(ต่อ3) โครงการประเมินผลการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา (ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารของไทยในภาพรวม)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 3, 2003 14:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ด้านวัตถุดิบในส่วนของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์  ที่สำคัญ  ได้แก่  ไก่  สำหรับการแปรรูปเป็น     
ผลิตภัณฑ์ไก่แช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูปอื่นๆ ประเทศไทยไม่มีความได้เปรียบคู่แข่งสำคัญ ซึ่งได้แก่
สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล และเม็กซิโก ในแง่ของความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบมากนัก เนื่องจาก
ประเทศไทยมีผลผลิตต่อปีเพียงร้อยละ 78.8, 96.3, 96.3 และ 74.7 ของผลผลิตต่อปี ของประเทศ
เหล่านี้ ตามลำดับ (FAOSTAT, 2001)
ค่าแรงงานก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในต้นทุนการผลิตอาหารของไทยมีแนวโน้มปรับตัว
สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับประเทศจีน พม่า เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ดังนั้นต้นทุนการ
ผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในส่วนของต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตจึงมีส่วนสร้างแรงกดดันต่อ
ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารที่ลดลง
ข้อจำกัดในการลดต้นทุนให้เกิดศักยภาพในการแข่งขันด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของ
เครื่องจักร เพิ่มคุณภาพของวัตถุดิบ ควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และให้ความสำคัญกับ
การวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชอาหารที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ตลอดจนเพิ่มทักษะแรงงานหรือผลิตภาพ
หน่วยเพิ่มของแรงงานให้สูงขึ้น
4.5.5 ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ส่งออก
การส่งออกสินค้าอาหารที่หลากหลาย จะช่วยกระจายความเสี่ยงในผลกระทบที่อาจเกิดกับ
อุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศ ในส่วนของประเทศไทยชนิดของอาหารที่ส่งออกมี
หลากหลายด้านพืช ผลไม้ ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ เป็นจุดที่ช่วยเสริมศักยภาพในการแข่งขัน มีสินค้า
ที่เลือกได้มาก สินค้าหนึ่งได้รับผลกระทบก็จะเป็นทางเลือกให้ผู้ซื้อซื้อสินค้าอื่นทดแทน และ
จากการสอบถามความเห็นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมหลักๆของแต่ละหมวดอาหาร
โดยรวมเห็นว่าประเทศไทยมีระดับความหลากหลายเหนือกว่าคู่แข่งขันแต่ไม่มากนัก (ตารางที่ 4.9)
ตารางที่ 4.9 ระดับความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก จำแนกตามประเภทผลิตภัณฑ์
อาหาร ปี พ.ศ. 2545
ประเภท ระดับเจตคติต่อความหลากหลายของผลิตภัณฑ์
X SD
1. ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ 2.2 0.7
2. ผลิตภัณฑ์ประมง 2.4 0.6
3. ข้าว ธัญพืช แป้ง และอาหารสำเร็จรูป 2.3 0.7
4. ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ 1.8 0.7
รวมทุกประเภท 2.1 0.7
ที่มา : จากการสำรวจ, 2545
หมายเหตุ : แบ่งเจตคติเป็น 3 ระดับ 1 = น้อย , 2 = ปานกลาง และ 3 = มาก
4.5.6 ความสามารถด้านการตลาดของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก
ยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้การค้าของโลกขยายขอบเขตที่กว้างครอบคลุมทั่วโลก ผู้นำเข้าจะเลือก
ซื้อสินค้าจากแหล่งผลิตต่างๆ โดยการเปรียบเทียบราคาและคุณภาพของสินค้าจากแหล่งผลิตต่างๆ
ดังนั้นประเทศผู้ส่งออกจึงไม่สามารถทำการตลาดในเชิงรับ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียเปรียบในเชิง
การแข่งขัน หากพิจารณาถึงศักยภาพด้านการตลาดของผู้ประกอบการไทยในด้านการส่งออก
ผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นการส่งออกในรูปของการผ่านผู้นำเข้าหรือรับจ้างผลิตโดย
