นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงผลการประชุมส.ส.ของพรรคฯประจำวันอังคาร ที่ 25 มี.ค. 46 ว่า สืบเนื่องจากกระแสข่าวที่ว่า จะมี ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ย้ายไปอยู่พรรคการเมืองอื่น รวมทั้ง การพบกันของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองหัวหน้าพรรคฯ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จ.สุราษฎร์ธานีนั้น วันนี้ในที่ประชุมจึงมีการชี้แจงของ ส.ส.ที่ถูกระบุว่าอยู่เข้าข่ายทั้งที่ จ.ตรัง จ.ชุมพร จ.เพชรบุรี ซึ่งภาพรวมของการชี้แจงทั้งหมดนั้น ได้ยืนยันถึงข้อเท็จจริงว่าไม่มีใครที่จะย้ายพรรคแน่นอน แต่ก็มีการยืนยันว่ามีการทาบทามเกิดขึ้นจริงโดยเสนอผลประโยชน์ค่อนข้างสูง ซึ่งพฤติกรรมลักษณะนี้พรรคได้ออกมาพูดหลายครั้ง แต่ยังเป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่โดยตลอด
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวกระทบไปถึงเหตุการณ์ที่คณะของนายสุเทพ ได้ไปต้อนรับ คณะของนายกฯ ที่จ.สุราษฎร์ธานี รวมถึง จ.ชุมพร ที่มี ส.ส.ชุมพรของพรรคฯไปต้อนรับด้วย ซึ่งกรณีนี้พรรคฯยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ ส.ส.ในพื้นที่ต้องทำหน้าที่ ในการต้อนรับคณะของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ จ.ชุมพรนั้น ความจริง ส.ส.ชุมพรของพรรคฯ ก็ได้มีการหารือกับผู้ใหญ่แล้วว่าควรมีท่าทีอย่างไร ซึ่งนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคฯ ก็ให้คำแนะนำว่า ควรจะไปต้อนรับในฐานะที่เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนที่จ.สุราษฎร์ธานีนั้น นายสุเทพ ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าไม่ได้บอกให้ใครทราบแต่ถือว่าเป็นเจ้าของบ้านที่จะต้องต้อนรับเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในทุกเรื่องดังกล่าว พรรคฯยืนยันว่าไม่มีนัยยะทางการเมืองใดๆ ท่าทีของพรรคฯ ในการตรวจสอบรัฐบาลยังคงต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ต่อไป การทำหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านของ ส.ส.แต่ละพื้นที่ในการต้อนรับคณะของนายกฯ ถือเป็นการทำหน้าที่ตามปกติซึ่งไม่มีผลหรือนัยยะใดๆในทางการเมืองทั้งสิ้น
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ ยังกล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีการข่าวว่าจะมีการอภิปรายในเดือนนั้นเดือนนี้ จนทำให้ ส.ส.ไทยรักไทยหลายคนออกมาพูดทำนองว่า หาหัวหน้าพรรคฯไม่ได้จะอภิปรายได้อย่างไร รวมไปถึงสื่อมวลชนบางฉบับก็วิพากษ์วิจารณ์พรรคฯในทำนองว่าเป็นฝ่ายค้านแล้วไม่ได้ทำหน้าที่ให้เต็มที่ เสมือนตอนนี้มีปัญหาภายในกันเองเรื่องเลือกหัวหน้าพรรค จึงไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้าน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์แยกออกในการทำหน้าที่ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตยภายในพรรคฯ ซึ่งต้องดำเนินไปตามข้อบังคับพรรคที่เปลี่ยนแปลงกับการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนประชาชนซึ่งจะต้องตรวจสอบรัฐบาล ยืนยันว่าในขณะนี้ไม่มีปัญหาใดๆในการมาทำให้กระบวนการตรวจสอบรัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแปลงไป
“เรื่องกระบวนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคก็ดำเนินไปตามกระบวนการปกติ และการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 20 เม.ย.จะเป็นใครก็ตาม ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำเนินการในการตรวจสอบรัฐบาลของพรรค ส่วนการตัดสินใจเรื่องจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จะต้องตัดสินใจ แต่เรียนว่าเรามีคณะทำงานที่ทำงานตรวจสอบรัฐบาลอยู่ ตั้งแต่มีการตั้งรัฐบาลเป็นต้นมา บางเรื่องซึ่งถือว่ามีข้อมูลเพียงพอก็จะต้องรอ เวลาที่เหมาะสมในการที่จะยื่นให้คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) พิจารณาต่อไป” นายสาทิตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 25/3/2546--จบ--
-นค-
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวกระทบไปถึงเหตุการณ์ที่คณะของนายสุเทพ ได้ไปต้อนรับ คณะของนายกฯ ที่จ.สุราษฎร์ธานี รวมถึง จ.ชุมพร ที่มี ส.ส.ชุมพรของพรรคฯไปต้อนรับด้วย ซึ่งกรณีนี้พรรคฯยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ ส.ส.ในพื้นที่ต้องทำหน้าที่ ในการต้อนรับคณะของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ จ.ชุมพรนั้น ความจริง ส.ส.ชุมพรของพรรคฯ ก็ได้มีการหารือกับผู้ใหญ่แล้วว่าควรมีท่าทีอย่างไร ซึ่งนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคฯ ก็ให้คำแนะนำว่า ควรจะไปต้อนรับในฐานะที่เป็นเจ้าของบ้าน ส่วนที่จ.สุราษฎร์ธานีนั้น นายสุเทพ ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าไม่ได้บอกให้ใครทราบแต่ถือว่าเป็นเจ้าของบ้านที่จะต้องต้อนรับเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในทุกเรื่องดังกล่าว พรรคฯยืนยันว่าไม่มีนัยยะทางการเมืองใดๆ ท่าทีของพรรคฯ ในการตรวจสอบรัฐบาลยังคงต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ต่อไป การทำหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านของ ส.ส.แต่ละพื้นที่ในการต้อนรับคณะของนายกฯ ถือเป็นการทำหน้าที่ตามปกติซึ่งไม่มีผลหรือนัยยะใดๆในทางการเมืองทั้งสิ้น
นอกจากนี้ นายสาทิตย์ ยังกล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีการข่าวว่าจะมีการอภิปรายในเดือนนั้นเดือนนี้ จนทำให้ ส.ส.ไทยรักไทยหลายคนออกมาพูดทำนองว่า หาหัวหน้าพรรคฯไม่ได้จะอภิปรายได้อย่างไร รวมไปถึงสื่อมวลชนบางฉบับก็วิพากษ์วิจารณ์พรรคฯในทำนองว่าเป็นฝ่ายค้านแล้วไม่ได้ทำหน้าที่ให้เต็มที่ เสมือนตอนนี้มีปัญหาภายในกันเองเรื่องเลือกหัวหน้าพรรค จึงไม่ได้ทำหน้าที่ในฐานะฝ่ายค้าน
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์แยกออกในการทำหน้าที่ระหว่างกระบวนการประชาธิปไตยภายในพรรคฯ ซึ่งต้องดำเนินไปตามข้อบังคับพรรคที่เปลี่ยนแปลงกับการทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนประชาชนซึ่งจะต้องตรวจสอบรัฐบาล ยืนยันว่าในขณะนี้ไม่มีปัญหาใดๆในการมาทำให้กระบวนการตรวจสอบรัฐบาลจะต้องเปลี่ยนแปลงไป
“เรื่องกระบวนการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคก็ดำเนินไปตามกระบวนการปกติ และการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคในวันที่ 20 เม.ย.จะเป็นใครก็ตาม ไม่มีผลกระทบใดๆต่อการดำเนินการในการตรวจสอบรัฐบาลของพรรค ส่วนการตัดสินใจเรื่องจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จะต้องตัดสินใจ แต่เรียนว่าเรามีคณะทำงานที่ทำงานตรวจสอบรัฐบาลอยู่ ตั้งแต่มีการตั้งรัฐบาลเป็นต้นมา บางเรื่องซึ่งถือว่ามีข้อมูลเพียงพอก็จะต้องรอ เวลาที่เหมาะสมในการที่จะยื่นให้คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) พิจารณาต่อไป” นายสาทิตย์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 25/3/2546--จบ--
-นค-