แท็ก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
พรรคประชาธิปัตย์
รัฐมนตรี
กราบเรียนประธานที่เคารพกระ ผมกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นอีกวันหนึ่งครับที่เรามาทำหน้าที่อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีมันก็เป็นความลำบากใจ เพราะว่าเราก็ต้องตำหนิท่าน แต่ผมเห็นว่าหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถ้าเราละเว้นไม่ทำก็คงจะทำไม่ได้ กระผมกล่าวหาท่านรัฐมนตรีครับ ท่านรัฐมนตรีสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที ผมขออนุญาตท่านประธานใช้ชื่อสั้นๆ ผมกล่าวหาท่านว่า ท่านทำงานในหน้าที่ของท่านไม่เคยได้คิดปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนเลย ที่ผมบอกว่าผมไม่ค่อยสบายใจ ผมคิดว่าผมเป็นคนแรกๆที่ได้มีโอกาสพบท่านหลังจากที่ท่านเข้ามารับตำแหน่งในกระทรวงนี้ ผมยังพูดกระเซ้ากับท่านนิดหนึ่งว่า เที่ยวหน้าอย่าให้มาเจอกันในสภาเลยนะ ท่านรัฐมนตรีก็คงจะจำได้ ที่ผมกล้าพูดอย่างนั้นในวันนั้นเพราะเห็นท่านเป็นแพทย์ เป็นหมอ หมอเขาเป็นคนประเภทหนึ่งซึ่งเห็นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งเป็นหลักเลยครับไม่ค่อยเลอะเทอะเท่าไร ผมก็ถือว่าผมเป็นวิศวกร
วันนี้ก็เป็นวันแรกเหมือนกันที่ผมจะได้มีโอกาสอภิปรายงานที่เป็นอาชีพผมจริงๆ ตั้งแต่ก่อนมาเป็นผู้แทนราษฎร เริ่มจากว่าเรื่องของสัญญาสัมปทานมันซับซ้อน เพราะฉะนั้นการอภิปรายของผมต้องขออนุญาตท่านประธานว่าขอเวลาประมาณสัก 15 นาที เล่าให้ฟังนิดว่าที่มาที่ไปมันเป็นอย่างไร เพราะว่าพวกเราหลายคนตรงนี้รู้เรื่องกันหมด แต่พี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งที่อยู่ทางบ้านเขาไม่ค่อยจะเข้าใจ คำว่ากิจการโทรคมนาคมฟังดูแล้วมันก็โก้แต่จริง ๆ มันก็ไม่ได้มีอะไรมากก็เรื่องของโทรศัพท์เท่านั้นเอง อาจจะมีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างแต่วันนี้ผมขออนุญาตไม่พูดถึง โทรศัพท์เป็นเรื่องสำคัญเกิดมาก็ได้เห็นมันแล้ว เพราะเป็นเรื่องเก่ามานานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของชาติ เพราะว่าเวลาเราจะวางระบบเครือข่ายของโทรศัพท์เราต้องอาศัยแผ่นดินของประเทศ ความหมายง่าย ๆ ก็คือว่าใครจะมาประกอบกิจการโทรศัพท์ไม่ได้ ดังนั้นก็มีกฎหมายโดยเฉพาะพระราชบัญญัติโทรเลข และโทรศัพท์ 2477 ระบุไว้ชัดเจน ว่าใครอย่ามายุ่งนะงานอย่างนี้ หลวงทำเององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยครับท่านประธานพอหลวงทำทุกคนก็ขนลุกขนพอง เพราะว่าสมัยก่อนถ้าเราจำกันได้กว่าจะขอโทรศัพท์เบอร์หนึ่งมันยากแสนเข็น พอเรามีรัฐบาลประชาธิปไตยที่เรารู้สึกว่าการพัฒนาประเทศมีความจำเป็นและเห็นคุณค่าของเอกชนก็เลยบอกว่ารอเบอร์ขององค์การโทรศัพท์ไม่ไหวแน่ ให้เอกชนมาช่วยลงทุนดีกว่า เพราะรัฐไม่มีสตางค์ตรงนั่นและครับเป็นที่เกิดของสัมปทาน
