แท็ก
ปลาดุก
สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5 - 11 มิ.ย. 2546 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,429.16 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 575.54 ตัน สัตว์น้ำจืด 852.99 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.75 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.27 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 118.90 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.82 ตัน
สถานการณ์การตลาด
แคนาดาเพิ่มการตรวจเข้มไนโตรฟูแรนส์ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของไทย
นายสิทธิ บุณยรัตนผลิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าทางสำนักงานตรวจสอบคุณภาพอาหารหรือ Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ของแคนาดาได้แจ้งให้กรมประมงทราบว่าในแผนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อการตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างประจำปี 2546-2547 จะตรวจรครอบคลุมถึงสารตกค้างไนโตรฟูแรนส์ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยเครื่องมือ LC-MS หรือ Liquid Chromatography-Mass Spectrometry ในการวิเคราะห์ไนโตรฟูแรนส์เป็นสารที่แคนาดาห้ามมิให้มีการใช้ หากตรวจพบสารดังกล่าวในสินค้าสัตว์น้ำ สินค้าจะถูกทำลายหรือส่งออกนอกประเทศทันที และจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดในสินค้าทุกรุ่นในการนำเข้าสินค้าประเภทเดียวกันของผู้ผลิตรายที่เกิดปัญหาจนกว่าจะพบว่ามีสินค้าที่ถูกต้องตามมาตรฐานติดต่อกัน 4 รุ่น จึงจะลดมาตรการตรวจเข้มลง ในกรณีสินค้าของไทยหากมีปัญหาเกิดขึ้นดังกล่าวผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปแคนาดานั้น จะต้องเพิ่มความเข้มงวดในการจัดซื้อวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานเท่านั้น และควรมีการตรวจวิเคราะห์สารไนโตรฟูแรนส์ตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้ายก่อนส่งออกทุกรุ่นด้วย เพื่อเป็นการรักษาตลาดที่สำคัญเอาไว้
ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในแคนาดา โดยมีปริมาณการส่งออกไปแคนาดาในสัดส่วน 5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำทั้งหมด ซึ่งในปี 2545 ไทยมีสัดส่วนการตลาดปลาทูน่ากระป๋อง 40% กุ้งแช่แข็ง 60% มูลค่า 4,000 ล้านบาท หรือประมาณ 6% ของมูลค่าการส่งออกกุ้งแช่แข็งทั้งหมดของไทย แผนการสุ่มตรวจหาสารไนโตรฟูแรนส์ดังกล่าาวเกิดขึ้นหลังจากที่ไทยกับแคนาดาได้จัดทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมกันของระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยที่เข้าร่วมภายใต้ข้อตกลงนี้จะได้รับความสะดวกด้านการนำเข้าและสามารถขยายการส่งออกไปแคนาดามากขึ้น โดยจะได้รับสิทธิพิเศษลดการสุ่มตรวจในแคนาดาเหลือ 5% จากระดับปกติ ซึ่งมีการตรวจสอบ 100% จนถึง 15% นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.35 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ260.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 257.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 243.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 248.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16-20 มิ.ย.46) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 16-22 มิถุนายน 2546--
-ปส-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 5 - 11 มิ.ย. 2546 ) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,429.16 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 575.54 ตัน สัตว์น้ำจืด 852.99 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.75 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.27 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 118.90 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.82 ตัน
สถานการณ์การตลาด
แคนาดาเพิ่มการตรวจเข้มไนโตรฟูแรนส์ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของไทย
นายสิทธิ บุณยรัตนผลิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่าทางสำนักงานตรวจสอบคุณภาพอาหารหรือ Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ของแคนาดาได้แจ้งให้กรมประมงทราบว่าในแผนการสุ่มตัวอย่าง เพื่อการตรวจสอบสารปฏิชีวนะตกค้างประจำปี 2546-2547 จะตรวจรครอบคลุมถึงสารตกค้างไนโตรฟูแรนส์ในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงด้วยเครื่องมือ LC-MS หรือ Liquid Chromatography-Mass Spectrometry ในการวิเคราะห์ไนโตรฟูแรนส์เป็นสารที่แคนาดาห้ามมิให้มีการใช้ หากตรวจพบสารดังกล่าวในสินค้าสัตว์น้ำ สินค้าจะถูกทำลายหรือส่งออกนอกประเทศทันที และจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดในสินค้าทุกรุ่นในการนำเข้าสินค้าประเภทเดียวกันของผู้ผลิตรายที่เกิดปัญหาจนกว่าจะพบว่ามีสินค้าที่ถูกต้องตามมาตรฐานติดต่อกัน 4 รุ่น จึงจะลดมาตรการตรวจเข้มลง ในกรณีสินค้าของไทยหากมีปัญหาเกิดขึ้นดังกล่าวผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำไปแคนาดานั้น จะต้องเพิ่มความเข้มงวดในการจัดซื้อวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้มาตรฐานเท่านั้น และควรมีการตรวจวิเคราะห์สารไนโตรฟูแรนส์ตกค้างในผลิตภัณฑ์สุดท้ายก่อนส่งออกทุกรุ่นด้วย เพื่อเป็นการรักษาตลาดที่สำคัญเอาไว้
ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในแคนาดา โดยมีปริมาณการส่งออกไปแคนาดาในสัดส่วน 5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำทั้งหมด ซึ่งในปี 2545 ไทยมีสัดส่วนการตลาดปลาทูน่ากระป๋อง 40% กุ้งแช่แข็ง 60% มูลค่า 4,000 ล้านบาท หรือประมาณ 6% ของมูลค่าการส่งออกกุ้งแช่แข็งทั้งหมดของไทย แผนการสุ่มตรวจหาสารไนโตรฟูแรนส์ดังกล่าาวเกิดขึ้นหลังจากที่ไทยกับแคนาดาได้จัดทำความตกลงยอมรับความเท่าเทียมกันของระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการของไทยที่เข้าร่วมภายใต้ข้อตกลงนี้จะได้รับความสะดวกด้านการนำเข้าและสามารถขยายการส่งออกไปแคนาดามากขึ้น โดยจะได้รับสิทธิพิเศษลดการสุ่มตรวจในแคนาดาเหลือ 5% จากระดับปกติ ซึ่งมีการตรวจสอบ 100% จนถึง 15% นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.80 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.06 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.35 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.72 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ260.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 257.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 243.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 248.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาทสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.85 บาท
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.98 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16-20 มิ.ย.46) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.36 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 16-22 มิถุนายน 2546--
-ปส-