เศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนพฤษภาคมขยายตัวดีจากปัจจัยเอื้อด้านอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวแต่ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น และมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงต่อเนื่อง
ด้านการผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวดี และรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของทั้งผลผลิตและราคา อย่างไรก็ตามภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบรุนแรงจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและอัตราการเข้าพักโรงแรมลดลงต่เนื่องจากเดือนก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อต่ำต่อเนื่อง การจ้างงานขยายตัวดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลแม้ว่าดุลบริการรายได้ และเงินโอนจะขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงและหนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม 2546 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งที่อุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และแผงวงจรรวม (IC) และอาหารซึ่งขยายตัวดีตามการส่งออก อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงมากเนื่องจากมี สต๊อกสูงจากการขยายการผลิตในช่วงก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 68.0 ซึ่งเมื่อปรับฤดูกาลแล้วยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งเป็นการชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.5 ในเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งเพราะความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ต่อสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งได้ชะลอตัวลงบ้างหลังจากที่ขยายตัวสูงมากในช่วงต้นปีนี้ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ปรับตัวดีขึ้นทั้งในหมวดการก่อสร้างและหมวดเครื่องมือเครื่องจักร
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลลดลงร้อยละ 8.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการเหลื่อมนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเดือนมิถุนายนและมีการโอนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 6.0 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาษีสรรพสามิตและภาษีการค้าระหว่างประเทศยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลลดลงร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 6.0 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 4.7 พันล้านบาท ดุลเงินสดจึงเกินดุล 1.3 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารร้อยละ 4.9 และ 0.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากตามราคาผักและผลไม้เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดลดลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปัจจัยหลักคือค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 13.4 รองลงมา ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มร้อยละ 6.3 และ 2.6 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มุลค่าการส่งออกเท่ากับ 6,533 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นตลาดสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องส่วนมูลค่าการนำเข้า เท่ากับ 5,932 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ดุลการค้าเกินดุล 601 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตาม ดุลบริการฯ ขาดดุล 185 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรค SARS ประกอบกับมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลการชำระเงินขาดดุล 75 ล้านดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ในเดือนนี้ ธปท.ชำระหนี้ IMF Packag 142 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดทั้งสิ้น เงินสำรอง ระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 38.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินทรงตัวเทียบกับเดือนก่อนหน้าเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.68 และ 1.57 ต่อปี ตามลำดับ ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวร้อยละ 0.7 1.3 และ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามลำดับตามการปรับตัวสูงขึ้นของเงินฝากภาคเอกชนเป็นสำคัญสำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐปล่อยสินเชื่อลดลงในเดือนนี้ส่วนสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ใหกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม มียอดคงค้าง 5,570.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
7. เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 42.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนพฤษภาคมเทียบกับ 42.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเมษายน การโน้มแข็งค่าขึ้นดังกล่าว เป็นเพราะ Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ยังไม่ดีขึ้นเนื่องจากตลาดมองว่าปัจจัย พื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างอ่อนแอ อนึ่ง การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคดีแข็งขึ้นจากการปรับเพิ่ม Sovereign rating ของประเทศ
ในช่วงวันที่ 1-20 มิถุนายน 2546 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทเริ่มชะลอลงเนื่องจาก Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยตามตัวเลขปัจจัยขึ้นพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวที่ดีเกิดคาดทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค
--ธนาคาแห่งประเทศไทย--
-สด-
ด้านการผลิต ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวดี และรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวสูงต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของทั้งผลผลิตและราคา อย่างไรก็ตามภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบรุนแรงจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ซึ่งทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศและอัตราการเข้าพักโรงแรมลดลงต่เนื่องจากเดือนก่อน
เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อต่ำต่อเนื่อง การจ้างงานขยายตัวดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลแม้ว่าดุลบริการรายได้ และเงินโอนจะขาดดุลเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงและหนี้ต่างประเทศลดลงต่อเนื่อง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม 2546 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยหมวดอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งที่อุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง และแผงวงจรรวม (IC) และอาหารซึ่งขยายตัวดีตามการส่งออก อย่างไรก็ตาม การผลิตในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงมากเนื่องจากมี สต๊อกสูงจากการขยายการผลิตในช่วงก่อน ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 68.0 ซึ่งเมื่อปรับฤดูกาลแล้วยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งเป็นการชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.5 ในเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งเพราะความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระมัดระวังขึ้น ประกอบกับอุปสงค์ต่อสินค้าคงทน โดยเฉพาะรถยนต์นั่งได้ชะลอตัวลงบ้างหลังจากที่ขยายตัวสูงมากในช่วงต้นปีนี้ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ปรับตัวดีขึ้นทั้งในหมวดการก่อสร้างและหมวดเครื่องมือเครื่องจักร
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลลดลงร้อยละ 8.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการเหลื่อมนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปเดือนมิถุนายนและมีการโอนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 6.0 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ภาษีสรรพสามิตและภาษีการค้าระหว่างประเทศยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลลดลงร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 6.0 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 4.7 พันล้านบาท ดุลเงินสดจึงเกินดุล 1.3 พันล้านบาท
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อนจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มและหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารร้อยละ 4.9 และ 0.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากตามราคาผักและผลไม้เนื่องจากปริมาณผลผลิตในตลาดลดลงจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยปัจจัยหลักคือค่าเช่าบ้านที่ลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 13.4 รองลงมา ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มร้อยละ 6.3 และ 2.6 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ มุลค่าการส่งออกเท่ากับ 6,533 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 13.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยจีนและกลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเป็นตลาดสำคัญที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องส่วนมูลค่าการนำเข้า เท่ากับ 5,932 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ดุลการค้าเกินดุล 601 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 145 ล้านดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตาม ดุลบริการฯ ขาดดุล 185 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบรุนแรงจากโรค SARS ประกอบกับมีการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 416 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลการชำระเงินขาดดุล 75 ล้านดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ในเดือนนี้ ธปท.ชำระหนี้ IMF Packag 142 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการชำระคืนก่อนกำหนดทั้งสิ้น เงินสำรอง ระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 38.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินทรงตัวเทียบกับเดือนก่อนหน้าเนื่องจากสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.68 และ 1.57 ต่อปี ตามลำดับ ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวร้อยละ 0.7 1.3 และ 3.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามลำดับตามการปรับตัวสูงขึ้นของเงินฝากภาคเอกชนเป็นสำคัญสำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐปล่อยสินเชื่อลดลงในเดือนนี้ส่วนสินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ใหกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม มียอดคงค้าง 5,570.2 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า
7. เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 42.15 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนพฤษภาคมเทียบกับ 42.88 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในเดือนเมษายน การโน้มแข็งค่าขึ้นดังกล่าว เป็นเพราะ Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ยังไม่ดีขึ้นเนื่องจากตลาดมองว่าปัจจัย พื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างอ่อนแอ อนึ่ง การแข็งค่าของเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคดีแข็งขึ้นจากการปรับเพิ่ม Sovereign rating ของประเทศ
ในช่วงวันที่ 1-20 มิถุนายน 2546 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทเริ่มชะลอลงเนื่องจาก Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยตามตัวเลขปัจจัยขึ้นพื้นฐานของเศรษฐกิจสหรัฐฯ บางตัวที่ดีเกิดคาดทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค
--ธนาคาแห่งประเทศไทย--
-สด-