คุณถาม : ประเทศสหรัฐอเมริกาควบคุมกุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างไรบ้าง
EXIM ตอบ : สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีมาตรการควบคุมการนำเข้ากุ้งที่เข้มงวดมาก ที่สำคัญได้แก่
มาตรการด้านสุขอนามัย องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ (United States Food and
Drug Administration: USFDA) ได้นำระบบการจัดการผลิตอาหาร (Hazard Analysis
Critical Control Point: HACCP) มาใช้ควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภท
รวมถึงสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องควบคุมและตรวจสอบในทุกขั้นตอนของ
การผลิตตั้งแต่การแปรรูป การเก็บรักษา และการขนส่งอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด
ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ สิ่งปนเปื้อน และสารตกค้างต่างๆ โดยกุ้งที่สหรัฐฯ นำเข้าต้องผ่านการ
ตรวจสอบจาก USFDA ทั้งในห้องปฏิบัติการและตรวจด้วยวิธีประสาทสัมผัส หากสินค้าใดไม่ผ่านการ
ตรวจสอบจะถูกกักกัน ส่งคืน หรือทำลาย และห้ามนำเข้าในสหรัฐฯ โดยเด็ดขาด
กฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลของสหรัฐฯ (Section 609 of Public Law 101-162) เป็นกฎหมาย
ที่สหรัฐฯ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 เป็นต้นมา เพื่อใช้ควบคุมการนำเข้ากุ้งทะเลที่จับ
ตามแหล่งธรรมชาติ โดยสหรัฐฯ กำหนดให้เรือประมงของประเทศผู้ส่งออกกุ้งไปตลาดสหรัฐฯ ต้อง
ติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเล (Turtle Excluder Devices: TEDs) ด้วย ทั้งนี้ เพื่อต้อง
การอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
ในปี 2544 ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งในสหรัฐฯ ได้มากที่สุด เนื่องจากโรงงานผลิตภัณฑ์
สัตว์น้ำของไทยสามารถดำเนินการด้าน สุขอนามัยได้ตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด นอกจากนี้
สหรัฐฯ ยังให้การรับรองว่าไทยมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่ากฎหมา ยคุ้มครองเต่าทะเล
ของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ไทยสามารถส่งกุ้งทุกชนิด อาทิ กุ้งกุลาดำ (เป็นกุ้งที่สหรัฐฯ นิยมนำเข้า
จากไทย) โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันสหรัฐฯ ยังคงมีการสุ่มตรวจสอบโรงงานผลิตกุ้งของไทยเป็นระยะๆ นอกจากนี้ ล่าสุดสหรัฐฯ
ยังออกกฎหมายที่สำคัญอีก 2 ฉบับ คือ
1. Public Health Security and Bioterrorism Preparedness and Response
Act of 2002 เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ รวมทั้งอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2545
2. Farm Security and Rural Investment Act of 2002 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ค้า
ปลีกต้องระบุแหล่งกำเนิดสินค้าบนฉลา กสินค้าให้เห็นชัดเจน ซึ่งจะครอบคลุมถึงสินค้าเกษตรและ
อาหารทะเลทุกชนิดที่มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2545 นี้
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลให้การส่งออกกุ้งต้องเผชิญกับกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ
ที่เข้มงวดมากขึ้น
คุณถาม : IC Packaging คืออะไร
EXIM ตอบ : IC Packaging คือ การประกอบ (Packaging) แผงวงจรไฟฟ้าโดยนำแผนภูมิวงจรทางเดินไฟฟ้า
มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นแผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit: IC) ที่สมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นชิ้น
ส่วนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยแผงวงจรไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า
(Semiconductor) ที่ช่วยให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกอบแผงวงจรไฟฟ้านับเป็นขั้นตอนหลักขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซมิคอน
ดักเตอร์ทั้งวงจร นอกเหนือจากขั้นตอนการออกแบบวงจร (Circuit Design) และขั้นตอนการ
ผลิตแผ่นเวเฟอร์ (Wafer Fabrication) ซึ่งเป็นการประดิษฐ์แผนภูมิวงจรทางเดินไฟฟ้าที่เรียกว่า
Die หรือ Chip จำนวนมากตามที่ได้ออกแบบไว้
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของไทยอยู่ในขั้นตอนการประกอบแผงวงจรเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่
ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนัก โดยเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นสำคัญและต้อง
พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง ขณะที่ไทยยังมีข้อจำกัดในการออกแบบวงจร
และการผลิตแผ่นเวเฟอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นทางของเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นส่วนที่สามารถ
สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงต่างจากคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ที่สามารถออกแบบและผลิตแผ่น
เวเฟอร์ ดังนั้น หากไทยจะก้าวขึ้นไปแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์รวมถึงอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและ
อุตสาหกรรมสนับสนุนในขั้นตอนของการออกแบบวงจรและการผลิตแผ่นเวเฟอร์ด้วย
ข้อมูลจากฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมีนาคม 2546--
-ศน-
EXIM ตอบ : สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีมาตรการควบคุมการนำเข้ากุ้งที่เข้มงวดมาก ที่สำคัญได้แก่