ใช้ตรายี่ห้อของผู้นำเข้า (จากการสำรวจ, 2545) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายังเป็นระบบตลาดในเชิงตั้งรับ
ยังไม่สามารถขายสินค้าภายใต้ตรายี่ห้อของตนเอง และไม่สามารถขายตรงต่อผู้ค้าส่ง/ค้าปลีกภายใน
ประเทศ ตลอดจนการเข้าไปร่วมทุนในประเทศผู้นำเข้า ซึ่งปัจจุบันแม้จะมีบางบริษัทสามารถดำเนิน
การตามแนวทางใหม่ได้บ้างแล้ว แต่ก็มีไม่มากนัก ดังนั้นในแง่ของศักยภาพด้านการตลาดของ
ผู้ประกอบการไทยจึงอยู่ในระดับปานกลาง จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข โดยการพัฒนาและ
สร้างเครือข่ายด้านการตลาดส่งออกมากกว่าปัจจุบัน
4.5.7 มาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ
ภาครัฐมีนโยบายให้การสนับสนุนแก่อุตสาหกรรมอาหารมาเกือบทุกรัฐบาล แต่ให้ความ
สำคัญอย่างจริงจังภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 โดยในปี พ.ศ. 2541 ได้จัดทำ
แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา ซึ่งครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมอาหาร และยังได้จัดทำ
แผน แม่บทพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรในปี พ.ศ. 2542 นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมให้
ประเทศไทยเป็นครัวของโลกหรือซุปเปอร์มาเก็ตโลก และการใช้ตราไทยแลนด์แบนด์ เพื่อส่งเสริม
การส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งครอบคลุมสินค้าอาหาร นอกจากนี้ภาครัฐยังมีมาตรการอื่นๆ
ในการยกระดับมาตรฐานสินค้า จึงนับได้ว่าภาครัฐมีความพยายามในการสนับสนุนอุตสาหกรรม
อาหารอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามเนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่จัดทำขึ้น โดยเฉพาะแผนปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรมถึงแม้จะครอบคลุมถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ แต่เนื่องจากขาด
งบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ และขาดการประสานงานที่เป็นระบบเท่าที่ควร จึงทำให้การ
ดำเนินงานไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร แต่ก็จัดได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม
และช่วยให้ภาคราชการ และเอกชนเกิดการร่วมมือและตื่นตัวหันมาให้ความสำคัญกับการปรับปรุง
โดยเน้นการประสิทธิภาพการผลิตอย่างจริงจังในวงการอุตสาหกรรมอาหาร
4.6 ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎ (Reveal Comparative Advantage : RCA)
4.6.1 ผลิตภัณฑ์ประมง
ผลิตภัณฑ์ประมงส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กุ้งแช่เย็น
และแช่แข็ง โดยมีประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ ประเทศ แคนา อินเดีย และอินโดนีเซีย ผลการ
วิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎในสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็ง พบว่าในช่วงตั้งแต่
หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยยังมีศักยภาพการแข่งขันอยู่ในระดับเหนือกว่าคู่แข่ง
ถึงแม้ค่า RCA จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงแต่อยู่ในระดับเหนือกว่าคู่แข่ง โดยค่า RCA ของไทยในปี
พ.ศ. 2544 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 13.52 จากที่ลดลงอยู่ในระดับ 11.82 ในปี พ.ศ. 2543 (ตารางที่ 4.10
และรูปที่ 4.3)
ตารางที่ 4.10 แสดงค่าดัชนี RCA ของผลิตภัณฑ์ประมง (กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง) ของไทยและคู่แข่ง
สำคัญ ปี พ.ศ. 2539-2544
ปี RCA
แคนาดา อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย
2539 1.49 10.80 10.28 18.21
2540 1.57 11.94 10.75 16.04
2541 1.18 13.23 11.30 15.51
2542 1.10 12.22 11.85 14.08
2543 1.54 11.47 8.80 11.82
2544 1.64 11.90 9.83 13.52
ที่มา : จากการคำนวณ
4.6.2 ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 1 ของหมวด
ได้แก่ ไก่แช่เย็นแช่แข็ง โดยมีประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ ประเทศ สหรัฐอเมริกา บราซิล และ
เนเธอแลนด์ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎในสินค้าไก่แช่เย็น