ท่านประธานครับเขามีการแบ่งกัน และเขาก็มีการรวมกันในเรื่องของเลขหมายครับ ทะเลาะกันวิ่งเต้นกัน แต่ผลสุดท้ายออกมาว่า ในกรุงเทพฯ เพิ่มอีกสัก 2 ล้านเลขหมาย ต่างจังหวัด เพิ่มอีก 1 ล้านเลขหมาย ใครบ้างสนใจเข้ามาประมูลครับ ประมูลและแข่งขันกันโดยตั้งเงื่อนไขและหลักอยู่อย่างหนึ่งคือว่าเวลารับเงินจากพี่น้องประชาชนแล้วแบ่งให้รัฐเท่าไร ผลปรากฎว่า บริษัทเทเลคอมเอเชียประมูลได้ บอกเลยว่าทุกบาททุกสตางค์ที่รับเงินมาจะส่งให้รัฐ 16% แล้วขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ เฉพาะ 2 ล้านเลขหมายในกรุงเทพฯ ในขณะที่ต่างจังหวัดขอเพิ่มอีก 1 ล้านเลขหมายก็มีบริษัทใจกล้าที่ประมูลว่าฉันจะให้ 43% ขึ้นไป จากรายได้ รับมา 100 บาท รับเอาไปเลย 43 บาท ทุกคนบอกว่าทำไม่ได้หรอก ไอ้อย่างนี้ประเภทเอาสัมปทานไปก่อนแล้วขอแก้ไขภายหลังอันนี้ผมพูดถึงโทรศัพท์บ้านสมัยก่อนยังไม่มีครับโทรศัพท์มือถือ ท่านประธานครับรัฐเองก็เห็นว่าใครให้ประโยชน์รัฐสูงสุดรัฐก็ให้สัมปทานนั้นไป เพราะเหตุผลที่ฟังได้ครับ ในกรุงเทพฯ ถ้าหากจะลงทุนก็ลงทุนเครือข่ายในกรุงเทพฯอย่างเดียว ลงทุนเครือข่ายในกรุงเทพฯ ใช้เงินเยอะครับ จะต้องขุดถนนหนทางไปรู้จะขุดไปเจออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นแบ่งกำไรให้มากไม่ได้หรอกลงทุนเยอะ ในขณะที่ต่างจังหวัดเขาบอกว่าลงทุนไม่มากครับ เวลาเสียงไปตามสายตาอท่อเคเบิลไปตามท่อชนิดไหนก็แล้วแต่ระหว่างจังหวัด ไม่ต้องลงทุนครับ อาศัยท่อขององค์การโทรศัพท์นั่นแหละ แต่ไปขุดไปเจาะเอาถนนเฉพาะในอำเภอใหญ่ ๆ ตามอำเภอเมือง และระหว่างอำเภอครับ เพราะฉะนั้นการลงทุนน้อยจึงแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐอย่างเต็มที่ ทีนี้มันก็เกิดปัญหา มันเกิดปัญหาที่ว่าในเมื่อกฎหมายบอกว่าทำไมได้เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องทรัพยากรของชาติอยู่ดี ๆ จะปล่อยให้เอกชนมาขุดถนนหนทางทั่วประเทศทำไม่ได้เด็ดขาด เพราะแะนั้นจึงมีการเลี่ยงกันในเรื่องสัญญาสัมปทานบอกเอาอย่างนี้ก็แล้วกันขุดเสร็จเจาะเสร็จ วางสายเสร็จทำงานใช้ได้ยกให้หลวงไปเลย ตรงนี้เขาเรียกว่าการลงทุนในเครือข่ายและยกให้เป็นสมบัติของรัฐ สมบัติของรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัญญา บริษัท เทเลคอมเอเชียก็ดี บริษัท ทีทีแอนทีก็ดี ก็เริ่มดำเนินการเป็นไปตามปกติตอนนั้นวิกฤติทางเศรษฐกิจยังไม่เกิดขึ้นก็พอถูไถทำไปได้ แต่พอดีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวไปเรื่อย ๆ มันก็มีคำว่าโทรศัพท์มือถือขึ้นมา ผมพูดเมื่อสักครู่เรื่องโทรศัพท์บ้าน โทรจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งต้องใช้สายนะครับ แต่โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นความถี่ คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพยากรของชาติ อยู่ดี ๆ จะให้ใครเขาทำไม่ได้ แต่ว่าธุรกิจอย่างนี้มันค่อนข้างจะมีผลประโยชน์สูงและซับซ้อน และถ้าพูดจริง ๆ มันก็เน่าเฟอะกันมาหลายรัฐบาลครับ จึงมีแนวความคิดกันครับของหน่วยงานของรัฐว่าเราควรจะทำเองเริ่มต้นระบบเก่า ๆ ครับผมไม่เรียกโทรศัพท์มือถือหรอก ผมเรียกโทรศัพท์กระเป๋าถือน่าจะได้ เพราะมันใหญ่ท่านประธานจำได้ไหมครับ ไม่มีปัญหาถือไปไหนครับอย่างเก่งก็ติดไว้ที่รถ คลื่นความถี่องค์การโทรศัพท์ก็ไปขอมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข หน่วยงานขอคลื่นความถี่กันเองมันไม่ค่อยเป็นเรื่องฉาวโฉ่ครับ เพราะเวลาขอก็บอกว่าขอแล้วฉันจะเอามาใช้เอง การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ทำคล้าย ๆ กัน ไอ้พวกคลื่นความถี่เหล่านี้และครับขอมาเก็บไว้แล้วบอกว่าจะใช้เองตอนเวลาขอ
หลังจากนั้นอีกไม่นานครับจากโทรศัพท์กระเป๋าถือก็เป็นมือถือแบบตัวใหญ่ ๆ แต่ยังเป็นระบบเก่าอยู่ครับ ถึงตอนนั้นองค์การโทรศัพท์ก็ยังทำอยู่ไม่ได้คิดให้คนอื่นจนกระทั่งมีขอดีออกมาเป็นโทรศัพท์เล็กลงมาหน่อย พอขอดีอกมาหน่วยงานของรัฐหน่วยงานนี้ก็บอกชัดจะไม่ค่อยอยากทำเสียแล้ว เพราะว่าลงทุนสูง เพราะฉะนั้นในเรื่องของโทรศัพท์มือถือก็คงไม่ต่างกันเท่าไรกับโทรศัพท์บ้าน ต่างกันอยู่นิดหนึ่งว่าเข้าใจว่าไม่มีการประมูล บริษัทแรกที่ได้ไปคือบริษัท เอไอเอส ครับท่านประธาน แล้วก็ได้จากองค์การโทรศัพท์ลักษณะเดียวกันหมดครับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งเข้าใจว่าชื่อ TAC ได้จาก กสท. ลักษณะเหมือนกันทุกอย่างต้องลงทุนเหมือนกันทุกอย่างที่เรียกว่าเครือข่าย แต่ไม่ใช่ไปวางท่อวางสถานีทั่วประเทศ แล้วก็เข้ากรอบเดียวกับที่กฎหมายกำหนด คือทำเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นเงินที่ลงทุนไปในเครือข่ายเหล่านี้ ก็ต้องโอนให้เป็นของหน่วยงานคู่สัญญาคือ องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ลงทุนเยอะครับท่านประธานลงทุนทั้งหมอของเอไอเอสลงทุนไป 116,643 ล้านบาท พวกที่ลงทุนน้อยที่สุดก็คือทีทีแอนที 55,305 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 29/5/2546--จบ--
-นค-
วันนี้ก็เป็นวันแรกเหมือนกันที่ผมจะได้มีโอกาสอภิปรายงานที่เป็นอาชีพผมจริงๆ ตั้งแต่ก่อนมาเป็นผู้แทนราษฎร เริ่มจากว่าเรื่องของสัญญาสัมปทานมันซับซ้อน เพราะฉะนั้นการอภิปรายของผมต้องขออนุญาตท่านประธานว่าขอเวลาประมาณสัก 15 นาที เล่าให้ฟังนิดว่าที่มาที่ไปมันเป็นอย่างไร เพราะว่าพวกเราหลายคนตรงนี้รู้เรื่องกันหมด แต่พี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งที่อยู่ทางบ้านเขาไม่ค่อยจะเข้าใจ คำว่ากิจการโทรคมนาคมฟังดูแล้วมันก็โก้แต่จริง ๆ มันก็ไม่ได้มีอะไรมากก็เรื่องของโทรศัพท์เท่านั้นเอง อาจจะมีเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่บ้างแต่วันนี้ผมขออนุญาตไม่พูดถึง