชะงัก ก็จะทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ประการที่สาม มั่นใจว่าสินค้าสำเร็จรูปถูกต้อง และผู้ใช้รวมถึงผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด กล่าวคือ สินค้าคุณภาพดีที่สุด แต่ราคาสูงเกินไปก็ไม่สามารถไปด้วยกันได้ แต่ในราคาต้นทุนที่เหมาะและได้คุณภาพสินค้าที่ดีที่สุดคุ้มกับต้นทุนนั้น เป็นเรื่องที่จะทำความพอใจให้ลูกค้ามากที่สุด
ในการใช้บรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องมีการตั้งข้อกำหนดคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ไว้ เพราะ ผู้ผลิตต้องสร้างความมั่นใจว่า บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน และใช้งานได้ดีกับเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ความเข้าใจผิดทางด้านเทคนิค และการจัดส่งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อเป็นหลักฐานเมื่อมีการเรียกร้องในภายหลัง และเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดซื้อในการเสาะหาผู้ผลิต และสามารถเปรียบเทียบข้อเสนอที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ ข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์ควรจะประกอบด้วย
-ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุ คุณลักษณะเฉพาะ วิธีการบรรจุพร้อมเงื่อนไข และความต้องการในการปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่ง (ข้อมูลนี้จำเป็นที่สุดสำหรับข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของบรรจุภัณฑ์และเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์) เช่น หากเป็นสินค้าอาหาร ต้องพิจารณาแยกด้วยว่าอาหารนั้นมีลักษณะทางกายภาพอย่างไร เป็นของเหลวหรือของแห้งซึ่งย่อมมีคุณลักษณะจำเพาะของแต่ละชนิด และบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมกับลักษณะของสินค้าแต่ละชนิดด้วย นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความต้องการในการปกป้องสินค้าระหว่างการขนส่งด้วย เช่น หากส่งสินค้าในประเทศควรจะบรรจุภัณฑ์คุณภาพระดับหนึ่ง แต่ถ้าส่งไปต่างประเทศจะต้องเพิ่มระดับการป้องกันมากกว่าเดิม เป็นต้น
-การออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ปริมาณ / ปริมาตรที่จะบรรจุ พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ ในการบรรจุภณฑ์ต้องคำนึงถึงปริมาตรที่แตกต่างของสินค้าที่จะบรรจุในบรรจุภัณฑ์ด้วย ตัวอย่างเช่น ในกรณีบรรจุอาหาร น้ำที่อัดก๊าซ จะต้องมีช่องว่างระหว่างผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในถึงปากขวด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์บางอย่าง ซึ่งผู้ผลิตต้องศึกษาให้ดี
-เกรดของวัตถุดิบ คุณภาพ น้ำหนักมาตรฐาน และอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกรดของพลาสติกที่จะนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร เช่น บางบริษัท อาจจะต้องซื้อพลาสติกจากเม็ดพลาสติกใหม่เท่านั้น ไม่ใช้พลาสติกที่เกิดจากการนำมา recycle ใหม่ น้ำหนักมาตรฐานของกระดาษที่จะนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
-โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ถ้าจำเป็นควรมีภาพวาดประกอบ
-มิติของบรรจุภัณฑ์พร้อมทั้งส่วนแตกต่างที่ยอมรับได้ มีมิติมากน้อยเพียงใด ต้องมีส่วนแตกต่างที่เป็นช่องว่างระหว่างบรรจุภัณฑ์กับสินค้าหรือไม่แค่ไหน เนื่องจากจะต้องวัดกระดาษที่นำมาทำบรรจุภัณฑ์อันจะมีผลต่อการสั่งซื้อวัตถุดิบให้พอดีกับปริมาณสินค้า เพื่อลดการสิ้นเปลือง สูญเสีย เป็นต้น
