กรุงเทพ--20 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ท่านประธานฯ ในฐานะผู้แทนของประเทศไทย ผมขอแสดงความยินดีกับท่านที่ได้รับเลือกให้เป็นประธาน การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ สมัยที่ 60 ที่ประชุมสมัชชาฯ ในปีนี้มีภาระหน้าที่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าในสมัยของอดีตประธานฯ นายชอง ปิง ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง คณะผู้แทนของไทยชื่นชมความเป็นผู้นำของนายชอง ปิง ในช่วงที่สหประชาชาติต้องพบกับสิ่งท้าทายมากที่สุดช่วงหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผมขอชื่นชมความพยายามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเลขาธิการสหประชาชาติอีกด้วย
ได้โปรดอนุญาตให้ผมได้เริ่มต้นด้วยการขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังชาวอเมริกันที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา หลังจากที่เราเองได้ประสบเหตุสึนามิเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา เราเข้าใจความรู้สึกของชาวอเมริกันเป็นอย่างดี
หลังภัยสึนามิได้ผ่านพ้นไป พวกเรารู้สึกทราบซึ้งกับความช่วยเหลือที่หลั่งไหลมาจากทั่วโลก เพื่อนร่วมโลกมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างเพื่อช่วยให้เราผ่านวันที่เลวร้ายที่สุดไปได้ ชาวไทยเองก็ได้มีส่วนร่วมในความช่วยเหลือนี้ พร้อมทั้งหยิบยื่นความช่วยเหลือไปยังประเทศใกล้เคียงที่ประสบภัยพิบัตินี้ เราได้เห็นความตั้งใจเดียวกันนี้จากทั่วโลกมุ่งสู่อเมริกาหลังพายุเฮอริเคนแคทรีนาได้ผ่านพ้นไป เราจะต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยจิตวิญญาณแห่งความรับผิดชอบร่วมกันเช่นนี้ของประชาคมโลก เพื่อต่อสู้กับสิ่งท้าทายทั้งเก่าและใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์
ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ ในหลายประเทศ ความยากจน ความหิวโหย ความอดอยาก โรคติดต่อร้ายแรง และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมยังคงสร้างความเสียหาย เป็นมาตกรเงียบ เราจะต้องไม่มองข้ามสิ่งเหล่านี้
ในแต่ละวัน คนมากกว่า 50,000 คนเสียชีวิตจากความยากจนและหิวโหย เด็ก 30,000 คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ฉลองวันเกิดปีที่ 5 ได้ แต่เงินที่ใช้ซื้ออาวุธมีจำนวนมากกว่าเงินที่ใช้รักษาชีวิตเสียอีก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้
60 ปีที่แล้ว ความต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียวท่ามกลางความหลากหลายและการมีความรับผิดชอบร่วมกันได้นำไปสู่การก่อตั้งสหประชาชาติ ในปัจจุบันสหประชาชาติซึ่งมีอายุครบ 60 ปีกำลังอยู่ในโลกที่ต่างไปจากเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ทุกวันนี้ ความท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีผลที่ร้ายแรงพอๆ กับความท้าทายที่เกิดจากความขัดแย้งทางการทหาร สหประชาชาติต้องทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของคนทั้งโลก
เอกสารว่าด้วยการปฏิรูปสหประชาชาติ อันเป็นผลจากการประชุมสมัชชาผู้นำสหประชาชาติ (High-level Plenary Meeting) สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบร่วมกันของผู้นำโลกในการพัฒนา รักษาสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่สันติภาพและความเจริญก้าวหน้าทั่วทั้งโลก
แม้การบรรลุฉันทามติต่อการจัดทำเอกสารว่าด้วยการปฏิรูปสหประชาชาติ เป็นสิ่งที่ยาก ผมเชื่อว่าการดำเนินการตามเอกสารดังกล่าวให้มีผลเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า หนทางข้างหน้าคงไม่ง่ายที่จะเดินต่อไป เราต้องยึดมั่นต่อความปรารถนาร่วมกันเช่นนี้เอาไว้ให้ได้ในยามที่เราต้องประสบปัญหาที่รออยู่เบื้องหน้า
