ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ปรับสัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในเครือของ ธพ. จากเดิม 10% เป็น 100% รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังดำเนินการตามกรอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ (มาสเตอร์แพลน)
หลังจากที่ในเบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจาก ก.คลังแล้ว โดยในแผนดังกล่าว จะมีการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของ ธพ.ในสถาบันการเงินในเครือให้
เพิ่มขึ้นได้เป็น 100% จากเดิมที่ถือได้ไม่เกิน 10% ทั้งบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทประกัน แต่ให้แยกการบริหาร
งานบริษัทในเครือเป็นนิติบุคคลต่างหาก ไม่ขึ้นตรงกับ ธพ. เพื่อกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของ ธพ. ส่วนการกำกับดูแล ธพ.นั้น ธปท.
จะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยจะกำกับดูแลฐานะโดยรวมของ ธพ.ที่รวมบริษัทในเครือด้วย รวมถึง การคิดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
(บีไอเอส) หรือการกันสำรองหนี้เสียจะต้องคิดสัดส่วนของสถาบันการเงินรวมบริษัทในเครือด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ แผนแม่บทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น
ของสถาบันต่างชาติใน ธพ.ไทย จากเดิมถือได้ไม่เกิน 25% เป็น 49% อย่างไรก็ตาม กรณีการถือหุ้นของสถาบันต่างชาติที่มีสัดส่วน 100% ซึ่งมีการ
อนุมัติเป็นกรณีพิเศษจาก ธปท. เพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในช่วงที่ผ่านมา หากครบระยะเวลา 10 ปีตามที่กำหนดไว้ จะต้องลดสัดส่วนลงเหลือ
49% สำหรับธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ยังคงให้ถือหุ้นได้ในอัตราไม่เกิน 10% ตามเดิม (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. เอสแอนด์พีประเมินภาพรวมธุรกิจ ธพ.ไทยที่ระดับ BB สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี)
เสนอมุมมองภาพรวมธุรกิจ ธพ.ของไทย ว่า ธพ.ไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น และได้จัดอับดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทยที่ระดับ BB โดยเอสแอนด์พีเห็น
ว่าการแก้ปัญหาของระบบ ธพ.ไทยดำเนินมาถูกทางแล้ว เห็นได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เติบโตมากกว่าร้อยละ 4 แต่อย่างไรก็ตาม
กำไรของ ธพ.ยังคงต่ำ และยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีเอ) ในระบบ แม้จะมีการแก้ไขปัญหาด้วยการย้ายหนี้เสีย
ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริหารแทน ซึ่งได้ช่วยให้เอ็นพีเอในระบบธนาคารลดลง แต่ก็ยังคงสูงกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อทั้งระบบ
นอกจากนี้ ระบบการจัดการสินทรัพย์ของ ธพ.ไทยยังอ่อนแอ และขาดการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายทางเศรษฐกิจยังทำได้
ไม่เต็มที่ (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. ในเดือน มิ.ย.46 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด
เผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบ ธพ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.46 มีจำนวน 750,804.17 ล.บาท หรือ 15.84% ของสินเชื่อ
รวม ลดลง 2,609.3 ล.บาทจากเดือน พ.ค.46 ที่มีจำนวน 753,413.47 ล.บาท หรือ 15.85% ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ การที่เอ็นพีแอลปรับตัว
ลดลงน้อยมาก เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลของ ธพ.เอกชน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลใหม่และการย้อนกลับของเอ็นพีแอลที่ปรับ
โครงสร้างหนี้แล้ว (โลกวันนี้)
4. แนวโน้มตราสารหนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ประธานคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า
แนวโน้มตราสารหนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ยังจะขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1.71 แสน ล.บาท เป็นหุ้นกู้เอกชน 1.3 แสน ล.บาท
เพิ่มขึ้น 77% จากครึ่งปีแรก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ พธบ.รัฐบาลที่มีกำหนดออกแน่นอนจำนวน 1.5 พัน ล.บาท ตั๋วเงินคลังที่จะ
ประมูลมีจำนวน 4 หมื่น ล.บาท และ พธบ.รัฐวิสาหกิจจำนวน 400 ล.บาท สำหรับมูลค่าตราสารหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.46 มีมูลค่ารวม 1.67
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.45 ทั้งนี้คาดว่า ในระยะยาวตราสารหนี้เอกชนจะเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการที่ภาครัฐออก พธบ.
