กรุงเทพ--2 มิ.ย.--กระทรวงต่างประเทศ
วันนี้ (30 พฤษภาคม 2546) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการหารือกับนาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระได้ดังนี้
1. ปัญหาเกาหลีเหนือ ฝ่ายนิวซีแลนด์เห็นชอบกับแนวความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้เวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (ARF) เข้ามามีส่วนช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในปัญหานี้ และเห็นด้วยกับการดำเนินการต่างๆ ของประธาน ARF โดยเฉพาะการปรึกษาหารือกับกลุ่มเพื่อนของประธาน (Friends of the Chairs) เพื่อหาทาง แก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ นิวซีแลนด์พร้อมที่จะเข้ามาร่วมเป็นเพื่อนของประธาน และเสนอว่าควรมีการตกลงเรื่องการเพิ่มอำนาจแก่ประธาน ARF ในการประชุม ARF ครั้งที่ 10 ที่จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ ในเดือนมิถุนายน ศกนี้ เพื่อให้ประธาน ARF คนใหม่ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย) สามารถดำเนินการตามกระบวนการการทูตเชิงป้องกัน เพื่อที่จะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดและป้องกันความขัดแย้งต่างๆ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ARF ควรเป็นเวทีที่แก้ปัญหาในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีด้วย
2. ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกำารต่างประเทศได้ชี้แจงให้ทราบตามคำขอว่าหลังจากที่กัมพูชาได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องและเงื่อนไขส่วนมากของไทยแล้ว ไทยจึงได้ปรับความสัมพันธ์กับกัมพูชาให้กลับสู่ภาวะปกติ และจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างทั้งสองฝ่ายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 ซึ่งจะช่วยทำให้ความร่วมมือด้านต่างๆ กลับคืนมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายนิวซีแลนด์ทราบด้วยว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ให้ความร่วมมือกับไทยในการปราบปรามการก่อการร้ายเป็นอย่างดี และเมื่อเร็วๆ นี้ ทางการกัมพูชาสามารถจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนพัวพันกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถจัดการประชุม ARF และดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกประเทศได้อย่างเรียบร้อย
3. ปัญหาตะวันออกกลาง นาย Phil Goff ได้สรุปผลการเยือนอิสราเอลและสถานการณ์ในตะวันออกกลางให้ทราบ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดี ทำให้เกิดความหวังว่าพอที่จะมีลู่ทางในการแก้ปัญหาและสร้าง สันติภาพขึ้นในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องอิรักและอาฟกานิสถาน และเห็นพ้องกันเรื่องแนวทางการเข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอิรัก รวมทั้งเห็นด้วยที่สหประชาชาติประกาศ ยกเลิกการคว่ำบาตรอิรัก เพื่อให้อิรักสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่าไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาก และนาย Phil Goff ได้แจ้งให้ทราบด้วยว่านิวซีแลนด์เห็นด้วยกับหัวข้อต่างๆ ของการประชุมเอเปค และว่าตนและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จะเข้าร่วมการประชุมเอเปคด้วย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับคนไทย 2 คน ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมในข้อหามีส่วนพัวพันกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายว่าการพิจารณาคดีของศาลกัมพูชายังไม่แล้วเสร็จ และจนถึงขณะนี้ ไทยยังไม่มีข้อมูลว่าคนไทยทั้งสองกระทำความผิดใด จึงต้องรอดูข้อมูลและพยานหลักฐานต่างๆ ที่กัมพูชาจะนำเสนอต่อศาล แต่หากฝ่ายไทยมีหลักฐานชัดเจนว่าบุคคลทั้งสองกระทำความผิดในประเทศไทย ก็อาจขอให้กัมพูชาส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีอยู่ระหว่างกันได้ แต่ในชั้นนี้ ยังถือว่าบุคคลทั้งสองเป็นคนไทยที่กระทำความผิดในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการกฎหมายของประเทศนั้น แต่ไทยมีหน้าที่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องดูแลให้บุคคลทั้งสองได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมตามกฎหมายของกัมพูชา อย่างไรก็ดี
เหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่กระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะไทยได้ให้ความร่วมมือกับทุกประเทศอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา และสหรัฐฯ ก็ได้ขอบคุณไทยในเรื่องนี้มาโดยตลอด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-สส-
