= มหาสงกรานต์ เบิกบานวิถีไทย
สำนักประชามพันธ์จัดกิจกรรม "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" และ "วันครอบครัว"
เนื่องในโอกาสมหาสงกรานต์เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมสรงน้ำพระ พร้อมตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว
และได้ระลึกถึงคุณค่าของผู้สูงอายุที่มีต่อสังคม ระหว่างวันที่ ๗-๑๘ เมษายน ๒๕๔๖
ณ บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑
= รายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา บริเวณห้องโถงชั้นล่าง
อาคารรัฐสภา ๑ นายภาคิน สมมิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อจากพรรคไทยรักไทย
ได้มารายงานตัว ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แทนนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ที่ได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๖ เพื่อไปรับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สรุปการให้สัมภาษณ์
"ความสำคัญของวันสงกรานต์"
ของ
นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่รัฐสภา วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย
พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความสำคัญ
ของวันสงกรานต์ ณ ห้องทำงานประธานรัฐสภา ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ ว่า
วันสงกรานต์ในสมัยก่อนตามโบราณกาลถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการเปลี่ยนปีตาม ๑๒ นักษัตร
คือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น โดยการย้ายเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเริ่มนับตามนักขัตฤกษ์
เนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่าของไทย ซึ่งในอดีตวันสงกรานต์จะเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิต
ย่างขึ้นปีใหม่ เรียกว่า รับปีใหม่ และอยู่ในช่วงของการหมดฤดูเก็บเกี่ยว เข้าสู่ฤดูว่างงาน
โดยมีการพักผ่อนและเป็นตัวของตัวเอง จึงถือโอกาสในจังหวะดังกล่าวนี้มาร่วมสนุกสนาน
เล่นสงกรานต์สาดน้ำกัน มีการเยี่ยมปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ
ที่ล่วงลับไปแล้วร่วมกัน ในปัจจุบันถือว่าเป็นวันครอบครัวเป็นประเพณีไทยที่สืบทอดมายาวนาน
และได้มีการเปลี่ยนจากปีใหม่ในเดือนสงกรานต์มาเป็นปีใหม่สากล คือ เดือนมกราคม แต่ก็ยังถือว่า
ปีใหม่สงกรานต์ยังเป็นปีใหม่เดิมอยู่ เมื่อทางราชการจัดให้เป็นวันหยุด จึงควรสืบสานประเพณีเดิม
โดยเน้นด้านบรรพบุรุษและกลับไปภูมิลำเนา เพื่อพบปู่ย่าตายายและพี่น้อง เพื่อร่วมทำบุญและสนุกสนาน
รื่นเริงด้วยกัน แต่อย่าให้เกินขอบเขต เพราะวันปีใหม่และวันสงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก
เนื่องจากปรากฏว่ามีคนตายเป็นจำนวนมาก เป็นความสูญเสียของครอบครัว แทนที่จะเป็นการสร้าง
ความดีให้กับครอบครัว กลับสร้างความหดหู่ให้เกิดขึ้นอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างมาก และตนขอให้
วันหยุดดังกล่าวนี้ เป็นวันหยุดเพื่อไปทำบุญ เคารพกราบไหว้ผู้ใหญ่ และเป็นวันปีใหม่ที่มีแต่ความสนุกสนาน
ความชื่นบาน แต่บางคนกลับไปทำแต่ความโศกเศร้า เพราะสนุกสนานกันเกินขอบเขต ตนขอให้ระลึกถึง
ตรงจุดนี้ด้วย โดยขอให้สนุกสนานและยึดถือปฏิบัติตามวิถีของคนไทย สร้างแต่ความดี ความเบิกบาน
สนุกสนานร่วมกัน ไม่ใช่สร้างความทุกข์
ในฐานะที่ตนเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ขอฝากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลับภูมิลำเนา
เพื่อพบปะกับประชาชน เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและเป็นภาระอยู่ และตนได้มีคำสั่งงดการประชุม
สภาผู้แทนราษฎรในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ เพื่อให้สมาชิกฯ ได้มีโอกาสพบปะกับประชาชน
ได้อย่างเต็มที่ เพราะบางหมู่บ้านยังคงสนุกสนาน ทำบุญตามประเพณีกันอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ
ประชาชนตนขอเตือนย้ำว่าวันสงกรานต์ จริง ๆ แล้ว ถือเป็นวันครอบครัวนั้นถูกต้อง
และยังรวมไปถึงวันบรรพบุรุษด้วย โดยให้นึกถึงปู่ย่าตายาย วงศาคณาญาติ มีการเคารพกราบไหว้ท่าน
จึงจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของ วันสงกรานต์ ส่วนการรื่นเริง การละเล่น ถือเป็นประเพณีอยู่แล้ว
แต่อย่าเล่นกันเกินเลยถึงกับเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะเป็นวันดี จึงขอฝาก
ประชาชนเมื่อเห็นคนอื่นทำไม่ดีควรมีการตักเตือนกัน และในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของไทย ขออาราธนา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดคุ้มครองให้พี่น้องของเราแคล้วคลาดภยันตรายจากการเดินทางและขอให้