น้อยลง เนื่องจากงปม.กำลังเข้าสู่ภาวะสมดุล และการที่รัฐวิสาหกิจแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 23 ก.ค.46
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่าดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเดือนเม.ย.46 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในหมวดผลผลิตอุตสาหกรรม ส่วนดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ (Tertiary
Sector Index) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมที่ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมบริการลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน จากที่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน โดยเป็นการลดลงสูงสุดในหมวดขนส่งและโทรคมนาคม และจากผลสำรวจรอยเตอร์สัปดาห์ก่อนคาดว่าดัชนีอุตสาหกรรม
โดยรวมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. ธ. กลางแคนาดาอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากออตาวา เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 46 ภาย
หลังจากที่ ธ. กลางแคนาดาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงในการปรับ
ลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแคนาดาลงเหลือประมาณร้อยละ 2.0 จากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ระดับร้อยละ
2.5 ทำให้มีการคาดการณ์กันว่ามีความเป็นไปได้ที่ทางการแคนาดาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงอีก ทั้งนี้โดยที่ คาดว่าการชะลอตัวทางเศรษฐ
กิจของแคนาดาอาจจะยาวนานถึงปลายไตรมาสที่ 3 ปีนี้ จึงจะกระเตื้องขึ้น โดย ผวก. ธ กลางแคนาดากล่าวว่าหากอุปสงค์จากต่างประเทศยังคง
อ่อนแออยู่ต่อไป จำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ก่อนหน้านั้นแคนาดานับเป็นประเทศที่มีอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยาวนานที่สุดในกลุ่ม 7ชาติอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย (G7) (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน พ.ค. 46 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 ก.ค. 46 ธ.กลางของ
เยอรมนีรายงานว่า ในเดือน พ.ค. 46 ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ปรับแล้วลดลง เนื่องจากความต้องการสินค้าภายใน
ประเทศอ่อนแอลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคำสั่งซื้อฯ โดยรวมลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อเดือน จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงประมาณ
ร้อยละ 2.2 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าฯ ภายในประเทศลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยคำ
สั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศลดลงร้อยละ 2.6 จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่าง
ประเทศลดลงเหลือร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อเดือนจากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์อาจคงที่ในเดือน มิ.ย. 46 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 22 ก.ค. 46 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. 46 อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าความต้องการสินค้าและราคาจะเพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส
อย่างไรก็ตามระดับราคาสินค้าก็ได้ลดลงเนื่องจากเทศกาล Great Singapore Sale ซึ่งมีการลดราคาสินค้าขายปลีกเป็นช่วงระยะเวลายาวนาน
ถึง 6 สัปดาห์ อันจะส่งผลถึงดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน มิ.ย. 46 โดยนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงิน 10 แห่งคาดว่า ในเดือน มิ.ย.46
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์อาจจะชะลอตัวลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบต่อปี ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 6
แห่งคาดว่าดัชนีฯ อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
5. การส่งออกของมณฑลกวางตุ้งของจีนในครึ่งปีแรกของปี 46เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 22 ก.ค.46
สำนักข่าวซินหัวของจีน เปิดเผยว่า มณฑลกวางตุ้งซึ่งเป็นมณฑลทางภาคใต้ของจีนส่งออกสินค้าในครึ่งปีแรกของปี 46 มูลค่ากว่า 66 พันล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงในครึ่งปีแรกของปีนี้มูลค่าทั้งสิ้น 124.6 พันล้านดอล
ลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกของกวางตุ้งมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งในสามของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีน
อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งออกดังกล่าวก็ยังต่ำกว่าอัตราโดยรวมของทั้งประเทศ ที่อยู่ในระดับร้อยละ 34 ในช่วงครึ่งแรกของปี 46
นอกจากนี้ กวางตุ้งยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศในครึ่งปีแรกของปีนี้จำนวนถึง 8.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบต่อปี
ส่วนเงินทุนไหลเข้าที่แท้จริงมีจำนวน 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 แม้ว่าจีนจะประสบกับภาวะโรคซาร์สเมื่อปลายปีก่อน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23/7/46 22/7/46 27/12/45 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.828 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.6213/41.9070 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.25 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 488.58/13.87 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,900/7,000 6,900/7,000 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.98 26.91 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 30 ส.ต. เมื่อ 18 ก.ค. 46 16.69*/12.99 16.69/12.99* 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ปรับสัดส่วนการถือหุ้นบริษัทในเครือของ ธพ. จากเดิม 10% เป็น 100% รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.กำลังดำเนินการตามกรอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับใหม่ (มาสเตอร์แพลน)
หลังจากที่ในเบื้องต้นได้รับความเห็นชอบจาก ก.คลังแล้ว โดยในแผนดังกล่าว จะมีการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของ ธพ.ในสถาบันการเงินในเครือให้
เพิ่มขึ้นได้เป็น 100% จากเดิมที่ถือได้ไม่เกิน 10% ทั้งบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม หรือบริษัทประกัน แต่ให้แยกการบริหาร
งานบริษัทในเครือเป็นนิติบุคคลต่างหาก ไม่ขึ้นตรงกับ ธพ. เพื่อกระจายความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของ ธพ. ส่วนการกำกับดูแล ธพ.นั้น ธปท.
จะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น โดยจะกำกับดูแลฐานะโดยรวมของ ธพ.ที่รวมบริษัทในเครือด้วย รวมถึง การคิดสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
(บีไอเอส) หรือการกันสำรองหนี้เสียจะต้องคิดสัดส่วนของสถาบันการเงินรวมบริษัทในเครือด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ แผนแม่บทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น
ของสถาบันต่างชาติใน ธพ.ไทย จากเดิมถือได้ไม่เกิน 25% เป็น 49% อย่างไรก็ตาม กรณีการถือหุ้นของสถาบันต่างชาติที่มีสัดส่วน 100% ซึ่งมีการ
อนุมัติเป็นกรณีพิเศษจาก ธปท. เพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินในช่วงที่ผ่านมา หากครบระยะเวลา 10 ปีตามที่กำหนดไว้ จะต้องลดสัดส่วนลงเหลือ
49% สำหรับธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ยังคงให้ถือหุ้นได้ในอัตราไม่เกิน 10% ตามเดิม (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
2. เอสแอนด์พีประเมินภาพรวมธุรกิจ ธพ.ไทยที่ระดับ BB สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี)
เสนอมุมมองภาพรวมธุรกิจ ธพ.ของไทย ว่า ธพ.ไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น และได้จัดอับดับความน่าเชื่อถือของ ธพ.ไทยที่ระดับ BB โดยเอสแอนด์พีเห็น
ว่าการแก้ปัญหาของระบบ ธพ.ไทยดำเนินมาถูกทางแล้ว เห็นได้จากการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่เติบโตมากกว่าร้อยละ 4 แต่อย่างไรก็ตาม
กำไรของ ธพ.ยังคงต่ำ และยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีเอ) ในระบบ แม้จะมีการแก้ไขปัญหาด้วยการย้ายหนี้เสีย
ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริหารแทน ซึ่งได้ช่วยให้เอ็นพีเอในระบบธนาคารลดลง แต่ก็ยังคงสูงกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อทั้งระบบ
นอกจากนี้ ระบบการจัดการสินทรัพย์ของ ธพ.ไทยยังอ่อนแอ และขาดการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม ประกอบกับการบังคับใช้กฎหมายทางเศรษฐกิจยังทำได้
ไม่เต็มที่ (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. ในเดือน มิ.ย.46 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด
เผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบ ธพ. ณ สิ้นเดือน มิ.ย.46 มีจำนวน 750,804.17 ล.บาท หรือ 15.84% ของสินเชื่อ
รวม ลดลง 2,609.3 ล.บาทจากเดือน พ.ค.46 ที่มีจำนวน 753,413.47 ล.บาท หรือ 15.85% ของสินเชื่อรวม ทั้งนี้ การที่เอ็นพีแอลปรับตัว
ลดลงน้อยมาก เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลของ ธพ.เอกชน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอลใหม่และการย้อนกลับของเอ็นพีแอลที่ปรับ
โครงสร้างหนี้แล้ว (โลกวันนี้)
4. แนวโน้มตราสารหนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ประธานคณะกรรมการศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า
แนวโน้มตราสารหนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 46 ยังจะขยายตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 1.71 แสน ล.บาท เป็นหุ้นกู้เอกชน 1.3 แสน ล.บาท
เพิ่มขึ้น 77% จากครึ่งปีแรก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ พธบ.รัฐบาลที่มีกำหนดออกแน่นอนจำนวน 1.5 พัน ล.บาท ตั๋วเงินคลังที่จะ
ประมูลมีจำนวน 4 หมื่น ล.บาท และ พธบ.รัฐวิสาหกิจจำนวน 400 ล.บาท สำหรับมูลค่าตราสารหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือน มิ.ย.46 มีมูลค่ารวม 1.67
ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.45 ทั้งนี้คาดว่า ในระยะยาวตราสารหนี้เอกชนจะเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการที่ภาครัฐออก พธบ.
