กระทรวงการคลังขอเรียนว่า บริษัท Japan Rating & Investment Information, Inc. (R&I) ได้ประกาศแถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2546 เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการจัดระดับเครดิต (Rating Committee) ได้ปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Long Term Credit Rating) จาก BBB เป็น BBB+ โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ a-2 ซึ่ง R&I ได้ให้เหตุผลของการปรับเพิ่มระดับเครดิตดังกล่าวข้างต้นโดยสรุป ดังนี้
1. การดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศภายใต้การบริหารของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างรวดเร็ว มีการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐที่สูงขึ้นมาก ระดับหนี้สาธารณะได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และระบบการเงินของประเทศที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ R&I เชื่อว่า การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้นและปัจจัยภายนอกจะมีผลน้อยลง อีกทั้งเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้มีการกู้เงินภายในประเทศและทำให้การก่อหนี้ต่างประเทศลดลง
2. R&I ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยควรดำเนินการขยายฐานภาษีเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสังคมที่เพิ่มขึ้น เช่น ระบบประกันทางสังคม ส่วนการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินของไทยถือว่าเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเอกชนให้กับภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทั้งนี้ R&I ได้ให้ข้อสังเกตว่า รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทย ซึ่งเท่ากับประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย เพราะขาดอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง (value-added) ดังนั้น ในระยะยาว การลงทุนจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศญี่ปุ่นจะไปกระจุกตัวที่ประเทศจีน หากไม่เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กระทรวงการคลังเห็นว่า การปรับระดับเครดิตโดย R&I ครั้งนี้จะทำให้นักลงทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้น อย่างไรก็ดี จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต้นทุนการกู้เงินในตลาดเงินทุนต่างประเทศ เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ดีกว่าระดับเครดิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2546 7 สิงหาคม 2546--
-รก-
1. การดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศภายใต้การบริหารของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างรวดเร็ว มีการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐที่สูงขึ้นมาก ระดับหนี้สาธารณะได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด และระบบการเงินของประเทศที่มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ R&I เชื่อว่า การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้นและปัจจัยภายนอกจะมีผลน้อยลง อีกทั้งเสถียรภาพทางการเมืองทำให้การดำเนินนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้มีการกู้เงินภายในประเทศและทำให้การก่อหนี้ต่างประเทศลดลง
2. R&I ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยควรดำเนินการขยายฐานภาษีเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านสังคมที่เพิ่มขึ้น เช่น ระบบประกันทางสังคม ส่วนการขจัดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระบบสถาบันการเงินของไทยถือว่าเกือบสมบูรณ์แล้ว แต่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเอกชนให้กับภาคธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร ทั้งนี้ R&I ได้ให้ข้อสังเกตว่า รายได้เฉลี่ยต่อหัวของไทย ซึ่งเท่ากับประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐ ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซีย เพราะขาดอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง (value-added) ดังนั้น ในระยะยาว การลงทุนจากต่างประเทศ เช่น จากประเทศญี่ปุ่นจะไปกระจุกตัวที่ประเทศจีน หากไม่เร่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
กระทรวงการคลังเห็นว่า การปรับระดับเครดิตโดย R&I ครั้งนี้จะทำให้นักลงทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในเครดิตของประเทศไทยสูงขึ้น อย่างไรก็ดี จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต้นทุนการกู้เงินในตลาดเงินทุนต่างประเทศ เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศไทยจะอยู่ในระดับที่ดีกว่าระดับเครดิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 63/2546 7 สิงหาคม 2546--
-รก-