ประเทศไทยต้องการทำงานร่วมกับสหประชาชาติและบรรดาประเทศสมาชิกเพื่อให้แน่ใจว่าวิสัยทัศน์ของผู้นำและความปรารถนาของผู้คนจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เราจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงการทำงานของสมัชชาใหญ่ฯ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง และก่อตั้งคณะมนตรีมนุษยชน
เราสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันในการปกป้องประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และในอันที่จะบรรลุสันติภาพและความเจริญก้าวหน้าอย่างถาวร ประเทศไทยขอสนับสนุนการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการสร้างสันติภาพ เพื่อเป็นกลไกรองรับการฟื้นฟูภายหลังสภาวะความขัดแย้งจบสิ้นลง และเพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน เราต้องการเห็นการปฏิรูปสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส
เราต้องเพิ่มความพยายามเป็นทวีคูณเพื่อหยุดวงจรความยากจน โรคภัย และความขัดแย้งต่างๆ สิ่งท้าทายในยุคสมัยของเรา คือ การทำให้ทุกคนมีสันติภาพ ความเจริญก้าวหน้า ศักดิ์ศรี และเสรีภาพ และในฐานะประธานของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ เรารู้สึกยินดีที่แนวทางที่เน้นให้ความเป็นมนุษย์เป็นประเด็นหลักในเรื่องความมั่นคงได้ถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของฉันทามติในด้านความมั่นคง
การกำจัดความยากจนต้องไม่เป็นเพียงแค่ความฝัน เราต้องทำให้เป็นจริง สหประชาชาติต้องผลักดันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทรัพยากรต่างๆ ในการช่วยประเทศกำลังพัฒนาให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศกำลังพัฒนาเองก็ต้องสามารถนำเอาจุดเด่นและข้อได้เปรียบของตนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การให้ความช่วยเหลือควรครอบคลุมถึงการเพิ่มขีดความสามารถและความช่วยเหลือทางเทคนิคด้วย หากมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง และมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม ประเทศกำลังพัฒนาก็จะสามารถยกสถานภาพในด้านการพัฒนาของตนอย่างก้าวกระโดดได้ในโลกปัจจุบันและสามารถใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ได้อย่างเต็มที่
ในการนี้ ประเทศไทยเองได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล ขณะที่ในระดับระหว่างประเทศ เราได้ให้การสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนพร้อมกันไป สิ่งนี้เป็นการดำเนินนโยบายในลักษณะคู่ขนานของเรา
ความพยายามระดับประเทศต้องได้รับการสนับสนุนจากสภาวการณ์ในระดับโลก ซึ่งหมายถึงการทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรมซึ่งจะเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อพูดถึงการค้าเสรี เราต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมแข่งขันในโลกการแข่งขันเสรี เมื่อสองวันก่อน จากที่ที่ผมยืนอยู่นี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวอุปมาว่าคนป่วยที่เพิ่งออกมาจากห้องไอซียูไม่สามารถวิ่งแข่งกับนักกีฬาปกติคนอื่นๆ โดยใช้กฎเกณฑ์เดียวกันได้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นความจริงอย่างยิ่ง
ประเทศไทยยินดีให้การต้อนรับ Monterry Consensus และข้อเสนออื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการพัฒนา ความช่วยเหลือทางการเงินที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนาควรมุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศผู้รับโดยไม่ก่อให้เกิดการพึ่งพาในระยะยาว เราต้องทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเป็นหุ้นส่วนในด้านพลังงานก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างมาก และอาจทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสูญเสียความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากลำบาก ยิ่งราคาน้ำมันสูงขึ้นเท่าใด ประเทศกำลังพัฒนาก็จะยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้นในการทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติ ดังนั้นสหประชาชาติจึงควรช่วยระดมความร่วมมือจากทั่วโลกเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน รวมทั้งพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกซึ่งเป็นพลังงานสะอาด
