บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Monday May 26, 2003 09:10 —รัฐสภา

                        บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓
ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เรื่องนายกรัฐมนตรีได้รับร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินไว้พิจารณาให้คำรับรอง คือ
ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองเกาะสมุย พ.ศ. ….
ซึ่ง นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๒.๑ ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒.๒ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๓. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
ได้ลงมติตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๔๖
ได้ลงมติให้ขยายเวลาการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบัน อุดมศึกษา (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ออกไปเป็นกรณีพิเศษอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ตามมาตรา ๑๗๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
เสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔)
ที่ประชุมได้พิจารณารายงานฉบับนี้และลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณา
ต่อมา ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓, ๑๖, ๑๔, ๑๕, ๑๑, และ ๑๒
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๓)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีรองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่แทน หลังจากสมาชิกฯ อภิปรายจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา
จึงลงมติกำหนดจำนวนบุคคลที่จะประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ จำนวน ๒๔ คน และตั้งกรรมาธิการร่วมกันฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร
จำนวน ๑๒ คน ประกอบด้วย
๑. นางสิริกร มณีรินทร์ ๒. นายรุ่ง แก้วแดง
๓. รองศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ๔. นายเกรียงไกร ไชยมงคล
๕. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๖. นายวิทยา ทรงคำ
๗. นายสุทิน คลังแสง ๘. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๙. นายสนั่น สุธากุล ๑๐. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๑๑. นางผ่องศรี แซ่จึง ๑๒. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสัญญา
ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และได้ลงมติเห็นชอบ
ด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับความ
เห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๓. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๔)
๔. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕)
ที่ประชุมได้มีมติให้รวมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในระเบียบวาระ
เรื่องด่วนที่ ๑๔ และ ๑๕ พร้อมกันแต่ให้ลงมติรับหลักการทีละฉบับ ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง) ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ
คือ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประมณฑ์ คุณะเกษม และนายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุ
ระเบียบวาระ) ขึ้นมาพิจารณารวมกันกับร่างพระรชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและผู้เสนอได้แถลงหลักการ
และเหตุผล ตามลำดับ โดยรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ขึ้นมาปฏิบัติ
หน้าที่แทน ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และมีมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ
ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นางสาวสุภา ปิยะจิตติ
๓. นางสาวกัลยา ฟองสมุทร ๔. นายสุวัฒน์ ปิ่นนิกร
๕. นายอัชพร จารุจินดา ๖. นายศิริ หวังบุญเกิด
๗. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๘. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ
๙. นายสุรชัย ตรีไพบูลย์ ๑๐. นายสนั่น ทองปาน
๑๑. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ๑๒. นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์
๑๓. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายกิตติ สมทรัพย์ ๑๖. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๑๗. นายพงศกร อรรณนพพร ๑๘. นายพีระเพชร ศิริกุล
๑๙. นายเกษม อุประ ๒๐. นายไพศาล ยิ่งสมาน
๒๑. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล ๒๒. นายวีระชัย วีระเมธีกุล
๒๓. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๒๔. นายจุติ ไกรฤกษ์
๒๕. นายสรรเสริญ สมะลาภา ๒๖. นายนิพนธ์ บุญญามณี
๒๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๘. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
๒๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๓๐. นายอุทัย สุดสุข
๓๑. นายสุวรรณ กู้สุจริต ๓๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓๓. นายชัย ชิดชอบ ๓๔. พันเอก วินัย สมพงษ์
๓๕. นายวิชิต แย้มบุญเรือง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
ต่อมา ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ซึ่งมีอยู่ ๒ ฉบับ) และมีมติ
ให้ส่งคณะกรรมาธิการฯ ชุดเดียวกับที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เป็นผู้พิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรี
เป็นหลักในการพิจารณา
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๕. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๑) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๒ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายธนกร นันที และนายสมศักดิ์ พันธ์เกษม เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๐)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายมณเฑียร สงฆ์ประชา เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี)
และผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ทั้ง ๓ ฉบับ พร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายปกิต พัฒนกุล ๒. นายรัชทิน ศยามานนท์
๓. นายสง่า โภคบุตร ๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
๕. นายวีระพงษ์ บุญญานุสนธิ์ ๖. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๗. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ๘. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๙. นายประสานต์ บุญมี ๑๐. นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
๑๑. นางสาวอรุณี ชำนาญยา ๑๒. นางผณินทรา ภัคเกษม
๑๓. นายสัญชัย วงษ์สุนทร ๑๔. นายสุรศักดิ์ นาคดี
๑๕. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ ๑๖. นายวิสันต์ เดชเสน
๑๗. ว่าที่ร้อยตรี พงศ์พันธ์ สุนทรชัย ๑๘. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๙. นายชวลิต มหาจันทร์ ๒๐. นายปราโมทย์ แหล่ทองคำ
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๒๓. นายสามารถ แก้วมีชัย ๒๔. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๒๕. นายนคร มาฉิม ๒๖. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
๒๗. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๒๘. นายนริศ ขำนุรักษ์
๒๙. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ๓๐. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๓๑. นายเอกพล ยวงนาค ๓๒. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๓. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ๓๔. นายธนกร นันที
๓๕. นายสมศักดิ์ พันธ์เกษม
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
๖. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า
ตำบลคลองนา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ตำบลหนองตีนนก อำเภอ
บ้านโพธิ์ และตำบลบางผึ้ง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๒)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี)
ได้แถลงหลักการและเหตุผลแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่ง
ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีมติให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะ
กรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์พิจารณา กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๓๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘ , ๓๒๓๐ - ๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.
ตั้งกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา ๑๗๕ (๓)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๔ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๓ ฉบับ)
๔. ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า
ตำบลคลองนา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ตำบลหนองตีนนก อำเภอบ้านโพธิ์ และตำบลบางผึ้ง
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ….
**************************************

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