นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลล่าสุดของภาวะเศรษฐกิจไทย และมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปีขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดี รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงจากการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาและผลผลิต และการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายนธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชน เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวในอัตราไม่สูง และการใช้จ่ายของรัฐบาลเร่งตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
2. เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่องแต่น้อยลง เนื่องจากดุลบริการ รายได้และเงินโอนขาดดุลจากรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาก อย่างไรก็ดี ฐานะหนี้ต่างประเทศยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. สอดคล้องกับค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาค
3. การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจยังไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมของปี 2546 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.6 ในเดือนเมษายน สำหรับอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้เร่งตัวตาม โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า ในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำของช่วงเป้าหมาย แต่ก็ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงต่ำกว่าเป้าในระยะต่อไป
4. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า ความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศเป็นความเสี่ยงระยะสั้น ที่สำคัญที่อาจมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก ผลกระทบของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ต่อเศรษฐกิจภูมิภาคและต่อการท่องเที่ยวของประเทศ และแนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเห็นควรให้ติดตามประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และเห็นควรให้นโยบายการเงินอยู่ใน ทิศทางที่ผ่อนคลายตามเดิมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณชาญชัย พึ่งชาญชัยกุล โทร 0 2283 6825 E-mail: chanchap@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลล่าสุดของภาวะเศรษฐกิจไทย และมีความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปีขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดี รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงจากการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาและผลผลิต และการส่งออกขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ในเดือนเมษายนธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) นอกจากนี้ การบริโภคภาคเอกชน เริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวในอัตราไม่สูง และการใช้จ่ายของรัฐบาลเร่งตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
2. เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่องแต่น้อยลง เนื่องจากดุลบริการ รายได้และเงินโอนขาดดุลจากรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวลดลงมาก อย่างไรก็ดี ฐานะหนี้ต่างประเทศยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งขึ้นตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. สอดคล้องกับค่าเงินของประเทศอื่นในภูมิภาค
3. การขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจยังไม่ได้สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมของปี 2546 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.6 ในเดือนเมษายน สำหรับอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้เร่งตัวตาม โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า ในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำของช่วงเป้าหมาย แต่ก็ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงต่ำกว่าเป้าในระยะต่อไป
4. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า ความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศเป็นความเสี่ยงระยะสั้น ที่สำคัญที่อาจมีผลต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยเฉพาะปัญหาการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก ผลกระทบของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ต่อเศรษฐกิจภูมิภาคและต่อการท่องเที่ยวของประเทศ และแนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จึงเห็นควรให้ติดตามประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากปัจจัยเหล่านี้อย่างใกล้ชิด และเห็นควรให้นโยบายการเงินอยู่ใน ทิศทางที่ผ่อนคลายตามเดิมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
คณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณชาญชัย พึ่งชาญชัยกุล โทร 0 2283 6825 E-mail: chanchap@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-