สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดของเด็กเล่นที่สำคัญของโลก และเป็นตลาดส่งออกของเด็กเล่นสำคัญที่สุดของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 35 ของมูลค่าส่งออกของเด็กเล่นทั้งหมดของไทย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการส่งออกของเด็กเล่นของไทยไปสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า รวมทั้งคู่แข่งระดับบนที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการออกแบบของเด็กเล่นที่เหนือชั้นกว่าไทย นอกจากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงแล้ว ระยะหลังผู้ส่งออกของเด็กเล่นของไทยยังต้องเผชิญกับระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นกับการนำของเด็กเล่นเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ
ระเบียบ/ข้อกำหนดสำคัญของสหรัฐฯ ที่ผู้ส่งออกของเด็กเล่นของไทยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในปัจจุบันคือ มาตรฐาน ASTM F963 (The American Society for Testing and Materials) ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับของเด็กเล่น ที่มีสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นสหรัฐฯ (Toy Industry Association: TIA) และ The U.S. Consumer Product Safety Commission (CPSC) ทำหน้าที่ควบคุม และดูแลให้ของเด็กเล่นที่วางจำหน่ายในสหรัฐฯ (ยกเว้นรถจักรยาน 2 ล้อและ 3 ล้อ สเก็ตบอร์ด จรวดและเครื่องบินสำหรับเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา และเครื่องเล่นในสนาม) ทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนวางจำหน่าย ทั้งนี้ สาระสำคัญของมาตรฐาน ASTM F963 เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ขนาดของส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับของเด็กเล่น เช่น ลูกบอล หรือลูกแก้ว ชิ้นส่วนตัวต่อ (Puzzles) ส่วนประกอบของตุ๊กตา (เช่น ตาและจมูก) ต้องมีขนาดไม่เล็กจนเด็กสามารถสูด หรือกลืนลงคอ จนเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของเด็ก
- ระดับความดังของเสียง ของเด็กเล่นที่ต้องเล่นแนบกับหู เช่น โทรศัพท์สำหรับให้เด็กเล่น หรือของเด็กเล่นที่บีบแล้วมีเสียงต้องมีเสียงไม่ดังจนเกินไป
- สารพิษตกค้างในของเด็กเล่น ทั้งที่เป็นส่วนผสมในวัสดุและเป็นสารเคลือบผิวของเล่น เช่น ของเด็กเล่นที่ทำจากยางหรือพลาสติกสำหรับให้ทารกกัด ต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายเมื่อเด็กสัมผัสหรือกัดเข้าปาก เป็นต้น
- ความแหลมคมของของเด็กเล่น เช่น อุปกรณ์ในชุดฝึกหัดตัดเย็บของเด็ก/ชุดฝึกหัดทำอาหาร ต้องไม่มีส่วนที่เป็นปลายแหลม หรือสันคมที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก
- กระแสไฟฟ้า ของเด็กเล่นที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อน โดยเฉพาะรถยนต์จำลองที่สามารถขับได้จริง ต้องได้รับการตรวจสอบระบบควบคุมการรั่วไหลของกระแสไฟ การลัดวงจร ปุ่มสวิตช์การทำงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับฉลากสินค้าที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ของของเด็กเล่น ทั้งคำแนะนำในการเล่นอย่างถูกวิธี อายุที่เหมาะสมของเด็กสำหรับของเล่นแต่ละชนิด คำเตือนให้ระมัดระวังอันตรายจากการเล่นของเล่นเพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นอย่างไม่ถูกวิธี
ของเด็กเล่นของไทยที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐฯ คือ ของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ประเภทเสริมทักษะหรือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งส่วนมากเป็นแบบจำลองที่ประกอบกันเป็นชุด มีสีสันสวยงาม และสามารถแยกชิ้นส่วนได้ เช่น ขบวนรถไฟจำลอง ระนาดจำลอง ชุดรูปทรงเรขาคณิตเพื่อพัฒนาสมอง เป็นต้น
จากข้อกำหนดที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ในขณะที่ไทยยังต้องพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกของเด็กเล่นที่สำคัญจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกไทยต้องผลิตของเด็กเล่นให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด โดยเฉพาะการส่งออกของเล่นไม้ที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐฯ โดยผู้ผลิตของเด็กเล่นของไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับวัตถุดิบไม้ที่นำมาใช้ในการผลิต โดยต้องเป็นไม้ที่ขัดจนเรียบไม่มีเสี้ยน ส่วนประกอบต่างๆ ต้องไม่มีขนาดเล็กจนเกินไป ขณะเดียวกัน สี สารเคลือบ หรือวัสดุที่ใช้เชื่อมต่อชิ้นส่วนของเด็กเล่น อาทิ กาว ซิลิโคน ต้องไม่มีโลหะหนักในปริมาณที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของเด็กเล่นไทยในท่ามกลางการแข่งขันที่ยังมีอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันหากของเด็กเล่นของไทยสามารถพัฒนาคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ก็จะมีส่วนช่วยให้การขยายการส่งออกของเด็กเล่นของไทยไปยังตลาดอื่นๆ ในประเทศพัฒนาแล้วมีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้นเช่นกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2546--