โทรศัพท์เป็นเรื่องสำคัญเกิดมาก็ได้เห็นมันแล้ว เพราะเป็นเรื่องเก่ามานานเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของชาติ เพราะว่าเวลาเราจะวางระบบเครือข่ายของโทรศัพท์เราต้องอาศัยแผ่นดินของประเทศ ความหมายง่าย ๆ ก็คือว่าใครจะมาประกอบกิจการโทรศัพท์ไม่ได้ ดังนั้นก็มีกฎหมายโดยเฉพาะพระราชบัญญัติโทรเลข และโทรศัพท์ 2477 ระบุไว้ชัดเจน ว่าใครอย่ามายุ่งนะงานอย่างนี้ หลวงทำเององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยครับท่านประธานพอหลวงทำทุกคนก็ขนลุกขนพอง เพราะว่าสมัยก่อนถ้าเราจำกันได้กว่าจะขอโทรศัพท์เบอร์หนึ่งมันยากแสนเข็น พอเรามีรัฐบาลประชาธิปไตยที่เรารู้สึกว่าการพัฒนาประเทศมีความจำเป็นและเห็นคุณค่าของเอกชนก็เลยบอกว่ารอเบอร์ขององค์การโทรศัพท์ไม่ไหวแน่ ให้เอกชนมาช่วยลงทุนดีกว่า เพราะรัฐไม่มีสตางค์ตรงนั่นและครับเป็นที่เกิดของสัมปทาน
ท่านประธานครับเขามีการแบ่งกัน และเขาก็มีการรวมกันในเรื่องของเลขหมายครับ ทะเลาะกันวิ่งเต้นกัน แต่ผลสุดท้ายออกมาว่า ในกรุงเทพฯ เพิ่มอีกสัก 2 ล้านเลขหมาย ต่างจังหวัด เพิ่มอีก 1 ล้านเลขหมาย ใครบ้างสนใจเข้ามาประมูลครับ ประมูลและแข่งขันกันโดยตั้งเงื่อนไขและหลักอยู่อย่างหนึ่งคือว่าเวลารับเงินจากพี่น้องประชาชนแล้วแบ่งให้รัฐเท่าไร ผลปรากฎว่า บริษัทเทเลคอมเอเชียประมูลได้ บอกเลยว่าทุกบาททุกสตางค์ที่รับเงินมาจะส่งให้รัฐ 16% แล้วขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ เฉพาะ 2 ล้านเลขหมายในกรุงเทพฯ ในขณะที่ต่างจังหวัดขอเพิ่มอีก 1 ล้านเลขหมายก็มีบริษัทใจกล้าที่ประมูลว่าฉันจะให้ 43% ขึ้นไป จากรายได้ รับมา 100 บาท รับเอาไปเลย 43 บาท ทุกคนบอกว่าทำไม่ได้หรอก ไอ้อย่างนี้ประเภทเอาสัมปทานไปก่อนแล้วขอแก้ไขภายหลังอันนี้ผมพูดถึงโทรศัพท์บ้านสมัยก่อนยังไม่มีครับโทรศัพท์มือถือ ท่านประธานครับรัฐเองก็เห็นว่าใครให้ประโยชน์รัฐสูงสุดรัฐก็ให้สัมปทานนั้นไป เพราะเหตุผลที่ฟังได้ครับ ในกรุงเทพฯ ถ้าหากจะลงทุนก็ลงทุนเครือข่ายในกรุงเทพฯอย่างเดียว ลงทุนเครือข่ายในกรุงเทพฯ ใช้เงินเยอะครับ จะต้องขุดถนนหนทางไปรู้จะขุดไปเจออะไรบ้าง เพราะฉะนั้นแบ่งกำไรให้มากไม่ได้หรอกลงทุนเยอะ ในขณะที่ต่างจังหวัดเขาบอกว่าลงทุนไม่มากครับ เวลาเสียงไปตามสายตาอท่อเคเบิลไปตามท่อชนิดไหนก็แล้วแต่ระหว่างจังหวัด ไม่ต้องลงทุนครับ อาศัยท่อขององค์การโทรศัพท์นั่นแหละ แต่ไปขุดไปเจาะเอาถนนเฉพาะในอำเภอใหญ่ ๆ ตามอำเภอเมือง และระหว่างอำเภอครับ เพราะฉะนั้นการลงทุนน้อยจึงแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐอย่างเต็มที่ ทีนี้มันก็เกิดปัญหา มันเกิดปัญหาที่ว่าในเมื่อกฎหมายบอกว่าทำไมได้เรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องทรัพยากรของชาติอยู่ดี ๆ จะปล่อยให้เอกชนมาขุดถนนหนทางทั่วประเทศทำไม่ได้เด็ดขาด