สหรัฐอเมริกา
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามกับอิรัก โดยรายงาน Beige Book ชี้ถึงการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้ง 12 เขตภูมิภาคที่ธนาคารกลางดูแล (Federal Reserve Districts) ซึ่งผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างชะลอการใช้จ่ายลง ทั้งนี้การใช้จ่ายภาคธุรกิจยังไม่มีสัญญาดีขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับ geopolitical และความไม่แน่นอนในด้านความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ส่งผลให้ต้นทุนภาคธุรกิจสูงขึ้น
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งจัดทำโดย University of Michigan ในเดือนมีนาคม (ตัวเลขเบื้องต้น) ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 10 ปี มาอยู่ที่ระดับ 75 จากระดับ 79.9 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board) ในเดือนกุมภาะพันธ์ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 64.0 จากระดับ 78.8 จากผลของความกังวลเดี่ยวกับสงคราม การว่างงาน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงปรับลดลงที่ร้อยละ 1.6 (mom) และนับเป็นการปรับลดลงระหว่างเดือนที่มากที่สุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2544 ทั้งนี้ปัจจัยหลักเป็นผลจากพายุหิมะในแถบ Northeast ของประเทศ และภาวะตลาดแรงงานที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 5.8 ขณะที่ยอดการใช้สิทธิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) ณ สิ้นสัปดาห์ที่ 2 เดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 421,000 คน ซึ่งสูงกว่าระดับ 400,000 คน เป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน จากการชะลอการจ้างงานของภาคธุรกิจจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ
อัตราเงินเฟ้อ (HICP)ของกลุ่มประเทศยูโรในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 สูงสุดในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมาซึ่งสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ร้อยละ 2.3 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.8 (mom) หรือร้อยละ 7.6 (yoy) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (coreinflation) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (mom) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 (yoy) อย่างไรก็ตามจากตัวเลขดังกล่าวคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB board) ไม่ได้แสดงความกังวลและได้ย้ำถึงการพยากรณ์ของธนาคารว่า ภาวะเงินเฟ้อของกลุ่มเศรษฐกิจยุโรปควรจะต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ในปีนี้
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Refinancing rate ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี (ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดไปครั้งสุดท้ายร้อยละ 0.5 เมื่อเดือนธันวาคมในปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่ามาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำขณะที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์สรอ.เอเชียตะวันออก
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องแต่ทิศทางการฟื้นตัวยังคตงไม่ชัดเจน โดยทางการญี่ปุ่นได้ปรับตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วเป็นร้อยละ 2.6 (yoy) เพิ่มขึ้นจากที่ประกาศครั้งแรกที่ร้อยละ 2.4 (yoy) และคงตัวเลขเทียบต่อไตรมาสที่ร้อยละ 0.5 (qoq) ไว้เช่นเดิมทั้งนี้ ในรายงานรายเดือนของคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมได้ประเมินภาพเศรษฐกิจในท่าทีเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวแสดงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ดัชนี all industries index ซึ่งใช้เป็นตัวประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.7 (mom) ในเดือนมกราคม 2546 รวมทั้งคำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชน (coreprivate-sector machinery orders) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 (mom) หรือร้อยละ 18.8 (yoy) สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยคำสั่งซื้อทั้งหมดมีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2544 ทำให้มีแนวโน้มว่าการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนอาจจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกปีนี้ ซึ่งขัดแย้งกับการคาดการณ์ของทางการก่อนหน้านี้ว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ ขณะที่การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.1 (mom) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.3 ล้านล้านเยน (35.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
อย่างไรก็ดี ดัชนี้เศรษฐกิจหลายตัวยังคงส่งสัญญาณอ่อนแออยู่ ได้แก่ อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงสุดที่ร้อยละ 5.5 ในเดือนมกราคม ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 427.1 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 37.6 (mom) ในเดือนมกราคม เนื่องจากคนญี่ปุ่นเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น และราคานำมันสูงขึ้น นอกจากนี้ความกังวลในเรื่องสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรักส่งผลให้ดัชนีหุ้น Nikkei ของญี่ปุ่นตกลงต่ำกว่าระดับ 7,900 จุดทำสถิติใหม่ต่ำสุดในรอบ 20 ปีถึง 3 ครั้งในวันที่ 7 10 และ 11 มีนาคม 2546 นอกจากนี้ ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นมาก ส่งผลให้ทางการญี่ปุ่นต้องเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์ สรอ. เพื่อไม่ให้เงินเยนแข็งค่ามากเกินไป
- เศรษฐกิจจีนไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 8.1 (yoy) และทั้งปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 8.0 สูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ร้อยละ 7.0 การที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของการส่งออก การใช้จ่ายของภาครัฐในการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ อนึ่ง รัฐบาลยังคงตั้งเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 7 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับช่วงที่ 2544-2548 ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวถือเป็นระดับต่ำสุดที่จะสามารถรองรับแรงงานที่จะไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในเมืองปีละประมาณ 8 ล้านคน
จากการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนสมัยที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการลงมติเปลียนแปลงผู้นำจียโดยรัฐสภาได้รับรองให้นายหู จิ่นเทา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนนายเจียง เจ๋อหมิน และลงมติแต่งตั้งนายเวิน เจียเป่า ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนใหม่แทนที่นายจู หรงจี
อนึ่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีนได้แถลงถึงเป้าหมายนโยบายการแก้ไขปัญหาหลักของประเทศ และการปฏิรูปเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายหลัก 2 ประการ คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและดำเนินนโยบายการเปิดประเทศต่อไป สำหรับปัญหาหลักที่จีนกำลังเผชิญ คือ 1. การแก้ปัญหาการว่างงานและระบบประกันสังคม 2.การเพิ่มรายได้และการลดรายจ่ายของรัฐ 3.การแก้ไขและจัดระเบียบเศรษฐกิจให้มีมาตรฐานและสุดท้ายนายเวินได้กล่าวถึงการผลักดันการปฏิรูป 4 ด้าน คือ 1.ปฏิรูปเศรษฐกิจชนบท 2.ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ 3.ปฏิรูประบบการเงิน และ 4.ปฏิรูปหน่วยงานของรัฐ
ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2546 รัฐบาลใช้จ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 23 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 32.8 (yoy) ซึ่งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานมีสัดส่วนสูงสุด และขยายตัวร้อยละ 27.7
- เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 5.0 (yoy) หรือร้อยละ 1.7 (qoq) ส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 2.3 (yoy) สูงกว่าเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ร้อยละ 2.0 (yoy) ทั้งนี้เศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงเกินคาดดังกล่าวเป็นผลจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคต่างประเทศ (external sector) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีน รวมทั้งการเติบโตของการลงทุนในประเทศ อนึ่ง รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 3.0 และคาดอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 1.5
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้แถลงถึงมาตรการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของฮ่องกง ดังนี้
มาตรการเพิ่มรายรับ : ปรับเพิ่มอัตราภาษีเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี อาทิ การปรับเพิ่ม corporate profits tax rate (personal tax) เป็นต้น
มาตรการลดรายจ่าย : ปรับลดเงินเดือนข้าราชการลงร้อยละ 6 เป็นระยะเวลา 2 ปี และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน operating expenditure ให้เหลือ 200 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ภายในเวลา 4 ปี
อนึ่ง รัฐบาลฮ่องกงแถลงว่า รัฐบาลยังคงตั้งเป้างบประมาณสมดุลภายในปี 2549/50 เช่นเดิม พร้อมคาดการณ์ขาดดุลงบประมาณสำหรับปี 2545/46 (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2546)ที่ร้อยละ 6 ของ GDP
- หลังภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯ และอิรัก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2546 รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไต้หวัน ได้ประกาศปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ จากร้อยละ 3.6 เป็นดังต่อไปนี้
หากภาวะสงครามเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6-12 สัปดาห์ เศรษฐกินไต้หวันปี2546จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 และอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 5.6
หากภาวะสงครามเกิดขึ้นนานเกินกว่า 3 เดือนเศรษฐกิจไต้หวันปีนี้ จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 และระดับการว่างงานจะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของไต้หวันได้กลับสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 5.2 เทียบกับเดือนมกราคมที่ร้อยละ 5.0 อัตรการว่างงานที่สูงขึ้นหลังตรุษจีนเป็นเหตุการณ์ปกติของไต้หวัน เนื่องจากชาวไต้หวันมักเปลี่ยนงานหลังจากได้รับโบนัสช่วงตรุษจีนแล้ว อนึ่งรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติกระตุ้นการจ้างงานโดยจะใช้งบประมาณจำนวน 20 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันเพื่อลดระดับอัตราการว่างงานในปีนี้ให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5
สำหรับภาวะการค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไต้หวันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.2 สูงสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากมีการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวัตถุดิบไปจีนมากขึ้น สำหรับการนำเข้าขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ร้อยละ 28.9 ทั้งนี้อุปสงค์จากภายนอกยังดูไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกของเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 15.0
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ของปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 6.8 (yoy) และทั้งปี 2545 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคเอกชนและการลงทุนก่อสร้าง และนับตั้งแต่ไตรมาส 2 จนถึงสิ้นปีนั้น การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงในขณะที่การลงทุนและการส่งออกขยายตัวสูงส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง
ผู้ว่าการธนาคารกลางได้ให้ความเห็นว่า ในปี 2546 นี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้อาจขยายตัวได้อย่างดีที่สุดไม่เกินร้อยละ 5 และมีโอกาสที่จะต่ำกว่าร้อยละ 5 ได้เนื่องจากมีสัญญาณต่างๆ ที่ทำให้ธนาคารกลางคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ที่ธนาคารกลางปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจลง โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ได้กล่าวว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.5 จากเดิมเมื่อปลายปี 2545 ได้เคยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2546 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.7
ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2545 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer Price Index)ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า petroleum based และราคาสินค้าเกษตร ซึ่งส่งแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ (เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2544)อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ย Overnight call rate ไว้ที่ร้อยละ 4.25 ในการประชุมเมื่อต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังประสบกับภาวะความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกประเทศ
ดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดุลการค้าติดลบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.5 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูง
บริษัท SK Global ซึ่งเป็นกลุ่ม Chaebol อันดับ 4 ของเกาหลีใต้ ประกาศตัวเลขขาดทุนน้อยกว่าความเป็นจริง 1,200 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการบิดเบือนการจัดทำบัญชีที่มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับที่เคยเกิดกับบริษัท World Com และ Enron ในสหรัฐฯส่งผลให้ค่าเงินวอนมีความผันผวน เนื่องจากเกิดความกังวลว่าบริษัทใหญ่อื่นๆ ที่เป็น Chaebol อาจทำเช่นเดียวกับ SK Global ซึ่งจะเกิดผลลบต่อการปฏิรูปภาคการเงินของเกาหลีใต้
กลุ่มอาเซียน
- ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจนนัก จากผลกระทบของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีชี้เศรษฐกิจที่สำคัญหลายตัวยังคงมีทิศทางที่ขัดแย้งกัน โดยค่าเงินเปโซมีความผันผวนสูง และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยอ่อนค่าไปแตะระดับจิตวิทยาที่ 55 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดีค่าเงินเปโซได้ปรับตัวแข็งอีกครั้งหลังสงครามปะทุขึ้น เนื่องจากตลาดคาดว่าสงครามที่เกิดขึ้นจะไม่ยืดเยื้อยาวนาน นอกจากนี้ ค่าเงินที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นวผลจากการออกมาตรการดูดซับสภาพคล่อง และป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินของธนาคารกลางฟิลิปปินส์
อัตรเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.1 (yoy)สูงขั้นจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมกราคม จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และการอ่อนค่าของเงินเปโซในช่วงที่ผ่านมา
การนำเข้าล่าสุดในเดือนมกราคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 45.0 (yoy) จากการนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการเร่งนำเข้าสินค้าล่วงหน้าเพื่อกักตุนก่อนเกิดภาวะสงคราม นอกจากนี้การนำเข้าที่เร่งขึ้นยังเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอันสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกจิในอนาคตที่แข็งแกร่ง
ฐานะการคลังของรัฐาลฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้น เป็นผลจากรายรับภาครัฐที่เป็นไปตามเป้า และการใช้จ่ายที่มีประสิทธภาพ โดยในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 31.53 พันล้านเปโซ ซึ่งยังคงอยู่ภายในเป้าการขาดดุลของไตรมาสแรกที่ 55 พันล้านเปโซ
อนึ่ง เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ได้ประกาศปรับเพิ่ม liquidity reserve requirement จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8 แต่ยังคงส่วนของ statutory reserve requirement ไว้ที่ร้อยละ 9.0 เช่นเดิมเพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน โดยการปรับเพิ่ม reserve requiement ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ควบคุมปริมาณเงินในระบบโดยการจำกัดสภาพคล่องของเงินเปโซ และ 2)เพื่อเป็น pre-emptive response ต่อความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ (inflationary risks)ที่อาจปรับตัวสูงขึ้น โดยการปรับเพิ่มดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังประกาศยกเลิกระบบ tiering system สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝากไว้กับธนาคารกลางตามวงเงินาภายใต้ overnight facility โดยธนาคารพาณิชย์จะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา flat rate ทีร้อยละ 7.0 ซึ่งเป็นเพดานสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศนำเงินมาฝากไว้กับธนาคารกลางมากขึ้น
- เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.6 (yoy)สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.4 นอกจากนี้ ทางการยังได้ปรับเพิ่มตัวเลข GDP ไตรมาสก่อนหน้าจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 5.8 (yoy) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะในด้านากรลงทุนที่เร่งตัวขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 9.8 (yoy)เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าจากการลงทุนภาครัฐในโครงการพัฒนาต่างๆ ในขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 4.5 (yoy)สำหรับการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 7.2 (yoy)เทียบกับที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้า Semicondutor ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก โดยรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังทำให้ GDP ในปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 4.2
สำหรับในด้านอุปทาน การผลิตในสาขาที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง คือสาขาเหมืองแร่ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 (yoy) เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น และสาขาบริการขยายตัวร้อยละ 4.9 (yoy)ซึ่งขยายตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศ สำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว แต่มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะการส่งออก
ดัชนีราคาผู้บริโภคล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดการขนส่งและสื่อสารและราคาน้ำมันเป็นหลัก ในขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวลดลง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ตลาดคาดว่าทางการจะคงอัตราดอกเบี้ยนโนบายในระดับปัจจุบันไปจนกว่าทางการจะประกาศแผนเพิ่มวงเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในต้นเดือนเมษายนนี้
การส่งออกที่ยังคงขยายตัวประกอบกับเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจากการกู้ยืมของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระบ 34.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เทียบกับที่ระดับ 34.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมกราคม อนึ่ง ทางการมาเลเซียได้ประกาศปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 จากเดิมร้อยละ 6-6.5 เป็นร้อยละ 4-4.5 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงจากผลของสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก
- เศรษฐกิจอินโดนีเซีย อยู่ในภาวะทรงตัวโดยอัตราเงินเฟืออยู่ที่ร้อยละ 7.3 (yoy) ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.7 และสอดคล้องกับเป้าเงินเฟ้อของทางการซึ่งตั้งเป้าว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นปี จะอยู่ที่ร้อยละ 9 เทียบกับปลายปี 2545 ที่ร้อยละ 10 ทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง โดยอัตราดอกเบี้ย SBI ระยะ 3 เดือนในช่วงกลางเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.97 ลดลงจากร้อยละ 13.11 ในช่วงปลายปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ การที่ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหาร กอปรกับค่าเงินรูเปียห์ที่มีเสถียรภาพ โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคมค่าเงินรูเปียห์อยู่ที่ระดับ 8,915 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 8,950 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อปลายปี 2545 ตลอดจนฐานการคำนวณในปีก่อนหน้าสูง อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของทางการเมื่อต้นปีอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ การลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 138 (yoy) จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า การค้าในเดือนมกราคมเกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สรอ.เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เกิดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.4 (yoy)เร่งจาก 3 เดือนก่อนหน้าที่เฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 13.7 (yoy) โดยเป็นการขยายตัวของทั้งการส่งออกน้ำมันซึ่งขยายตัวร้อยละ 38.2 ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.7 ทั้งนี้ การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 38.9 (yoy)
อย่างไรก็ดี การบริโภคภายในประเทศส่งสัญญาณชะลอตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (สำรวจโดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย) ในเดือนมกราคมปรับตัวลดลงถึง 15.6 จุดจาก 73.8 จุดในเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.1 ในปี 2545 เทียบกับร้อยละ 8.1 ในปีก่อนหน้า
อนึ่ง อินโดนีเซียได้ลงนามในความตกลง Bilateral Swap Arrangement (แบบ one-way) มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. กับญี่ปุ่นแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2546
- เศรษฐกิจสิงค์โปร์ไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 3.0 (yoy)สูงกว่าตัวเลข Avance GDP ที่ทางการได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 (yoy) ทำให้ GDP ทั้งปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.4 โดยมีอุปสงค์ภายนอกเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวไม่มากอย่างไรก็ดี ทางการสิงโปร์ยังคงประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ไว้ที่ร้อยละ 2-5 เท่าเดิม
นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์แถลงเป้างบประมาณปี 2546 ขาดดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (694 ล้านดอลลาร์ สรอ.) หรือประมาณร้อยละ 0.7 ของ GDP เทียบกับงบประมาณปี 2545 ที่ขาดดุล 94 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และงบประมาณปี 2544 ที่ขาดดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์จะขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยรัฐบาลมีแผนเร่งการใช้จ่ายมากขึ้นร้อยละ 9.4 (yoy) และยังคงสัดส่วนเงินได้ของนายจ้างที่ต้องสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลางไว้ที่ร้อยละ 16 ต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ จะเรียกเก็บภาษีเงินได้ส่วนบุคคลอัตราสูงสุดและภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราสูงสุดและภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 22 เท่ากัน ในปีงบประมาณ 2546 อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนและนักวิเคราะห์เห็นว่างบประมาณดังกล่าวไม่น่าจะช่วยให้ภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากเท่าใดนัก ส่วนกรณีที่สิงคโปร์ขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เห็นว่ายังไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากยังเป็นการขาดดุลงบประมาณในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้ นาย Lee Hsien Loong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์แถลงว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.6 (คำนวณจากตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคมเพียงเดือน เดียว)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สด-
- เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวลงจากความกังวลเกี่ยวกับสงครามกับอิรัก โดยรายงาน Beige Book ชี้ถึงการอ่อนตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมทั้ง 12 เขตภูมิภาคที่ธนาคารกลางดูแล (Federal Reserve Districts) ซึ่งผู้บริโภคและภาคธุรกิจต่างชะลอการใช้จ่ายลง ทั้งนี้การใช้จ่ายภาคธุรกิจยังไม่มีสัญญาดีขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับ geopolitical และความไม่แน่นอนในด้านความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นได้ส่งผลให้ต้นทุนภาคธุรกิจสูงขึ้น
