แท็ก
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พรรคประชาธิปัตย์
สภาผู้แทนราษฎร
สาธิต ปิตุเตชะ
สิทธิมนุษยชน
ประธานสภา
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงพฤติกรรมการรับส่วยของตำรวจน้ำที่เรียกรับจากผู้ประกอบการประมง ขนาดเล็ก กลาง และ ใหญ่ สนับสนุนข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชั่นของนายสังศิต พิริยะรังสรรค์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ออกมาแฉว่าเจ้าหน้าที่รัฐเรียกร้องเงินทองจากนักธุรกิจประมงรายหนึ่งเป็นเงิน 90 ล้านบาท
นายสาธิต กล่าวว่า ตนเห็นว่าข้อมูลของนายสังศิตมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ เพราะตนก็ได้รับร้องเรียนจากผู้ประกอบการประมงในพื้นที่จังหวัดระยองเช่นกัน โดยพฤติกรรมดังกล่าวคือ เมื่อประมาณเดือนเมษายน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำจำนวนหนึ่งสังกัด อ.สัตหีบ ได้จับกุมเรือประมงชื่อ เรือเจ้ามงคลชัย เอ็ม ในข้อหาไม่มีใบท้ายเรือ แล้วจึงเปิดเจรจากับกลุ่มชาวประมงเพื่อเรียกรับเงินจำนวน 15,000 บาท พร้อมสัญญาว่าจะไม่มาดำเนินการจับกุมอีก
หลังจากนั้น วันที่ 27 พฤษภาคม 2546 ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำอีกชุด สังกัดตำรวจน้ำศรีราชา นำโดยตำรวจน้ำยศพันตำรวจโทนายหนึ่ง นำเรือตำรวจน้ำเข้าจับกุมผู้ประกอบการเรือไดหมึกในข้อหามีบุคคลต่างด้าวไว้ และรับปากว่าจะไม่จับกุมหากจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ โดยแยกออกเป็นประเภทของเรือและราคาดังนี้
1.เรือไดหมึก ขนาด 15 x 5 เมตร เป็นเรือที่หากินแบบครอบครัวให้ส่งส่วยลำละ 300 บาท/เดือน มีเรือทั้งสิ้น 77 ลำ รวมเป็นเงิน 23,100 บาท/เดือน
2.เรืออวนล้อม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า คือ 22 x 7 เมตร ให้ส่งส่วนเดือนละ 2,000 ลำ/เดือน มีทั้งสิ้นประมาณ 20 ลำ เป็นเงิน 40,000 บาท/เดือน
3.เรือลากคู่ คู่ละ 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 20 คู่ ตกเดือนละ 20,000 บาท
4.เรือลากเดี่ยวอีกลำละ 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 30 ลำ เป็นเงิน 30,000 บาท/เดือน
รวมทั้งสิ้นที่ต้องส่งส่วยให้ตำรวจน้ำต่อเดือนของเรือทั้งประเภท เฉพาะที่อ่าวปากเพ เป็นจำนวนเงิน 113,100 บาท/เดือน และเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำดังกล่าว แจ้งว่านอกจากที่อ่าวบ้านเพ มีที่ปากน้ำประแส มีการเสียรวมทั้งผู้ประกอบการทุกประเภท เดือนละ 45,000 บาท และได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการเรือประมงที่ปากน้ำระยองอีกเป็นจำนวนมาก และยังได้รับทราบจากกลุ่มผู้ประกอบการด้วยกัน ของจังหวัดอื่นที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ว่าตัวเลขรวมกันแล้วต้องส่งส่วยให้กับเจ้าหน้าที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท
ส.ส.ระยอง กล่าวอีกว่า ปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการเรือประมงทุกประเภทจำเป็นต้องมีการว่าจ้างแรงงานต่างด้าวไว้ทำงานในทุกประเภทของเรือ และถึงแม้ว่าทางการจะเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้วก็ตาม จะมีอุปสรรคในเรื่องของการสับเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวเองที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนไว้กับนายจ้างคนหนึ่งและจะย้ายไปทำงานกับนายจ้างอีกคนหนึ่งไม่ได้ และผู้ประกอบการรายเล็กเมื่อเสียค่าขึ้นทะเบียนให้แรงงานต่างด้าวครั้งหนึ่งแล้วถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงไม่สามารถที่จะจดทะเบียนต่างด้าวได้ปีละหลายครั้ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำจึงอาศัยช่องทางนี้ในการเรียกรับส่วยจากปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่กระทบตามมาสำหรับผู้ประกอบการเรือประมงก็คือ เมื่อมีหน่วยงานหนึ่งเรียกรับส่วย อีกหน่วยงานหนึ่ง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ก็จะเรียกรับผลประโยชน์ในส่วนนี้เช่นกัน รวมทั้งตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) จึงเป็นภาระของผู้ประกอบการรายเล็กที่มีทุนน้อย และมีอาชีพประมงเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถประกอบอาชีพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงได้นำเรื่องมาร้องเรียน ส่วนผู้ประกอบการเรือประมงรายใหญ่ก็ยินยอมที่จะจ่ายส่วยให้กับเจ้าหน้าที่ โดยไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากมีรายได้สูงและมีทุนมากและหากเปิดเผยข้อมูลออกไป เกรงว่าจะกระทบต่อธุรกิจของตน
