กรุงเทพ--31 ก.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
พิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลื่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ (The Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Norway for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income)
ด้วยในวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2546 เวลา 11.00 น. ณ วิเทศสโมสร (ส่วนที่ 3) กระทรวงการต่างประเทศ จะมีพิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ โดยมี ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และฯพณฯ นาง Ragne Birte Lund เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ไทยและนอร์เวย์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2448 และได้มีการยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2503 การค้าระหว่างไทยกับนอร์เวย์ในปี 2545 มีมูลค่ารวม 158 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าจำนวน 50.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่นอร์เวย์นำเข้าจากไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่ไทยนำเข้านอร์เวย์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ไทยยังมีโอกาสในการขยายตลาดสินค้าไปยังนอร์เวย์ได้อีกมาก เพราะนอร์เวย์อยู่ภายนอกตลาดยุโรป มีนโยบายการค้าเสรี และมีข้อจำกัดทางการค้าน้อย
สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ มีดังต่อไปนี้
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ อนุสัญญานี้จะใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือประเทศนอร์เวย์ หรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้
2. วิธีการขจัดภาษีซ้อน ประเทศไทยจะยอมให้นำภาษีนอร์เวย์ที่เสียไว้มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทย และประเทศนอร์เวย์จะยอมให้นำภาษีไทยที่เสียไว้แล้วมาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระในประเทศนอร์เวย์ รวมทั้งมีมาตรการ Tax Sparing Credit คือ กรณีที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนในประเทศแหล่งเงินได้ สามารถนำไปเครดิตภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่ได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้จะยกเว้นภาษีให้เฉพาะการขนส่งทางอากาศ ส่วนการขนส่งทางเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินโดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวรให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลได้จากการจำหน่ายเรือ อากาศยาน และยานพาหนะทางบกที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศให้เก็บภาษีได้ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งเคยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศแหล่งเงินได้ในปีใด ๆ ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปีก่อนการขายหุ้นดังกล่าว
6. การเก็บภาษีจากกิจกรรมนอกชายฝั่ง กรณีเงินได้จากกิจกรรมนอกชายฝั่งในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจหรือการแสวงหาผลประโยชน์จากพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดิน และทรัพยากรธรรมชาติให้ประเทศแหล่งเงินได้มีสิทธิเก็บภาษีได้ ส่วนเงินได้ที่เกิดจากการขนส่งสัมภาระ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนอกชายฝั่งดังกล่าว ให้เก็บภาษีได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าว ให้ประเทศแหล่งเงินได้เก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีหากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
7. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้
8. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
9. การเริ่มใช้และเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามกระบวนการที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตนในอันที่จะให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และได้แจ้งให้ประเทศคู่สัญญาของตนทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวแล้วผ่านทางช่องทางทางการทูต อนุสัญญาฯ จึงมีผลบังคับได้ ณ วันที่ได้รับการแจ้งครั้งหลัง โดยในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น จะใช้บังคับ กับเงินได้ที่จ่ายในหรือหลังจากวันที่ 1 ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น อนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่ 1 ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
ประโยชน์ของอนุสัญญาฯ
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลง
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนระหว่างประเทศ
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ได้มีการจำกัด เพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ยและค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วย ส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ ยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากต้นทุนของการขนส่งระหว่างประเทศจะลดต่ำลงในระดับหนึ่ง
5. ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ผู้ประกอบการ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตอีกทางหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
พิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และการป้องกันการเลื่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ (The Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Kingdom of Norway for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income)