ประสบแด่ความสุขความเจริญทั่วทุกคน
------------------------------------------------------
= พิธีเปิดโครงการยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๒
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน
ในพิธีเปิดโครงการยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๒ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ณ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถนนงามวงศ์วาน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งรุ่นที่ ๒
จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๐-๓๐ เมษายน ๒๕๔๖ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้มี
วิสัยทัศน์ วิถีความคิด วิถีชีวิต คุณธรรม จิตสำนึก และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นพระประมุข รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและสร้างทัศนคติเกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแก่เยาวชน ตลอดจน
ความรู้รอบตัวในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต อาทิ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีความสนใจศึกษาหาความรู้และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง
การปกครอง และข่าวสารความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
= เยาวชนไทยกับ "การประกวดเรียงความส่งเสริมประชาธิปไตย"
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง จัดโครงการ
ส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กิจกรรมการประกวดเรียงความ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย
ประจำปี ๒๕๔๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนสนใจศึกษาความรู้เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความรู้สึก ความคิด จินตนาการ
ในเชิงสร้างสรรค์ โดยถ่ายทอดออกมาในรูปเรียงความ ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดประกวด โดยมี
นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ เป็นประธานกรรมการ และนายศุภพงศ์ ขจรศิลป์ เป็นรองประธานกรรมการ
ทั้งนี้คณะกรรมการจะมีหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบของเรียงความ คุณสมบัติของผู้ประกวด เกณฑ์การตัดสิน
รางวัลตอบแทนทุกรางวัล รวมทั้งระยะเวลาการรับสมัคร
โดยจะต้องเป็นเรียงความที่มีความยาวไม่เกิน ๕ หน้ากระดาษ A ๔ และเป็นเรื่องที่
เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทย โดยสามารถส่งได้ที่สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลข ๐-๒๓๕๗-๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๔
= รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล
เข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ดังนี้
๑. เจ้าหน้าที่ชวเลข ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางพณิชยการ บัญชี
เลขานุการ ภาษาต่างประเทศ
๒. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางพณิชยการ บัญชี
เลขานุการ ภาษาต่างประเทศ
๓. เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางช่างไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ ช่างวิทยุ ช่างภาพ
วิจิตรศิลป์ หรือศิลปประยุกต์
๔. ช่างไฟฟ้าสื่อสาร ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ
หรือช่างโทรคมนาคม
๕. เจ้าพนักงานธุรการ ๒ วุฒิการศึกษา ปวท. หรือ
เทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ
การจัดการทั่วไป การจัดการ
สำนักงาน ภาษาอังกฤษธุรกิจ หรือ
วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ
๖. นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ ๒ วุฒิการศึกษา ปวท. หรือ
เทียบเท่าทางเทคนิควิศวกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ เทคนิควิศวกรรม
ไฟฟ้า หรือ
วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางอิเล็กทรอนิกส์
ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ และ
โทรคมนาคม
๗. นายช่างศิลป์ ๒ วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางศิลปกรรม ออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ มัณฑนศิลป์ หรือ
จิตรกรรม
๘. นิติกร ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางกฎหมาย
๙. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบัญชี
๑๐. นักบัญชี ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบัญชี
๑๑. นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โสตทัศนศึกษา เทคโนโลยี
การศึกษา หรือจิตวิทยา
การศึกษาเน้นการศึกษาผู้ใหญ่
๑๒. นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางโสตทัศนศึกษา นิเทศศาสตร์
