สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของโลก แหล่งผลิตเนื้อไก่ที่สำคัญอยู่บริเวณมลรัฐทางใต้ อาทิ จอร์เจีย อาร์คันซอ และแอละแบมา การผลิตเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพราะสหรัฐฯ มีความได้เปรียบที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันรัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนการผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ในระดับสูงมาโดยตลอด นอกจากนี้ ฟาร์มเลี้ยงไก่ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเนื้อไก่อยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับสูงก็ตาม สำหรับด้านการส่งออก สหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกเนื้อไก่ประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณส่งออกเนื้อไก่โดยรวมของโลก เนื้อไก่ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเนื้อไก่ตัดแยกเป็นส่วนพร้อมเครื่องใน มีตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ รัสเซีย ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา และญี่ปุ่น
สำหรับการผลิตเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ในปี 2546 คาดว่าจะขยายตัวราวร้อยละ 0.3 ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 6.8 โดยมีปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนการส่งออก คือ เงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2546 ประกอบกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสหรัฐฯ นอกจากนี้ คาดว่าเม็กซิโกจะขยายการนำเข้าเนื้อไก่จากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากมาตรการยกเลิกภาษีและโควตานำเข้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือที่เม็กซิโกและสหรัฐฯ เป็นสมาชิกอยู่ อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาดเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ในรัสเซียซึ่งเป็นตลาดส่งออกเนื้อไก่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงหลังจากรัสเซียกำหนดโควตานำเข้าสัตว์ปีกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 ซึ่งมีส่วนทำให้สหรัฐฯ หันไปขยายตลาดส่งออกเนื้อไก่ในแอฟริกา EU และอิรักมากขึ้น
จีน เป็นผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ แต่เป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับ 4 รองจากสหรัฐฯ บราซิล และไทย ที่ผ่านมาปริมาณการผลิตเนื้อไก่ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อตอบสนองการส่งออกที่รัฐบาลจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันจีนมีวัตถุดิบอาหารสัตว์จำนวนมากและมีค่าแรงราคาถูก ประกอบกับจีนเน้นส่งเสริมให้นักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในกิจการเลี้ยงไก่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากจีนได้เปรียบไทยด้านระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า รวมทั้งสินค้ามีราคาถูกกว่า ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซาในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่ของจีนในปี 2546 จะลดลงกว่าร้อยละ 8 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค SARS ที่ระบาดอย่างหนักในช่วงต้นปี 2546 ส่งผลให้ตลาดส่งออกหลายแห่งของจีนระงับคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากจีน ขณะเดียวกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 ญี่ปุ่นสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกรวมถึงไก่จากจีนเป็นการชั่วคราวหลังตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเนื้อเป็ดส่งออกของจีน อย่างไรก็ตาม หากปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลง คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่ของจีนจะกระเตื้องขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากการที่เงินหยวนของจีนอ่อนค่าลงตามเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกไก่ของจีนได้ระดับหนึ่ง
บราซิล เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก โดยบราซิลเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาด EU และมีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของไทยในตลาดญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีจำนวนมากและราคาถูก รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานถูกกว่าไทย นอกจากนี้ รัฐบาลบราซิลให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อย่างจริงจัง ตลอดจนเงินเรียลของบราซิลที่อ่อนค่าลงมากในปัจจุบันยิ่งเกื้อหนุนให้บราซิลมีความได้เปรียบด้านราคามากขึ้น แม้ว่าเนื้อไก่ของบราซิลมีคุณภาพด้อยกว่าไทย
สำหรับการผลิตเนื้อไก่ของบราซิลในปี 2546 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 5 ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นมากอันเป็นผลจากการดำเนินนโยบาย Zero Hunger ของรัฐบาลบราซิลที่ต้องการให้เนื้อไก่เป็นอาหารที่ผู้ยากไร้ทุกคนสามารถซื้อรับประทานได้ ซึ่งจะเป็นผลให้บราซิลเหลือเนื้อไก่สำหรับส่งออกลดลง นอกจากนี้ การที่ EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของบราซิลเริ่มเข้มงวดกับการนำเข้าไก่หมักเกลือ (เป็นสินค้าส่งออกหลักของบราซิล) ด้วยการปรับเพิ่มความเข้มของปริมาณเกลือในเนื้อไก่ รวมทั้งการที่รัสเซียจำกัดโควตานำเข้าเนื้อไก่ ขณะที่ซาอุดีอาระเบียกล่าวหาว่าไก่จากบราซิลมีปริมาณน้ำสูงเกินไป ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้การส่งออกไก่หมักเกลือมีแนวโน้มลดลงในปี 2546 อย่างไรก็ตาม การส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลอาจได้รับผลดีจากโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในเนเธอร์แลนด์ เพราะส่งผลให้ EU อาจหันมานำเข้าเนื้อไก่จากบราซิลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาจได้รับผลดีจากความเป็นไปได้ในการขยายตลาดส่งออกไปยังแคนาดา และจีนภายใต้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2546--