มาตรการด้านสุขอนามัย องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ (United States Food and
Drug Administration: USFDA) ได้นำระบบการจัดการผลิตอาหาร (Hazard Analysis
Critical Control Point: HACCP) มาใช้ควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภท
รวมถึงสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง โดยกำหนดให้ผู้ผลิตต้องควบคุมและตรวจสอบในทุกขั้นตอนของ
การผลิตตั้งแต่การแปรรูป การเก็บรักษา และการขนส่งอย่างเข้มงวด เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด
ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ สิ่งปนเปื้อน และสารตกค้างต่างๆ โดยกุ้งที่สหรัฐฯ นำเข้าต้องผ่านการ
ตรวจสอบจาก USFDA ทั้งในห้องปฏิบัติการและตรวจด้วยวิธีประสาทสัมผัส หากสินค้าใดไม่ผ่านการ
ตรวจสอบจะถูกกักกัน ส่งคืน หรือทำลาย และห้ามนำเข้าในสหรัฐฯ โดยเด็ดขาด
กฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลของสหรัฐฯ (Section 609 of Public Law 101-162) เป็นกฎหมาย
ที่สหรัฐฯ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 เป็นต้นมา เพื่อใช้ควบคุมการนำเข้ากุ้งทะเลที่จับ
ตามแหล่งธรรมชาติ โดยสหรัฐฯ กำหนดให้เรือประมงของประเทศผู้ส่งออกกุ้งไปตลาดสหรัฐฯ ต้อง
ติดตั้งเครื่องมือแยกเต่าทะเล (Turtle Excluder Devices: TEDs) ด้วย ทั้งนี้ เพื่อต้อง
การอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
ในปี 2544 ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดกุ้งในสหรัฐฯ ได้มากที่สุด เนื่องจากโรงงานผลิตภัณฑ์
สัตว์น้ำของไทยสามารถดำเนินการด้าน สุขอนามัยได้ตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด นอกจากนี้
สหรัฐฯ ยังให้การรับรองว่าไทยมีกฎหมายคุ้มครองเต่าทะเลเทียบเท่ากฎหมา ยคุ้มครองเต่าทะเล
ของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลให้ไทยสามารถส่งกุ้งทุกชนิด อาทิ กุ้งกุลาดำ (เป็นกุ้งที่สหรัฐฯ นิยมนำเข้า
จากไทย) โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างไรก็ตาม
ปัจจุบันสหรัฐฯ ยังคงมีการสุ่มตรวจสอบโรงงานผลิตกุ้งของไทยเป็นระยะๆ นอกจากนี้ ล่าสุดสหรัฐฯ
ยังออกกฎหมายที่สำคัญอีก 2 ฉบับ คือ
1. Public Health Security and Bioterrorism Preparedness and Response
Act of 2002 เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อป้องกันการก่อการร้ายผ่านทางการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ รวมทั้งอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2545
2. Farm Security and Rural Investment Act of 2002 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ค้า
ปลีกต้องระบุแหล่งกำเนิดสินค้าบนฉลา กสินค้าให้เห็นชัดเจน ซึ่งจะครอบคลุมถึงสินค้าเกษตรและ
อาหารทะเลทุกชนิดที่มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2545 นี้
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลให้การส่งออกกุ้งต้องเผชิญกับกฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ
ที่เข้มงวดมากขึ้น
คุณถาม : IC Packaging คืออะไร
EXIM ตอบ : IC Packaging คือ การประกอบ (Packaging) แผงวงจรไฟฟ้าโดยนำแผนภูมิวงจรทางเดินไฟฟ้า
มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นแผงวงจรไฟฟ้า (Integrated Circuit: IC) ที่สมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นชิ้น
ส่วนสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยแผงวงจรไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า
(Semiconductor) ที่ช่วยให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประกอบแผงวงจรไฟฟ้านับเป็นขั้นตอนหลักขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซมิคอน
ดักเตอร์ทั้งวงจร นอกเหนือจากขั้นตอนการออกแบบวงจร (Circuit Design) และขั้นตอนการ
ผลิตแผ่นเวเฟอร์ (Wafer Fabrication) ซึ่งเป็นการประดิษฐ์แผนภูมิวงจรทางเดินไฟฟ้าที่เรียกว่า
Die หรือ Chip จำนวนมากตามที่ได้ออกแบบไว้
ปัจจุบันอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของไทยอยู่ในขั้นตอนการประกอบแผงวงจรเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่
ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนัก โดยเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นสำคัญและต้อง
พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศในสัดส่วนสูง ขณะที่ไทยยังมีข้อจำกัดในการออกแบบวงจร
และการผลิตแผ่นเวเฟอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นทางของเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นส่วนที่สามารถ
สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงต่างจากคู่แข่ง เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ที่สามารถออกแบบและผลิตแผ่น
เวเฟอร์ ดังนั้น หากไทยจะก้าวขึ้นไปแข่งขันในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์รวมถึงอุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ในระดับเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ก็จำเป็นต้องเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานและ
อุตสาหกรรมสนับสนุนในขั้นตอนของการออกแบบวงจรและการผลิตแผ่นเวเฟอร์ด้วย
ข้อมูลจากฝ่ายวิชาการและแผนงาน
--Exim News ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมีนาคม 2546--
-ศน-