แท็ก
เอสเอ็มอี
"วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี เป็นธุรกิจฐานรากของระบบเศรษฐกิจไทย สร้างผลผลิต สร้างงาน สร้างรายได้ ให้เกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลชุดนี้มีความมุ่งมั่นในการสร้างบทบาทของเอสเอ็มอี ให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และหนึ่งในการดำเนินการ คือ การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการประสานการจัดทำแผนแม่บทเอสเอ็มอีซึ่งเป็นการปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานต่างๆให้เป็นเอกภาพและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น"
ประโยคดังกล่าวเป็นคำกล่าวของ นายสมศักดิ์เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของเอสเอ็มอี และแผนแม่บท เอสเอ็มอี ที่จำเป็นต้องมีการเชื่อมแนวคิดของผู้ประกอบการและภาครัฐผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของ เอสเอ็มอี ที่มีมา ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การขาดความรู้ความชำนาญในการประกอบการ การตลาด เงินทุน และเทคโนโลยี แผนแม่บทดังกล่าวที่มีชื่อเต็มๆว่า แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย (พ.ศ.2545-2549) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2546
สำหรับเป้าหมายของแผนแม่บทเอสเอ็มอี ประกอบไปด้วยการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเอสเอ็มอี จนมีสัดส่วนร้อยละ 50 ในปี 2549 การจ้างงานของเอสเอ็สอีเพิ่มขึ้น 180,000 คนต่อปี เพิ่มผลิตภาพของแรงงานเอสเอ็มอีให้สูงขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับอัตราเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี การขยายตัวของมูลค่าส่งออกของสินค้า เอสเอ็มอี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพระบบการส่งเสริม โดยการผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ ด้วยการจดทะเบียนในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 72 ของเอสเอ็มอีทั้งหมดในปี 2549 มีจำนวนผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้น 50,000 รายต่อปี มีกลุ่มอาชีพที่สามารถดำเนินการขั้นธุรกิจเพิ่มขึ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จนมีจำนวน 6,300 กลุ่มในปี 2549
นอกจากนี้ยังกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการเสริมสร้างและยกระดับขีดความสามารถ โดยกำหนดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงกัน ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ๒ ปัญหาหลัก คือ ปัญหาด้านการเงินและปัญหาด้านการตลาดที่เอสเอ็มอีไทยกำลังประสบปัญหาต่อเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐให้มีความพร้อมและกระจายอย่างทั่วถึง การลดปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจที่เกิดจากภาครัฐ การสร้างเสริม เอสเอ็มอี ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและยกระดับทักษะของแรงงานในเอสเอ็มอี การส่งเสริมความเชื่อมโยงและการรวมกลุ่มวิสาหกิจ (คลัสเตอร์)
การเชื่อมโยงนี้ยังมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเติบโต ในวิสาหกิจยุทธศาสตร์สำคัญเฉพาะกลุ่ม ประกอบด้วย
วิสาหกิจส่งออก โดยเน้นการวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ทีมีโอกาสและศักยภาพสูงในตลาดส่งออก รวมทั้งการยกระดับสินค้าไปสู่ตลาดที่สูงขึ้น
การสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทย การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างงานและสร้างรายได้
วิสาหกิจชุมชน ให้มีการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพสูงรวมทั้งเชื่อมโยงและเกิดการพัฒนาร่วมกัน
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมต่อและส่งต่อกระบวนการพัฒนา โดยเริ่มจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคและท้องถิ่น โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นระบบ ยุทธศาสตร์ที่จะนำมาใช้จึงต้องเป็นการสร้างและพัฒนาให้วิสาหกิจนี้สามารถเติบโตและปรับตัวไปเป็นวิสาหกิจที่มีวิธีการผลิตการจัดการและการดำเนินการด้วยวิธีการที่สันสมัย รวมทั้งยุทธศาสตร์การสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ (new economy)เพื่อให้เป็นหัวจักรของกระบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยเข้าสู่สากล