เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัว ยกเว้นในบางสาขาที่โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) มีผลกระทบรุนแรงในเดือนเมษายน ซึ่งได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยวและโรมแรม ในภาพรวม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังขยายตัวสูง โดยเฉพาะหมวดอาหารยานพาหนะ และอิเล็กทรอนิกส์ และรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงมากจากการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาและผลผลิต
อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง แต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวเล็กน้อยของการบริโภคภาคเอกชนส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนักแม้ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเริ่มเร่งตัวขึ้นในเดือนนี้ ขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวสูง
เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องอัตรเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานขยายตัวดี โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล แม้ว่าดุลการบริการฯ จะขาดดุล เนื่องจากรายรับสุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาจากปัญหาโรค SARS ถึงกระนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินก็เกินดุลเล็กน้อย ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับมั่นคงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2546 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะการเพิ่มขึ้นของหมวดอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาลที่ขยายตัวสูงมากเนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน ส่วนอาหารกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็งก็ขยายตัวดีขึ้นเพราะปัญหาวัตถุดิบและปัญหาการตรวจสอบสารเคมีตกค้างคลี่คลายลง ส่วนการผลิตหมวดรถยนต์ขยายตัวดีต่อเนื่อง และการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เร่งตัวตามการส่งออก ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีนี้ทำให้อัตรการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นสอดคล้องกัน
2. การใช้จ่ายภานในประเทศ ในเดือนเมษายน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อนเพราะเครื่องชี้ที่สำคัญชะลอตัวลง ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และการไฟฟ้า ทั้งนี้ ปัญหาโรค SARS มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคระดับหนึ่งแต่ไม่มากนัก สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งแม้จะเป็นอัตราบวกและเร่งตัวจากร้อยละ 4.8 ในเดือนมีนาคมแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นของนักธุรกิจได้รับผลกะทบจากความไม่แน่นอนจากต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนออกไป
3. ภาคการคลัง ในเดือนนี้ รายได้รัฐบาลลดงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการโอนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 12.9 พันล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมปัจจัยดังกล่าวการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน การเร่งตัวของรายจ่ายมากนี้ส่วนหนึ่งเพราะมีการเบิกจ่ายรายจ่ายเงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 15.1 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13.6 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเดือนแรกหลังจากเกินดุล 18.1 พันล้านบาท ดังนั้นดุลเงินสดจึงขาดดุล 9.3 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเร่งตัวของราคาผักและผลไม้เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดส่งผลกระทบต่อผลผลิตบางชนิด ขณะที่ราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากค่าเช่าบ้านและราคาน้ำมันเชื่อเพลิงในประเทศลดลง สำหรับดัชนี ราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 10.6 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 3.4 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายนเท่ากับ 5,867 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 22.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญ และการแพร่ระบาดของโรค SARS ในภูมิภาคมิได้มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อการส่งออกสินค้า มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 5,722 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้านำเข้าขยายตัวทุกหมวดยกเว้นน้ำมันดิบที่ปริมาณนำเข้าลดลงเนื่องจากสต็อกอยู่ในระดับสูงจากการสะสมน้ำมันก่อนเกิดสงครามอิรักดุลการค้าเกินดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบริการรายได้ และเงินโอนขาดดุล 89 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาก ประกอบกับเดือนนี้เป็นช่วงตกงวดจ่ายเงินปันผลของบริษัทต่างชาติอย่างไรก็ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 56 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 56 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 190 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 38.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน 2546 อนึ่งในเดือนนี้ ธปท. ชำระคืนหนี้ IMF Package จำนวนทั้งสิ้น 137 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนก่อนครบกำหนด 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิอยู่ที่ 593 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนเมษายน อัตราดอกเบี้ย ในตลาดการเงิน โน้มสูงขึ้นจากเดือนก่อนเพราะสภาพาคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างตึงตัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งมีการออกพันธบัตร ธปท. อย่างต่อเนื่องเฉลี่ยทั้งเดือน อัตรดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อยู่ที่ร้อยละ 1.69 และ 1.56 ต่อปี ตาลำดับ ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 0.9 และ 2.4 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนตามการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับ สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวต่อเนื่อง โดยธนาคารพาณิชย์เอกชนและสาขาธนาคารต่างประเทศมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนเมษายนมียอดคงค้า 5,580.0 พันล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวต่ำที่ร้อยละ 0.1 เพราะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและออกตราสารหนี้ภาคเอกชน
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนเมษายน 2546 เฉลี่ยที่ 42.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจาก 42.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม เงินบาทได้ปรับแข็งขึ้นบางในช่วงกลางเดือนและสิ้นเดือนเมื่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเพราะตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-26 พฤษภาคม 2546 ค่าเงินบาทเฉลี่ยที่ 42.26 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โน้มแข็งขึ้นจากเดือนเมษายนเพราะ sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ไม่ดีขึ้นเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังอ่อนแอตลาดจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นแต่ยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก-
อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง แต่เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวเล็กน้อยของการบริโภคภาคเอกชนส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนักแม้ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเริ่มเร่งตัวขึ้นในเดือนนี้ ขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกสินค้ายังคงขยายตัวสูง
เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องอัตรเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานขยายตัวดี โดยเฉพาะการจ้างงานนอกภาคเกษตรดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล แม้ว่าดุลการบริการฯ จะขาดดุล เนื่องจากรายรับสุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาจากปัญหาโรค SARS ถึงกระนั้นดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินก็เกินดุลเล็กน้อย ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับมั่นคงต่อเนื่อง ขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนเมษายน 2546 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะการเพิ่มขึ้นของหมวดอาหาร โดยเฉพาะน้ำตาลที่ขยายตัวสูงมากเนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน ส่วนอาหารกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็งก็ขยายตัวดีขึ้นเพราะปัญหาวัตถุดิบและปัญหาการตรวจสอบสารเคมีตกค้างคลี่คลายลง ส่วนการผลิตหมวดรถยนต์ขยายตัวดีต่อเนื่อง และการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์เร่งตัวตามการส่งออก ผลผลิตอุตสาหกรรมที่ขยายตัวดีนี้ทำให้อัตรการใช้กำลังการผลิตที่ปรับฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นสอดคล้องกัน
2. การใช้จ่ายภานในประเทศ ในเดือนเมษายน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 6.5 ในเดือนก่อนเพราะเครื่องชี้ที่สำคัญชะลอตัวลง ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค และการไฟฟ้า ทั้งนี้ ปัญหาโรค SARS มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคระดับหนึ่งแต่ไม่มากนัก สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งแม้จะเป็นอัตราบวกและเร่งตัวจากร้อยละ 4.8 ในเดือนมีนาคมแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงนัก ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นของนักธุรกิจได้รับผลกะทบจากความไม่แน่นอนจากต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลอการลงทุนออกไป
3. ภาคการคลัง ในเดือนนี้ รายได้รัฐบาลลดงร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการโอนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 12.9 พันล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมปัจจัยดังกล่าวการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน การเร่งตัวของรายจ่ายมากนี้ส่วนหนึ่งเพราะมีการเบิกจ่ายรายจ่ายเงินทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา 15.1 พันล้านบาท และรายจ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 13.6 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเดือนแรกหลังจากเกินดุล 18.1 พันล้านบาท ดังนั้นดุลเงินสดจึงขาดดุล 9.3 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเร่งตัวของราคาผักและผลไม้เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัดส่งผลกระทบต่อผลผลิตบางชนิด ขณะที่ราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากค่าเช่าบ้านและราคาน้ำมันเชื่อเพลิงในประเทศลดลง สำหรับดัชนี ราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 10.6 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และ 3.4 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกในเดือนเมษายนเท่ากับ 5,867 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 22.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญ และการแพร่ระบาดของโรค SARS ในภูมิภาคมิได้มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อการส่งออกสินค้า มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 5,722 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินค้านำเข้าขยายตัวทุกหมวดยกเว้นน้ำมันดิบที่ปริมาณนำเข้าลดลงเนื่องจากสต็อกอยู่ในระดับสูงจากการสะสมน้ำมันก่อนเกิดสงครามอิรักดุลการค้าเกินดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบริการรายได้ และเงินโอนขาดดุล 89 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาก ประกอบกับเดือนนี้เป็นช่วงตกงวดจ่ายเงินปันผลของบริษัทต่างชาติอย่างไรก็ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 56 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 56 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 190 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 38.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนเมษายน 2546 อนึ่งในเดือนนี้ ธปท. ชำระคืนหนี้ IMF Package จำนวนทั้งสิ้น 137 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการชำระคืนก่อนครบกำหนด 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนยอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิอยู่ที่ 593 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนเมษายน อัตราดอกเบี้ย ในตลาดการเงิน โน้มสูงขึ้นจากเดือนก่อนเพราะสภาพาคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างตึงตัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งมีการออกพันธบัตร ธปท. อย่างต่อเนื่องเฉลี่ยทั้งเดือน อัตรดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน อยู่ที่ร้อยละ 1.69 และ 1.56 ต่อปี ตาลำดับ ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 0.9 และ 2.4 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนตามการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชนเป็นสำคัญ สำหรับ สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวต่อเนื่อง โดยธนาคารพาณิชย์เอกชนและสาขาธนาคารต่างประเทศมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น สำหรับสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนเมษายนมียอดคงค้า 5,580.0 พันล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวต่ำที่ร้อยละ 0.1 เพราะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและออกตราสารหนี้ภาคเอกชน
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนเมษายน 2546 เฉลี่ยที่ 42.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจาก 42.75 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม เงินบาทได้ปรับแข็งขึ้นบางในช่วงกลางเดือนและสิ้นเดือนเมื่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเพราะตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
ในช่วงวันที่ 1-26 พฤษภาคม 2546 ค่าเงินบาทเฉลี่ยที่ 42.26 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โน้มแข็งขึ้นจากเดือนเมษายนเพราะ sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ไม่ดีขึ้นเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังอ่อนแอตลาดจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นแต่ยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สก-