แท็ก
การส่งออก
ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยแคนาดาเป็นตลาดส่งออกปลาทูน่ากระป๋องที่สำคัญตลาดหนึ่งของไทย แม้ว่าในปี 2545 ไทยส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปแคนาดาเพียง 2,454 ล้านบาท หรือราวร้อยละ 10.2 ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรวมทั้งหมดของไทย แต่ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดปลาทูน่ากระป๋องในตลาดแคนาดาได้มากที่สุดถึงร้อยละ 82.14 ของทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ฟิลิปปินส์และฟิจิ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดปลาทูน่ากระป๋องในแคนาดาร้อยละ 11.78 และ 2.71 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปลาทูน่ากระป๋องของไทยได้รับความนิยมในตลาดแคนาดา เนื่องจากปลาทูน่ากระป๋องของไทยมีคุณภาพดีและราคาถูก สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดปลาทูน่ากระป๋องในแคนาดา สรุปได้ดังนี้
1. อัตราภาษี ปัจจุบันแคนาดาเรียกเก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในอัตราร้อยละ 3.5-4.5 ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาทูน่า อาทิ Skipjack Tuna เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 3.5 และ Atlantic Bonito Tuna เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 4.5 เป็นต้น
2. กฎระเบียบด้านการนำเข้า รัฐบาลแคนาดากำหนดให้ the Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง Agriculture and Agri-Food ของแคนาดา ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของปลาและผลิตภัณฑ์ปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่สำคัญ ได้แก่ the Fish Inspection Act 1985, the Fish Inspection Regulations 1978, Food and Drugs (F&D) Regulations และ the Consumer Packaging and Labelling (CP&L) Regulations ซึ่งมีข้อกำหนดที่สำคัญ อาทิ
การขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ผู้นำเข้าปลาและผลิตภัณฑ์ปลาต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจาก CFIA ก่อนการนำเข้า แบ่งเป็น
- ผู้นำเข้าทั่วไปต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตนำเข้าเป็นเงิน 500 ดอลลาร์แคนาดาต่อปี โดยใบอนุญาตนำเข้าแต่ละฉบับมีอายุ 12 เดือน
- ผู้นำเข้าที่เข้าร่วมโครงการ the Quality Management Program for Imports (QMPI) ซึ่งหมายถึงผู้นำเข้าที่มีระบบการจัดการด้านการนำเข้าที่ดีตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตนำเข้าเป็นเงิน 5,000 ดอลลาร์แคนาดาต่อปี (อายุ 12 เดือน) โดยสินค้าของผู้นำเข้าในกลุ่มนี้จะถูกตรวจสอบเพียงร้อยละ 15 ของทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่สินค้าของผู้นำเข้าทั่วไปต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนั้นยังได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบก่อนการนำเข้าอีกด้วย
ผู้นำเข้าที่เข้าร่วมโครงการ QMPI สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) Shared QMPI หมายถึง ผู้นำเข้าที่ได้มีการจัดทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้า ณ จุดแรกที่มีจำหน่ายสินค้า (First Point of Sale) เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและเรียกคืนสินค้า มีการเก็บรวบรวมคำร้องเรียนและแก้ไขปัญหาตามคำร้องเรียนที่ได้รับ ตลอดจนเก็บข้อมูลชื่อและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญที่ลงนามยืนยันว่าสินค้าดังกล่าวมีกระบวนการผลิต การขนส่ง และมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามมาตรฐานที่รัฐบาลแคนาดากำหนด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง
(2) Enhanced QMPI เป็นผู้นำเข้าที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากประเภทแรก คือ ต้องมีการประเมินระดับสารเคมีและการตรวจสอบเชิงวิทยาศาสตร์ในปลาทูน่ากระป๋องที่นำเข้า เช่น ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ ตามมาตรฐานที่รัฐบาลแคนาดากำหนด