เพราะแะนั้นจึงมีการเลี่ยงกันในเรื่องสัญญาสัมปทานบอกเอาอย่างนี้ก็แล้วกันขุดเสร็จเจาะเสร็จ วางสายเสร็จทำงานใช้ได้ยกให้หลวงไปเลย ตรงนี้เขาเรียกว่าการลงทุนในเครือข่ายและยกให้เป็นสมบัติของรัฐ สมบัติของรัฐวิสาหกิจที่เป็นคู่สัญญา บริษัท เทเลคอมเอเชียก็ดี บริษัท ทีทีแอนทีก็ดี ก็เริ่มดำเนินการเป็นไปตามปกติตอนนั้นวิกฤติทางเศรษฐกิจยังไม่เกิดขึ้นก็พอถูไถทำไปได้ แต่พอดีเทคโนโลยีสมัยใหม่ก้าวไปเรื่อย ๆ มันก็มีคำว่าโทรศัพท์มือถือขึ้นมา ผมพูดเมื่อสักครู่เรื่องโทรศัพท์บ้าน โทรจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งต้องใช้สายนะครับ แต่โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นความถี่ คลื่นความถี่เป็นสมบัติของชาติ เป็นทรัพยากรของชาติ อยู่ดี ๆ จะให้ใครเขาทำไม่ได้ แต่ว่าธุรกิจอย่างนี้มันค่อนข้างจะมีผลประโยชน์สูงและซับซ้อน และถ้าพูดจริง ๆ มันก็เน่าเฟอะกันมาหลายรัฐบาลครับ จึงมีแนวความคิดกันครับของหน่วยงานของรัฐว่าเราควรจะทำเองเริ่มต้นระบบเก่า ๆ ครับผมไม่เรียกโทรศัพท์มือถือหรอก ผมเรียกโทรศัพท์กระเป๋าถือน่าจะได้ เพราะมันใหญ่ท่านประธานจำได้ไหมครับ ไม่มีปัญหาถือไปไหนครับอย่างเก่งก็ติดไว้ที่รถ คลื่นความถี่องค์การโทรศัพท์ก็ไปขอมาจากกรมไปรษณีย์โทรเลข หน่วยงานขอคลื่นความถี่กันเองมันไม่ค่อยเป็นเรื่องฉาวโฉ่ครับ เพราะเวลาขอก็บอกว่าขอแล้วฉันจะเอามาใช้เอง การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ทำคล้าย ๆ กัน ไอ้พวกคลื่นความถี่เหล่านี้และครับขอมาเก็บไว้แล้วบอกว่าจะใช้เองตอนเวลาขอ
หลังจากนั้นอีกไม่นานครับจากโทรศัพท์กระเป๋าถือก็เป็นมือถือแบบตัวใหญ่ ๆ แต่ยังเป็นระบบเก่าอยู่ครับ ถึงตอนนั้นองค์การโทรศัพท์ก็ยังทำอยู่ไม่ได้คิดให้คนอื่นจนกระทั่งมีขอดีออกมาเป็นโทรศัพท์เล็กลงมาหน่อย พอขอดีอกมาหน่วยงานของรัฐหน่วยงานนี้ก็บอกชัดจะไม่ค่อยอยากทำเสียแล้ว เพราะว่าลงทุนสูง เพราะฉะนั้นในเรื่องของโทรศัพท์มือถือก็คงไม่ต่างกันเท่าไรกับโทรศัพท์บ้าน ต่างกันอยู่นิดหนึ่งว่าเข้าใจว่าไม่มีการประมูล บริษัทแรกที่ได้ไปคือบริษัท เอไอเอส ครับท่านประธาน แล้วก็ได้จากองค์การโทรศัพท์ลักษณะเดียวกันหมดครับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งเข้าใจว่าชื่อ TAC ได้จาก กสท. ลักษณะเหมือนกันทุกอย่างต้องลงทุนเหมือนกันทุกอย่างที่เรียกว่าเครือข่าย แต่ไม่ใช่ไปวางท่อวางสถานีทั่วประเทศ แล้วก็เข้ากรอบเดียวกับที่กฎหมายกำหนด คือทำเองไม่ได้ เพราะฉะนั้นเงินที่ลงทุนไปในเครือข่ายเหล่านี้ ก็ต้องโอนให้เป็นของหน่วยงานคู่สัญญาคือ องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ลงทุนเยอะครับท่านประธานลงทุนทั้งหมอของเอไอเอสลงทุนไป 116,643 ล้านบาท พวกที่ลงทุนน้อยที่สุดก็คือทีทีแอนที 55,305 ล้านบาท
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 29/5/2546--จบ--
-นค-