สหประชาชาติจะต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบรรดาประเทศสมาชิกโดยส่งเสริมการสร้างหุ้นส่วน อาทิเช่น ความร่วมมือในกรอบประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (เหนือ-ใต้) ในกรอบประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (ใต้-ใต้) และในกรอบไตรภาคี เราต้องการที่จะเห็นความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ และสร้างสรรค์ระหว่างสหประชาชาติและประเทศสมาชิก
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เกิดสำนึกของการที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคนี้ขึ้น ในส่วนของเรา ประเทศไทยได้มาถึงจุดที่ทำให้เกิดหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างกว้างขวาง โดยผ่านทางความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยการริเริ่มเพื่อการพัฒนา อย่างเช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ความร่วมมือ BIMSTEC และกรอบความร่วมมือ ACD ประเทศไทยกำลังสร้างกรอบความร่วมมือที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ
เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าความช่วยเหลือในการพัฒนาที่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นฝ่ายผู้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว ประเทศกำลังพัฒนาสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาได้อย่างประสบความสำเร็จ ในการนี้ ประเทศไทยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ มาโดยตลอด เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่เห็นผลดีมาแล้ว โดยเฉพาะในด้านที่ประเทศไทยมีความชำนาญ เช่น การพัฒนาด้านเกษตรกรรม และสาธารณสุข
ความไม่ใส่ใจและละเลยต่อเพื่อนมนุษย์ก่อให้เกิดความโกรธเคืองและการต่อต้านอันจะนำไปสู่กระแสของการใช้ความรุนแรงในสังคม การพัฒนาจะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ การให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์มีความสำคัญและเร่งด่วนยิ่ง และจะทำให้พวกเราสามารถสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในอันที่จะต่อสู้กับกระแสแห่งความรุนแรงและลดศักยภาพของขบวนการก่อการร้าย
เอกลักษณ์ของทุกศาสนาและและวัฒนธรรมจะต้องได้รับการยอมรับและเคารพนับถือ นี่คือความสมานฉันท์ท่ามกลางความหลากหลาย นี่คือหนทางที่จะนำไปสู่ความเป็นกลางและความเข้าใจ นี่คือสันติวิธีที่จะต่อสู้กับความรุนแรงและการก่อการร้าย นี่เอง เราจะต้องประนามการก่อการร้าย “ในทุกรูปแบบและทุกการแสดงออก ไม่ว่ากระทำโดยใครก็ตาม ไม่ว่าที่ใดก็ตาม และไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม”
เรามีเรื่องต่างๆ มากมาย อยู่ในวาระของพวกเรา เส้นทางข้างหน้าไม่ใช่เส้นทางที่ง่ายนัก พวกเราจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารถเสริมสร้างความแข่งแกร่งจากความหลากหลายด้วยสำนึกอันแน่วแน่ของความรับผิดชอบร่วมกัน