วารสารศาสตร์ หรือ
สื่อสารมวลชน
๑๓. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๔. ผู้สื่อข่าว ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๕. ผู้จัดรายการ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๖. บรรณารักษ์ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบรรณารักษ์
๑๗. เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางคอมพิวเตอร์
ผู้สนใจสมัครขอรายละเอียด พร้อมทั้งยื่นใบสมัคร ได้ที่สำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ พญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ (โรงกษาปณ์เก่า) ระหว่าง
วันที่ ๑๗ เมษายน ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ
หรือสอบถามได้ที่ โทร. ๐-๒๓๕๗-๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๑๐-๓๑๑๒ หรือ ต่อ ๓๑๙๐-๓๑๙๒
หรือทาง Web Site ของรัฐสภาที่ www.parliament.go.th
ผู้สมัครต้องยื่นเอกสารและหลักฐานพร้อมค่าธรรมเนียมในการสมัคร ตำแหน่งระดับ ๑ และ ๒
ตำแหน่งละ ๕๐ บาท ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งละ ๑๐๐ บาท
= พิธีทำบุญอาคารโรงกษาปณ์
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ คน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐
ส่งผลให้ต้องพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนระบบงานรัฐสภาเพิ่มมากขึ้น ข้าราชการ
รัฐสภาและผู้เกี่ยวข้องกับวงการรัฐสภาจึงมากขึ้นตามลำดับ ทำให้อาคารสถานที่การใช้ปฏิบัติงาน
เกิดความคับแคบ เนื่องจากอาคารรัฐสภาทั้ง ๓ อาคารถูกปรับปรุงเป็นห้องทำงานของคณะกรรมาธิการประจำสภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหารระดับสูงจึงแก้ไขปัญหาพื้นที่ใช้งานไม่เพียงพอด้วยการเช่าอาคารทิปโก้
ถนนพระราม ๖ และอาคารธนาคารทหารไทย ถนนศรีอยุธยา ซึ่งใช้งานมากว่า ๒ ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม
ความจำเป็นในการใช้พื้นที่สำหรับคณะกรรมาธิการและสมาชิกรัฐสภายังคงมีอยู่
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ขอใช้พื้นที่อาคารโรงกษาปณ์
จากกระทรวงการคลัง ซึ่งต่อมาดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ โดยสัญญา
การก่อสร้างสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๖ และจะเริ่มย้ายข้าราชการไปทำงานที่โรงกษาปณ์
เป็นบางส่วน ดังนั้นเพื่อเป็นสิริมงคลแห่งสถานที่ และการสร้างเสริมความอบอุ่นใจให้แก่ผู้บริหารและ
ข้าราชการ จึงจะจัดประกอบพิธีทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเพล ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการหารือ
เพื่อเลือกวันฤกษ์ดีสำหรับเป็นวันประกอบพิธีต่อไป ส่วนจะเป็นวันใดนั้นจะได้นำข่าวมารายงานให้ทราบต่อไป
= ร่วมบริจาคน้ำใจสู่ชาวอิรัก
นายการุณ ใสงาม สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการของคณะกรรมการรวมน้ำใจ
ชาวไทยสู่ชาวอิรัก ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคข้าวสารและอาหารแห้ง
ได้ที่สำนักงานสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ เลขที่ ๕๘๐/๒ ซอยสงวนสุข
ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๘๐๕-๖, ๐๙-๙๒๕๘๘๗๐ และ
๐๑-๘๓๑๔๘๙๖ โทรสาร ๐-๒๒๔๑-๓๘๐๘ และบริจาคเงินได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาประชาชื่น
บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข ๐๙๒-๒๑๔๙๕๓-๒ ชื่อบัญชี "สมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ"
คณะกรรมการรวมน้ำใจชาวไทยสู่ชาวอิรัก ประกอบด้วย ประชาชนต่างศาสนิกในประเทศไทย
ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซิกซ์ ศาสนาฮินดู และศาสนาอื่น ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อนำ
น้ำใจทางด้านมนุษยธรรมที่ดีงามของชนชาวไทยไปมอบให้แก่ชาวอิรักที่กำลังประสบกับชะตากรรมของสงครามในขณะนี้
= มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างของ
ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ในการประชุม ก.ร. ครั้งที่ ๔/๒๕๔๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ที่ประชุม
ได้มีมติอนุมัติประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของ
ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ต่อมาประธานคณะกรรมการ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ได้ลงนามในประกาศ ก.ร. ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔ โดยมีหลักการเหตุผลและเนื้อหาสาระ ดังนี้
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๗ บัญญัติว่า
รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข้าราชการและพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติหน้าที่
