นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี ในฐานะคณะทำงานตรวจสอบการทุจริต พรรคประชาธิปัตย์ แถลงที่พรรคประชาธิปัตย์ ถึงการตรวจสอบพฤติกรรมส่อทุจริตในการใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมด 10 หน่วยงาน มีจำนวนวงเงินงบประมาณกว่า 400 ล้าน ซึ่งคณะทำงานฯ ของพรรคได้ตรวจสอบแล้วพบว่า การจัดประกวดราคาในช่วงเดือนเมษายน — พฤษภาคม โดยการเสนอราคาประมูล มีความใกล้เคียงกับราคากลางและเป็นแบบเกาะกลุ่ม
สำหรับพฤติกรรมที่บ่งชี้ชัดคือ ไม่ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คือการประกวดราคาของกรมทรัพยากรน้ำ ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น จังหวัดกาญจนบุรี พบมีการฮั๊วประมูลโดยผู้ชนะเสนอราคามา 32 ล้าน ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง ทั้งยังมีการเสนอและเรียกรับผลประโยชน์ แต่สิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นคือ การตัดสิทธิบริษัท อรลักษณ์สิงห์บุรี (1994) โดยอ้างว่าคุณสมบัติไม่ครบ ซึ่งสวนทางกับการยืนยันของส่วนราชการว่าบริษัทดังกล่าวมีคุณสมบัติครบและสามารถประมูลได้ เห็นได้ว่าหากพฤติกรรมเช่นนี้มีระบบการตรวจสอบที่ไม่เข้มแข็ง การเอารัดเอาเปรียบก็จะยังมีอยู่ทั่วไป
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะทำงานจะส่งเรื่องการทุจริตให้กับ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปช.) และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าไปตรวจสอบต่อไป นอกจากนี้นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การตรวจสอบครั้งนี้น่าจะทำให้รัฐบาลหันมาเอาจริงเอาจังกับการทุจริต และจะทำให้ส่วนราชการไม่กล้าทำผิดกฎหมายหรือแสวงผลประโยชน์ของแผ่นดิน
สำหรับรายนามของหน่วยงานที่คณะทำงานฯ ตรวจสอบแล้วพบว่าส่อทุจริตมีดังต่อไปนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาค ในโครงการปรับปรุงขยายการประปาท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 96 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธกส.) โครงการก่อสร้างสำนักงานสาขา 2 จังหวัด คือหนองคาย และน่าน วงเงิน 24 ล้านบาท
3. กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง โครงการก่อสร้างอาการเก็บแสตมป์ วงเงิน 25 ล้านบาท
4. สำนักงานชลประทานที่ 9 ก่อสร้างถนนอำเภอ โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี วงเงิน 34 ล้านบาท
5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 ของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ในโครงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 17 ล้านบาท
6. สำนักงานโยธา กทม.รวมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกพุทธมณฑลสาย 3 วงเงิน 155 ล้านบาท
7. ในกลุ่มเทศบาล คือ เทศบาลตำบลศรีราชา วงเงิน 60 ล้านบาท เทศบาลปทุมธานี วงเงิน 25 ล้านบาท เทศบาลสามพราน วงเงิน 27 ล้านบาท และเทศบาลสมุทรปราการ วงเงิน 17 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 24/5/2546--จบ--
-นค-
สำหรับพฤติกรรมที่บ่งชี้ชัดคือ ไม่ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คือการประกวดราคาของกรมทรัพยากรน้ำ ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น จังหวัดกาญจนบุรี พบมีการฮั๊วประมูลโดยผู้ชนะเสนอราคามา 32 ล้าน ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง ทั้งยังมีการเสนอและเรียกรับผลประโยชน์ แต่สิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นคือ การตัดสิทธิบริษัท อรลักษณ์สิงห์บุรี (1994) โดยอ้างว่าคุณสมบัติไม่ครบ ซึ่งสวนทางกับการยืนยันของส่วนราชการว่าบริษัทดังกล่าวมีคุณสมบัติครบและสามารถประมูลได้ เห็นได้ว่าหากพฤติกรรมเช่นนี้มีระบบการตรวจสอบที่ไม่เข้มแข็ง การเอารัดเอาเปรียบก็จะยังมีอยู่ทั่วไป
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะทำงานจะส่งเรื่องการทุจริตให้กับ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปช.) และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าไปตรวจสอบต่อไป นอกจากนี้นายอลงกรณ์ กล่าวว่า การตรวจสอบครั้งนี้น่าจะทำให้รัฐบาลหันมาเอาจริงเอาจังกับการทุจริต และจะทำให้ส่วนราชการไม่กล้าทำผิดกฎหมายหรือแสวงผลประโยชน์ของแผ่นดิน
สำหรับรายนามของหน่วยงานที่คณะทำงานฯ ตรวจสอบแล้วพบว่าส่อทุจริตมีดังต่อไปนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาค ในโครงการปรับปรุงขยายการประปาท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ วงเงิน 96 ล้านบาท
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพื่อการเกษตร (ธกส.) โครงการก่อสร้างสำนักงานสาขา 2 จังหวัด คือหนองคาย และน่าน วงเงิน 24 ล้านบาท
3. กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง โครงการก่อสร้างอาการเก็บแสตมป์ วงเงิน 25 ล้านบาท
4. สำนักงานชลประทานที่ 9 ก่อสร้างถนนอำเภอ โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี วงเงิน 34 ล้านบาท
5. สำนักงานทางหลวงชนบทที่ 8 ของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ในโครงการปรับปรุงทางหลวงเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ วงเงิน 17 ล้านบาท
6. สำนักงานโยธา กทม.รวมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย ก่อสร้างสะพานข้ามทางแยกพุทธมณฑลสาย 3 วงเงิน 155 ล้านบาท
7. ในกลุ่มเทศบาล คือ เทศบาลตำบลศรีราชา วงเงิน 60 ล้านบาท เทศบาลปทุมธานี วงเงิน 25 ล้านบาท เทศบาลสามพราน วงเงิน 27 ล้านบาท และเทศบาลสมุทรปราการ วงเงิน 17 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 24/5/2546--จบ--
-นค-