แช่แข็ง พบว่าในช่วงตั้งแต่หลังเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยรวมประเทศไทยยังมีศักยภาพการ
แข่งขันอยู่ในระดับเหนือกว่าคู่แข่ง ยกเว้นประเทศบราซิล ถึงแม้ค่า RCA จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง
แต่อยู่ในระดับเหนือกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา และเนเธอแลนด์ โดยค่า RCA ของไทยในปี
พ.ศ. 2544 ชะลอตัวลงเหลือ 4.4 ขณะที่เนเธอแลนด์ และสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลงเหลือ 2.1 และ
2.5 ตามลำดับ (ตารางที่ 4.11 และรูปที่ 4.4)
ตารางที่ 4.11 แสดงค่าดัชนี RCA ของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ (ไก่แช่เย็นแช่แข็ง) ของไทยและคู่แข่ง
สำคัญปี พ.ศ. 2539-2544
ปี RCA
สหรัฐอเมริกา บราซิล เนเธอแลนด์ ไทย
2539 2.40 12.55 3.03 4.62
2540 2.22 6.85 3.18 4.89
2541 2.03 11.50 2.69 5.84
2542 1.76 15.81 3.25 5.97
2543 1.91 13.94 2.64 5.50
2544 2.10 13.24 2.50 4.44
ที่มา : จากการคำนวณ
4.6.3 ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับ 1
ของหมวด ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง โดยมีประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ ประเทศ อินโดนีเซีย และ
ฟิลิปปินส์ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎในสินค้าสับปะรดกระป๋อง
พบว่า ในช่วงตั้งแต่หลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยรวมประเทศไทยยังมีศักยภาพการแข่งขัน
อยู่ในระดับเหนือกว่าคู่แข่ง ถึงแม้ค่า RCA จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงแต่อยู่ในระดับเหนือกว่า
ประเทศอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยค่า RCA ของไทยในปี พ.ศ. 2544 ชะลอตัวลงเหลือ 32
ขณะที่อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 13.4 และ 26.3 ตามลำดับ (ตารางที่ 4.12 และรูปที่ 4.4)
ตารางที่ 4.12 แสดงค่าดัชนี RCA ของ ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ (สับปะรดกระป๋อง) ของไทย
และคู่แข่งสำคัญ ปี พ.ศ. 2539-2544
ปี RCA
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย
2539 14.37 35.35 36.91
2540 9.14 35.00 34.80
2541 5.71 29.16 34.40
2542 14.65 18.83 44.77
2543 11.45 26.90 36.90
2544 13.39 26.30 32.00
ที่มา : จากการคำนวณ
ตารางที่ 4.5 แสดงค่าดัชนี RCA ของ ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ (สับปะรดกระป๋อง) ของ
ประเทศไทยและคู่แข่งสำคัญ ปี พ.ศ. 2539-2544
50
45
40
35 อินโดนีเซีย
30 ฟิลิปปินส์
25 ไทย
20
15
10
5
0
2539 2540 2541 2542 2543 2544
4.6.4 ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูป
ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าการส่งออก
เป็นอันดับ 1 ของหมวด ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง โดยมีประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ ประเทศ
บราซิล กาน่าร์ และสิงคโปร์ ผลการวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎในสินค้า
แป้งมันสำปะหลัง พบว่า ในช่วงตั้งแต่หลังเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยรวมประเทศไทยยังคง
มีศักยภาพการแข่งขันอยู่ในระดับเหนือกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก โดยค่า RCA จะของไทยในปี
พ.ศ. 2544 อยู่ที่ระดับ 74.92 ลดลงจากที่ระดับ 82.19 ขณะที่ประเทศ บราซิล กาน่าร์ และสิงคโปร์
อยู่ที่ระดับ 2.47 1.37 และ 0.73 ตามลำดับ (ตารางที่ 4.13 และรูปที่ 4.5)
ตารางที่ 4.13 แสดงค่าดัชนี RCA ของผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
(แป้งมันสำปะหลัง) ของประเทศไทยและคู่แข่งสำคัญ ปี พ.ศ. 2539-2544
ปี RCA
บราซิล กาน่าร์ สิงคโปร์ ไทย
2539 0.80 0.51 0.37 80.30
2540 1.26 0.48 0.52 88.31
2541 2.15 0.52 0.48 94.21
2542 2.21 1.21 0.73 89.76
2543 2.20 1.21 0.42 82.19
2544 2.47 1.37 0.73 74.92
ที่มา : จากการคำนวณ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