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกของ
ข้าราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธำรงไว้
ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ มุ่งมั่น สร้างความเลื่อมใสศรัทธา ให้ได้รับความเชื่อถือยกย่องจากบุคคลทั่วไป
จึงกำหนดมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ขึ้นไว้ ดังนี้
๑. จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
หมายถึง - สนองคุณของแผ่นดิน
- รักษาประโยชน์ของชาติ
- ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
- เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
๒. ภักดีต่อองค์กร
หมายถึง - เชิดชูองค์กร
- มุ่งปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายองค์กร
- รักษาความลับขององค์กร
- รักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
- เคารพสถานที่และช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยในองค์กร
๓. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
หมายถึง - ทำงานให้เกิดผลดีแก่องค์กรและประโยชน์ส่วนรวม
- ทำงานอย่างมีแบบแผน เป็นมืออาชีพ
- เน้นการทำงานเป็นทีม โดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก
- มุ่งมั่นทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดอย่างมีคุณภาพ
- มีการติดตาม ตรวจสอบ วัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรม
๔. โปร่งใส ตรวจสอบได้
หมายถึง - ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส
- มีกลไกให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องได้
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบของกฎหมาย
๕. ซื่อสัตย์ สุจริต
หมายถึง - ซื่อตรง
- ไม่คดโกง
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
- กระทำความดี ละเว้นความชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสีย
- ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ ในสิ่งที่ไม่ดี
๖. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
หมายถึง - ยึดมั่นในหลักการและถือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
- ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ
- มุ่งมั่นกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยปราศจากอคติ
- กล้าคิด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบในหน้าที่
- ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามอิทธิพลใด ๆ
๗. มีจิตให้บริการ
หมายถึง - บริการด้วยความจริงใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยมิตรไมตรี
- บริการด้วยความสุภาพ อ่อนโยน เอื้ออาทรต่อกัน
- บริการรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน
- ไม่นิ่งดูดาย
- ไม่หลบหลีก เลี่ยงงาน
- พร้อมบริการอยู่เสมอ
๘. ไม่เลือกปฏิบัติ
หมายถึง - มีความเป็นกลางทางการเมือง
- บริการด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม
- ไม่เลือกที่รักมักที่ชังในการให้บริการ
- ไม่ยึดระบบอุปถัมภ์ และความใกล้ชิดส่วนตัว
๙. เคารพซึ่งกันและกัน
หมายถึง - ให้เกียรติกับสมาชิกรัฐสภา ประชาชน ผู้บังคับบัญชา
ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจ
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
- รู้รักสามัคคี
- ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคลและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
๑๐. เสียสละ
หมายถึง - ทุ่มเทกายใจให้งานเต็มที่
- อุทิศเวลาให้งานก่อนเรื่องส่วนตัว
- เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
- ทำงานโดยไม่หวังอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด
- ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน
- ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
๑๑. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
หมายถึง - มุ่งใฝ่หาความรู้ วิทยากรใหม่ ๆ ทันโลก ทันการณ์อยู่เสมอ
- ฝึกฝนตนให้เกิดความเชี่ยวชาญในงาน
- มองการณ์ไกล ใฝ่พัฒนา
- มุ่งสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ยอมรับ
- พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกเมื่อ
๑๒. ประหยัด
หมายถึง - ดูแล บำรุง รักษาทรัพย์สินของทางราชการเสมือนทรัพย์สินของตน
- ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ถูกวิธี คุ้มค่า ไม่สิ้นเปลืองและสูญเปล่า
- ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงสมฐานะ
- ไม่ฟุ่มเฟือย และรู้จักประมาณตน
สำนักประชามพันธ์จัดกิจกรรม "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" และ "วันครอบครัว"