วันนี้ (30 พฤษภาคม 2546) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการหารือกับนาย Phil Goff รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระได้ดังนี้
1. ปัญหาเกาหลีเหนือ ฝ่ายนิวซีแลนด์เห็นชอบกับแนวความคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้เวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก (ARF) เข้ามามีส่วนช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในปัญหานี้ และเห็นด้วยกับการดำเนินการต่างๆ ของประธาน ARF โดยเฉพาะการปรึกษาหารือกับกลุ่มเพื่อนของประธาน (Friends of the Chairs) เพื่อหาทาง แก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ นิวซีแลนด์พร้อมที่จะเข้ามาร่วมเป็นเพื่อนของประธาน และเสนอว่าควรมีการตกลงเรื่องการเพิ่มอำนาจแก่ประธาน ARF ในการประชุม ARF ครั้งที่ 10 ที่จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ ในเดือนมิถุนายน ศกนี้ เพื่อให้ประธาน ARF คนใหม่ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย) สามารถดำเนินการตามกระบวนการการทูตเชิงป้องกัน เพื่อที่จะช่วยคลี่คลายความตึงเครียดและป้องกันความขัดแย้งต่างๆ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ARF ควรเป็นเวทีที่แก้ปัญหาในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีด้วย
2. ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกำารต่างประเทศได้ชี้แจงให้ทราบตามคำขอว่าหลังจากที่กัมพูชาได้ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องและเงื่อนไขส่วนมากของไทยแล้ว ไทยจึงได้ปรับความสัมพันธ์กับกัมพูชาให้กลับสู่ภาวะปกติ และจะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมระหว่างทั้งสองฝ่ายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2546 ซึ่งจะช่วยทำให้ความร่วมมือด้านต่างๆ กลับคืนมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งให้ฝ่ายนิวซีแลนด์ทราบด้วยว่ารัฐบาลกัมพูชาได้ให้ความร่วมมือกับไทยในการปราบปรามการก่อการร้ายเป็นอย่างดี และเมื่อเร็วๆ นี้ ทางการกัมพูชาสามารถจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนพัวพันกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถจัดการประชุม ARF และดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมทุกประเทศได้อย่างเรียบร้อย
3. ปัญหาตะวันออกกลาง นาย Phil Goff ได้สรุปผลการเยือนอิสราเอลและสถานการณ์ในตะวันออกกลางให้ทราบ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดี ทำให้เกิดความหวังว่าพอที่จะมีลู่ทางในการแก้ปัญหาและสร้าง สันติภาพขึ้นในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องอิรักและอาฟกานิสถาน และเห็นพ้องกันเรื่องแนวทางการเข้าไปมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอิรัก รวมทั้งเห็นด้วยที่สหประชาชาติประกาศ ยกเลิกการคว่ำบาตรอิรัก เพื่อให้อิรักสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศย้ำว่าไทยและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมาก และนาย Phil Goff ได้แจ้งให้ทราบด้วยว่านิวซีแลนด์เห็นด้วยกับหัวข้อต่างๆ ของการประชุมเอเปค และว่าตนและนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จะเข้าร่วมการประชุมเอเปคด้วย
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนเกี่ยวกับคนไทย 2 คน ที่ถูกทางการกัมพูชาจับกุมในข้อหามีส่วนพัวพันกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายว่าการพิจารณาคดีของศาลกัมพูชายังไม่แล้วเสร็จ และจนถึงขณะนี้ ไทยยังไม่มีข้อมูลว่าคนไทยทั้งสองกระทำความผิดใด จึงต้องรอดูข้อมูลและพยานหลักฐานต่างๆ ที่กัมพูชาจะนำเสนอต่อศาล แต่หากฝ่ายไทยมีหลักฐานชัดเจนว่าบุคคลทั้งสองกระทำความผิดในประเทศไทย ก็อาจขอให้กัมพูชาส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีอยู่ระหว่างกันได้ แต่ในชั้นนี้ ยังถือว่าบุคคลทั้งสองเป็นคนไทยที่กระทำความผิดในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการกฎหมายของประเทศนั้น แต่ไทยมีหน้าที่ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ต้องดูแลให้บุคคลทั้งสองได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมตามกฎหมายของกัมพูชา อย่างไรก็ดี
เหตุการณ์ครั้งนี้ ไม่กระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศ เพราะไทยได้ให้ความร่วมมือกับทุกประเทศอย่างจริงจังในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติและศาสนา และสหรัฐฯ ก็ได้ขอบคุณไทยในเรื่องนี้มาโดยตลอด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-สส-