กรุงเทพ--22 ก.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย นายอภิชาติ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกและนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการเลื่อนการลงนามสัญญาซื้อ — ขายไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสหภาพพม่า ดังนี้
ต่อข้อซักถามที่ว่านักวิชาการไทยหลายคนวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยต่อสหภาพพม่าว่าเป็นนโยบายปากว่าตาขยิบ กล่าวคือ ในด้านหนึ่งรัฐบาลไทยอ้างว่าสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศพม่า อีกด้านหนึ่งรัฐบาลไทยจำกัดสิทธ์ของนักศึกษาพม่าที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า นโยบายของไทยต่อพม่าเป็นนโยบายที่มีหลากหลายมิติ โปร่งใส ตรงไปตรงมา และดำเนินการในทุกๆ ด้าน ไม่มีนโยบายในลักษณะปากว่าตาขยิบ และกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวการดำเนินนโยบายต่อพม่าตลอดเวลาอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ดังนี้
1. ประเทศไทยส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยหารือและให้คำแนะนำแก่พม่าในลักษณะประเทศเพื่อนบ้าน เป็นผลให้รัฐบาลพม่าให้ความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐบาลไทย อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีส่วนร่วมในความคืบหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองในพม่า นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมีนโยบายที่ชัดแจ้งในการเรียกร้องและสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยที่ติดอาวุธในพม่าให้วางอาวุธและเจรจากับรัฐบาลพม่า ในขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้รัฐบาลพม่าดำเนินนโยบายอ้าแขนรับ (open arm policy) ชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมเจรจา
2. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสำคัญในพม่า ได้แก่ ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างด้าว โรคติดต่อชายแดน และคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ดังจะเห็นความคืบหน้า อาทิ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding — MOU) เรื่องยาเสพติด แรงงานและการจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-พม่า ดำเนินการส่งกลับแรงงานพม่าที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
3. ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อาทิ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ประเทศไทยริเริ่มโครงการไทย-พม่า-อินเดีย เพื่อเชื่อมโยงเอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้ซึ่งได้มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องการค้าชายแดน ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะต่อแรงงานพม่าที่ถูกส่งกลับประเทศ ว่าทำอย่างไรที่จะให้แรงงานเหล่านี้มีงานทำเมื่อเดินทางกลับประเทศไปแล้ว อาทิ เรื่องปศุสัตว์ การปลูกพืช เนื่องจากแรงงานเหล่านี้หากไม่มีงานทำจะย้อนกลับเข้ามาประเทศไทยอีกครั้ง นักธุรกิจไทยไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นระยะเวลาเป็น 10 ปีมาแล้วไม่ใช่เพิ่งมาลงทุนในประเทศพม่าในรัฐบาลนี้
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ย้ำว่า นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหภาพพม่าเป็นเรื่องโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพียงแต่ว่าเรื่องใดควรหรือไม่ควรที่จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งเป็นเรื่องความมีมารยาทระหว่างประเทศ หรือ Diplomacy
ต่อข้อสอบถามที่ว่า ล่าสุดสหรัฐฯ มีนโยบายคว่ำบาตร (sanction) ทางเศรษฐกิจต่อสหภาพพม่า ไทยควรมีบทบาทหรือท่าทีอย่างไร ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวว่า ประเทศไทยรับทราบเรื่องนโยบายคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปต่อพม่ามาก่อนหน้านี้ และได้แจ้งให้นายอู คิน หม่อง วิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพพม่า ซึ่งเดินมาเยือนประเทศไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย นายกรัฐมนตรีและประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งแห่งรัฐ (SPDC) ทราบล่วงหน้าแล้ว ได้มีการให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งข้อเสนอแนะบางประการฝ่ายพม่าเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ฝ่ายไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีได้ให้ข้อเสนอแนะที่ตรงไปตรงมา และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในฐานะที่ประเทศไทยเข้าใจสถานการณ์ของพม่าและแนวคิดของประชาคมระหว่างประเทศที่อาจเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายพม่าในการผสมผสานจัดทำเป็นแผนการหรือ Road Map ที่จะไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรและมีทางเลือกอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นบทบาทต่อเนื่องมาโดยตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวว่า นโยบายให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลพม่า โดยมุ่งเน้นประชาชนพม่า เพื่อให้คนที่ยากจนไม่มีงานทำแล้วหลบหนีมาหางานทำในประเทศไทยกว่า 1 ล้านกว่าคน เมื่อกลับประเทศพม่าจะได้มีงานทำ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลพม่า ความร่วมมือระหว่างไทยกับอินเดียในการตัดถนนผ่านประเทศพม่าเป็นความร่วมมือในการพัฒนา พื้นที่ที่ประชาชนชาวพม่าอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จากอำเภอแม่สอด เมียวดี ผ่านเกาะกาเร็กและพะอันของพม่า เพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าดีขึ้น ลดความยากจน ซึ่งเป็นหน้าที่ของประเทศเพื่อนบ้านที่ดี นอกจากนี้ หากประชาชนพม่าอยู่ดีกินดี ประเทศไทยจะมีภาระลดน้อยลง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวยืนยันว่า นักศึกษาพม่าที่อยู่ในประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างมากมาย มากกว่าสิทธิที่นักศึกษาชาวพม่าเคยได้รับในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า หากประเทศอื่นใดปรารถนาที่จะให้สิทธิเสรีภาพกับนักศึกษาพม่ามากกว่าที่ได้รับจากประเทศไทย ประเทศไทยยินดีและพร้อมที่จะให้ประเทศเหล่านั้นรับนักศึกษาพม่าไปอาศัยอยู่ในประเทศตน แต่ข้อเท็จจริง คือ นักศึกษาพม่าอยู่ในประเทศไทยอย่างมีความสุข สามารถอยู่กินได้อย่างสบาย ได้รับทุนการศึกษาและการรักษาพยาบาลอย่างดี อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศมีนโยบายต้องการที่จะทราบว่าคนต่างด้าวมีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหนและระยะเวลายาวนานเท่าใด การที่นักศึกษาพม่าอยู่ในประเทศไทยโดยความตกลงระหว่างประเทศไทยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะต้องเป็นความตกลงที่มีความโปร่งใสและมีเงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับสถานะ Persons of Concern — POC ที่ชัดเจนว่าคือบุคคลประเภทใดและสามารถอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด และอยู่ที่ไหนด้วย เมื่อบุคคลเหล่านั้นอยู่ผิดที่ จะต้องมีการดำเนินการตามความตกลงฯ ไม่ใช่เป็นการจำกัดเสรีภาพ ซึ่ง UNHCR ยอมรับในหลักการและพร้อมที่ให้ความร่วมมือกับประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การที่ประเทศไทยให้การสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศพม่า ไม่ได้หมายความว่าคนพม่าจะเดินทางเข้าประเทศไทย และดำเนินการใดๆ ในประเทศไทยโดยเหมือนกับคนไทยทุกประการโดยไม่มีข้อจำกัด เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุให้ประเทศไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อสหภาพพม่า ประเทศไทยจะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ตอบว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนร่วมกับประเทศพม่า 2,400 กิโลเมตร ประเทศไทยย่อมถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศพม่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าได้เสนอต่อนาย Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่าสหรัฐอเมริกาควรร่วมมือกับไทยเรื่องพม่า นอกจากนี้ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ควรได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมหารือกันว่า ประชาธิปไตยของพม่าควรเป็นแบบไหน ขั้นตอน Road Map ที่พม่ารับได้ควรเป็นอย่างไร ทุกประเทศเห็นตรงกันว่าประชาธิปไตยคือเป้าหมาย แต่ไม่มีการเสนอขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ทุกประเทศที่หวังดีและต้องการเห็นประชาธิปไตยในประเทศพม่างอกงามจะต้องมาหารือร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างพูดในเวทีระหว่างประเทศทั้งหลาย สำหรับประเทศไทยมีนโยบายแน่ชัดคือต้องการให้เกิดสันติสุขและประชาธิปไตยที่แท้จริงในประเทศพม่าเนื่องจากประเทศไทยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องขั้นต้น แต่สิ่งเหล่านี้จะบังเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย นายอภิชาติ ชินวรรโณ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกและนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องการเลื่อนการลงนามสัญญาซื้อ — ขายไฟฟ้าน้ำเทิน 2 ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับสหภาพพม่า ดังนี้
