ปัจจุบันแม้ว่าปริมาณส่งออกยางพาราของเวียดนามยังมีไม่มากนัก แต่เวียดนามนับเป็นคู่แข่งในการส่งออกยางพาราที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเวียดนามส่งออกยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากปริมาณส่งออก 1.9 แสนตันในปี 2539 เพิ่มเป็น 4.4 แสนตันในปี 2545
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนาม มีดังนี้
- ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนามที่มีมูลค่าส่งออกสูงเป็นอันดับต้นๆ รองจากข้าวและกาแฟ โดยคาดว่าเวียดนามจะมีศักยภาพสูงขึ้นในการขยายตลาดส่งออกยางพาราในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันเวียดนามกำลังเร่งทำการวิจัยและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการแปรรูปยางพาราให้ได้มาตรฐาน
- พื้นที่เพาะปลูกยางพาราของเวียดนามเกือบร้อยละ 90 เป็นสวนยางขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การเพาะปลูกและการแปรรูปยางพาราส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบรรษัทยางพาราแห่งเวียดนามซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามสามารถควบคุมการผลิตและการแปรรูปยางพาราได้ครบวงจรและเป็นปัจจัยเอื้อให้เวียดนามมีศักยภาพสูงในการรองรับคำสั่งซื้อปริมาณมากๆ ได้
- โรงงานแปรรูปยางขั้นต้นของเวียดนามซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 แห่ง ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เน้นการแปรรูปยางแท่งเป็นสำคัญ รองลงมา ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน และยางเครฟ ตามลำดับ
- ปัจจุบันการใช้ยางพาราของเวียดนามมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตรวมในประเทศ อุตสาหกรรมที่รองรับผลผลิตยางพาราที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อใช้ในครัวเรือนและการสาธารณสุข โดยเวียดนามมีเป้าหมายที่จะขยายปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศให้มีสัดส่วนร้อยละ 15 ของปริมาณการผลิตยางพาราทั้งหมด ด้วยการออกมาตรการเพื่อจูงใจให้บริษัทผลิตยางรถยนต์ในเวียดนามขยายการผลิตยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
- ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับ 6 ของโลก โดยมีปริมาณผลผลิตร้อยละ 4 ของปริมาณผลผลิตยางพารารวมของโลก
- ตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญของเวียดนามในปี 2545 ได้แก่ จีน (มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.9) สิงคโปร์ (ร้อยละ 14.3) ไต้หวัน (ร้อยละ 5.9) มาเลเซีย (ร้อยละ 5.8) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 5.4) ยางพาราที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแท่ง
- เวียดนามตั้งเป้ามูลค่าส่งออกยางพาราปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 โดยมีจีนเป็นเป้าหมายหลักในการขยายตลาดส่งออก โดยเฉพาะยางแท่ง และคาดว่าการส่งออกยางพาราไปจีนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกยางพารารวมของเวียดนาม
- อุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนามมีความได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิต อาทิ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ต้นทุนการบำรุงดินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เวียดนามมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานถูก ขณะเดียวกัน ทำเลที่ตั้งของเวียดนามอยู่ใกล้กับประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ของโลก ทั้งจีนและญี่ปุ่น ทำให้ค่าขนส่งอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา ด้วยการขยายพื้นที่ปลูกยางและปลูกยางพาราทดแทน รวมทั้งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดให้ครบวงจร ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเวียดนาม
- อุปสรรคสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการขยายตลาดส่งออกยางพาราของเวียดนามในปัจจุบัน ได้แก่ การผลิตยางพาราในเชิงพาณิชย์ของเวียดนามยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ และมีคุณภาพหรือรูปแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดส่งออกเท่าที่ควร
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2546--
-พห-
ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนาม มีดังนี้
- ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของเวียดนามที่มีมูลค่าส่งออกสูงเป็นอันดับต้นๆ รองจากข้าวและกาแฟ โดยคาดว่าเวียดนามจะมีศักยภาพสูงขึ้นในการขยายตลาดส่งออกยางพาราในอนาคต เนื่องจาก ปัจจุบันเวียดนามกำลังเร่งทำการวิจัยและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการแปรรูปยางพาราให้ได้มาตรฐาน
- พื้นที่เพาะปลูกยางพาราของเวียดนามเกือบร้อยละ 90 เป็นสวนยางขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การเพาะปลูกและการแปรรูปยางพาราส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบรรษัทยางพาราแห่งเวียดนามซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามสามารถควบคุมการผลิตและการแปรรูปยางพาราได้ครบวงจรและเป็นปัจจัยเอื้อให้เวียดนามมีศักยภาพสูงในการรองรับคำสั่งซื้อปริมาณมากๆ ได้
- โรงงานแปรรูปยางขั้นต้นของเวียดนามซึ่งมีอยู่ประมาณ 30 แห่ง ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 เน้นการแปรรูปยางแท่งเป็นสำคัญ รองลงมา ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน และยางเครฟ ตามลำดับ
- ปัจจุบันการใช้ยางพาราของเวียดนามมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตรวมในประเทศ อุตสาหกรรมที่รองรับผลผลิตยางพาราที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อใช้ในครัวเรือนและการสาธารณสุข โดยเวียดนามมีเป้าหมายที่จะขยายปริมาณการใช้ยางพาราในประเทศให้มีสัดส่วนร้อยละ 15 ของปริมาณการผลิตยางพาราทั้งหมด ด้วยการออกมาตรการเพื่อจูงใจให้บริษัทผลิตยางรถยนต์ในเวียดนามขยายการผลิตยางรถยนต์เพิ่มขึ้น
- ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับ 4 ของโลก รองจากไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย และเป็นผู้ผลิตยางพาราอันดับ 6 ของโลก โดยมีปริมาณผลผลิตร้อยละ 4 ของปริมาณผลผลิตยางพารารวมของโลก
- ตลาดส่งออกยางพาราที่สำคัญของเวียดนามในปี 2545 ได้แก่ จีน (มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.9) สิงคโปร์ (ร้อยละ 14.3) ไต้หวัน (ร้อยละ 5.9) มาเลเซีย (ร้อยละ 5.8) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 5.4) ยางพาราที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นยางแท่ง
- เวียดนามตั้งเป้ามูลค่าส่งออกยางพาราปี 2546 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 โดยมีจีนเป็นเป้าหมายหลักในการขยายตลาดส่งออก โดยเฉพาะยางแท่ง และคาดว่าการส่งออกยางพาราไปจีนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกยางพารารวมของเวียดนาม
- อุตสาหกรรมยางพาราของเวียดนามมีความได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิต อาทิ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทำให้ต้นทุนการบำรุงดินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เวียดนามมีแรงงานจำนวนมากและค่าจ้างแรงงานถูก ขณะเดียวกัน ทำเลที่ตั้งของเวียดนามอยู่ใกล้กับประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ของโลก ทั้งจีนและญี่ปุ่น ทำให้ค่าขนส่งอยู่ในระดับต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น เวียดนามมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา ด้วยการขยายพื้นที่ปลูกยางและปลูกยางพาราทดแทน รวมทั้งโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดให้ครบวงจร ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพาราและอุตสาหกรรมต่อเนื่องในเวียดนาม
- อุปสรรคสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการขยายตลาดส่งออกยางพาราของเวียดนามในปัจจุบัน ได้แก่ การผลิตยางพาราในเชิงพาณิชย์ของเวียดนามยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้สินค้าที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ และมีคุณภาพหรือรูปแบบไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดส่งออกเท่าที่ควร
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2546--
-พห-