ขอให้พวกเราร่วมมือกันเพื่อให้สหประชาชาติได้รับใช้ชาวโลกอย่างแท้จริง ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร และไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะอยู่ที่ไหน เราขอให้มั่นใจว่า พวกเรา ประชาชนของสหประชาชาติ สามารถดำรงอยู่อย่างมีอิสรภาพที่แท้จริงเหมือนกับที่บิดาผู้ก่อตั้งของเราได้มองเห็นภาพนั้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ท่านประธานฯ ในฐานะผู้แทนของประเทศไทย ผมขอแสดงความยินดีกับท่านที่ได้รับเลือกให้เป็นประธาน การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ สมัยที่ 60 ที่ประชุมสมัชชาฯ ในปีนี้มีภาระหน้าที่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าในสมัยของอดีตประธานฯ นายชอง ปิง ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง คณะผู้แทนของไทยชื่นชมความเป็นผู้นำของนายชอง ปิง ในช่วงที่สหประชาชาติต้องพบกับสิ่งท้าทายมากที่สุดช่วงหนึ่ง ขณะเดียวกัน ผมขอชื่นชมความพยายามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของเลขาธิการสหประชาชาติอีกด้วย
ได้โปรดอนุญาตให้ผมได้เริ่มต้นด้วยการขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งไปยังชาวอเมริกันที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุเฮอริเคนแคทรีนา หลังจากที่เราเองได้ประสบเหตุสึนามิเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา เราเข้าใจความรู้สึกของชาวอเมริกันเป็นอย่างดี
หลังภัยสึนามิได้ผ่านพ้นไป พวกเรารู้สึกทราบซึ้งกับความช่วยเหลือที่หลั่งไหลมาจากทั่วโลก เพื่อนร่วมโลกมุ่งมั่นที่จะทำทุกอย่างเพื่อช่วยให้เราผ่านวันที่เลวร้ายที่สุดไปได้ ชาวไทยเองก็ได้มีส่วนร่วมในความช่วยเหลือนี้ พร้อมทั้งหยิบยื่นความช่วยเหลือไปยังประเทศใกล้เคียงที่ประสบภัยพิบัตินี้ เราได้เห็นความตั้งใจเดียวกันนี้จากทั่วโลกมุ่งสู่อเมริกาหลังพายุเฮอริเคนแคทรีนาได้ผ่านพ้นไป เราจะต้องก้าวไปข้างหน้าด้วยจิตวิญญาณแห่งความรับผิดชอบร่วมกันเช่นนี้ของประชาคมโลก เพื่อต่อสู้กับสิ่งท้าทายทั้งเก่าและใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์
ยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ ในหลายประเทศ ความยากจน ความหิวโหย ความอดอยาก โรคติดต่อร้ายแรง และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมยังคงสร้างความเสียหาย เป็นมาตกรเงียบ เราจะต้องไม่มองข้ามสิ่งเหล่านี้
ในแต่ละวัน คนมากกว่า 50,000 คนเสียชีวิตจากความยากจนและหิวโหย เด็ก 30,000 คนไม่สามารถมีชีวิตอยู่ฉลองวันเกิดปีที่ 5 ได้ แต่เงินที่ใช้ซื้ออาวุธมีจำนวนมากกว่าเงินที่ใช้รักษาชีวิตเสียอีก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้
60 ปีที่แล้ว ความต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียวท่ามกลางความหลากหลายและการมีความรับผิดชอบร่วมกันได้นำไปสู่การก่อตั้งสหประชาชาติ ในปัจจุบันสหประชาชาติซึ่งมีอายุครบ 60 ปีกำลังอยู่ในโลกที่ต่างไปจากเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ทุกวันนี้ ความท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์และการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีผลที่ร้ายแรงพอๆ กับความท้าทายที่เกิดจากความขัดแย้งทางการทหาร สหประชาชาติต้องทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของคนทั้งโลก
เอกสารว่าด้วยการปฏิรูปสหประชาชาติ อันเป็นผลจากการประชุมสมัชชาผู้นำสหประชาชาติ (High-level Plenary Meeting) สะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบร่วมกันของผู้นำโลกในการพัฒนา รักษาสันติภาพและความมั่นคง รวมทั้งส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่จะนำไปสู่สันติภาพและความเจริญก้าวหน้าทั่วทั้งโลก
แม้การบรรลุฉันทามติต่อการจัดทำเอกสารว่าด้วยการปฏิรูปสหประชาชาติ เป็นสิ่งที่ยาก ผมเชื่อว่าการดำเนินการตามเอกสารดังกล่าวให้มีผลเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า หนทางข้างหน้าคงไม่ง่ายที่จะเดินต่อไป เราต้องยึดมั่นต่อความปรารถนาร่วมกันเช่นนี้เอาไว้ให้ได้ในยามที่เราต้องประสบปัญหาที่รออยู่เบื้องหน้า