ต่อข้อซักถามที่ว่านักวิชาการไทยหลายคนวิจารณ์นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยต่อสหภาพพม่าว่าเป็นนโยบายปากว่าตาขยิบ กล่าวคือ ในด้านหนึ่งรัฐบาลไทยอ้างว่าสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศพม่า อีกด้านหนึ่งรัฐบาลไทยจำกัดสิทธ์ของนักศึกษาพม่าที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า นโยบายของไทยต่อพม่าเป็นนโยบายที่มีหลากหลายมิติ โปร่งใส ตรงไปตรงมา และดำเนินการในทุกๆ ด้าน ไม่มีนโยบายในลักษณะปากว่าตาขยิบ และกระทรวงการต่างประเทศแถลงข่าวการดำเนินนโยบายต่อพม่าตลอดเวลาอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา ดังนี้
1. ประเทศไทยส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติในพม่า โดยหารือและให้คำแนะนำแก่พม่าในลักษณะประเทศเพื่อนบ้าน เป็นผลให้รัฐบาลพม่าให้ความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐบาลไทย อาจกล่าวได้ว่า ประเทศไทยมีส่วนร่วมในความคืบหน้าของกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองในพม่า นอกจากนี้ รัฐบาลไทยมีนโยบายที่ชัดแจ้งในการเรียกร้องและสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยที่ติดอาวุธในพม่าให้วางอาวุธและเจรจากับรัฐบาลพม่า ในขณะเดียวกัน ฝ่ายไทยได้ร้องขอให้รัฐบาลพม่าดำเนินนโยบายอ้าแขนรับ (open arm policy) ชนกลุ่มน้อยเข้าร่วมเจรจา
2. ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสำคัญในพม่า ได้แก่ ปัญหายาเสพติด แรงงานต่างด้าว โรคติดต่อชายแดน และคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ดังจะเห็นความคืบหน้า อาทิ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding — MOU) เรื่องยาเสพติด แรงงานและการจัดตั้งคณะทำงานร่วมไทย-พม่า ดำเนินการส่งกลับแรงงานพม่าที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
3. ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด อาทิ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 ประเทศไทยริเริ่มโครงการไทย-พม่า-อินเดีย เพื่อเชื่อมโยงเอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้ซึ่งได้มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีไปแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องการค้าชายแดน ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะต่อแรงงานพม่าที่ถูกส่งกลับประเทศ ว่าทำอย่างไรที่จะให้แรงงานเหล่านี้มีงานทำเมื่อเดินทางกลับประเทศไปแล้ว อาทิ เรื่องปศุสัตว์ การปลูกพืช เนื่องจากแรงงานเหล่านี้หากไม่มีงานทำจะย้อนกลับเข้ามาประเทศไทยอีกครั้ง นักธุรกิจไทยไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นระยะเวลาเป็น 10 ปีมาแล้วไม่ใช่เพิ่งมาลงทุนในประเทศพม่าในรัฐบาลนี้
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ย้ำว่า นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหภาพพม่าเป็นเรื่องโปร่งใส ตรงไปตรงมา เพียงแต่ว่าเรื่องใดควรหรือไม่ควรที่จะนำมาเปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งเป็นเรื่องความมีมารยาทระหว่างประเทศ หรือ Diplomacy
ต่อข้อสอบถามที่ว่า ล่าสุดสหรัฐฯ มีนโยบายคว่ำบาตร (sanction) ทางเศรษฐกิจต่อสหภาพพม่า ไทยควรมีบทบาทหรือท่าทีอย่างไร ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวว่า ประเทศไทยรับทราบเรื่องนโยบายคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปต่อพม่ามาก่อนหน้านี้ และได้แจ้งให้นายอู คิน หม่อง วิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพพม่า ซึ่งเดินมาเยือนประเทศไทยในฐานะผู้แทนพิเศษของพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย นายกรัฐมนตรีและประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งแห่งรัฐ (SPDC) ทราบล่วงหน้าแล้ว ได้มีการให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งข้อเสนอแนะบางประการฝ่ายพม่าเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ฝ่ายไทยในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีได้ให้ข้อเสนอแนะที่ตรงไปตรงมา และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในฐานะที่ประเทศไทยเข้าใจสถานการณ์ของพม่าและแนวคิดของประชาคมระหว่างประเทศที่อาจเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายพม่าในการผสมผสานจัดทำเป็นแผนการหรือ Road Map ที่จะไปสู่ประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติ ว่ามีขั้นตอนอย่างไรและมีทางเลือกอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นบทบาทต่อเนื่องมาโดยตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวว่า นโยบายให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลพม่า โดยมุ่งเน้นประชาชนพม่า เพื่อให้คนที่ยากจนไม่มีงานทำแล้วหลบหนีมาหางานทำในประเทศไทยกว่า 1 ล้านกว่าคน เมื่อกลับประเทศพม่าจะได้มีงานทำ ซึ่งนโยบายนี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลพม่า ความร่วมมือระหว่างไทยกับอินเดียในการตัดถนนผ่านประเทศพม่าเป็นความร่วมมือในการพัฒนา พื้นที่ที่ประชาชนชาวพม่าอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จากอำเภอแม่สอด เมียวดี ผ่านเกาะกาเร็กและพะอันของพม่า เพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าดีขึ้น ลดความยากจน ซึ่งเป็นหน้าที่ของประเทศเพื่อนบ้านที่ดี นอกจากนี้ หากประชาชนพม่าอยู่ดีกินดี ประเทศไทยจะมีภาระลดน้อยลง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวยืนยันว่า นักศึกษาพม่าที่อยู่ในประเทศไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างมากมาย มากกว่าสิทธิที่นักศึกษาชาวพม่าเคยได้รับในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า หากประเทศอื่นใดปรารถนาที่จะให้สิทธิเสรีภาพกับนักศึกษาพม่ามากกว่าที่ได้รับจากประเทศไทย ประเทศไทยยินดีและพร้อมที่จะให้ประเทศเหล่านั้นรับนักศึกษาพม่าไปอาศัยอยู่ในประเทศตน แต่ข้อเท็จจริง คือ นักศึกษาพม่าอยู่ในประเทศไทยอย่างมีความสุข สามารถอยู่กินได้อย่างสบาย ได้รับทุนการศึกษาและการรักษาพยาบาลอย่างดี อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศมีนโยบายต้องการที่จะทราบว่าคนต่างด้าวมีจำนวนเท่าไร อยู่ที่ไหนและระยะเวลายาวนานเท่าใด การที่นักศึกษาพม่าอยู่ในประเทศไทยโดยความตกลงระหว่างประเทศไทยกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จะต้องเป็นความตกลงที่มีความโปร่งใสและมีเงื่อนไขของผู้ที่จะได้รับสถานะ Persons of Concern — POC ที่ชัดเจนว่าคือบุคคลประเภทใดและสามารถอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด และอยู่ที่ไหนด้วย เมื่อบุคคลเหล่านั้นอยู่ผิดที่ จะต้องมีการดำเนินการตามความตกลงฯ ไม่ใช่เป็นการจำกัดเสรีภาพ ซึ่ง UNHCR ยอมรับในหลักการและพร้อมที่ให้ความร่วมมือกับประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การที่ประเทศไทยให้การสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศพม่า ไม่ได้หมายความว่าคนพม่าจะเดินทางเข้าประเทศไทย และดำเนินการใดๆ ในประเทศไทยโดยเหมือนกับคนไทยทุกประการโดยไม่มีข้อจำกัด เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุให้ประเทศไทยให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อสหภาพพม่า ประเทศไทยจะดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ตอบว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนร่วมกับประเทศพม่า 2,400 กิโลเมตร ประเทศไทยย่อมถูกมองว่ามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศพม่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่าได้เสนอต่อนาย Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ว่าสหรัฐอเมริกาควรร่วมมือกับไทยเรื่องพม่า นอกจากนี้ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ควรได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าร่วมหารือกันว่า ประชาธิปไตยของพม่าควรเป็นแบบไหน ขั้นตอน Road Map ที่พม่ารับได้ควรเป็นอย่างไร ทุกประเทศเห็นตรงกันว่าประชาธิปไตยคือเป้าหมาย แต่ไม่มีการเสนอขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ ทุกประเทศที่หวังดีและต้องการเห็นประชาธิปไตยในประเทศพม่างอกงามจะต้องมาหารือร่วมกันไม่ใช่ต่างคนต่างพูดในเวทีระหว่างประเทศทั้งหลาย สำหรับประเทศไทยมีนโยบายแน่ชัดคือต้องการให้เกิดสันติสุขและประชาธิปไตยที่แท้จริงในประเทศพม่าเนื่องจากประเทศไทยมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องขั้นต้น แต่สิ่งเหล่านี้จะบังเกิดขึ้นได้จากการทำงานร่วมกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-