ปัจจัยของการประสบความสำเร็จของผู้ประกอบเอสเอ็มอีนั้นมีหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความชำนาญในการบริหารธุรกิจ การจัดการด้านเทคโนโลยี ความสามารถในการแหล่งเงินทุน และที่สำคัญมากที่สุด คือ การหาตลาด ไม่ว่าผู้ประกอบการรายนั้นจะเป็นทั้งผู้ค้าปลีก ค้าส่ง หรือผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้ตลาดเป็นของผู้ซื้อและมักจะตัดสินใจด้วยราคาเป็นหลัก ในขณะที่ความภักดีต่อตรา ยี่ห้อ หรือผู้ขายรายเก่าจะค่อยๆลดลง เพราะระบบการแข่งขันนั้นมีหลากหลาย หากยกตัว-อย่างง่ายๆ เมื่อก่อนการค้าจะเป็นแบบร้านค้าแบบโชว์ห่วย แต่ปัจจุบันระบบการค้าปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น เทสโก้โลตัส บิ๊กซี และร้านค้าสะดวกซื้อก็เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ไม่ว่าจะเป็นเซเว่นอีเลฟเว่น แฟมมิลี่มาร์ท หรือแม้กระทั่งร้านค้าสะดวกซื้อตามสถานีบริการน้ำมันต่างๆ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็มีการแข่งขันจากตลาดใน และต่างประเทศภายหลังการค้าเสรี จนทำให้ราคาสินค้าต่อหน่วยในขณะนี้มีราคาถูกลงเมื่อเทียบกับในอดีตจากโลกไร้พรมแดน การปรับเปลี่ยนทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วได้ส่งผลให้ธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริดภคของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งผู้ประกอบการที่อยู่รอดภายใต้ภาวะแรงกดดันการแข่งขันเช่นนี้ จะต้องสร้างกลยุทธ์การตลาดที่เป็นเลิศ โดยจะต้องแสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความแตกต่างทั้งในรูปแบบสินค้า(Product Differentiation) และการบริการที่ดีเมื่อเทียบกับคู่เข่งโดยมุ่งเน้นความเฉพาะของลูกค้าแต่ละราย (Customize)
สำหรับแนวทางให้บรรลุการตลาดในแนวทางดังกล่าว ที่ประสบความสำเร็จได้แก่ การปฏิบัติกับลูกค้าที่แตกต่างกันไป โดยลูกค้าที่ดีที่สุดย่อมได้รับการบริการที่ดีที่สุด , สร้างแผนการตลาด ภายใต้การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารที่ละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับลูกค้า ,ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ,การวัดกระบวนการผลิต การส่งมอบที่หลากหลายและการให้รางวัลพิเศษ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดหรือของแถม จะต้องยืดหยุ่นตามเป้าหมายของการดำรงรักษาลูกค้า
นอกจากนี้ ลักษณะการตลาดในทศวรรษนี้ เทคโนโลยี หรือ E-business จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น บทบาทคนกลางจะน้อยลงไป เพราะ E-business ทำให้ผู้ผลิตสามารถติดต่อโดยตรงกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หากผู้ประกอบการรายใดไม่สนใจระบบ อินเทอร์เน็ตก็มีโอกาสตกม้าตายได้ ในขณะเดียวกันการตลาดยุคใหม่ก็มีระบบแฟรนไชส์ หรือการใช้การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เข้ามามากขึ้น
จากภาวะดังกล่าว นอกเหนือจากผู้ประกอบการจะรักษาทักษะด้านการตลาดแบบเดิมๆ เช่น การวิจัยตลาด การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การบริหารทีมขายแล้ว นักการตลาดจำเป็นต้องสร้างทักษะด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้าทุกระดับ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดต่อลูกค้า เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต การสร้างตราผลิตภัณฑ์ (แบรนด์เนม) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย และต้องมีการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรได้อีกด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
สำหรับแนวทางให้บรรลุการตลาดในแนวทางดังกล่าว ที่ประสบความสำเร็จได้แก่ การปฏิบัติกับลูกค้าที่แตกต่างกันไป โดยลูกค้าที่ดีที่สุดย่อมได้รับการบริการที่ดีที่สุด , สร้างแผนการตลาด ภายใต้การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสารที่ละเอียดลึกซึ้ง เกี่ยวกับลูกค้า ,ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ,การวัดกระบวนการผลิต การส่งมอบที่หลากหลายและการให้รางวัลพิเศษ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดหรือของแถม จะต้องยืดหยุ่นตามเป้าหมายของการดำรงรักษาลูกค้า
นอกจากนี้ ลักษณะการตลาดในทศวรรษนี้ เทคโนโลยี หรือ E-business จะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น บทบาทคนกลางจะน้อยลงไป เพราะ E-business ทำให้ผู้ผลิตสามารถติดต่อโดยตรงกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น หากผู้ประกอบการรายใดไม่สนใจระบบ อินเทอร์เน็ตก็มีโอกาสตกม้าตายได้ ในขณะเดียวกันการตลาดยุคใหม่ก็มีระบบแฟรนไชส์ หรือการใช้การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เข้ามามากขึ้น
จากภาวะดังกล่าว นอกเหนือจากผู้ประกอบการจะรักษาทักษะด้านการตลาดแบบเดิมๆ เช่น การวิจัยตลาด การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การบริหารทีมขายแล้ว นักการตลาดจำเป็นต้องสร้างทักษะด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้าทุกระดับ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดต่อลูกค้า เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต การสร้างตราผลิตภัณฑ์ (แบรนด์เนม) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย และต้องมีการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรได้อีกด้วย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--