เนื่องในโอกาสมหาสงกรานต์เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการ และลูกจ้างของสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมสรงน้ำพระ พร้อมตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัว
และได้ระลึกถึงคุณค่าของผู้สูงอายุที่มีต่อสังคม ระหว่างวันที่ ๗-๑๘ เมษายน ๒๕๔๖
ณ บริเวณห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑
= รายงานตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา บริเวณห้องโถงชั้นล่าง
อาคารรัฐสภา ๑ นายภาคิน สมมิตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อจากพรรคไทยรักไทย
ได้มารายงานตัว ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แทนนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
ที่ได้ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๖ เพื่อไปรับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สรุปการให้สัมภาษณ์
"ความสำคัญของวันสงกรานต์"
ของ
นายอุทัย พิมพ์ใจชน
ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร
ที่รัฐสภา วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา นายอุทัย
พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความสำคัญ
ของวันสงกรานต์ ณ ห้องทำงานประธานรัฐสภา ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๑ ว่า
วันสงกรานต์ในสมัยก่อนตามโบราณกาลถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการเปลี่ยนปีตาม ๑๒ นักษัตร
คือ ชวด ฉลู ขาล เถาะ เป็นต้น โดยการย้ายเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเริ่มนับตามนักขัตฤกษ์
เนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่าของไทย ซึ่งในอดีตวันสงกรานต์จะเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิต
ย่างขึ้นปีใหม่ เรียกว่า รับปีใหม่ และอยู่ในช่วงของการหมดฤดูเก็บเกี่ยว เข้าสู่ฤดูว่างงาน
โดยมีการพักผ่อนและเป็นตัวของตัวเอง จึงถือโอกาสในจังหวะดังกล่าวนี้มาร่วมสนุกสนาน
เล่นสงกรานต์สาดน้ำกัน มีการเยี่ยมปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ
ที่ล่วงลับไปแล้วร่วมกัน ในปัจจุบันถือว่าเป็นวันครอบครัวเป็นประเพณีไทยที่สืบทอดมายาวนาน
และได้มีการเปลี่ยนจากปีใหม่ในเดือนสงกรานต์มาเป็นปีใหม่สากล คือ เดือนมกราคม แต่ก็ยังถือว่า
ปีใหม่สงกรานต์ยังเป็นปีใหม่เดิมอยู่ เมื่อทางราชการจัดให้เป็นวันหยุด จึงควรสืบสานประเพณีเดิม
โดยเน้นด้านบรรพบุรุษและกลับไปภูมิลำเนา เพื่อพบปู่ย่าตายายและพี่น้อง เพื่อร่วมทำบุญและสนุกสนาน
รื่นเริงด้วยกัน แต่อย่าให้เกินขอบเขต เพราะวันปีใหม่และวันสงกรานต์ที่ผ่านมาเป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก
เนื่องจากปรากฏว่ามีคนตายเป็นจำนวนมาก เป็นความสูญเสียของครอบครัว แทนที่จะเป็นการสร้าง
ความดีให้กับครอบครัว กลับสร้างความหดหู่ให้เกิดขึ้นอย่างน่าเสียดายเป็นอย่างมาก และตนขอให้
วันหยุดดังกล่าวนี้ เป็นวันหยุดเพื่อไปทำบุญ เคารพกราบไหว้ผู้ใหญ่ และเป็นวันปีใหม่ที่มีแต่ความสนุกสนาน
ความชื่นบาน แต่บางคนกลับไปทำแต่ความโศกเศร้า เพราะสนุกสนานกันเกินขอบเขต ตนขอให้ระลึกถึง
ตรงจุดนี้ด้วย โดยขอให้สนุกสนานและยึดถือปฏิบัติตามวิถีของคนไทย สร้างแต่ความดี ความเบิกบาน
สนุกสนานร่วมกัน ไม่ใช่สร้างความทุกข์
ในฐานะที่ตนเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ขอฝากให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลับภูมิลำเนา
เพื่อพบปะกับประชาชน เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติและเป็นภาระอยู่ และตนได้มีคำสั่งงดการประชุม
สภาผู้แทนราษฎรในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ เพื่อให้สมาชิกฯ ได้มีโอกาสพบปะกับประชาชน
ได้อย่างเต็มที่ เพราะบางหมู่บ้านยังคงสนุกสนาน ทำบุญตามประเพณีกันอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ
ประชาชนตนขอเตือนย้ำว่าวันสงกรานต์ จริง ๆ แล้ว ถือเป็นวันครอบครัวนั้นถูกต้อง
และยังรวมไปถึงวันบรรพบุรุษด้วย โดยให้นึกถึงปู่ย่าตายาย วงศาคณาญาติ มีการเคารพกราบไหว้ท่าน
จึงจะถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของ วันสงกรานต์ ส่วนการรื่นเริง การละเล่น ถือเป็นประเพณีอยู่แล้ว
แต่อย่าเล่นกันเกินเลยถึงกับเจ็บไข้ได้ป่วยหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะเป็นวันดี จึงขอฝาก
ประชาชนเมื่อเห็นคนอื่นทำไม่ดีควรมีการตักเตือนกัน และในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของไทย ขออาราธนา
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายได้โปรดคุ้มครองให้พี่น้องของเราแคล้วคลาดภยันตรายจากการเดินทางและขอให้
ประสบแด่ความสุขความเจริญทั่วทุกคน