การปฏิบัติตามกฎที่ดี (Good Compliance Processors) เพื่อลดปริมาณการตรวจสอบคุณภาพสินค้า รัฐบาลแคนาดาได้จัดทำระบบการปฏิบัติตามกฎที่ดีขึ้น โดยผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ต้องการเข้าร่วมต้องส่งเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ Regional Inspection Office ทราบว่าต้องการให้มีการบันทึกผลการตรวจสอบสินค้าเพื่อการจัดอันดับ โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเกรด “A” ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ส่งปลาทูน่ากระป๋องเข้าไปยังตลาดแคนาดาอย่างน้อย 30 ครั้ง ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
(2) ผลการตรวจสอบสินค้าปลาทูน่ากระป๋องในช่วง 10 ครั้ง ติดต่อกัน เป็นที่ยอมรับ (ยกเว้นมีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับฉลากสินค้า) ทั้งนี้ ปลาทูน่ากระป๋องของผู้ผลิตและผู้ส่งออกเกรด “A” จะถูกตรวจสอบเพียงร้อยละ 15 ของทั้งหมดเท่านั้น
การกำหนดมาตรฐานสินค้า (Standard Analyses) เช่น
- Packaging กำหนดให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และต้องปิดผนึกอย่างดีไม่ให้อากาศเข้าไปเจือปนได้
- Labelling กำหนดให้ระบุข้อความต่างๆ บนฉลากสินค้า เช่น ชนิดของปลา น้ำหนักสุทธิ (ระบบเมตริก) ส่วนผสม แหล่งกำเนิดสินค้า และให้ระบุวันหมดอายุของสินค้าด้วย โดยให้ระบุเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไป อย่างไรก็ตาม ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในแคนาดา สามารถระบุเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศสภาษาใดภาษาหนึ่งก็ได้
- Bacteria กำหนดให้ปลาที่นำเข้าต้องไม่มีเชื้อแบคทีเรียหรือสารพิษ (Substances Toxic) ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเจือปน
- Safety Parameters กำหนดให้ระบุข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น ต้องแช่แข็ง (Keep Frozen) หรือต้องผ่านการปรุงอาหารอย่างเหมาะสมก่อนการบริโภค ฯลฯ
- Chemical Contaminants กำหนดระดับสูงสุดของสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น Mercury (ไม่เกิน 0.5 ppm), Polychlorinated Biphenyls (ไม่เกิน 2 ppm) และ DDT (ไม่เกิน 5 ppm) เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2546--
-พห-
1. อัตราภาษี ปัจจุบันแคนาดาเรียกเก็บภาษีนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในอัตราร้อยละ 3.5-4.5 ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาทูน่า อาทิ Skipjack Tuna เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 3.5 และ Atlantic Bonito Tuna เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 4.5 เป็นต้น
2. กฎระเบียบด้านการนำเข้า รัฐบาลแคนาดากำหนดให้ the Canadian Food Inspection Agency (CFIA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวง Agriculture and Agri-Food ของแคนาดา ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของปลาและผลิตภัณฑ์ปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่สำคัญ ได้แก่ the Fish Inspection Act 1985, the Fish Inspection Regulations 1978, Food and Drugs (F&D) Regulations และ the Consumer Packaging and Labelling (CP&L) Regulations ซึ่งมีข้อกำหนดที่สำคัญ อาทิ
การขอใบอนุญาตนำเข้า (Import License) ผู้นำเข้าปลาและผลิตภัณฑ์ปลาต้องขอใบอนุญาตนำเข้าจาก CFIA ก่อนการนำเข้า แบ่งเป็น
- ผู้นำเข้าทั่วไปต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตนำเข้าเป็นเงิน 500 ดอลลาร์แคนาดาต่อปี โดยใบอนุญาตนำเข้าแต่ละฉบับมีอายุ 12 เดือน