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งจัดทำโดย University of Michigan ในเดือนมีนาคม (ตัวเลขเบื้องต้น) ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 10 ปี มาอยู่ที่ระดับ 75 จากระดับ 79.9 ในเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Conference Board) ในเดือนกุมภาะพันธ์ปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 64.0 จากระดับ 78.8 จากผลของความกังวลเดี่ยวกับสงคราม การว่างงาน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ยอดค้าปลีกในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงปรับลดลงที่ร้อยละ 1.6 (mom) และนับเป็นการปรับลดลงระหว่างเดือนที่มากที่สุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2544 ทั้งนี้ปัจจัยหลักเป็นผลจากพายุหิมะในแถบ Northeast ของประเทศ และภาวะตลาดแรงงานที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 5.8 ขณะที่ยอดการใช้สิทธิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) ณ สิ้นสัปดาห์ที่ 2 เดือนมีนาคมอยู่ที่ระดับ 421,000 คน ซึ่งสูงกว่าระดับ 400,000 คน เป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน จากการชะลอการจ้างงานของภาคธุรกิจจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงอ่อนแอ
อัตราเงินเฟ้อ (HICP)ของกลุ่มประเทศยูโรในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 สูงสุดในรอบ 11 เดือนที่ผ่านมาซึ่งสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ร้อยละ 2.3 เนื่องจากผลกระทบจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 1.8 (mom) หรือร้อยละ 7.6 (yoy) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (coreinflation) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (mom) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 (yoy) อย่างไรก็ตามจากตัวเลขดังกล่าวคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB board) ไม่ได้แสดงความกังวลและได้ย้ำถึงการพยากรณ์ของธนาคารว่า ภาวะเงินเฟ้อของกลุ่มเศรษฐกิจยุโรปควรจะต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ในปีนี้
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Refinancing rate ลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี (ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ทั้งหลายคาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดไปครั้งสุดท้ายร้อยละ 0.5 เมื่อเดือนธันวาคมในปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่ามาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำขณะที่เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์สรอ.เอเชียตะวันออก
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องแต่ทิศทางการฟื้นตัวยังคตงไม่ชัดเจน โดยทางการญี่ปุ่นได้ปรับตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้วเป็นร้อยละ 2.6 (yoy) เพิ่มขึ้นจากที่ประกาศครั้งแรกที่ร้อยละ 2.4 (yoy) และคงตัวเลขเทียบต่อไตรมาสที่ร้อยละ 0.5 (qoq) ไว้เช่นเดิมทั้งนี้ ในรายงานรายเดือนของคณะรัฐมนตรีในเดือนมีนาคมได้ประเมินภาพเศรษฐกิจในท่าทีเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน นอกจากนี้ ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวแสดงการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เช่น ดัชนี all industries index ซึ่งใช้เป็นตัวประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.7 (mom) ในเดือนมกราคม 2546 รวมทั้งคำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคเอกชน (coreprivate-sector machinery orders) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 (mom) หรือร้อยละ 18.8 (yoy) สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยคำสั่งซื้อทั้งหมดมีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2544 ทำให้มีแนวโน้มว่าการใช้จ่ายลงทุนของภาคเอกชนอาจจะฟื้นตัวในเร็วๆ นี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกปีนี้ ซึ่งขัดแย้งกับการคาดการณ์ของทางการก่อนหน้านี้ว่า คำสั่งซื้อเครื่องจักรจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ ขณะที่การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.1 (mom) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 4.3 ล้านล้านเยน (35.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
อย่างไรก็ดี ดัชนี้เศรษฐกิจหลายตัวยังคงส่งสัญญาณอ่อนแออยู่ ได้แก่ อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงสุดที่ร้อยละ 5.5 ในเดือนมกราคม ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 427.1 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 37.6 (mom) ในเดือนมกราคม เนื่องจากคนญี่ปุ่นเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น และราคานำมันสูงขึ้น นอกจากนี้ความกังวลในเรื่องสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรักส่งผลให้ดัชนีหุ้น Nikkei ของญี่ปุ่นตกลงต่ำกว่าระดับ 7,900 จุดทำสถิติใหม่ต่ำสุดในรอบ 20 ปีถึง 3 ครั้งในวันที่ 7 10 และ 11 มีนาคม 2546 นอกจากนี้ ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นมาก ส่งผลให้ทางการญี่ปุ่นต้องเข้าแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์ สรอ. เพื่อไม่ให้เงินเยนแข็งค่ามากเกินไป
- เศรษฐกิจจีนไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 8.1 (yoy) และทั้งปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 8.0 สูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ร้อยละ 7.0 การที่เศรษฐกิจขยายตัวในระดับสูงดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ คือการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของการส่งออก การใช้จ่ายของภาครัฐในการก่อสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ อนึ่ง รัฐบาลยังคงตั้งเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้ไว้ที่ร้อยละ 7 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตั้งไว้สำหรับช่วงที่ 2544-2548 ซึ่งการขยายตัวดังกล่าวถือเป็นระดับต่ำสุดที่จะสามารถรองรับแรงงานที่จะไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในเมืองปีละประมาณ 8 ล้านคน
จากการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติจีนสมัยที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-18 มีนาคม 2546 ได้มีการลงมติเปลียนแปลงผู้นำจียโดยรัฐสภาได้รับรองให้นายหู จิ่นเทา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนนายเจียง เจ๋อหมิน และลงมติแต่งตั้งนายเวิน เจียเป่า ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี คนใหม่แทนที่นายจู หรงจี
อนึ่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีนได้แถลงถึงเป้าหมายนโยบายการแก้ไขปัญหาหลักของประเทศ และการปฏิรูปเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็วควบคู่ไปกับการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีนโยบายหลัก 2 ประการ คือ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและดำเนินนโยบายการเปิดประเทศต่อไป สำหรับปัญหาหลักที่จีนกำลังเผชิญ คือ 1. การแก้ปัญหาการว่างงานและระบบประกันสังคม 2.การเพิ่มรายได้และการลดรายจ่ายของรัฐ 3.การแก้ไขและจัดระเบียบเศรษฐกิจให้มีมาตรฐานและสุดท้ายนายเวินได้กล่าวถึงการผลักดันการปฏิรูป 4 ด้าน คือ 1.ปฏิรูปเศรษฐกิจชนบท 2.ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ 3.ปฏิรูประบบการเงิน และ 4.ปฏิรูปหน่วยงานของรัฐ
ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2546 รัฐบาลใช้จ่ายลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 23 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือขยายตัวร้อยละ 32.8 (yoy) ซึ่งการลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานมีสัดส่วนสูงสุด และขยายตัวร้อยละ 27.7
- เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 5.0 (yoy) หรือร้อยละ 1.7 (qoq) ส่งผลให้เศรษฐกิจในปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 2.3 (yoy) สูงกว่าเป้าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ร้อยละ 2.0 (yoy) ทั้งนี้เศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงเกินคาดดังกล่าวเป็นผลจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคต่างประเทศ (external sector) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีน รวมทั้งการเติบโตของการลงทุนในประเทศ อนึ่ง รัฐบาลคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้วที่ร้อยละ 3.0 และคาดอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 1.5
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้แถลงถึงมาตรการแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณของฮ่องกง ดังนี้
มาตรการเพิ่มรายรับ : ปรับเพิ่มอัตราภาษีเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 20 ปี อาทิ การปรับเพิ่ม corporate profits tax rate (personal tax) เป็นต้น
มาตรการลดรายจ่าย : ปรับลดเงินเดือนข้าราชการลงร้อยละ 6 เป็นระยะเวลา 2 ปี และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน operating expenditure ให้เหลือ 200 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ภายในเวลา 4 ปี
อนึ่ง รัฐบาลฮ่องกงแถลงว่า รัฐบาลยังคงตั้งเป้างบประมาณสมดุลภายในปี 2549/50 เช่นเดิม พร้อมคาดการณ์ขาดดุลงบประมาณสำหรับปี 2545/46 (สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2546)ที่ร้อยละ 6 ของ GDP
- หลังภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯ และอิรัก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2546 รัฐมนตรีเศรษฐกิจของไต้หวัน ได้ประกาศปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจปีนี้ จากร้อยละ 3.6 เป็นดังต่อไปนี้
หากภาวะสงครามเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6-12 สัปดาห์ เศรษฐกินไต้หวันปี2546จะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.4 และอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 5.6
หากภาวะสงครามเกิดขึ้นนานเกินกว่า 3 เดือนเศรษฐกิจไต้หวันปีนี้ จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 และระดับการว่างงานจะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 6
ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของไต้หวันได้กลับสูงขึ้นอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 5.2 เทียบกับเดือนมกราคมที่ร้อยละ 5.0 อัตรการว่างงานที่สูงขึ้นหลังตรุษจีนเป็นเหตุการณ์ปกติของไต้หวัน เนื่องจากชาวไต้หวันมักเปลี่ยนงานหลังจากได้รับโบนัสช่วงตรุษจีนแล้ว อนึ่งรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติกระตุ้นการจ้างงานโดยจะใช้งบประมาณจำนวน 20 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันเพื่อลดระดับอัตราการว่างงานในปีนี้ให้อยู่ที่ร้อยละ 4.5
สำหรับภาวะการค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไต้หวันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.2 สูงสุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากมีการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวัตถุดิบไปจีนมากขึ้น สำหรับการนำเข้าขยายตัวในระดับสูงเช่นกันที่ร้อยละ 28.9 ทั้งนี้อุปสงค์จากภายนอกยังดูไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกของเดือนกุมภาพันธ์ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากเดือนมกราคมที่ขยายตัวร้อยละ 15.0
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ของปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 6.8 (yoy) และทั้งปี 2545 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.3 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคเอกชนและการลงทุนก่อสร้าง และนับตั้งแต่ไตรมาส 2 จนถึงสิ้นปีนั้น การบริโภคภาคเอกชนชะลอลงในขณะที่การลงทุนและการส่งออกขยายตัวสูงส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่ง
ผู้ว่าการธนาคารกลางได้ให้ความเห็นว่า ในปี 2546 นี้เศรษฐกิจเกาหลีใต้อาจขยายตัวได้อย่างดีที่สุดไม่เกินร้อยละ 5 และมีโอกาสที่จะต่ำกว่าร้อยละ 5 ได้เนื่องจากมีสัญญาณต่างๆ ที่ทำให้ธนาคารกลางคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจจะไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 2 ที่ธนาคารกลางปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจลง โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ได้กล่าวว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 5.5 จากเดิมเมื่อปลายปี 2545 ได้เคยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2546 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.7