------------------------------------------------------
= พิธีเปิดโครงการยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๒
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธาน
ในพิธีเปิดโครงการยุวชนประชาธิปไตย รุ่นที่ ๒ ในวันจันทร์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา
ณ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถนนงามวงศ์วาน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งรุ่นที่ ๒
จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๒๐-๓๐ เมษายน ๒๕๔๖ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้มี
วิสัยทัศน์ วิถีความคิด วิถีชีวิต คุณธรรม จิตสำนึก และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นพระประมุข รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและสร้างทัศนคติเกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขแก่เยาวชน ตลอดจน
ความรู้รอบตัวในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต อาทิ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
และเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนมีความสนใจศึกษาหาความรู้และติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง
การปกครอง และข่าวสารความรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
= เยาวชนไทยกับ "การประกวดเรียงความส่งเสริมประชาธิปไตย"
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง จัดโครงการ
ส่งเสริมเผยแพร่ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา กิจกรรมการประกวดเรียงความ เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย
ประจำปี ๒๕๔๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนสนใจศึกษาความรู้เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความรู้สึก ความคิด จินตนาการ
ในเชิงสร้างสรรค์ โดยถ่ายทอดออกมาในรูปเรียงความ ซึ่งได้จัดตั้งคณะกรรมการจัดประกวด โดยมี
นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ เป็นประธานกรรมการ และนายศุภพงศ์ ขจรศิลป์ เป็นรองประธานกรรมการ
ทั้งนี้คณะกรรมการจะมีหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบของเรียงความ คุณสมบัติของผู้ประกวด เกณฑ์การตัดสิน
รางวัลตอบแทนทุกรางวัล รวมทั้งระยะเวลาการรับสมัคร
โดยจะต้องเป็นเรียงความที่มีความยาวไม่เกิน ๕ หน้ากระดาษ A ๔ และเป็นเรื่องที่
เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไทย โดยสามารถส่งได้ที่สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่หมายเลข ๐-๒๓๕๗-๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๐๔
= รับสมัครบุคคลเข้ารับราชการ
ด้วยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคล
เข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ดังนี้
๑. เจ้าหน้าที่ชวเลข ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางพณิชยการ บัญชี
เลขานุการ ภาษาต่างประเทศ
๒. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางพณิชยการ บัญชี
เลขานุการ ภาษาต่างประเทศ
๓. เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางช่างไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ ช่างวิทยุ ช่างภาพ
วิจิตรศิลป์ หรือศิลปประยุกต์
๔. ช่างไฟฟ้าสื่อสาร ๑ วุฒิการศึกษา ปวช. หรือ
เทียบเท่าทางช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ
หรือช่างโทรคมนาคม
๕. เจ้าพนักงานธุรการ ๒ วุฒิการศึกษา ปวท. หรือ
เทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ
การจัดการทั่วไป การจัดการ
สำนักงาน ภาษาอังกฤษธุรกิจ หรือ
วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางบริหารธุรกิจ
๖. นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ ๒ วุฒิการศึกษา ปวท. หรือ
เทียบเท่าทางเทคนิควิศวกรรม
อิเล็กทรอนิกส์ เทคนิควิศวกรรม
ไฟฟ้า หรือ
วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางอิเล็กทรอนิกส์
ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ และ
โทรคมนาคม
๗. นายช่างศิลป์ ๒ วุฒิการศึกษา ปวส. หรือ
เทียบเท่าทางศิลปกรรม ออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ มัณฑนศิลป์ หรือ
จิตรกรรม
๘. นิติกร ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางกฎหมาย
๙. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบัญชี
๑๐. นักบัญชี ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบัญชี
๑๑. นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โสตทัศนศึกษา เทคโนโลยี
การศึกษา หรือจิตวิทยา
การศึกษาเน้นการศึกษาผู้ใหญ่
