นายพุทธิพงษ์ ปุณกันต์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวอภิปรายถึงความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในกรณีการจัดสรรโควต้าส่งออกข้าวขาว 30 %ให้บริษัทแรมบีช โดยเฉพาะข้อสงสัย การเปิดประมูลเลือกสรรบริษัทเอกชนมาเซ็นสัญญาภายใน 2 วัน
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับโควตาข้าวจากอียูในส่วนของข้าวหอมมะลิจำนวน 21,455 ตัน ซึ่งก็มีการลงนามเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนเพื่อส่งออกข้าวดังกล่าว โดยในการจัดสรรโควต้าส่วนนี้ ร้อยละ ๗๐ ให้กับเอกชนไทยที่ส่งออกข้าวตามประวัติเหมือนเดิม ส่วนอีก 30 % จะให้อคส.นำไปจัดสรร แต่เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2545 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามเซ็นคำสั่งให้กรมการค้าต่างประเทศ ก.พาณิชย์ ขายข้าวในส่วนนี้เอง ต่อมา รมว.พาณิชย์ ก็ได้เปลี่ยนคำสั่งโดยให้มีการลงนามเซ็นสัญญาระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัทบริษัทหนึ่งชื่อว่าบริษัทแรมบิช
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่าจากการตรวจสอบบริษัทแห่งนี้ พบว่ามีการจดทะเบียนในประเทศปานามา แต่กลับแจ้งว่าจดทะเบียนที่ประเทศสวิทเซอรแลนด์ โดยบริษัทแรมบีช นี้มีการใช้เงินทุนจดตั้งบริษัท เพียง 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนบาทเท่านั้น ทั้งที่หากเป็นบริษัทของประทศไทย ก็ต้องกก็ตกกฏที่มีทุนจดทะเบียนอย่างต่ำ 1 ล้านบาง นอกจากนั้นแล้ว บริษัทแห่งนี้มีการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 โดยมีการจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปีกับ 3 เดือนเท่านั้น แต่กลับได้รับโควตาข้าว 30 % จากกระทรวงพาณิชย์
นายพุทธิพงษ์ กล่าวด้วยว่า บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงพาณิชย์ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้กับไทยในราคาตันละ 5000 บาท โดยบริษัทแรมบิชก็จะต้องจ่ายให้กับไทยเป็นเงิน 32,180,000 บาท แต่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม นายอดิศัย ก็ได้ลงนามให้คณะกรรมการข้าวหรือ กนข.พิจารณา ในเรื่องการเก็บค่าทำเนียมพิเศษการส่งออกข้าวตามสัญญาระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกับบริษัทแรมบีช
โดย รมว.พาณิชย์ มีการใช้อำนาจในการออกคำสั่งเพื่อช่วยให้บริษัทแรมบีชไม่ต้องเสียภาษีค่าธรรมเนียมเข้าหลวง ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเกื้อหนุนคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นชาวต่างชาติ ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 32,180,000 บาท โดยนายอดิศัยมีการเซ็นหักค่าธรรมเนียมในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ซึ่งตนเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ถือว่ามีความไม่โปร่งใส อีกทั้งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง นอกจากนี้เมื่อต้นปี 2546 นายอดิศัย ก็มีคำสั่งออกมาโดยลงคำสั่งวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ให้จัดสรรปริมาณข้าวขาวถึงร้อยละ 50 ของปริมาณข้าวนำมาขายเอง
สุดท้ายนี้นายพุทธิพงษ์ กล่าวชี้ชัดให้เห็นว่า กระบวนการจัดสรร การบริหารบ้านเมืองของกระทรงพาณิชย์ ภายใต้การบริหารงานของนายอดิศัย มีความไม่โปร่งใส ซึ่งทุกคนคงทราบว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาประเทศ เรื่องที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีความบกพร่อง ล้มเหลวหรือไม่ และมีความเหมาะสมหรือไม่ที่จะรับตำแหน่งนี้ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 28/5/2546--จบ--