ประเทศไทยต้องการทำงานร่วมกับสหประชาชาติและบรรดาประเทศสมาชิกเพื่อให้แน่ใจว่าวิสัยทัศน์ของผู้นำและความปรารถนาของผู้คนจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เราจะมีส่วนร่วมในการปรับปรุงการทำงานของสมัชชาใหญ่ฯ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง และก่อตั้งคณะมนตรีมนุษยชน
เราสนับสนุนความรับผิดชอบร่วมกันในการปกป้องประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การก่ออาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และในอันที่จะบรรลุสันติภาพและความเจริญก้าวหน้าอย่างถาวร ประเทศไทยขอสนับสนุนการจัดตั้ง คณะกรรมาธิการสร้างสันติภาพ เพื่อเป็นกลไกรองรับการฟื้นฟูภายหลังสภาวะความขัดแย้งจบสิ้นลง และเพื่อให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน เราต้องการเห็นการปฏิรูปสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส
เราต้องเพิ่มความพยายามเป็นทวีคูณเพื่อหยุดวงจรความยากจน โรคภัย และความขัดแย้งต่างๆ สิ่งท้าทายในยุคสมัยของเรา คือ การทำให้ทุกคนมีสันติภาพ ความเจริญก้าวหน้า ศักดิ์ศรี และเสรีภาพ และในฐานะประธานของเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ เรารู้สึกยินดีที่แนวทางที่เน้นให้ความเป็นมนุษย์เป็นประเด็นหลักในเรื่องความมั่นคงได้ถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของฉันทามติในด้านความมั่นคง
การกำจัดความยากจนต้องไม่เป็นเพียงแค่ความฝัน เราต้องทำให้เป็นจริง สหประชาชาติต้องผลักดันทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและทรัพยากรต่างๆ ในการช่วยประเทศกำลังพัฒนาให้พัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศกำลังพัฒนาเองก็ต้องสามารถนำเอาจุดเด่นและข้อได้เปรียบของตนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การให้ความช่วยเหลือควรครอบคลุมถึงการเพิ่มขีดความสามารถและความช่วยเหลือทางเทคนิคด้วย หากมีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง และมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม ประเทศกำลังพัฒนาก็จะสามารถยกสถานภาพในด้านการพัฒนาของตนอย่างก้าวกระโดดได้ในโลกปัจจุบันและสามารถใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ได้อย่างเต็มที่
ในการนี้ ประเทศไทยเองได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล ขณะที่ในระดับระหว่างประเทศ เราได้ให้การสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนพร้อมกันไป สิ่งนี้เป็นการดำเนินนโยบายในลักษณะคู่ขนานของเรา
ความพยายามระดับประเทศต้องได้รับการสนับสนุนจากสภาวการณ์ในระดับโลก ซึ่งหมายถึงการทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรมซึ่งจะเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อพูดถึงการค้าเสรี เราต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะพร้อมแข่งขันในโลกการแข่งขันเสรี เมื่อสองวันก่อน จากที่ที่ผมยืนอยู่นี้ นายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวอุปมาว่าคนป่วยที่เพิ่งออกมาจากห้องไอซียูไม่สามารถวิ่งแข่งกับนักกีฬาปกติคนอื่นๆ โดยใช้กฎเกณฑ์เดียวกันได้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นความจริงอย่างยิ่ง
ประเทศไทยยินดีให้การต้อนรับ Monterry Consensus และข้อเสนออื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการพัฒนา ความช่วยเหลือทางการเงินที่ให้กับประเทศกำลังพัฒนาควรมุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศผู้รับโดยไม่ก่อให้เกิดการพึ่งพาในระยะยาว เราต้องทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเป็นหุ้นส่วนในด้านพลังงานก็มีความสำคัญอย่างมากเช่นกัน ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมีผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างมาก และอาจทำให้ประเทศกำลังพัฒนาสูญเสียความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากลำบาก ยิ่งราคาน้ำมันสูงขึ้นเท่าใด ประเทศกำลังพัฒนาก็จะยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นเท่านั้นในการทำให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของสหประชาชาติ ดังนั้นสหประชาชาติจึงควรช่วยระดมความร่วมมือจากทั่วโลกเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน รวมทั้งพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือกซึ่งเป็นพลังงานสะอาด
