กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 326 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546
ในปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2546 เท่ากับ 106.3 สำหรับเดือนเมษายน 2546 เท่ากับ 105.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนเมษายน 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.4
2.2 เดือนพฤษภาคม 2545 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
2.3 เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2546 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เทียบกับ
เดือนเมษายน 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการ เคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.8
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ จากนโยบายรัฐบาล และความต้องการตลาดต่างประเทศสูงขึ้น
- เนื้อสุกร ปริมาณสุกรมีชีวิตที่โตได้ขนาดจำหน่ายออกสู่ตลาดลดลง
- ไก่สด ปริมาณไก่ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศมีอย่างต่อเนื่องไข่ไก่ สภาพอากาศร้อน อัตราการให้ไข่ลดลง
- ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาจะละเม็ดดำ ปลานิล ปลาช่อน กุ้งนาง กุ้งกุลาดำหอยแครง และปูทะเล
- ผักสด ได้แก่ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา ผักชี ถั่วฝักยาว ต้นหอม มะนาวมะเขือเทศ พริกขี้หนูสด ฟักทอง และผักบุ้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก
- ผลไม้สด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ ทุเรียน และกล้วยน้ำว้า
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เครื่องประกอบอาหาร จากการลดลงของราคาน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกับราคาน้ำมันปาล์มซึ่งมีราคาลดลงเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม ซอสพริก และน้ำส้มสายชู
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เคหสถาน จากการลดลงของค่าเช่าบ้านเป็นสำคัญ
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมันตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2546 และปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามราคาตลาดโลกซึ่งลดลง
- ค่าเล่าเรียน เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลให้การอุดหนุนด้านงบประมาณแก่โรงเรียนเอกชนบางส่วน ซึ่งเข้าร่วมโครงการเรียนฟรี 12 ปี
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศปี 2546 (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 235 รายการ) คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 91 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เท่ากับ 104.4 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2546 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
- เดือนพฤษภาคม 2545 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
- เฉลี่ยเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2546 เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2545สูงขึ้นร้อยละ 0.2
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-นห-
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 326 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546
ในปี 2541 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนพฤษภาคม 2546 เท่ากับ 106.3 สำหรับเดือนเมษายน 2546 เท่ากับ 105.9
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนเมษายน 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.4
2.2 เดือนพฤษภาคม 2545 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
2.3 เดือนมกราคม — พฤษภาคม 2546 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545 สูงขึ้นร้อยละ 1.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เทียบกับ
เดือนเมษายน 2546 สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4 โดยมีการ เคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.8
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ข้าวสารเจ้าหอมมะลิ จากนโยบายรัฐบาล และความต้องการตลาดต่างประเทศสูงขึ้น
- เนื้อสุกร ปริมาณสุกรมีชีวิตที่โตได้ขนาดจำหน่ายออกสู่ตลาดลดลง
- ไก่สด ปริมาณไก่ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศมีอย่างต่อเนื่องไข่ไก่ สภาพอากาศร้อน อัตราการให้ไข่ลดลง
- ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาจะละเม็ดดำ ปลานิล ปลาช่อน กุ้งนาง กุ้งกุลาดำหอยแครง และปูทะเล
- ผักสด ได้แก่ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา ผักชี ถั่วฝักยาว ต้นหอม มะนาวมะเขือเทศ พริกขี้หนูสด ฟักทอง และผักบุ้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด ไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก
- ผลไม้สด ได้แก่ ส้มเขียวหวาน เงาะ ทุเรียน และกล้วยน้ำว้า
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เครื่องประกอบอาหาร จากการลดลงของราคาน้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งเกิดจากการแข่งขันกับราคาน้ำมันปาล์มซึ่งมีราคาลดลงเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม ซอสพริก และน้ำส้มสายชู
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4
สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่
- เคหสถาน จากการลดลงของค่าเช่าบ้านเป็นสำคัญ
- น้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมันตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2546 และปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามราคาตลาดโลกซึ่งลดลง
- ค่าเล่าเรียน เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาลให้การอุดหนุนด้านงบประมาณแก่โรงเรียนเอกชนบางส่วน ซึ่งเข้าร่วมโครงการเรียนฟรี 12 ปี
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศปี 2546 (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 235 รายการ) คือดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสดและสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 91 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนพฤษภาคม 2546 เท่ากับ 104.4 เมื่อเทียบกับ
- เดือนเมษายน 2546 โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง
- เดือนพฤษภาคม 2545 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
- เฉลี่ยเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2546 เทียบกับช่วงเดียวกันของ ปี 2545สูงขึ้นร้อยละ 0.2
--สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กรมการค้าภายใน--
-นห-