นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้สหรัฐอเมริกายังใช้มาตรการตอบโต้ การทุ่มตลาดและการอุดหนุน กับสินค้าไทย รวม 6 รายการ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราอากรตอบโตการทุ่มตลาดเบื้องต้น 1 รายการ คือ สินค้าลวดเหล็กแรงดึงสูง และได้ทบทวน อัตราอากรตอบโต้ การทุ่มตลาดประจำปี 2544-2545 แล้ว 3 รายการ ได้แก่ ข้อต่อท่อเหล็กชนิดเชื่อมต่อ (Butt-Weld) เฟอฟูริลแอลกอฮอล์ และท่อเหล็กซึ่งส่วนใหญ่มีอัตราอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดที่ลดต่ำลง ส่วนสับปะรดกระป๋องยังอยู่ระหว่างการทบทวนอัตราอากรเช่นกัน สำหรับแผ่นเหล็ก รีดร้อนอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาล การค้าระหว่างประเทศ ตามที่ไทยยื่นฟ้องเพื่อให้สหรัฐฯ ทบทวนการใช้มาตรการอุดหนุน
การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงปีแรกๆ ที่มีการเก็บอัตราอากรตาม มาตรการดังกล่าวค่อนข้างสูง แต่ความต่อเนื่องของผลกระทบจะขึ้นกับความต้องการซื้อสินค้านั้นๆ ในตลาดสหรัฐฯ รวมทั้งการลดลงของอัตราอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดในแต่ละปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ส่งออกในการเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนตั้งแต่เริ่มแรกและการทบทวน
ประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ส่งออกในการเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนตั้งแต่เริ่มแรกและการทบทวนประจำปีซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินการต่อสู้ที่ถูกทาง โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกของสินค้าทุกรายการมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สินค้าที่สหรัฐฯ เก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราลดลง มากจากอัตราเดิม ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง อัตราอากรเดิมร้อยละ 51.16 เหลือร้อยละ 2.43 ท่อเหล็กลดลงจากร้อยละ 15.69 เหลือร้อยละ 1.92 และเฟอฟูริลแอล กอฮอล์ ลดลงจากอัตราอากรเดิมร้อยละ 7.82 มาเป็นร้อยละ 0.91 ทำให้การส่งออกสินค้าไทยดังกล่าวไปสหรัฐฯ มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 19.5 และ 128.4 ในปี 2545 ตามลำดับ นอกจากนั้น การเข้าร่วมการทบทวนประจำปีทุกปีอย่างสม่ำเสมอ จนอัตราอากรการทบทวนลดต่ำลงมากและต่อเนื่องกันหลายปี ก็มีผลให้สหรัฐฯ ยุติการเก็บอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับผู้ส่งออกบางรายด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยมีการเตรียมข้อมูล ที่ดีและมีความพยายามในการสืบค้น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ต่าง กอปรกับการพลาดพลั้งในการเตรียมข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต และผู้ส่งออกของประเทศผู้ถูกกล่าวหารายอื่นจะเป็นโอกาสให้สินค้าไทยได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2546--
-ปส-
การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในช่วงปีแรกๆ ที่มีการเก็บอัตราอากรตาม มาตรการดังกล่าวค่อนข้างสูง แต่ความต่อเนื่องของผลกระทบจะขึ้นกับความต้องการซื้อสินค้านั้นๆ ในตลาดสหรัฐฯ รวมทั้งการลดลงของอัตราอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดในแต่ละปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ส่งออกในการเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนตั้งแต่เริ่มแรกและการทบทวน
ประจำปี ซึ่งขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ส่งออกในการเข้าร่วมกระบวนการไต่สวนตั้งแต่เริ่มแรกและการทบทวนประจำปีซึ่งนับว่าเป็นการดำเนินการต่อสู้ที่ถูกทาง โดยจะเห็นได้ว่าปริมาณการส่งออกของสินค้าทุกรายการมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สินค้าที่สหรัฐฯ เก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราลดลง มากจากอัตราเดิม ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง อัตราอากรเดิมร้อยละ 51.16 เหลือร้อยละ 2.43 ท่อเหล็กลดลงจากร้อยละ 15.69 เหลือร้อยละ 1.92 และเฟอฟูริลแอล กอฮอล์ ลดลงจากอัตราอากรเดิมร้อยละ 7.82 มาเป็นร้อยละ 0.91 ทำให้การส่งออกสินค้าไทยดังกล่าวไปสหรัฐฯ มีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3 19.5 และ 128.4 ในปี 2545 ตามลำดับ นอกจากนั้น การเข้าร่วมการทบทวนประจำปีทุกปีอย่างสม่ำเสมอ จนอัตราอากรการทบทวนลดต่ำลงมากและต่อเนื่องกันหลายปี ก็มีผลให้สหรัฐฯ ยุติการเก็บอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาดกับผู้ส่งออกบางรายด้วย
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การที่ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยมีการเตรียมข้อมูล ที่ดีและมีความพยายามในการสืบค้น ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ต่าง กอปรกับการพลาดพลั้งในการเตรียมข้อมูลของบริษัทผู้ผลิต และผู้ส่งออกของประเทศผู้ถูกกล่าวหารายอื่นจะเป็นโอกาสให้สินค้าไทยได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มมากขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2546--
-ปส-