ระดับราคาสินค้าผู้บริโภคยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2545 โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer Price Index)ในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า petroleum based และราคาสินค้าเกษตร ซึ่งส่งแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ (เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2544)อย่างไรก็ตามคณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ย Overnight call rate ไว้ที่ร้อยละ 4.25 ในการประชุมเมื่อต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ยังประสบกับภาวะความไม่แน่นอนของปัจจัยภายนอกประเทศ
ดุลการค้าในเดือนกุมภาพันธ์ยังคงขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ดุลการค้าติดลบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 โดยการส่งออกขยายตัวร้อยละ 22.5 ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงถึงร้อยละ 32 เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูง
บริษัท SK Global ซึ่งเป็นกลุ่ม Chaebol อันดับ 4 ของเกาหลีใต้ ประกาศตัวเลขขาดทุนน้อยกว่าความเป็นจริง 1,200 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการบิดเบือนการจัดทำบัญชีที่มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับที่เคยเกิดกับบริษัท World Com และ Enron ในสหรัฐฯส่งผลให้ค่าเงินวอนมีความผันผวน เนื่องจากเกิดความกังวลว่าบริษัทใหญ่อื่นๆ ที่เป็น Chaebol อาจทำเช่นเดียวกับ SK Global ซึ่งจะเกิดผลลบต่อการปฏิรูปภาคการเงินของเกาหลีใต้
กลุ่มอาเซียน
- ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจนนัก จากผลกระทบของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งนี้ ดัชนีชี้เศรษฐกิจที่สำคัญหลายตัวยังคงมีทิศทางที่ขัดแย้งกัน โดยค่าเงินเปโซมีความผันผวนสูง และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวในทิศทางที่อ่อนค่าลง โดยอ่อนค่าไปแตะระดับจิตวิทยาที่ 55 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ดีค่าเงินเปโซได้ปรับตัวแข็งอีกครั้งหลังสงครามปะทุขึ้น เนื่องจากตลาดคาดว่าสงครามที่เกิดขึ้นจะไม่ยืดเยื้อยาวนาน นอกจากนี้ ค่าเงินที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นวผลจากการออกมาตรการดูดซับสภาพคล่อง และป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินของธนาคารกลางฟิลิปปินส์
อัตรเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยอยู่ที่ร้อยละ 3.1 (yoy)สูงขั้นจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมกราคม จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบ และการอ่อนค่าของเงินเปโซในช่วงที่ผ่านมา
การนำเข้าล่าสุดในเดือนมกราคม 2546 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 45.0 (yoy) จากการนำเข้าสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการเร่งนำเข้าสินค้าล่วงหน้าเพื่อกักตุนก่อนเกิดภาวะสงคราม นอกจากนี้การนำเข้าที่เร่งขึ้นยังเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอันสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกจิในอนาคตที่แข็งแกร่ง
ฐานะการคลังของรัฐาลฟิลิปปินส์ในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้น เป็นผลจากรายรับภาครัฐที่เป็นไปตามเป้า และการใช้จ่ายที่มีประสิทธภาพ โดยในช่วง 2 เดือนแรกปีนี้ รัฐบาลขาดดุลงบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 31.53 พันล้านเปโซ ซึ่งยังคงอยู่ภายในเป้าการขาดดุลของไตรมาสแรกที่ 55 พันล้านเปโซ
อนึ่ง เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ได้ประกาศปรับเพิ่ม liquidity reserve requirement จากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 8 แต่ยังคงส่วนของ statutory reserve requirement ไว้ที่ร้อยละ 9.0 เช่นเดิมเพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน โดยการปรับเพิ่ม reserve requiement ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ควบคุมปริมาณเงินในระบบโดยการจำกัดสภาพคล่องของเงินเปโซ และ 2)เพื่อเป็น pre-emptive response ต่อความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อ (inflationary risks)ที่อาจปรับตัวสูงขึ้น โดยการปรับเพิ่มดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 21 มีนาคมนี้ เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังประกาศยกเลิกระบบ tiering system สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่นำเงินมาฝากไว้กับธนาคารกลางตามวงเงินาภายใต้ overnight facility โดยธนาคารพาณิชย์จะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา flat rate ทีร้อยละ 7.0 ซึ่งเป็นเพดานสูงสุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศนำเงินมาฝากไว้กับธนาคารกลางมากขึ้น
- เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.6 (yoy)สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.4 นอกจากนี้ ทางการยังได้ปรับเพิ่มตัวเลข GDP ไตรมาสก่อนหน้าจากร้อยละ 5.6 เป็นร้อยละ 5.8 (yoy) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะในด้านากรลงทุนที่เร่งตัวขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 9.8 (yoy)เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อนหน้าจากการลงทุนภาครัฐในโครงการพัฒนาต่างๆ ในขณะที่การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 4.5 (yoy)สำหรับการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 7.2 (yoy)เทียบกับที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 11.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ในสินค้า Semicondutor ชะลอตัวลงค่อนข้างมาก โดยรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังทำให้ GDP ในปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 4.2
สำหรับในด้านอุปทาน การผลิตในสาขาที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง คือสาขาเหมืองแร่ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 (yoy) เนื่องจากการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น และสาขาบริการขยายตัวร้อยละ 4.9 (yoy)ซึ่งขยายตัวตามอุปสงค์ภายในประเทศ สำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว แต่มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะการส่งออก