และเมื่อผนวกกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถส่งออกแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยยุทธศาสตร์เพื่อการส่งออกให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนก็ถือเป็นเป้าหมายขั้นสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ประโยคดังกล่าวเป็นคำกล่าวของ นายสมศักดิ์เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรม ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญของเอสเอ็มอี และแผนแม่บท เอสเอ็มอี ที่จำเป็นต้องมีการเชื่อมแนวคิดของผู้ประกอบการและภาครัฐผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาของ เอสเอ็มอี ที่มีมา ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การขาดความรู้ความชำนาญในการประกอบการ การตลาด เงินทุน และเทคโนโลยี แผนแม่บทดังกล่าวที่มีชื่อเต็มๆว่า แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย (พ.ศ.2545-2549) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2546
สำหรับเป้าหมายของแผนแม่บทเอสเอ็มอี ประกอบไปด้วยการเพิ่มสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของเอสเอ็มอี จนมีสัดส่วนร้อยละ 50 ในปี 2549 การจ้างงานของเอสเอ็สอีเพิ่มขึ้น 180,000 คนต่อปี เพิ่มผลิตภาพของแรงงานเอสเอ็มอีให้สูงขึ้นในอัตราที่สอดคล้องกับอัตราเพิ่มผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี การขยายตัวของมูลค่าส่งออกของสินค้า เอสเอ็มอี ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพระบบการส่งเสริม โดยการผลักดันให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ ด้วยการจดทะเบียนในสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 72 ของเอสเอ็มอีทั้งหมดในปี 2549 มีจำนวนผู้เริ่มต้นธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้น 50,000 รายต่อปี มีกลุ่มอาชีพที่สามารถดำเนินการขั้นธุรกิจเพิ่มขึ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี จนมีจำนวน 6,300 กลุ่มในปี 2549
นอกจากนี้ยังกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการเสริมสร้างและยกระดับขีดความสามารถ โดยกำหนดยุทธศาสตร์เชื่อมโยงกัน ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ๒ ปัญหาหลัก คือ ปัญหาด้านการเงินและปัญหาด้านการตลาดที่เอสเอ็มอีไทยกำลังประสบปัญหาต่อเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐให้มีความพร้อมและกระจายอย่างทั่วถึง การลดปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจที่เกิดจากภาครัฐ การสร้างเสริม เอสเอ็มอี ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและยกระดับทักษะของแรงงานในเอสเอ็มอี การส่งเสริมความเชื่อมโยงและการรวมกลุ่มวิสาหกิจ (คลัสเตอร์)
การเชื่อมโยงนี้ยังมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาและวางรากฐานเพื่อให้เกิดการเติบโต ในวิสาหกิจยุทธศาสตร์สำคัญเฉพาะกลุ่ม ประกอบด้วย
วิสาหกิจส่งออก โดยเน้นการวางตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ทีมีโอกาสและศักยภาพสูงในตลาดส่งออก รวมทั้งการยกระดับสินค้าไปสู่ตลาดที่สูงขึ้น
การสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ เพื่อให้เป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทย การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างงานและสร้างรายได้
วิสาหกิจชุมชน ให้มีการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการผลิตสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพสูงรวมทั้งเชื่อมโยงและเกิดการพัฒนาร่วมกัน
ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเชื่อมต่อและส่งต่อกระบวนการพัฒนา โดยเริ่มจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซึ่งถือเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาคและท้องถิ่น โดยที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นระบบ ยุทธศาสตร์ที่จะนำมาใช้จึงต้องเป็นการสร้างและพัฒนาให้วิสาหกิจนี้สามารถเติบโตและปรับตัวไปเป็นวิสาหกิจที่มีวิธีการผลิตการจัดการและการดำเนินการด้วยวิธีการที่สันสมัย รวมทั้งยุทธศาสตร์การสร้างผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใช้ฐานความรู้สมัยใหม่ (new economy)เพื่อให้เป็นหัวจักรของกระบวนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยเข้าสู่สากล และเมื่อผนวกกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถส่งออกแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยยุทธศาสตร์เพื่อการส่งออกให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนก็ถือเป็นเป้าหมายขั้นสุดท้ายของกระบวนการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--