-คุณลักษณะพิเศษ ส่วนประกอบ และอื่นๆ
-การออกแบบทางกราฟฟิค/รายละเอียดข้อแนะนำสำหรับการพิมพ์หรือการตกแต่งๆ อื่นๆ
-ปริมาณที่ต้องการ / สั่งซื้อ
-กำหนดวันส่งมอบที่ต้องการ / ตกลงกัน
-ข้อแนะนำสำหรับการบรรจุและการส่งของจากผู้ผลิตมายังผู้ซื้อ
-ราคาตามที่ตกลง
-เงื่อนไขในการส่งมอบ
ในการบรรจุภัณฑ์นั้น ผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญในการคัดเลือกวัสดุที่จะนำมาทำบรรจุภัณฑ์ โดยควรจะต้องทำการทดสอบคุณภาพของวัสดุก่อน โดยศึกษาคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุหรือตัวผลิตภัณฑ์ ต้องมีการตรวจเช็คตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ก่อนการทดสอบวัสดุและบรรจุภัณฑ์ใดๆ จะต้องรู้ถึงจุดมุ่งหมายในการทดสอบ เนื่องจากการทดสอบมีหลายวิธี แต่ละวิธีกำหนดมาตรฐานและวิธีการทดสอบที่แตกต่างกัน แม้จะว่าจะใช้เครื่องมือทดสอบอย่างเดียวกัน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว การทดสอบบรรจุภัณฑ์มีจุดมุ่งหมาย คือ
-เปรียบเทียบวัสดุต่างชนิดกัน โดยทำการทดสอบพร้อมๆ กัน
-ควบคุมคุณภาพของวัสดุที่ใช้จริงกับวัสดุที่เคยผ่านการทดสอบมาแล้วโดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการทดสอบต่างชนิดและต่างวาระกัน
-ศึกษาถึงคุณสมบัติการใช้งานของวัสดุหรือตัวบรรจุภัณฑ์ เช่น การทดสอบความสามารถทนแรงกดในแนวดิ่ง เพื่อจำลองรับน้ำหนักขณะเรียงซ้อนของสินค้า เป็นต้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกงวดสินค้าที่ทำการส่ง มักจะมีบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเสียหายอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งผู้ผลิตต้องพิจารณาเพื่อการจัดขั้นลำดับความเสียหาย จำนวนชิ้นของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ในการดำเนินงานปกติ และการตั้งระเบียบหรือข้อกำหนดสำหรับการควบคุมคุณภาพ ทั้งนี้จะต้องมีการสุ่มตัวอย่างของการประเมินคุณภาพ จะมีการแบ่งประเภทชั้นของความเสียหายในขณะส่งมอบออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
ระดับ A : ความเสียหายระดับวิกฤติ คือ ความเสียหายที่สินค้าหรือวัสดุมีความเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ แต่ยังสามารถนำมาใช้ตามจุดประสงค์เดิม หรือตามจุดประสงค์รองดดยการแก้ไขปรับปรุงบางอย่าง เช่น การใช้แรงงานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์นั้นทำการแก้ไข
ระดับ B : ความเสียหายระดับใหญ่ คือ สินค้าหรือวัสดุมีความเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ แต่ยังสามารถนำมาใช้ตามจุดประสงค์เดิมหรือตามจุดประสงค์รอง โดยการแก้ไขปรับปรุงงานบางอย่าง เช่น ใช้แรงงานของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์นั้นทำการแก้ไข
ระดับ C : เป็นความเสียหายระดับเล็ก คือ ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือวัสดุแตกต่างจากข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะในด้านเทคนิค แต่ยังสามารถทำตามหน้าที่ได้
