นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ได้มีการลงประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 6) พ.ศ 2546 ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสาระสำคัญในการกำหนดให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 อันจะส่งผลให้เป็นการคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ไม่ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว เว้นแต่เจ้าหน้าที่นั้นได้กระทำให้เกิดความเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น นอกจากนี้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังได้แบ่งแยกความรับผิดของเจ้าหน้าที่แต่ละคนมิให้นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมตามหลักกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยอันจะทำให้ปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของประเทศในปัจจุบันได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
ในการนี้ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 55 ก วันที่ 17 มิถุนายน 2546 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือ วันที่ 18 มิถุนายน 2546 เป็นต้นไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 15/2546 27 มิถุนายน 2546--
-รก-
ในการนี้ พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 55 ก วันที่ 17 มิถุนายน 2546 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือ วันที่ 18 มิถุนายน 2546 เป็นต้นไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 15/2546 27 มิถุนายน 2546--
-รก-