-สส-
ระเบียบ/ข้อกำหนดสำคัญของสหรัฐฯ ที่ผู้ส่งออกของเด็กเล่นของไทยควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในปัจจุบันคือ มาตรฐาน ASTM F963 (The American Society for Testing and Materials) ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับของเด็กเล่น ที่มีสมาคมอุตสาหกรรมของเล่นสหรัฐฯ (Toy Industry Association: TIA) และ The U.S. Consumer Product Safety Commission (CPSC) ทำหน้าที่ควบคุม และดูแลให้ของเด็กเล่นที่วางจำหน่ายในสหรัฐฯ (ยกเว้นรถจักรยาน 2 ล้อและ 3 ล้อ สเก็ตบอร์ด จรวดและเครื่องบินสำหรับเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา และเครื่องเล่นในสนาม) ทั้งที่ผลิตในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศต้องได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนวางจำหน่าย ทั้งนี้ สาระสำคัญของมาตรฐาน ASTM F963 เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ขนาดของส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับของเด็กเล่น เช่น ลูกบอล หรือลูกแก้ว ชิ้นส่วนตัวต่อ (Puzzles) ส่วนประกอบของตุ๊กตา (เช่น ตาและจมูก) ต้องมีขนาดไม่เล็กจนเด็กสามารถสูด หรือกลืนลงคอ จนเป็นอันตรายต่อระบบหายใจของเด็ก
- ระดับความดังของเสียง ของเด็กเล่นที่ต้องเล่นแนบกับหู เช่น โทรศัพท์สำหรับให้เด็กเล่น หรือของเด็กเล่นที่บีบแล้วมีเสียงต้องมีเสียงไม่ดังจนเกินไป
- สารพิษตกค้างในของเด็กเล่น ทั้งที่เป็นส่วนผสมในวัสดุและเป็นสารเคลือบผิวของเล่น เช่น ของเด็กเล่นที่ทำจากยางหรือพลาสติกสำหรับให้ทารกกัด ต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายเมื่อเด็กสัมผัสหรือกัดเข้าปาก เป็นต้น
- ความแหลมคมของของเด็กเล่น เช่น อุปกรณ์ในชุดฝึกหัดตัดเย็บของเด็ก/ชุดฝึกหัดทำอาหาร ต้องไม่มีส่วนที่เป็นปลายแหลม หรือสันคมที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก
- กระแสไฟฟ้า ของเด็กเล่นที่ใช้แบตเตอรี่เป็นตัวขับเคลื่อน โดยเฉพาะรถยนต์จำลองที่สามารถขับได้จริง ต้องได้รับการตรวจสอบระบบควบคุมการรั่วไหลของกระแสไฟ การลัดวงจร ปุ่มสวิตช์การทำงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ผลิตจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับฉลากสินค้าที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ของของเด็กเล่น ทั้งคำแนะนำในการเล่นอย่างถูกวิธี อายุที่เหมาะสมของเด็กสำหรับของเล่นแต่ละชนิด คำเตือนให้ระมัดระวังอันตรายจากการเล่นของเล่นเพื่อป้องกันอันตรายจากการเล่นอย่างไม่ถูกวิธี
ของเด็กเล่นของไทยที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐฯ คือ ของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ประเภทเสริมทักษะหรือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งส่วนมากเป็นแบบจำลองที่ประกอบกันเป็นชุด มีสีสันสวยงาม และสามารถแยกชิ้นส่วนได้ เช่น ขบวนรถไฟจำลอง ระนาดจำลอง ชุดรูปทรงเรขาคณิตเพื่อพัฒนาสมอง เป็นต้น
จากข้อกำหนดที่เข้มงวดของสหรัฐฯ ในขณะที่ไทยยังต้องพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกของเด็กเล่นที่สำคัญจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกไทยต้องผลิตของเด็กเล่นให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนด โดยเฉพาะการส่งออกของเล่นไม้ที่ได้รับความนิยมมากในสหรัฐฯ โดยผู้ผลิตของเด็กเล่นของไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับวัตถุดิบไม้ที่นำมาใช้ในการผลิต โดยต้องเป็นไม้ที่ขัดจนเรียบไม่มีเสี้ยน ส่วนประกอบต่างๆ ต้องไม่มีขนาดเล็กจนเกินไป ขณะเดียวกัน สี สารเคลือบ หรือวัสดุที่ใช้เชื่อมต่อชิ้นส่วนของเด็กเล่น อาทิ กาว ซิลิโคน ต้องไม่มีโลหะหนักในปริมาณที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดของเด็กเล่นไทยในท่ามกลางการแข่งขันที่ยังมีอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันหากของเด็กเล่นของไทยสามารถพัฒนาคุณภาพจนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ก็จะมีส่วนช่วยให้การขยายการส่งออกของเด็กเล่นของไทยไปยังตลาดอื่นๆ ในประเทศพัฒนาแล้วมีโอกาสเป็นไปได้มากขึ้นเช่นกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2546--
-สส-