ดัชนีราคาผู้บริโภคล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดการขนส่งและสื่อสารและราคาน้ำมันเป็นหลัก ในขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารปรับตัวลดลง แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ตลาดคาดว่าทางการจะคงอัตราดอกเบี้ยนโนบายในระดับปัจจุบันไปจนกว่าทางการจะประกาศแผนเพิ่มวงเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในต้นเดือนเมษายนนี้
การส่งออกที่ยังคงขยายตัวประกอบกับเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศจากการกู้ยืมของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระบ 34.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เทียบกับที่ระดับ 34.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนมกราคม อนึ่ง ทางการมาเลเซียได้ประกาศปรับลดประมาณการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 จากเดิมร้อยละ 6-6.5 เป็นร้อยละ 4-4.5 เนื่องจากคาดว่าการส่งออกจะชะลอตัวลงจากผลของสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรัก
- เศรษฐกิจอินโดนีเซีย อยู่ในภาวะทรงตัวโดยอัตราเงินเฟืออยู่ที่ร้อยละ 7.3 (yoy) ในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงต่อเนื่องจากเดือนมกราคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.7 และสอดคล้องกับเป้าเงินเฟ้อของทางการซึ่งตั้งเป้าว่าอัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นปี จะอยู่ที่ร้อยละ 9 เทียบกับปลายปี 2545 ที่ร้อยละ 10 ทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง โดยอัตราดอกเบี้ย SBI ระยะ 3 เดือนในช่วงกลางเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.97 ลดลงจากร้อยละ 13.11 ในช่วงปลายปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ การที่ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวดีขึ้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวลดลงของราคาอาหาร กอปรกับค่าเงินรูเปียห์ที่มีเสถียรภาพ โดยในช่วงกลางเดือนมีนาคมค่าเงินรูเปียห์อยู่ที่ระดับ 8,915 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ.เทียบกับ 8,950 รูเปียห์ต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อปลายปี 2545 ตลอดจนฐานการคำนวณในปีก่อนหน้าสูง อย่างไรก็ดีการปรับขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของทางการเมื่อต้นปีอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ การลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2546 มีมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 138 (yoy) จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า การค้าในเดือนมกราคมเกินดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์สรอ.เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่เกิดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20.4 (yoy)เร่งจาก 3 เดือนก่อนหน้าที่เฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 13.7 (yoy) โดยเป็นการขยายตัวของทั้งการส่งออกน้ำมันซึ่งขยายตัวร้อยละ 38.2 ตามการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก และการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งขยายตัวร้อยละ 15.7 ทั้งนี้ การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 38.9 (yoy)
อย่างไรก็ดี การบริโภคภายในประเทศส่งสัญญาณชะลอตัว โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (สำรวจโดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย) ในเดือนมกราคมปรับตัวลดลงถึง 15.6 จุดจาก 73.8 จุดในเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.1 ในปี 2545 เทียบกับร้อยละ 8.1 ในปีก่อนหน้า
อนึ่ง อินโดนีเซียได้ลงนามในความตกลง Bilateral Swap Arrangement (แบบ one-way) มูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. กับญี่ปุ่นแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2546
- เศรษฐกิจสิงค์โปร์ไตรมาสที่ 4 ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 3.0 (yoy)สูงกว่าตัวเลข Avance GDP ที่ทางการได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 (yoy) ทำให้ GDP ทั้งปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 2.2 ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.4 โดยมีอุปสงค์ภายนอกเป็นปัจจัยผลักดันที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังขยายตัวไม่มากอย่างไรก็ดี ทางการสิงโปร์ยังคงประมาณการอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ไว้ที่ร้อยละ 2-5 เท่าเดิม
นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์แถลงเป้างบประมาณปี 2546 ขาดดุล 1.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (694 ล้านดอลลาร์ สรอ.) หรือประมาณร้อยละ 0.7 ของ GDP เทียบกับงบประมาณปี 2545 ที่ขาดดุล 94 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และงบประมาณปี 2544 ที่ขาดดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ทำให้สิงคโปร์จะขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยรัฐบาลมีแผนเร่งการใช้จ่ายมากขึ้นร้อยละ 9.4 (yoy) และยังคงสัดส่วนเงินได้ของนายจ้างที่ต้องสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลางไว้ที่ร้อยละ 16 ต่อไปอีก 2 ปี ทั้งนี้ จะเรียกเก็บภาษีเงินได้ส่วนบุคคลอัตราสูงสุดและภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตราสูงสุดและภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 22 เท่ากัน ในปีงบประมาณ 2546 อย่างไรก็ดี ภาคเอกชนและนักวิเคราะห์เห็นว่างบประมาณดังกล่าวไม่น่าจะช่วยให้ภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวได้มากเท่าใดนัก ส่วนกรณีที่สิงคโปร์ขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เห็นว่ายังไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากยังเป็นการขาดดุลงบประมาณในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้ นาย Lee Hsien Loong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์แถลงว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 2.6 (คำนวณจากตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคมเพียงเดือน เดียว)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สด-