-นค-
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับโควตาข้าวจากอียูในส่วนของข้าวหอมมะลิจำนวน 21,455 ตัน ซึ่งก็มีการลงนามเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนเพื่อส่งออกข้าวดังกล่าว โดยในการจัดสรรโควต้าส่วนนี้ ร้อยละ ๗๐ ให้กับเอกชนไทยที่ส่งออกข้าวตามประวัติเหมือนเดิม ส่วนอีก 30 % จะให้อคส.นำไปจัดสรร แต่เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2545 นายอดิศัย โพธารามิก ได้ลงนามเซ็นคำสั่งให้กรมการค้าต่างประเทศ ก.พาณิชย์ ขายข้าวในส่วนนี้เอง ต่อมา รมว.พาณิชย์ ก็ได้เปลี่ยนคำสั่งโดยให้มีการลงนามเซ็นสัญญาระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัทบริษัทหนึ่งชื่อว่าบริษัทแรมบิช
นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่าจากการตรวจสอบบริษัทแห่งนี้ พบว่ามีการจดทะเบียนในประเทศปานามา แต่กลับแจ้งว่าจดทะเบียนที่ประเทศสวิทเซอรแลนด์ โดยบริษัทแรมบีช นี้มีการใช้เงินทุนจดตั้งบริษัท เพียง 1 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 แสนบาทเท่านั้น ทั้งที่หากเป็นบริษัทของประทศไทย ก็ต้องกก็ตกกฏที่มีทุนจดทะเบียนอย่างต่ำ 1 ล้านบาง นอกจากนั้นแล้ว บริษัทแห่งนี้มีการตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 โดยมีการจัดตั้งขึ้นซึ่งเป็นเวลาเพียง 1 ปีกับ 3 เดือนเท่านั้น แต่กลับได้รับโควตาข้าว 30 % จากกระทรวงพาณิชย์
นายพุทธิพงษ์ กล่าวด้วยว่า บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงพาณิชย์ต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้กับไทยในราคาตันละ 5000 บาท โดยบริษัทแรมบิชก็จะต้องจ่ายให้กับไทยเป็นเงิน 32,180,000 บาท แต่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม นายอดิศัย ก็ได้ลงนามให้คณะกรรมการข้าวหรือ กนข.พิจารณา ในเรื่องการเก็บค่าทำเนียมพิเศษการส่งออกข้าวตามสัญญาระหว่างกรมการค้าต่างประเทศกับบริษัทแรมบีช
โดย รมว.พาณิชย์ มีการใช้อำนาจในการออกคำสั่งเพื่อช่วยให้บริษัทแรมบีชไม่ต้องเสียภาษีค่าธรรมเนียมเข้าหลวง ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเกื้อหนุนคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นชาวต่างชาติ ทำให้รัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 32,180,000 บาท โดยนายอดิศัยมีการเซ็นหักค่าธรรมเนียมในวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ซึ่งตนเห็นว่าการกระทำเช่นนี้ถือว่ามีความไม่โปร่งใส อีกทั้งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง นอกจากนี้เมื่อต้นปี 2546 นายอดิศัย ก็มีคำสั่งออกมาโดยลงคำสั่งวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 ให้จัดสรรปริมาณข้าวขาวถึงร้อยละ 50 ของปริมาณข้าวนำมาขายเอง
สุดท้ายนี้นายพุทธิพงษ์ กล่าวชี้ชัดให้เห็นว่า กระบวนการจัดสรร การบริหารบ้านเมืองของกระทรงพาณิชย์ ภายใต้การบริหารงานของนายอดิศัย มีความไม่โปร่งใส ซึ่งทุกคนคงทราบว่า กระทรวงพาณิชย์เป็นหัวใจหลักในการพัฒนาประเทศ เรื่องที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการบริหารงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีความบกพร่อง ล้มเหลวหรือไม่ และมีความเหมาะสมหรือไม่ที่จะรับตำแหน่งนี้ต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 28/5/2546--จบ--
-นค-