ตารางที่ 3.6 สรุปสถานะโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ
2544) สิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน 2545 ในบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
รายการ จ่ายจริง เบิกจ่าย ผูกพัน เดือนที่ดำเนิน
(บาท) (บาท) (บาท) โครงการแล้วเสร็จ
สำนักงบประมาณอนุมัติค่าใช้จ่าย 591,476,633.84 755,653,278.49 296,579,535.04 -
โครงการฝึกอบรมเกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้ง 222,239.00 253,957.00 - สิงหาคม 2544
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ 738,912.53 947,000.00 - กันยายน 2544
ในอุตสาหกรรมปลากระป๋อง
โครงการพัฒนาวิทยากรทางเทคโนโลยี 22,256,199.47 22,256,200.00 -
การผลิต
โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ควบคุม 974,538.50 974,538.50 - มีนาคม 2545
เครื่องฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์อาหาร
กระป๋อง
โครงการพัฒนาระบบการจัดการวัตถุดิบ 2,480,744.02 2,480,744.02 - มีนาคม 2545
สัตว์น้ำ
โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพข้าว 5,517,958.50 5,517,958.50 - มีนาคม 2545
เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทย
โครงการคุณสมบัติแป้งมันสำปะหลังและ 867,826.45 891,000.00 - เมษายน 2545
การปรับปรุงเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์
ในอุตสาหกรรมอาหาร
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 65,915,700.00 65,915,700.00 - เมษายน 2545
การผลิต การบริหาร และการจัดการ
โครงการยกระดับคุณภาพวัตถุดิบและ 3,917,787.50 3,917,787.50 1,176,000.00 พฤษภาคม 2545
ผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อม
ที่มา : สรุปผลการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม สะสม ณ เดือน มิถุนายน 2545
(4) หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุน ที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ
ต่างๆ ตามแผนปรับโครงสร้างฯยังขาดความพร้อม เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีภาระจากงานประจำ
จำนวนมาก ทำให้การดำเนินงานตามโครงการใหม่ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเป็นไปได้
ยาก
(5) ผู้ประกอบการที่ได้รับบริการมักจะกระจุกตัวอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ใน
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นหลัก ยังไม่สามารถกระจายบริการไปสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมอาหารซึ่งส่วนใหญ่มีโรงงานตั้งอยู่ในภูมิภาค ซึ่งอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเป็นหลัก
ทำให้โรงงานจำนวนมากในภูมิภาคยังไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการเท่าที่ควร
(6) ในทางปฏิบัติถึงแม้ในแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจะมีการกำหนดหน่วยงานหลัก
และหน่วยงานสนับสนุนในแต่ละโครงการ และเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามตัวชี้วัด
ความสำเร็จของโครงการ แต่ในทางปฏิบัติการดำเนินการกลับเน้นประสิทธิภาพเป็นหลัก โดย
ไม่คำนึงถึงความสัมฤทธิ์ผลของโครงการเท่าที่ควร ทั้งนี้ส่วนหนึ่งคาดว่ามีเหตุผลหลักมาจาก
กรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่ค่อนข้างจำกัด การดำเนินการเป็นไปอย่างเร่งรีบ
(7) โครงการต่างๆที่นำเสนอยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างโครงการ เช่น การวิเคราะห์
สถานภาพของสถานประกอบการ ซึ่งหลังจากประเมินแล้วพบมีปัญหาในหลายกรณี เช่น ปัญหา
ทักษะด้านแรงงาน และปัญหาเทคโนโลยีการผลิต เป็นต้น แต่ขาดโครงการด้านพัฒนาทักษะ
แรงงาน ในขณะที่มีโครงการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งทำให้การเพิ่มศักยภาพไม่สามารถ
ดำเนินการเป็นระบบและครบวงจร
(8) การประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเชิงบูรณาการยังขาดประสิทธิภาพ
ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากกฎระเบียบเดิมไม่เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีข้อจำกัดของบุคลากร ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเครื่องมืออุปกรณ์ที่
เพียงพอในการดำเนินงานตามโครงการ ทำให้ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน
โครงการ
(9) สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการบางส่วนยังมีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(Non-performing Loan) การขอสินเชื่อหรือการดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไขของปัญหาองค์กรหรือ