น้อยลง เนื่องจากงปม.กำลังเข้าสู่ภาวะสมดุล และการที่รัฐวิสาหกิจแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 23 ก.ค.46
ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่าดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นในเดือน พ.ค.46 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อเดือน
หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 เมื่อเดือนเม.ย.46 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในหมวดผลผลิตอุตสาหกรรม ส่วนดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการ (Tertiary
Sector Index) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมที่ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมบริการลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน จากที่เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนก่อน โดยเป็นการลดลงสูงสุดในหมวดขนส่งและโทรคมนาคม และจากผลสำรวจรอยเตอร์สัปดาห์ก่อนคาดว่าดัชนีอุตสาหกรรม
โดยรวมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และดัชนีชี้วัดแนวโน้มภาคบริการไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. ธ. กลางแคนาดาอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากออตาวา เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 46 ภาย
หลังจากที่ ธ. กลางแคนาดาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลงร้อยละ 0.25 เมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงในการปรับ
ลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของแคนาดาลงเหลือประมาณร้อยละ 2.0 จากที่คาดการณ์ไว้เดิมเมื่อเดือนเม.ย.ที่ระดับร้อยละ
2.5 ทำให้มีการคาดการณ์กันว่ามีความเป็นไปได้ที่ทางการแคนาดาจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลงอีก ทั้งนี้โดยที่ คาดว่าการชะลอตัวทางเศรษฐ
กิจของแคนาดาอาจจะยาวนานถึงปลายไตรมาสที่ 3 ปีนี้ จึงจะกระเตื้องขึ้น โดย ผวก. ธ กลางแคนาดากล่าวว่าหากอุปสงค์จากต่างประเทศยังคง
อ่อนแออยู่ต่อไป จำเป็นต้องดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ก่อนหน้านั้นแคนาดานับเป็นประเทศที่มีอัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและยาวนานที่สุดในกลุ่ม 7ชาติอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย (G7) (รอยเตอร์)
3. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีชะลอตัวลงในเดือน พ.ค. 46 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 22 ก.ค. 46 ธ.กลางของ
เยอรมนีรายงานว่า ในเดือน พ.ค. 46 ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ปรับแล้วลดลง เนื่องจากความต้องการสินค้าภายใน
ประเทศอ่อนแอลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยคำสั่งซื้อฯ โดยรวมลดลงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อเดือน จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงประมาณ
ร้อยละ 2.2 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าฯ ภายในประเทศลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 โดยคำ
สั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศลดลงร้อยละ 2.6 จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่าง
ประเทศลดลงเหลือร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อเดือนจากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์อาจคงที่ในเดือน มิ.ย. 46 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 22 ก.ค. 46 ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI) ของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย. 46 อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าความต้องการสินค้าและราคาจะเพิ่มขึ้นหลังสิ้นสุดการระบาดของโรคซาร์ส
อย่างไรก็ตามระดับราคาสินค้าก็ได้ลดลงเนื่องจากเทศกาล Great Singapore Sale ซึ่งมีการลดราคาสินค้าขายปลีกเป็นช่วงระยะเวลายาวนาน
ถึง 6 สัปดาห์ อันจะส่งผลถึงดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือน มิ.ย. 46 โดยนักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันการเงิน 10 แห่งคาดว่า ในเดือน มิ.ย.46
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์อาจจะชะลอตัวลงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.15 เมื่อเทียบต่อปี ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จำนวน 6
แห่งคาดว่าดัชนีฯ อาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ประมาณร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
5. การส่งออกของมณฑลกวางตุ้งของจีนในครึ่งปีแรกของปี 46เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 22 ก.ค.46
สำนักข่าวซินหัวของจีน เปิดเผยว่า มณฑลกวางตุ้งซึ่งเป็นมณฑลทางภาคใต้ของจีนส่งออกสินค้าในครึ่งปีแรกของปี 46 มูลค่ากว่า 66 พันล้านดอลลาร์
สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกไปยังประเทศฮ่องกงในครึ่งปีแรกของปีนี้มูลค่าทั้งสิ้น 124.6 พันล้านดอล
ลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบต่อปี ทั้งนี้ การส่งออกของกวางตุ้งมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งในสามของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีน
อย่างไรก็ตาม อัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งออกดังกล่าวก็ยังต่ำกว่าอัตราโดยรวมของทั้งประเทศ ที่อยู่ในระดับร้อยละ 34 ในช่วงครึ่งแรกของปี 46
นอกจากนี้ กวางตุ้งยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศในครึ่งปีแรกของปีนี้จำนวนถึง 8.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบต่อปี
ส่วนเงินทุนไหลเข้าที่แท้จริงมีจำนวน 6.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 แม้ว่าจีนจะประสบกับภาวะโรคซาร์สเมื่อปลายปีก่อน
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23/7/46 22/7/46 27/12/45 แหล่งข
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.828 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.6213/41.9070 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.25 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 488.58/13.87 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,900/7,000 6,900/7,000 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.98 26.91 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 30 ส.ต. เมื่อ 18 ก.ค. 46 16.69*/12.99 16.69/12.99* 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-