- ผู้นำเข้าที่เข้าร่วมโครงการ the Quality Management Program for Imports (QMPI) ซึ่งหมายถึงผู้นำเข้าที่มีระบบการจัดการด้านการนำเข้าที่ดีตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตนำเข้าเป็นเงิน 5,000 ดอลลาร์แคนาดาต่อปี (อายุ 12 เดือน) โดยสินค้าของผู้นำเข้าในกลุ่มนี้จะถูกตรวจสอบเพียงร้อยละ 15 ของทั้งหมดเท่านั้น ขณะที่สินค้าของผู้นำเข้าทั่วไปต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด นอกจากนั้นยังได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบก่อนการนำเข้าอีกด้วย
ผู้นำเข้าที่เข้าร่วมโครงการ QMPI สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
(1) Shared QMPI หมายถึง ผู้นำเข้าที่ได้มีการจัดทำบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายสินค้า ณ จุดแรกที่มีจำหน่ายสินค้า (First Point of Sale) เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามและเรียกคืนสินค้า มีการเก็บรวบรวมคำร้องเรียนและแก้ไขปัญหาตามคำร้องเรียนที่ได้รับ ตลอดจนเก็บข้อมูลชื่อและที่อยู่ของเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญที่ลงนามยืนยันว่าสินค้าดังกล่าวมีกระบวนการผลิต การขนส่ง และมีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามมาตรฐานที่รัฐบาลแคนาดากำหนด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบภายหลัง
(2) Enhanced QMPI เป็นผู้นำเข้าที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากประเภทแรก คือ ต้องมีการประเมินระดับสารเคมีและการตรวจสอบเชิงวิทยาศาสตร์ในปลาทูน่ากระป๋องที่นำเข้า เช่น ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ ตามมาตรฐานที่รัฐบาลแคนาดากำหนด
การปฏิบัติตามกฎที่ดี (Good Compliance Processors) เพื่อลดปริมาณการตรวจสอบคุณภาพสินค้า รัฐบาลแคนาดาได้จัดทำระบบการปฏิบัติตามกฎที่ดีขึ้น โดยผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ต้องการเข้าร่วมต้องส่งเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้ Regional Inspection Office ทราบว่าต้องการให้มีการบันทึกผลการตรวจสอบสินค้าเพื่อการจัดอันดับ โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในเกรด “A” ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ส่งปลาทูน่ากระป๋องเข้าไปยังตลาดแคนาดาอย่างน้อย 30 ครั้ง ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา
(2) ผลการตรวจสอบสินค้าปลาทูน่ากระป๋องในช่วง 10 ครั้ง ติดต่อกัน เป็นที่ยอมรับ (ยกเว้นมีข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับฉลากสินค้า) ทั้งนี้ ปลาทูน่ากระป๋องของผู้ผลิตและผู้ส่งออกเกรด “A” จะถูกตรวจสอบเพียงร้อยละ 15 ของทั้งหมดเท่านั้น
การกำหนดมาตรฐานสินค้า (Standard Analyses) เช่น
- Packaging กำหนดให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และต้องปิดผนึกอย่างดีไม่ให้อากาศเข้าไปเจือปนได้
- Labelling กำหนดให้ระบุข้อความต่างๆ บนฉลากสินค้า เช่น ชนิดของปลา น้ำหนักสุทธิ (ระบบเมตริก) ส่วนผสม แหล่งกำเนิดสินค้า และให้ระบุวันหมดอายุของสินค้าด้วย โดยให้ระบุเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไป อย่างไรก็ตาม ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในแคนาดา สามารถระบุเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศสภาษาใดภาษาหนึ่งก็ได้
- Bacteria กำหนดให้ปลาที่นำเข้าต้องไม่มีเชื้อแบคทีเรียหรือสารพิษ (Substances Toxic) ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเจือปน
- Safety Parameters กำหนดให้ระบุข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เช่น ต้องแช่แข็ง (Keep Frozen) หรือต้องผ่านการปรุงอาหารอย่างเหมาะสมก่อนการบริโภค ฯลฯ
- Chemical Contaminants กำหนดระดับสูงสุดของสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น Mercury (ไม่เกิน 0.5 ppm), Polychlorinated Biphenyls (ไม่เกิน 2 ppm) และ DDT (ไม่เกิน 5 ppm) เป็นต้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2546--
-พห-