สถานการณ์การผลิต
นายดำริ ชนะศักดิ์ ประมงจังหวัดสตูลได้รายงานสถานการณ์การทำประมงในพื้นที่สตูลว่าขณะนี้อยู่ในสภาวะปกติ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนจนปัจจุบันเหลือเพียง 40-50 ลำ จากก่อนหน้านี้มีมากถึง 300-400 ลำทั้งนี้ เนื่องจากกรมประมงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูทะเลไทย โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง และมีอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ จำนวน 200 คน กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ มีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการตรวจตราและจับกุม เฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์สัตว์น้ำแก่ประชาชน นอกจากนี้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ(UNDP) ได้ให้การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง สนับสนุนการต่อเรือตรวจการณ์ จำนวน 4 ลำ เป็นเรือไม้ ขนาดกว้าง 2.20 เมตร ขนาดยาว12 เมตร พร้อมเครื่องยนต์และวิทยุประจำเรือ และมอบให้กลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ เขตอำเภอเมือง เป็นผู้ควบคุม กำกับ โดยเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้จากการทำประมงคืนละไม่น้อยกว่า 300-1,200 บาท ระยะเวลาทำการประมงมากขึ้น แต่ระยะทางในการเดินทางไปทำประมงลดลง ก่อนหน้านี้ต้องไปทำประมงถึงเขตแดนประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันสามารถทำประมงหน้าบ้านของตนเอง ราษฎรที่ไปทำงานต่างประเทศหรือนอกพื้นที่จะกลับมาทำงานในบ้านของตนเองได้ เพราะจับสัตว์น้ำในคลองและชายฝั่งทะเลได้ สำหรับสถานการณ์การเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของจังหวัดสตูลไม่มีปัญหา การเลี้ยงปลากะรังในกระชังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคในฤดูแล้ง ความเค็มน้ำสูงแต่ไม่รุนแรง ส่วนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่หยุดเลี้ยง เพราะเป็นฤดูแล้งอากาศร้อนจัด เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 8-13 มีค. 2546 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,088.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 519.82 ตัน สัตว์น้ำจืด 568.33 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.92 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.30 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.25 ตัน
สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญปะจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ264.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 265.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 230.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ27.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.97 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 58% (ระหว่างวันที่ 17-21 มี.ค. 2546) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.10 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2546--
-ปส-
นายดำริ ชนะศักดิ์ ประมงจังหวัดสตูลได้รายงานสถานการณ์การทำประมงในพื้นที่สตูลว่าขณะนี้อยู่ในสภาวะปกติ สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนจนปัจจุบันเหลือเพียง 40-50 ลำ จากก่อนหน้านี้มีมากถึง 300-400 ลำทั้งนี้ เนื่องจากกรมประมงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูทะเลไทย โครงการปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมง และมีอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ จำนวน 200 คน กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ มีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการตรวจตราและจับกุม เฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์สัตว์น้ำแก่ประชาชน นอกจากนี้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ(UNDP) ได้ให้การสนับสนุนโครงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง สนับสนุนการต่อเรือตรวจการณ์ จำนวน 4 ลำ เป็นเรือไม้ ขนาดกว้าง 2.20 เมตร ขนาดยาว12 เมตร พร้อมเครื่องยนต์และวิทยุประจำเรือ และมอบให้กลุ่มอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ เขตอำเภอเมือง เป็นผู้ควบคุม กำกับ โดยเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้จากการทำประมงคืนละไม่น้อยกว่า 300-1,200 บาท ระยะเวลาทำการประมงมากขึ้น แต่ระยะทางในการเดินทางไปทำประมงลดลง ก่อนหน้านี้ต้องไปทำประมงถึงเขตแดนประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันสามารถทำประมงหน้าบ้านของตนเอง ราษฎรที่ไปทำงานต่างประเทศหรือนอกพื้นที่จะกลับมาทำงานในบ้านของตนเองได้ เพราะจับสัตว์น้ำในคลองและชายฝั่งทะเลได้ สำหรับสถานการณ์การเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังของจังหวัดสตูลไม่มีปัญหา การเลี้ยงปลากะรังในกระชังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคในฤดูแล้ง ความเค็มน้ำสูงแต่ไม่รุนแรง ส่วนการเลี้ยงกุ้งกุลาดำขณะนี้เกษตรกรส่วนใหญ่หยุดเลี้ยง เพราะเป็นฤดูแล้งอากาศร้อนจัด เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 8-13 มีค. 2546 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,088.15 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 519.82 ตัน สัตว์น้ำจืด 568.33 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.92 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.30 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.58 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 37.25 ตัน
สถานการณ์การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญปะจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ264.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 265.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 230.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ27.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.97 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 58% (ระหว่างวันที่ 17-21 มี.ค. 2546) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 19.10 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.34 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 12 ประจำวันที่ 17-23 มีนาคม 2546--
-ปส-