๑๒. นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางโสตทัศนศึกษา นิเทศศาสตร์
วารสารศาสตร์ หรือ
สื่อสารมวลชน
๑๓. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๔. ผู้สื่อข่าว ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๕. ผู้จัดรายการ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางสังคมศาสตร์
๑๖. บรรณารักษ์ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางบรรณารักษ์
๑๗. เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ ๓ วุฒิการศึกษาปริญญาตรี
ทางคอมพิวเตอร์
ผู้สนใจสมัครขอรายละเอียด พร้อมทั้งยื่นใบสมัคร ได้ที่สำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ถนนประดิพัทธ์ พญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ (โรงกษาปณ์เก่า) ระหว่าง
วันที่ ๑๗ เมษายน ถึงวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา เว้นวันหยุดราชการ
หรือสอบถามได้ที่ โทร. ๐-๒๓๕๗-๓๑๐๐ ต่อ ๓๑๑๐-๓๑๑๒ หรือ ต่อ ๓๑๙๐-๓๑๙๒
หรือทาง Web Site ของรัฐสภาที่ www.parliament.go.th
ผู้สมัครต้องยื่นเอกสารและหลักฐานพร้อมค่าธรรมเนียมในการสมัคร ตำแหน่งระดับ ๑ และ ๒
ตำแหน่งละ ๕๐ บาท ตำแหน่งระดับ ๓ ตำแหน่งละ ๑๐๐ บาท
= พิธีทำบุญอาคารโรงกษาปณ์
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๕๐๐ คน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐
ส่งผลให้ต้องพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนระบบงานรัฐสภาเพิ่มมากขึ้น ข้าราชการ
รัฐสภาและผู้เกี่ยวข้องกับวงการรัฐสภาจึงมากขึ้นตามลำดับ ทำให้อาคารสถานที่การใช้ปฏิบัติงาน
เกิดความคับแคบ เนื่องจากอาคารรัฐสภาทั้ง ๓ อาคารถูกปรับปรุงเป็นห้องทำงานของคณะกรรมาธิการประจำสภาผู้แทนราษฎร
ผู้บริหารระดับสูงจึงแก้ไขปัญหาพื้นที่ใช้งานไม่เพียงพอด้วยการเช่าอาคารทิปโก้
ถนนพระราม ๖ และอาคารธนาคารทหารไทย ถนนศรีอยุธยา ซึ่งใช้งานมากว่า ๒ ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม
ความจำเป็นในการใช้พื้นที่สำหรับคณะกรรมาธิการและสมาชิกรัฐสภายังคงมีอยู่
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ขอใช้พื้นที่อาคารโรงกษาปณ์
จากกระทรวงการคลัง ซึ่งต่อมาดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ โดยสัญญา
การก่อสร้างสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๖ และจะเริ่มย้ายข้าราชการไปทำงานที่โรงกษาปณ์
เป็นบางส่วน ดังนั้นเพื่อเป็นสิริมงคลแห่งสถานที่ และการสร้างเสริมความอบอุ่นใจให้แก่ผู้บริหารและ
ข้าราชการ จึงจะจัดประกอบพิธีทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเพล ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการหารือ
เพื่อเลือกวันฤกษ์ดีสำหรับเป็นวันประกอบพิธีต่อไป ส่วนจะเป็นวันใดนั้นจะได้นำข่าวมารายงานให้ทราบต่อไป
= ร่วมบริจาคน้ำใจสู่ชาวอิรัก
นายการุณ ใสงาม สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะกรรมการของคณะกรรมการรวมน้ำใจ
ชาวไทยสู่ชาวอิรัก ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคข้าวสารและอาหารแห้ง
ได้ที่สำนักงานสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ เลขที่ ๕๘๐/๒ ซอยสงวนสุข
ถนนพระราม ๕ เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๘๐๕-๖, ๐๙-๙๒๕๘๘๗๐ และ
๐๑-๘๓๑๔๘๙๖ โทรสาร ๐-๒๒๔๑-๓๘๐๘ และบริจาคเงินได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาประชาชื่น
บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข ๐๙๒-๒๑๔๙๕๓-๒ ชื่อบัญชี "สมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ"
คณะกรรมการรวมน้ำใจชาวไทยสู่ชาวอิรัก ประกอบด้วย ประชาชนต่างศาสนิกในประเทศไทย
ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาซิกซ์ ศาสนาฮินดู และศาสนาอื่น ๆ ได้รวมตัวกันเพื่อนำ
น้ำใจทางด้านมนุษยธรรมที่ดีงามของชนชาวไทยไปมอบให้แก่ชาวอิรักที่กำลังประสบกับชะตากรรมของสงครามในขณะนี้
= มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างของ
ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ในการประชุม ก.ร. ครั้งที่ ๔/๒๕๔๔ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ที่ประชุม
ได้มีมติอนุมัติประกาศคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา เรื่อง มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของ
ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ต่อมาประธานคณะกรรมการ ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
ได้ลงนามในประกาศ ก.ร. ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๔ โดยมีหลักการเหตุผลและเนื้อหาสาระ ดังนี้
โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๗๗ บัญญัติว่า
รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ข้าราชการและพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติหน้าที่
ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกของ
ข้าราชการ และลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธำรงไว้
ซึ่งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ มุ่งมั่น สร้างความเลื่อมใสศรัทธา ให้ได้รับความเชื่อถือยกย่องจากบุคคลทั่วไป
จึงกำหนดมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
ขึ้นไว้ ดังนี้
๑. จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
หมายถึง - สนองคุณของแผ่นดิน
- รักษาประโยชน์ของชาติ
- ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา
- เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
๒. ภักดีต่อองค์กร
หมายถึง - เชิดชูองค์กร
- มุ่งปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายองค์กร
- รักษาความลับขององค์กร
- รักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
- เคารพสถานที่และช่วยกันรักษาความสงบเรียบร้อยในองค์กร
๓. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
หมายถึง - ทำงานให้เกิดผลดีแก่องค์กรและประโยชน์ส่วนรวม
- ทำงานอย่างมีแบบแผน เป็นมืออาชีพ
- เน้นการทำงานเป็นทีม โดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก
- มุ่งมั่นทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดอย่างมีคุณภาพ
- มีการติดตาม ตรวจสอบ วัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรม
๔. โปร่งใส ตรวจสอบได้
หมายถึง - ปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส
- มีกลไกให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องได้
- เปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใต้กรอบของกฎหมาย
๕. ซื่อสัตย์ สุจริต
หมายถึง - ซื่อตรง
- ไม่คดโกง
- ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
- กระทำความดี ละเว้นความชั่ว ไม่ประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสีย
- ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ ในสิ่งที่ไม่ดี
๖. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
หมายถึง - ยึดมั่นในหลักการและถือปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
- ยึดหลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ
- มุ่งมั่นกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม โดยปราศจากอคติ
- กล้าคิด กล้าทำ และกล้ารับผิดชอบในหน้าที่
- ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามอิทธิพลใด ๆ
๗. มีจิตให้บริการ
หมายถึง - บริการด้วยความจริงใจ ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วยมิตรไมตรี
- บริการด้วยความสุภาพ อ่อนโยน เอื้ออาทรต่อกัน
- บริการรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน
- ไม่นิ่งดูดาย
- ไม่หลบหลีก เลี่ยงงาน
- พร้อมบริการอยู่เสมอ
๘. ไม่เลือกปฏิบัติ
หมายถึง - มีความเป็นกลางทางการเมือง
- บริการด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม
- ไม่เลือกที่รักมักที่ชังในการให้บริการ
- ไม่ยึดระบบอุปถัมภ์ และความใกล้ชิดส่วนตัว
๙. เคารพซึ่งกันและกัน
หมายถึง - ให้เกียรติกับสมาชิกรัฐสภา ประชาชน ผู้บังคับบัญชา
ผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงานด้วยความจริงใจ
- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
- รู้รักสามัคคี
- ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคลและเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
๑๐. เสียสละ
หมายถึง - ทุ่มเทกายใจให้งานเต็มที่
- อุทิศเวลาให้งานก่อนเรื่องส่วนตัว
- เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
- ทำงานโดยไม่หวังอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนอื่นใด
- ให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน
- ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
๑๑. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
หมายถึง - มุ่งใฝ่หาความรู้ วิทยากรใหม่ ๆ ทันโลก ทันการณ์อยู่เสมอ
- ฝึกฝนตนให้เกิดความเชี่ยวชาญในงาน
- มองการณ์ไกล ใฝ่พัฒนา
- มุ่งสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ยอมรับ
- พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกเมื่อ
๑๒. ประหยัด
หมายถึง - ดูแล บำรุง รักษาทรัพย์สินของทางราชการเสมือนทรัพย์สินของตน
- ใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ถูกวิธี คุ้มค่า ไม่สิ้นเปลืองและสูญเปล่า
- ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียงสมฐานะ
- ไม่ฟุ่มเฟือย และรู้จักประมาณตน