ทั้งนี้นายสาธิตขอไม่เปิดเผยข้อมูลในเชิงลึก แต่จะนำข้อมูลทั้งหมดส่งให้กับรัฐบาลและผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเข้ามาแก้ไขปัญหาการเรียกรับส่วย และปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมงต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 7/6/2546--จบ--
-นค-
นายสาธิต กล่าวว่า ตนเห็นว่าข้อมูลของนายสังศิตมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ เพราะตนก็ได้รับร้องเรียนจากผู้ประกอบการประมงในพื้นที่จังหวัดระยองเช่นกัน โดยพฤติกรรมดังกล่าวคือ เมื่อประมาณเดือนเมษายน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำจำนวนหนึ่งสังกัด อ.สัตหีบ ได้จับกุมเรือประมงชื่อ เรือเจ้ามงคลชัย เอ็ม ในข้อหาไม่มีใบท้ายเรือ แล้วจึงเปิดเจรจากับกลุ่มชาวประมงเพื่อเรียกรับเงินจำนวน 15,000 บาท พร้อมสัญญาว่าจะไม่มาดำเนินการจับกุมอีก
หลังจากนั้น วันที่ 27 พฤษภาคม 2546 ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำอีกชุด สังกัดตำรวจน้ำศรีราชา นำโดยตำรวจน้ำยศพันตำรวจโทนายหนึ่ง นำเรือตำรวจน้ำเข้าจับกุมผู้ประกอบการเรือไดหมึกในข้อหามีบุคคลต่างด้าวไว้ และรับปากว่าจะไม่จับกุมหากจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ โดยแยกออกเป็นประเภทของเรือและราคาดังนี้
1.เรือไดหมึก ขนาด 15 x 5 เมตร เป็นเรือที่หากินแบบครอบครัวให้ส่งส่วยลำละ 300 บาท/เดือน มีเรือทั้งสิ้น 77 ลำ รวมเป็นเงิน 23,100 บาท/เดือน
2.เรืออวนล้อม ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า คือ 22 x 7 เมตร ให้ส่งส่วนเดือนละ 2,000 ลำ/เดือน มีทั้งสิ้นประมาณ 20 ลำ เป็นเงิน 40,000 บาท/เดือน
3.เรือลากคู่ คู่ละ 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 20 คู่ ตกเดือนละ 20,000 บาท
4.เรือลากเดี่ยวอีกลำละ 1,000 บาท/เดือน มีประมาณ 30 ลำ เป็นเงิน 30,000 บาท/เดือน
รวมทั้งสิ้นที่ต้องส่งส่วยให้ตำรวจน้ำต่อเดือนของเรือทั้งประเภท เฉพาะที่อ่าวปากเพ เป็นจำนวนเงิน 113,100 บาท/เดือน และเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำดังกล่าว แจ้งว่านอกจากที่อ่าวบ้านเพ มีที่ปากน้ำประแส มีการเสียรวมทั้งผู้ประกอบการทุกประเภท เดือนละ 45,000 บาท และได้รับแจ้งจากผู้ประกอบการเรือประมงที่ปากน้ำระยองอีกเป็นจำนวนมาก และยังได้รับทราบจากกลุ่มผู้ประกอบการด้วยกัน ของจังหวัดอื่นที่มีพื้นที่ชายฝั่งทะเล ว่าตัวเลขรวมกันแล้วต้องส่งส่วยให้กับเจ้าหน้าที่เดือนละไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท
ส.ส.ระยอง กล่าวอีกว่า ปัญหาเกิดจากผู้ประกอบการเรือประมงทุกประเภทจำเป็นต้องมีการว่าจ้างแรงงานต่างด้าวไว้ทำงานในทุกประเภทของเรือ และถึงแม้ว่าทางการจะเปิดให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้วก็ตาม จะมีอุปสรรคในเรื่องของการสับเปลี่ยนนายจ้างของแรงงานต่างด้าวเองที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนไว้กับนายจ้างคนหนึ่งและจะย้ายไปทำงานกับนายจ้างอีกคนหนึ่งไม่ได้ และผู้ประกอบการรายเล็กเมื่อเสียค่าขึ้นทะเบียนให้แรงงานต่างด้าวครั้งหนึ่งแล้วถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงไม่สามารถที่จะจดทะเบียนต่างด้าวได้ปีละหลายครั้ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำจึงอาศัยช่องทางนี้ในการเรียกรับส่วยจากปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่กระทบตามมาสำหรับผู้ประกอบการเรือประมงก็คือ เมื่อมีหน่วยงานหนึ่งเรียกรับส่วย อีกหน่วยงานหนึ่ง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ก็จะเรียกรับผลประโยชน์ในส่วนนี้เช่นกัน รวมทั้งตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) จึงเป็นภาระของผู้ประกอบการรายเล็กที่มีทุนน้อย และมีอาชีพประมงเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถประกอบอาชีพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นได้ จึงได้นำเรื่องมาร้องเรียน ส่วนผู้ประกอบการเรือประมงรายใหญ่ก็ยินยอมที่จะจ่ายส่วยให้กับเจ้าหน้าที่ โดยไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากมีรายได้สูงและมีทุนมากและหากเปิดเผยข้อมูลออกไป เกรงว่าจะกระทบต่อธุรกิจของตน
ทั้งนี้นายสาธิตขอไม่เปิดเผยข้อมูลในเชิงลึก แต่จะนำข้อมูลทั้งหมดส่งให้กับรัฐบาลและผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงเข้ามาแก้ไขปัญหาการเรียกรับส่วย และปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมงต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 7/6/2546--จบ--
-นค-