4.7 ส่วนแบ่งการตลาดคงที่ (Constant Market Share : CMS)
4.7.1 ผลิตภัณฑ์ประมง
ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ของผลิตภัณฑ์ประมงในส่วนของกุ้งแเช่เย็นแช่แข็งในช่วงปี พ.ศ. 2541 -- 2544 พบว่า การส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยไม่สามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) มีเพิ่มสูงขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2544 แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D)ซึ่งเกิดจากการส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งได้เป็นสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้นำมาตรการ NTB โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สิ่งแวดล้อม และมาตรการด้าน TBT มาใช้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งของไทยในปี พ.ศ. 2544 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 978.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.2 ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในส่วนของการส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าไก่แช่เย็นแช่แข็งของไทยสามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เล็กน้อย ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันมีเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 169.85 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงหรือมีกำลังซื้อสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งญี่ปุ่นประสบภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ และได้มีการนำมาตรการ NTB โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจหาสารไนโตรฟูแลน และมาตรการด้าน TBT มาใช้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไก่แช่เย็นแช่แข็งในปี พ.ศ. 2544 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 494.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.3 ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์
ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ในส่วนของสับปะรดกระป๋อง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องของประเทศไทยสามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เพื่อขยายการส่งออกได้ ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) อยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 2,518.83 แต่ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เนื่องจากมีการนำมาตรการ NTB โดยสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ขณะที่สหภาพยุโรปใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการกีดกัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยในปี พ.ศ. 2544 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 และปี พ.ศ. 2542 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 82.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.4 ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ในส่วนของแป้งมันสำปะหลัง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไม่สามารถอาศัยผลจากการอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เพื่อขยายการส่งออกได้ ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่างประเทศจีน และอินโดนีเซีย โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 642.81 แต่ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยในปี 2544 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 เล็กน้อย โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 100.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ตารางที่ 4.17)
4.8 สรุปศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารโดยรวม
สินค้าอาหารส่งออกของประเทศไทยโดยรวมในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์หลักๆในปัจจุบันยังมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญ ถึงแม้ค่าดัชนี RCA และ CMS จะระบุถึงแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกที่ชะลอตัวลง แต่โดยรวมแล้วดัชนียังมีค่าสูงกว่าประเทศคู่แข่งค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และไก่แช่เย็นแช่แข็ง ในหมวดผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ผลิตภัณฑ์อาหารโดยภาพรวมจะยังมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ แต่แนวโน้มมูลค่าการส่งออกในผลิตภัณฑ์หลักๆ ในแต่ละหมวดที่ชะลอตัวลง ได้บ่งชี้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ลดลง โดยมีเหตุผลหลักๆ มาจากความได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิตในประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น คุณภาพวัตถุดิบและ ประสิทธิภาพการผลิตพืชอาหารยังไม่ปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น และประสิทธิภาพของเครื่องจักรในส่วนของโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมยังปรับตัวดีขึ้นไม่มากนัก ซึ่งเป็นแรงผลักดันจากเงื่อนไขของปัจจัยการผลิต และการนำมาตรการกีดดันที่มิใช่การค้า โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการด้านสุขอนามัย และเศรษฐกิจของประเทศนำเข้าหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าสู่ภาวะชะลอตัว และญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องทำให้ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหรือแรงกดดันด้วยเงื่อนไขทางด้านอุปสงค์ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าอาหารของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ในทุกระดับการผลิตของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การวิจัยพันธุ์พืชและพันธ์สัตว์ จนกระทั่งถึงผลิตภัณฑ์อาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อปรับปรุงให้เกิดต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำสุด และการคิดค้นเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ขั้นกลาง และสำเร็จรูปที่ตรงกับความต้องการของตลาดนำเข้าอาหารหลักๆของประเทศไทย โดยยึดหลักมาตรฐานการผลิตในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของระบบมาตรฐานด้าน HACCP และ ISO ตลอดจนรวมถึงการขยายการผลิตที่สร้างมาตรฐานด้านอาหารฮาลาลเพื่อเจาะกลุ่มตลาด ผู้บริโภคมุสลิมทั้งในตะวันออกกลาง และที่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อรักษาหรือพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในด้านการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าอาหารให้คงไว้ทั้งในด้านของปริมาณและคุณภาพของสินค้าอาหาร ซึ่งหมายถึงการสร้างหรือคงรายได้เงินตราต่างประเทศ และการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจในส่วนของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ซึ่งมีพืชอาหารและสินค้าอาหารเป็นองค์ประกอบสำคัญให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
* ดูรายละเอียดตารางได้ที่ http://www.oie.go.th
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-
4.7.1 ผลิตภัณฑ์ประมง
ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ของผลิตภัณฑ์ประมงในส่วนของกุ้งแเช่เย็นแช่แข็งในช่วงปี พ.ศ. 2541 -- 2544 พบว่า การส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยไม่สามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) มีเพิ่มสูงขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2541 - 2544 แต่ก็ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D)ซึ่งเกิดจากการส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งได้เป็นสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้นำมาตรการ NTB โดยเฉพาะในด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช สิ่งแวดล้อม และมาตรการด้าน TBT มาใช้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งแช่เย็นแช่แข็งของไทยในปี พ.ศ. 2544 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 978.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.2 ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในส่วนของการส่งออกไก่แช่เย็นแช่แข็ง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าไก่แช่เย็นแช่แข็งของไทยสามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เล็กน้อย ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันมีเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 169.85 แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงหรือมีกำลังซื้อสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งญี่ปุ่นประสบภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจ และได้มีการนำมาตรการ NTB โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจหาสารไนโตรฟูแลน และมาตรการด้าน TBT มาใช้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไก่แช่เย็นแช่แข็งในปี พ.ศ. 2544 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 494.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.3 ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์
ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ในส่วนของสับปะรดกระป๋อง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องของประเทศไทยสามารถอาศัยผลจากอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เพื่อขยายการส่งออกได้ ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) อยู่ในระดับค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 2,518.83 แต่ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เนื่องจากมีการนำมาตรการ NTB โดยสหรัฐอเมริกาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ขณะที่สหภาพยุโรปใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการกีดกัน ซึ่งส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าสับปะรดกระป๋องของไทยในปี พ.ศ. 2544 ลดลงจากปี พ.ศ. 2543 และปี พ.ศ. 2542 โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 82.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.7.4 ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ในส่วนของแป้งมันสำปะหลัง ผลการวิเคราะห์แบบ CMS ในช่วงปี พ.ศ. 2541 - 2544 พบว่า การส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไม่สามารถอาศัยผลจากการอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (W) เพื่อขยายการส่งออกได้ ในขณะที่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (P) อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อ เปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง อย่างประเทศจีน และอินโดนีเซีย โดยมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 642.81 แต่ได้รับผลกระทบจากการกระจายตลาด (D) ซึ่งเกิดจากการส่งออกไปในสัดส่วนที่น้อยลงในตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูง ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าแป้งมันสำปะหลังของไทยในปี 2544 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 เล็กน้อย โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 100.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ตารางที่ 4.17)
4.8 สรุปศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารโดยรวม
สินค้าอาหารส่งออกของประเทศไทยโดยรวมในทุกหมวดผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์หลักๆในปัจจุบันยังมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญ ถึงแม้ค่าดัชนี RCA และ CMS จะระบุถึงแนวโน้มของมูลค่าการส่งออกที่ชะลอตัวลง แต่โดยรวมแล้วดัชนียังมีค่าสูงกว่าประเทศคู่แข่งค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลัง และไก่แช่เย็นแช่แข็ง ในหมวดผลิตภัณฑ์ธัญพืช ข้าว แป้ง และอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ผลิตภัณฑ์อาหารโดยภาพรวมจะยังมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ แต่แนวโน้มมูลค่าการส่งออกในผลิตภัณฑ์หลักๆ ในแต่ละหมวดที่ชะลอตัวลง ได้บ่งชี้ความได้เปรียบด้านการแข่งขันที่ลดลง โดยมีเหตุผลหลักๆ มาจากความได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิตในประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะแนวโน้มค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น คุณภาพวัตถุดิบและ ประสิทธิภาพการผลิตพืชอาหารยังไม่ปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น และประสิทธิภาพของเครื่องจักรในส่วนของโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมยังปรับตัวดีขึ้นไม่มากนัก ซึ่งเป็นแรงผลักดันจากเงื่อนไขของปัจจัยการผลิต และการนำมาตรการกีดดันที่มิใช่การค้า โดยเฉพาะในเรื่องของมาตรการด้านสุขอนามัย และเศรษฐกิจของประเทศนำเข้าหลัก ที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าสู่ภาวะชะลอตัว และญี่ปุ่น เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องทำให้ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหรือแรงกดดันด้วยเงื่อนไขทางด้านอุปสงค์ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้มูลค่าส่งออกสินค้าอาหารของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมกันพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ในทุกระดับการผลิตของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การวิจัยพันธุ์พืชและพันธ์สัตว์ จนกระทั่งถึงผลิตภัณฑ์อาหาร การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อปรับปรุงให้เกิดต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำสุด และการคิดค้นเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ขั้นกลาง และสำเร็จรูปที่ตรงกับความต้องการของตลาดนำเข้าอาหารหลักๆของประเทศไทย โดยยึดหลักมาตรฐานการผลิตในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของระบบมาตรฐานด้าน HACCP และ ISO ตลอดจนรวมถึงการขยายการผลิตที่สร้างมาตรฐานด้านอาหารฮาลาลเพื่อเจาะกลุ่มตลาด ผู้บริโภคมุสลิมทั้งในตะวันออกกลาง และที่กระจุกตัวอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อรักษาหรือพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในด้านการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าอาหารให้คงไว้ทั้งในด้านของปริมาณและคุณภาพของสินค้าอาหาร ซึ่งหมายถึงการสร้างหรือคงรายได้เงินตราต่างประเทศ และการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจในส่วนของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ซึ่งมีพืชอาหารและสินค้าอาหารเป็นองค์ประกอบสำคัญให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
* ดูรายละเอียดตารางได้ที่ http://www.oie.go.th
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2644-8604--
-สส-