สถานประกอบการจึงมีข้อจำกัด และเป็นอุปสรรคสำคัญของการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใน
ช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้นโดยภาพรวมแล้ว แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ในช่วงปี
2542-ปัจจุบัน ยังไม่เกิดความสัมฤทธิ์ผลตามวัตถุประสงค์ โดยมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากถูกกดดัน
ด้วยเงื่อนของกรอบระยะเวลา และงบประมาณที่จำกัด การเสนอโครงการเพื่อตอบสนอง 8
แผนงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับศักยภาพการ
ส่งออก จึงเป็นไปลักษณะของโครงการที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการมากกว่าที่จะเป็น
โครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมที่แท้จริงและเป็นระบบ ขณะเดียวกัน
การกระจายตัวของงบประมาณให้กับทุกโครงการที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งทำให้มีเงินสนับสนุนแต่ละ
โครงการไม่เพียงพอ และไม่เกิดประสิทธิผลในทางปฏิบัติ ในขณะเดียวกันความเข้มงวดในการ
ปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มีส่วนที่ทำให้ประสิทธิผลของแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
ด้อยลง
อย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหาร ได้ก่อให้เกิดผลดี
หลายประการแก่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ดังนี้
(1) เป็นจุดเริ่มของนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่มีความ
ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมาซึ่งไม่มีแผนและไม่ได้แก้ปัญหาในภาพรวม
แต่แผนปรับโครงสร้างฯให้ความสำคัญตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด ซึ่งสอดคล้องกับ
สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ และกระแสโลก ซึ่งเกิดจากการประสานงานและพิจารณาร่วมกัน
ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินและผู้ชำนาญการเฉพาะด้าน มีการ
วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส ของอุตสาหกรรมร่วมกัน จนกระทั่งนำไปสู่การ
กำหนดนโยบาย แผนงาน และกลยุทธ์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารที่ชัดเจน
(2) เป็นแผนที่มีความชัดเจนในแง่ของการบูรณาการร่วมกันในการปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรม โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งระหว่างกรม และระหว่างกระทรวง ทั้งที่เป็น
ผู้รับผิดชอบหลักและที่เป็นผู้สนับสนุน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรับโครงสร้าง
ซึ่งสอดรับกับหน้าที่ความรับผิดชอบและปัญหาของอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นดีกว่าในอดีตซึ่งการ
แก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมเป็นไปในลักษณะต่างฝ่ายต่างทำโดยไม่มีการประสานงาน ทำให้เกิด
ความซ้ำซ้อนและการใช้งบประมาณขาดประสิทธิภาพ
(3) ตามแผนปรับโครงสร้างมีการอนุมัติงบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการรวมเป็นกลุ่ม
โครงการ (Package) ดีกว่าการอนุมัติเป็นรายโครงการซึ่งขาดความเชื่อมโยง โดยก่อให้เกิด
ประโยชน์คือทำให้ความสามารถในการกำกับดูแล และพัฒนาโครงการต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้
ดียิ่งขึ้น
(4) เกิดการพัฒนาแฝงในระบบอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวคือเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และ
ผู้ประกอบการในภาคเอกชน มีความเข้าใจ และเกิดความตื่นตัวในการพัฒนาองค์กร ขณะเดียวกัน
การทำงานของเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการไปทิศทางที่สอดคล้องกับภาวะธุรกิจอุตสาหกรรมาก
ขึ้นและมีมุมมองในการพัฒนาอุตสาหกรรมไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การส่งเสริมอุตสาหกรรม
ในระยะต่อไปเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง และการลงทุนของสถานประกอบการมีการวางแผนและ
เป็นระบบมากขึ้น เช่น การปรับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเข้าสู่ระบบ
HACCP มีมากขึ้น เป็นต้น
(5) การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงระบบการ
จัดการ ลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงให้แรงงานมีคุณภาพ และมีกำลังการผลิตที่มีแนวโน้มของการ
ปรับตัวดีขึ้น
3.1.2 แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร
แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร เป็นอีกแผนหนึ่งที่เสริมประสิทธิภาพหรือ
ศักยภาพของแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเพิ่มศักยภาพ
ด้านการผลิตและการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมอาหาร
โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน
แม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร โดยแผนแม่บทฯ เกิดขึ้นมาจากการศึกษาสถานภาพ
โครงสร้างด้านการผลิต การตลาด การส่งออก และปัญหาอุปสรรคต่างๆของอุตสาหกรรมเกษตร
โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 เป็นการประสานความร่วมมือระหว่าง
หน่วยงานหลัก และหน่วยงานสนับสนุนในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และแผนเงิน ซึ่งคล้ายคลึงกับ
แนวทางของแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา ทั้งนี้แผนแม่บทฯ ดังกล่าวเป็นแผนแม่บท
ที่เน้นการเชื่อมโยงระหว่างภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งได้แบ่งกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม
ตามการตลาดออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก
2) กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และ 3 กลุ่ม) อุตสาหกรรมแปรรูปพื้นบ้านหรือ
อุตสาหกรรมชนบท โดยในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารได้ถูดจัดไว้ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิต
เพื่อการส่งออก ประกอบด้วย
(1) ผลิตภัณฑ์จากประมง
(2) ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์
(3) ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้
(4) ผลิตภัณฑ์จากข้าวและธัญพืช
(5) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
วัตถุประสงค์ของแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร คือ
(1) เพื่อเป็นกลไกในการวางแผนและประสานความร่วมมือในการพัฒนา
อุตสาหกรรมเกษตรอย่างเป็นระบบในทิศทางที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป
ด้านอุตสาหกรรม และการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาแหล่งวัตถุดิบ การจัดหาวัตถุดิบขั้นต้น และการเพิ่ม
ศักยภาพการผลิตวัตถุดิบให้สอดคล้องกับความต้องการในการผลิตระดับโรงงาน ซึ่งจะนำไปสู่
แผนงาน/โครงการที่เป็นการสนับสนุนต่อไป
(3) เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและรูปแบบการผลิตผลิตภัณฑ์ ที่สอดคล้องกับความ
ต้องการของตลาด เพื่อการขยายตลาดและสร้างโอกาสในการแข่งขันในตลาด
(4) เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนงาน/โครงการที่จะเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรม
การเกษตรของประเทศให้มีขีดความสามารถในการผลิต และการแข่งขันในตลาดได้อย่างต่อเนื่อง
ต่อไป
แผนงานหลักในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร
ประกอบด้วยแผนงาน และหน่วยงานรับผิดชอบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 3.7
ตารางที่ 3.7 แผนงานและหน่วยงานรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารภายใต้
แผนแม่บทเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร
กลุ่มอุตสาหกรรม แผนงาน หน่วยงานหลัก จำนวนหน่วยงาน
สนับสนุน
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร (Food)
(1) ผลิตภัณฑ์จากประมง (1) พัฒนาแหล่งวัตถุดิบและปรับปรุง กระทรวงเกษตรและ 16
(2) ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนา สหกรณ์
(3) ผลิตภัณฑ์จากผักและผลไม้ สายพันธุ์ และการจัดหาวัตถุดิบขั้นต้น
(4) ผลิตภัณฑ์ข้าว (2) รณรงค์และส่งเสริมให้มีการใช้ระบบ กระทรวงอุตสาหกรรม 6
การจัดการคุณภาพ และการจัดการ
ความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
(3) สนับสนุนการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทัน กระทรวงอุตสาหกรรม 6
สมัยและเหมาะสมเพื่อการปรับเปลี่ยน
เครื่องจักรและเทคโนโลยี
(4) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุ กระทรวงวิทยาศาสตร์ 4
ภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มและสอดคล้องกับ เทคโนโลยีและ
ความนิยมของตลาดเป้าหมาย สิ่งแวดล้อม
(5) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าไทยและ กระทรวงพาณิชย์ 4
Brand Name ของไทย
(6) เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการตลาด กระทรวงพาณิชย์ 5
และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐ
และเอกชน
(7) เสริมสร้างศักยภาพในการผลิต และ กระทรวงอุตสาหกรรม 6
การแข่งขันกับอุตสาหกรรม
(ยังมีต่อ)