สหประชาชาติจะต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบรรดาประเทศสมาชิกโดยส่งเสริมการสร้างหุ้นส่วน อาทิเช่น ความร่วมมือในกรอบประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา (เหนือ-ใต้) ในกรอบประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (ใต้-ใต้) และในกรอบไตรภาคี เราต้องการที่จะเห็นความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆ และสร้างสรรค์ระหว่างสหประชาชาติและประเทศสมาชิก
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เกิดสำนึกของการที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคนี้ขึ้น ในส่วนของเรา ประเทศไทยได้มาถึงจุดที่ทำให้เกิดหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างกว้างขวาง โดยผ่านทางความร่วมมือระดับภูมิภาคโดยการริเริ่มเพื่อการพัฒนา อย่างเช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ความร่วมมือ BIMSTEC และกรอบความร่วมมือ ACD ประเทศไทยกำลังสร้างกรอบความร่วมมือที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ
เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่าความช่วยเหลือในการพัฒนาที่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นฝ่ายผู้ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาแต่เพียงอย่างเดียว ประเทศกำลังพัฒนาสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาได้อย่างประสบความสำเร็จ ในการนี้ ประเทศไทยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ มาโดยตลอด เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่เห็นผลดีมาแล้ว โดยเฉพาะในด้านที่ประเทศไทยมีความชำนาญ เช่น การพัฒนาด้านเกษตรกรรม และสาธารณสุข
ความไม่ใส่ใจและละเลยต่อเพื่อนมนุษย์ก่อให้เกิดความโกรธเคืองและการต่อต้านอันจะนำไปสู่กระแสของการใช้ความรุนแรงในสังคม การพัฒนาจะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นได้ การให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์มีความสำคัญและเร่งด่วนยิ่ง และจะทำให้พวกเราสามารถสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในอันที่จะต่อสู้กับกระแสแห่งความรุนแรงและลดศักยภาพของขบวนการก่อการร้าย
เอกลักษณ์ของทุกศาสนาและและวัฒนธรรมจะต้องได้รับการยอมรับและเคารพนับถือ นี่คือความสมานฉันท์ท่ามกลางความหลากหลาย นี่คือหนทางที่จะนำไปสู่ความเป็นกลางและความเข้าใจ นี่คือสันติวิธีที่จะต่อสู้กับความรุนแรงและการก่อการร้าย นี่เอง เราจะต้องประนามการก่อการร้าย “ในทุกรูปแบบและทุกการแสดงออก ไม่ว่ากระทำโดยใครก็ตาม ไม่ว่าที่ใดก็ตาม และไม่ว่าด้วยจุดประสงค์ใดก็ตาม”
เรามีเรื่องต่างๆ มากมาย อยู่ในวาระของพวกเรา เส้นทางข้างหน้าไม่ใช่เส้นทางที่ง่ายนัก พวกเราจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราจะสามารถเสริมสร้างความแข่งแกร่งจากความหลากหลายด้วยสำนึกอันแน่วแน่ของความรับผิดชอบร่วมกัน
ขอให้พวกเราร่วมมือกันเพื่อให้สหประชาชาติได้รับใช้ชาวโลกอย่างแท้จริง ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร และไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะอยู่ที่ไหน เราขอให้มั่นใจว่า พวกเรา ประชาชนของสหประชาชาติ สามารถดำรงอยู่อย่างมีอิสรภาพที่แท้จริงเหมือนกับที่บิดาผู้ก่อตั้งของเราได้มองเห็นภาพนั้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-