นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิ GSP ในสินค้าโทรทัศน์ขนาดจอภาพ 14 นิ้วขึ้นไป ของไทยในวันที่ 1 ก.ค. 2546 ว่าตามระบบ GSP สหรัฐฯ สหรัฐฯจะตัดสิทธิ GSP เมื่อมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯในสินค้าใดจากประเทศใดประเทศหนี่งในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินเพดานที่กำหนด โดยในปี 2545 ได้กำหนดเพดานไว้เท่ากับ 105 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง สินค้าโทรทัศน์สีของไทยชนิด Non-high definition, single picture tube, non-projection type ที่มีขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 35.56 ซ.ม. และมีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.28) จะถูกตัดสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2546 เพราะส่งออกไปมีมูลค่าสูงถึง 177 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเกินเพดานที่กำหนดไว้
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯจะเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องเพื่อขอคืนสิทธิได้เป็นประจำทุกปี โดยทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล / เอกชน ผู้ส่งออก / ผู้นำเข้า ต่างก็สามารถยื่นคำร้องได้ ในกรณีนี้ กรม การค้าต่างประเทศได้สนับสนุนให้บริษัท JVC Americas Corp. ยื่นคำร้องเพื่อขอคืนสิทธิกรณียกเว้นเพดานการส่งออก (CNL Waiver) สำหรับสินค้าโทรทัศน์สีไทยในพิกัดนี้ไว้แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสหรัฐฯ และกรมการค้าต่างประเทศจะทำหนังสือสนับสนุนคำร้องของบริษัท JVC เพื่อยื่นต่อสหรัฐฯอีกด้วย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯได้จำแนกพิกัดโทรทัศน์สีอย่างละเอียดถึง 24 รายการ โดยในจำนวนนี้อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯเป็น Free ไปแล้วถึง 10 รายการ ส่วนที่เหลืออัตราภาษีนำเข้าจะอยู่ระหว่าง 3.9 — 5.0% แต่ยังมีสินค้าโทรทัศน์สีจำนวน 4 รายการที่ไทยยังคงได้รับสิทธิ GSP คือ
(1) โทรทัศน์สีชนิด Non-high definition, cathode-ray tube, projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.36)
(2) โทรทัศน์สีชนิด High definition, cathode-ray tube, non-projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.44)
(3) โทรทัศน์สีชนิด High definition, cathode-ray tube, projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.52)
(4) โทรทัศน์สี จอชนิดอื่นๆ พร้อมวีดีโอขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซ.ม. ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.80)
ทั้งนี้โทรทัศน์สีทั้ง 4 รายการ ยังมีการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯน้อยมาก ดังนั้นผู้ผลิต / ผู้ส่งออกจึงควรหันมาใช้สิทธิพิเศษที่ยังคงได้รับอยู่ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยโดยรวม
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2546--
-สส-
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯจะเปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องเพื่อขอคืนสิทธิได้เป็นประจำทุกปี โดยทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล / เอกชน ผู้ส่งออก / ผู้นำเข้า ต่างก็สามารถยื่นคำร้องได้ ในกรณีนี้ กรม การค้าต่างประเทศได้สนับสนุนให้บริษัท JVC Americas Corp. ยื่นคำร้องเพื่อขอคืนสิทธิกรณียกเว้นเพดานการส่งออก (CNL Waiver) สำหรับสินค้าโทรทัศน์สีไทยในพิกัดนี้ไว้แล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสหรัฐฯ และกรมการค้าต่างประเทศจะทำหนังสือสนับสนุนคำร้องของบริษัท JVC เพื่อยื่นต่อสหรัฐฯอีกด้วย
นายราเชนทร์ พจนสุนทร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สหรัฐฯได้จำแนกพิกัดโทรทัศน์สีอย่างละเอียดถึง 24 รายการ โดยในจำนวนนี้อัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯเป็น Free ไปแล้วถึง 10 รายการ ส่วนที่เหลืออัตราภาษีนำเข้าจะอยู่ระหว่าง 3.9 — 5.0% แต่ยังมีสินค้าโทรทัศน์สีจำนวน 4 รายการที่ไทยยังคงได้รับสิทธิ GSP คือ
(1) โทรทัศน์สีชนิด Non-high definition, cathode-ray tube, projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.36)
(2) โทรทัศน์สีชนิด High definition, cathode-ray tube, non-projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.44)
(3) โทรทัศน์สีชนิด High definition, cathode-ray tube, projection type ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.52)
(4) โทรทัศน์สี จอชนิดอื่นๆ พร้อมวีดีโอขนาดเส้นทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซ.ม. ที่มีเครื่องถอดเสียงหรือภาพประกอบร่วมอยู่ด้วย (พิกัด 8528.12.80)
ทั้งนี้โทรทัศน์สีทั้ง 4 รายการ ยังมีการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯน้อยมาก ดังนั้นผู้ผลิต / ผู้ส่งออกจึงควรหันมาใช้สิทธิพิเศษที่ยังคงได้รับอยู่ให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยโดยรวม
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2546--
-สส-