ด้วยในวันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2546 เวลา 11.00 น. ณ วิเทศสโมสร (ส่วนที่ 3) กระทรวงการต่างประเทศ จะมีพิธีลงนามอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ โดยมี ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และฯพณฯ นาง Ragne Birte Lund เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ไทยและนอร์เวย์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2448 และได้มีการยกฐานะความสัมพันธ์ขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูต เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2503 การค้าระหว่างไทยกับนอร์เวย์ในปี 2545 มีมูลค่ารวม 158 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าจำนวน 50.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าที่นอร์เวย์นำเข้าจากไทย ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ ข้าว เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง อัญมณีและเครื่องประดับ สินค้าที่ไทยนำเข้านอร์เวย์ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง และผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ไทยยังมีโอกาสในการขยายตลาดสินค้าไปยังนอร์เวย์ได้อีกมาก เพราะนอร์เวย์อยู่ภายนอกตลาดยุโรป มีนโยบายการค้าเสรี และมีข้อจำกัดทางการค้าน้อย
สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ มีดังต่อไปนี้
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ อนุสัญญานี้จะใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือประเทศนอร์เวย์ หรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้
2. วิธีการขจัดภาษีซ้อน ประเทศไทยจะยอมให้นำภาษีนอร์เวย์ที่เสียไว้มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทย และประเทศนอร์เวย์จะยอมให้นำภาษีไทยที่เสียไว้แล้วมาหักออกจาก ภาษีที่ต้องชำระในประเทศนอร์เวย์ รวมทั้งมีมาตรการ Tax Sparing Credit คือ กรณีที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนในประเทศแหล่งเงินได้ สามารถนำไปเครดิตภาษีในประเทศถิ่นที่อยู่ได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้จะยกเว้นภาษีให้เฉพาะการขนส่งทางอากาศ ส่วนการขนส่งทางเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินโดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวรให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลได้จากการจำหน่ายเรือ อากาศยาน และยานพาหนะทางบกที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศให้เก็บภาษีได้ หากผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งเคยเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศแหล่งเงินได้ในปีใด ๆ ภายในช่วงระยะเวลา 5 ปีก่อนการขายหุ้นดังกล่าว
6. การเก็บภาษีจากกิจกรรมนอกชายฝั่ง กรณีเงินได้จากกิจกรรมนอกชายฝั่งในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจหรือการแสวงหาผลประโยชน์จากพื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดิน และทรัพยากรธรรมชาติให้ประเทศแหล่งเงินได้มีสิทธิเก็บภาษีได้ ส่วนเงินได้ที่เกิดจากการขนส่งสัมภาระ หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนอกชายฝั่งดังกล่าว ให้เก็บภาษีได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าว ให้ประเทศแหล่งเงินได้เก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีหากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
7. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงาน การให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับการยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้
8. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติ และได้มีการประสานงานเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
9. การเริ่มใช้และเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามกระบวนการที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตนในอันที่จะให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และได้แจ้งให้ประเทศคู่สัญญาของตนทราบถึงการดำเนินการดังกล่าวแล้วผ่านทางช่องทางทางการทูต อนุสัญญาฯ จึงมีผลบังคับได้ ณ วันที่ได้รับการแจ้งครั้งหลัง โดยในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น จะใช้บังคับ กับเงินได้ที่จ่ายในหรือหลังจากวันที่ 1 ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น อนุสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี หรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่ 1 ของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ
ประโยชน์ของอนุสัญญาฯ
1. ช่วยขจัดหรือบรรเทาภาระภาษีซ้ำซ้อนอันเป็นอุปสรรคของการลงทุนระหว่างประเทศให้หมดไปในระดับหนึ่ง จึงทำให้ภาระภาษีซึ่งถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งของนักลงทุนลดต่ำลง
2. ทำให้เกิดหลักประกันในการเสียภาษีที่แน่นอนและชัดเจน ซึ่งเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนระหว่างประเทศ
3. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ได้มีการจำกัด เพดานอัตราภาษีสำหรับเงินปันผล ดอกเบี้ยและค่าสิทธิไว้ด้วย
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่การบินระหว่างประเทศ และลดอัตราภาษีลงครึ่งหนึ่งให้แก่การเดินเรือระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาฯ นี้ นอกจากจะเป็นการช่วย ส่งเสริมการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศ ยังเป็นการช่วยส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากต้นทุนของการขนส่งระหว่างประเทศจะลดต่ำลงในระดับหนึ่ง
5. ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุน ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ผู้ประกอบการ และช่วยกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตอีกทางหนึ่งด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-