กรุงเทพ--18 ส.ค.--กระทรวงต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ภายหลังเป็นประธานร่วมกับนาย Tyronne Fernando รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ศรีลังกา ครั้งที่ 2 (The 2nd Meeting of the Joint Commission between Thailand and Sri Lanka) ซึ่งมีขึ้นในระหว่างการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สรุปสาระได้ดังนี้
1. การประชุมฯ ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานการประชุม และเป็นการประชุมที่จัดขึ้นในระหว่างการเยือนศรีลังกาอย่างเป็น ทางการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยเป็นการพบปะเพื่อขยายผลการหารือของ นายกรัฐมนตรีของสองฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว
2. ที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- ด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหามาตรการเพิ่มพูนปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างกันตามเป้าหมาย 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน 5 ปี โดยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อพิจารณาหาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการที่ ศรีลังกาประสงค์จะให้ไทยช่วยเพิ่มโควต้าการนำเข้าชา นอกจากนี้ จะได้มีการเริ่มการเจรจาเพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรีไทย-ศรีลังกาด้วย
- ประมง ฝ่ายศรีลังกาจะร่วมมือใกล้ชิดในการทำประมงกับไทย โดยไทยจะให้การสนับสนุนด้านต่างๆ รวมทั้งลงทุนด้านอุตสาหกรรมแปรรูปในศรีลังกา ทั้งนี้ รัฐบาลไทยพร้อมจะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคเอกชนของไทยในการลงทุนด้านนี้ในศรีลังกาด้วย
- การท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายตกลงจะส่งเสริมความร่วมมือด้านนี้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการบินและด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยจะพิจารณาจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาร่วมกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาที่ใกล้ชิดกันมาเป็นเวลานาน กล่าวคือ พระสงฆ์ของแต่ละฝ่ายต่างก็มีบทบาทในการช่วยต่ออายุและสืบสายพุทธศาสนาให้กันและกัน จนปรากฏเป็นพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทย และลัทธิสยามวงศ์ในศรีลังกา
- ด้านวิชาการ รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือศรีลังกาในการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาประเทศ โดยจัดตั้งเป็นโครงการระยะเวลา 2 ปี (ค.ศ. 2003-2004) มูลค่า 3.4 ล้านบาท เช่น การให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรม การส่งเจ้าหน้าที่ไทยมาให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ศรีลังกาในการกู้กับระเบิด การมอบอุปกรณ์ด้านวิชาการและการศึกษา เป็นต้น
- ACD ฝ่ายศรีลังกาได้แสดงความชื่นชมต่อผลสำเร็จของ ACD และฝ่ายไทยได้สนับสนุนให้ฝ่ายศรีลังกาเข้าร่วมในคณะทำงานที่สนใจ หรือแม้แต่การเป็น prime mover ในสาขาที่มีความถนัดหรือสนใจด้วย
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงาน โดยการปิโตรเลียมของสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อขุดเจาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในศรีลังกา ส่วนความร่วมมือด้านการลงทุนนั้น ได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการลงทุน (Joint Investment Fund) โดยให้กระทรวงการคลังและ BOI ของสองฝ่ายร่วมกันหารือในรายละเอียดต่อไป อนึ่ง ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 ในปี 2547 และในระหว่างนี้ ให้คณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นพบปะเพื่อติดตามและขยายผลการหารืออย่างใกล้ชิดต่อไป
ในกรอบของ BIMST-EC ได้มีความเห็นร่วมกันว่าในโอกาสที่จะมีการประชุมสุดยอดในปี ค.ศ. 2004 ที่ประเทศไทย น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะมีการเชื่อมโยงทางกีฬา เช่น การจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน BIMST-EC เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ภายหลังเป็นประธานร่วมกับนาย Tyronne Fernando รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกา ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-ศรีลังกา ครั้งที่ 2 (The 2nd Meeting of the Joint Commission between Thailand and Sri Lanka) ซึ่งมีขึ้นในระหว่างการเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สรุปสาระได้ดังนี้
1. การประชุมฯ ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานการประชุม และเป็นการประชุมที่จัดขึ้นในระหว่างการเยือนศรีลังกาอย่างเป็น ทางการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยเป็นการพบปะเพื่อขยายผลการหารือของ นายกรัฐมนตรีของสองฝ่ายได้อย่างรวดเร็ว
2. ที่ประชุมได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- ด้านการค้า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหามาตรการเพิ่มพูนปริมาณและมูลค่าการค้าระหว่างกันตามเป้าหมาย 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใน 5 ปี โดยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อพิจารณาหาแนวทางลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะการที่ ศรีลังกาประสงค์จะให้ไทยช่วยเพิ่มโควต้าการนำเข้าชา นอกจากนี้ จะได้มีการเริ่มการเจรจาเพื่อจัดตั้ง เขตการค้าเสรีไทย-ศรีลังกาด้วย
- ประมง ฝ่ายศรีลังกาจะร่วมมือใกล้ชิดในการทำประมงกับไทย โดยไทยจะให้การสนับสนุนด้านต่างๆ รวมทั้งลงทุนด้านอุตสาหกรรมแปรรูปในศรีลังกา ทั้งนี้ รัฐบาลไทยพร้อมจะให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ภาคเอกชนของไทยในการลงทุนด้านนี้ในศรีลังกาด้วย
- การท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายตกลงจะส่งเสริมความร่วมมือด้านนี้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการบินและด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน โดยจะพิจารณาจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาร่วมกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาที่ใกล้ชิดกันมาเป็นเวลานาน กล่าวคือ พระสงฆ์ของแต่ละฝ่ายต่างก็มีบทบาทในการช่วยต่ออายุและสืบสายพุทธศาสนาให้กันและกัน จนปรากฏเป็นพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ในประเทศไทย และลัทธิสยามวงศ์ในศรีลังกา
- ด้านวิชาการ รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือศรีลังกาในการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนาประเทศ โดยจัดตั้งเป็นโครงการระยะเวลา 2 ปี (ค.ศ. 2003-2004) มูลค่า 3.4 ล้านบาท เช่น การให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรม การส่งเจ้าหน้าที่ไทยมาให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ศรีลังกาในการกู้กับระเบิด การมอบอุปกรณ์ด้านวิชาการและการศึกษา เป็นต้น
- ACD ฝ่ายศรีลังกาได้แสดงความชื่นชมต่อผลสำเร็จของ ACD และฝ่ายไทยได้สนับสนุนให้ฝ่ายศรีลังกาเข้าร่วมในคณะทำงานที่สนใจ หรือแม้แต่การเป็น prime mover ในสาขาที่มีความถนัดหรือสนใจด้วย
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงาน โดยการปิโตรเลียมของสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อขุดเจาะหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในศรีลังกา ส่วนความร่วมมือด้านการลงทุนนั้น ได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการลงทุน (Joint Investment Fund) โดยให้กระทรวงการคลังและ BOI ของสองฝ่ายร่วมกันหารือในรายละเอียดต่อไป อนึ่ง ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 ในปี 2547 และในระหว่างนี้ ให้คณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นพบปะเพื่อติดตามและขยายผลการหารืออย่างใกล้ชิดต่อไป
ในกรอบของ BIMST-EC ได้มีความเห็นร่วมกันว่าในโอกาสที่จะมีการประชุมสุดยอดในปี ค.ศ. 2004 ที่ประเทศไทย น่าจะเป็นโอกาสดีที่จะมีการเชื่อมโยงทางกีฬา เช่น การจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน BIMST-EC เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-