ในความเสียหายระดับวิกฤตินั้น สินค้าจะนำมาใช้ไม่ได้ หากเป็นในต่างประเทศ สินค้าล็อตนั้นจะถูกปฏิเสธหมด ส่วนการเสียหายในระดับใหญ่ สินค้ายังใช้ได้ตามวัตถุประสงค์เดิมอาจจะต้องมีการคัดออกในส่วนที่เสียหาย ส่วนความเสียหายระดับเล็ก เช่น ฉลากเลือน แต่บังใช้ได้ ถ้าผู้ผลิตยอม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องคุณภาพของบรรจุภัณฑ์ที่ผู้ผลิตต้องกำหนดคุณภาพเอง จะมีการสุ่มตัวอย่างสินค้าออกมาตรวจสอบ หากพบสินค้าที่เสียหายจะตั้งไว้ว่าพบกี่ชิ้นจึงจะเป็นความเสียหายระดับวิกฤติ ระดับใหญ่ หรือระดับเล็ก
ตารางตัวอย่างการตรวจสอบมาตรฐานระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์สินค้า
จำนวนใน 1 ล็อต จำนวนตัวอย่าง ระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ (AQL)
(ชิ้น) (ชิ้น) 0.1% 0.65% 1.0% 2.5% 4.0% 6.5%
Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Re Ac Rc
50-1,200 80 0 1 1 2 2 3 5 6 7 8 10 11
1,201-3,200 125 0 1 2 3 3 4 7 8 10 11 14 15
3,201 - 10,000 200 0 1 3 4 5 6 10 11 14 15 21 22
10,001-35,000 315 1 2 5 6 7 8 14 15 21 22 21 22
35,001-150,000 500 1 2 7 8 10 11 21 22 21 22 21 22
150,001-500,000 800 2 3 10 11 14 15 21 22 21 22 21 22
มากกว่า 500,000 1,250 3 4 14 15 21 22 21 22 21 22 21 22
AQL = เปอร์เซนต์สูงสุดของสินค้าเสียหายที่ยอมรับได้ใน 1 ล็อต
Ac = ล็อตที่ยอมรับถ้าจำนวนชิ้นตัวอย่างที่พบว่าเสียหายไม่เกินกว่าตัวเลขที่กำหนด
Re = ล็อตที่ไม่ยอมรับ ถ้าจำนวนของชิ้นตัวอย่างที่พบเสียหายเท่ากับหรือเกินกว่าตัวเลขที่ กำหนด
ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์นั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยรอบด้าน ทั้งเรื่องคุณภาพ และต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบรรจุ ทำอย่างไรที่จะควบคุมคุณภาพสินค้าที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์ให้ดีที่สุดที่พอเหมาะกับต้นทุน การปิดผนึก เช็คตะเข็บ เก็บกลิ่น สามารถขนส่งได้โดยปลอดภัยกี่ช่องทางก่อนที่จะถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบรรจุนั้นจะต้องสามารถยืดอายุของผลิตภัณฑ์ได้นานพอเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะในเรื่องของการออกแบบให้รักษาคุณภาพและดึงดูดความสนใจนั้น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้ระยะเวลานาน และงบประมาณสูง แต่วิธีง่ายๆ ที่ผู้ประกอบการ SMEs จะสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ได้ มีอยู่ 3 วิธีคือ
-การสำรวจดูคู่แข่งขันในตลาด เช่น จะทำบรรจุภัณฑ์ซ๊อส จะต้องไปสำรวจตัวฉลากของซ๊อสต่างๆ ว่าในตลาดเป็นอย่างไร พิมพ์กี่สี แล้วนำมาประยุกต์ปรับปรุงของตัวเอง
-ขอซื้อแบบบรรจุภัณฑ์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่เราไม่สามารถพัฒนาได้เองในประเทศ ซึ่งราคาแพงมาก
-พัฒนาขึ้นเอง แต่ข้อนี้จะต้องใช้ระยะเวลา
แนวโน้มของการบรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนช่วยในการควบคุมคุณภาพนั้น จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์กับตัวงบประมาณการลงทุนที่เพิ่มขึ้น จะต้องคุ้มกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ผลกำไรที่ได้รับ และความพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ
อ้างอิงข้อมูลจาก : "SMEs กับกลยุทธ์การควบคุมคุณภาพ" โดย อ.สมพร คงเจริญเกียรติ
จากงานสัมมนาอุตสาหกรรมทั่วไทย จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
--วารสารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กรกฏาคม-สิงหาคม 2545--