-สส-
สำหรับการผลิตเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ในปี 2546 คาดว่าจะขยายตัวราวร้อยละ 0.3 ขณะที่การส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 6.8 โดยมีปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนการส่งออก คือ เงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2546 ประกอบกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ที่เพิ่มขึ้นของประเทศในแถบเอเชียซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสหรัฐฯ นอกจากนี้ คาดว่าเม็กซิโกจะขยายการนำเข้าเนื้อไก่จากสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากมาตรการยกเลิกภาษีและโควตานำเข้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือที่เม็กซิโกและสหรัฐฯ เป็นสมาชิกอยู่ อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาดเนื้อไก่ของสหรัฐฯ ในรัสเซียซึ่งเป็นตลาดส่งออกเนื้อไก่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ คาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงหลังจากรัสเซียกำหนดโควตานำเข้าสัตว์ปีกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 ซึ่งมีส่วนทำให้สหรัฐฯ หันไปขยายตลาดส่งออกเนื้อไก่ในแอฟริกา EU และอิรักมากขึ้น
จีน เป็นผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ แต่เป็นผู้ส่งออกสำคัญอันดับ 4 รองจากสหรัฐฯ บราซิล และไทย ที่ผ่านมาปริมาณการผลิตเนื้อไก่ของจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อตอบสนองการส่งออกที่รัฐบาลจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันจีนมีวัตถุดิบอาหารสัตว์จำนวนมากและมีค่าแรงราคาถูก ประกอบกับจีนเน้นส่งเสริมให้นักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในกิจการเลี้ยงไก่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จีนนับเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากจีนได้เปรียบไทยด้านระยะทางขนส่งที่ใกล้กว่า รวมทั้งสินค้ามีราคาถูกกว่า ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างซบเซาในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่ของจีนในปี 2546 จะลดลงกว่าร้อยละ 8 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค SARS ที่ระบาดอย่างหนักในช่วงต้นปี 2546 ส่งผลให้ตลาดส่งออกหลายแห่งของจีนระงับคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากจีน ขณะเดียวกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 ญี่ปุ่นสั่งห้ามนำเข้าสัตว์ปีกรวมถึงไก่จากจีนเป็นการชั่วคราวหลังตรวจพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในเนื้อเป็ดส่งออกของจีน อย่างไรก็ตาม หากปัญหาดังกล่าวคลี่คลายลง คาดว่าการส่งออกเนื้อไก่ของจีนจะกระเตื้องขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนสำคัญจากการที่เงินหยวนของจีนอ่อนค่าลงตามเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกไก่ของจีนได้ระดับหนึ่ง
บราซิล เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก แต่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก โดยบราซิลเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาด EU และมีแนวโน้มที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งของไทยในตลาดญี่ปุ่นด้วย เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีจำนวนมากและราคาถูก รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานถูกกว่าไทย นอกจากนี้ รัฐบาลบราซิลให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่อย่างจริงจัง ตลอดจนเงินเรียลของบราซิลที่อ่อนค่าลงมากในปัจจุบันยิ่งเกื้อหนุนให้บราซิลมีความได้เปรียบด้านราคามากขึ้น แม้ว่าเนื้อไก่ของบราซิลมีคุณภาพด้อยกว่าไทย
สำหรับการผลิตเนื้อไก่ของบราซิลในปี 2546 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 5 ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.4 เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อไก่ภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นมากอันเป็นผลจากการดำเนินนโยบาย Zero Hunger ของรัฐบาลบราซิลที่ต้องการให้เนื้อไก่เป็นอาหารที่ผู้ยากไร้ทุกคนสามารถซื้อรับประทานได้ ซึ่งจะเป็นผลให้บราซิลเหลือเนื้อไก่สำหรับส่งออกลดลง นอกจากนี้ การที่ EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของบราซิลเริ่มเข้มงวดกับการนำเข้าไก่หมักเกลือ (เป็นสินค้าส่งออกหลักของบราซิล) ด้วยการปรับเพิ่มความเข้มของปริมาณเกลือในเนื้อไก่ รวมทั้งการที่รัสเซียจำกัดโควตานำเข้าเนื้อไก่ ขณะที่ซาอุดีอาระเบียกล่าวหาว่าไก่จากบราซิลมีปริมาณน้ำสูงเกินไป ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้การส่งออกไก่หมักเกลือมีแนวโน้มลดลงในปี 2546 อย่างไรก็ตาม การส่งออกเนื้อไก่ของบราซิลอาจได้รับผลดีจากโรคไข้หวัดนกที่ระบาดในเนเธอร์แลนด์ เพราะส่งผลให้ EU อาจหันมานำเข้าเนื้อไก่จากบราซิลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ อาจได้รับผลดีจากความเป็นไปได้ในการขยายตลาดส่งออกไปยังแคนาดา และจีนภายใต้ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2546--
-สส-