แท็ก
การส่งออก
ในเดือนกรกฎาคม เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวดี โดยได้รับปัจจัยเอื้อด้านอุปสงค์ทั้งจากในประเทศและ ต่างประเทศ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ส่วนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงจากเดือนก่อน การใช้จ่ายของภาครัฐบาลเร่งตัวขึ้นบ้าง ขณะที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวดีต่อเนื่อง และ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นกันตามอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก
ด้านการผลิต ผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักสูงขึ้นเพราะราคาสินค้าสูงขึ้น และภาคบริการมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน อัตราการเข้าพักโรงแรมและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้นมากและกลับมาอยู่ในระดับเกือบปกติแล้ว
เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานขยายตัวดี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาเกินดุลใกล้เคียงกับระดับปกติเพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นมาก และแม้ว่าดุลการชำระเงินจะขาดดุลแต่ก็เป็นผลจากการชำระคืนหนี้ IMF Package ก่อนกำหนดงวดสุดท้ายของ ธปท. ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับมั่นคง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2546 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอลงเล็กน้อยจาก ร้อยละ 11.3 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดวัสดุก่อสร้างและโรงกลั่นปิโตรเลียม ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้การผลิตลดลงในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งยังขยายตัวสูงตามอุปสงค์ที่มีอย่างต่อเนื่องทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าและหมวดอาหาร ก็ขยายตัวดีใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนการผลิตยาสูบที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้เป็นการทดแทนสต็อกที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในเดือนที่แล้ว อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65 ใกล้เคียงกับเดือนมิถุนายน
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานเพราะเดือนกรกฎาคมปีก่อนดัชนีการบริโภคภาคเอกชนสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การบริโภคสินค้าคงทน เช่น รถยนต์นั่ง ยังขยายตัวสูง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 15.2 ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่โน้มสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา โดยองค์ประกอบของดัชนีฯ ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเกือบทุกตัว ยกเว้นยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 16.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยภาษีทุกประเภทเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่หดตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากมีการโอนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2.7 พันล้านบาท แต่หากไม่นับการโอนดังกล่าว รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังแสดงการขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 16.8 ส่วนรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในเดือนนี้อัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 7.6 ดุลเงินสดขาดดุล 9.1 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลเงินในงบประมาณและนอกงบประมาณจำนวน 4.0 และ 5.1 พันล้านบาท ตามลำดับ
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่ความต้องการเพื่อส่งออกมีสูงต่อเนื่อง ส่วนราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.1 ส่วนหนึ่งเพราะราคาค่าเช่าบ้านยังคงลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 11.2 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 2.8 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 6,417 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 15.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและเป็นผลจากทั้งด้านปริมาณและราคา ส่วนมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 6,443 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 จากการเพิ่มขึ้นของทุกหมวดสินค้าเช่นกัน โดยเฉพาะ วัตถุดิบนำเข้าซึ่งบางส่วนจะถูกใช้ในการผลิตเพื่อเตรียมส่งออกในช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส อย่างไรก็ดี การนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าขาดดุล 26 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้ ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนๆ มาก โดยกลับมาเกินดุลที่ 476 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 450 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล 948 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการชำระหนี้ IMF Package งวดสุดท้ายของ ธปท. จำนวน 1,682 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2546 อยู่ที่ 37.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกรกฎาคม ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 1.7 และ 2.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนให้แก่ภาคธุรกิจตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่วนเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงที่ผ่านมา
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินลดลงมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.13 และ 1.03 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 41.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจาก 41.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเพราะ ธปท. ได้ผ่อนคลายระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ประกอบกับ sentiment ต่อดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-25 สิงหาคม 2546 อยู่ที่ 41.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนตัวลงในช่วงต้นเดือนจากเหตุระเบิดก่อการร้ายในกรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในระยะต่อมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ด้านการผลิต ผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักสูงขึ้นเพราะราคาสินค้าสูงขึ้น และภาคบริการมีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน อัตราการเข้าพักโรงแรมและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับตัวดีขึ้นมากและกลับมาอยู่ในระดับเกือบปกติแล้ว
เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ การจ้างงานขยายตัวดี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนกลับมาเกินดุลใกล้เคียงกับระดับปกติเพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นมาก และแม้ว่าดุลการชำระเงินจะขาดดุลแต่ก็เป็นผลจากการชำระคืนหนี้ IMF Package ก่อนกำหนดงวดสุดท้ายของ ธปท. ส่งผลให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงแต่ก็ยังอยู่ในระดับมั่นคง
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคม 2546 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.3 ชะลอลงเล็กน้อยจาก ร้อยละ 11.3 ในเดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว ได้แก่ การปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดวัสดุก่อสร้างและโรงกลั่นปิโตรเลียม ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้ส่งผลให้การผลิตลดลงในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งยังขยายตัวสูงตามอุปสงค์ที่มีอย่างต่อเนื่องทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ การผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยเฉพาะหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าและหมวดอาหาร ก็ขยายตัวดีใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่วนการผลิตยาสูบที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนนี้เป็นการทดแทนสต็อกที่ลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในเดือนที่แล้ว อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65 ใกล้เคียงกับเดือนมิถุนายน
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนกรกฎาคม ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 5.8 ในเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานเพราะเดือนกรกฎาคมปีก่อนดัชนีการบริโภคภาคเอกชนสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี การบริโภคสินค้าคงทน เช่น รถยนต์นั่ง ยังขยายตัวสูง และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 15.2 ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่โน้มสูงขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา โดยองค์ประกอบของดัชนีฯ ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเกือบทุกตัว ยกเว้นยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลขยายตัวร้อยละ 16.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยภาษีทุกประเภทเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่หดตัวร้อยละ 3.1 เนื่องจากมีการโอนรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากส่วนกลางให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2.7 พันล้านบาท แต่หากไม่นับการโอนดังกล่าว รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มก็ยังแสดงการขยายตัวในเกณฑ์สูงที่ร้อยละ 16.8 ส่วนรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยในเดือนนี้อัตราการเบิกจ่ายเท่ากับร้อยละ 7.6 ดุลเงินสดขาดดุล 9.1 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลเงินในงบประมาณและนอกงบประมาณจำนวน 4.0 และ 5.1 พันล้านบาท ตามลำดับ
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ของราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่ความต้องการเพื่อส่งออกมีสูงต่อเนื่อง ส่วนราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ตามราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.1 ส่วนหนึ่งเพราะราคาค่าเช่าบ้านยังคงลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด ทั้งนี้ หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 11.2 รองลงมาได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 และ 2.8 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกรกฎาคม มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 6,417 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 15.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและเป็นผลจากทั้งด้านปริมาณและราคา ส่วนมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 6,443 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 จากการเพิ่มขึ้นของทุกหมวดสินค้าเช่นกัน โดยเฉพาะ วัตถุดิบนำเข้าซึ่งบางส่วนจะถูกใช้ในการผลิตเพื่อเตรียมส่งออกในช่วงก่อนเทศกาลคริสต์มาส อย่างไรก็ดี การนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออกทำให้ดุลการค้าขาดดุล 26 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนนี้ ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนๆ มาก โดยกลับมาเกินดุลที่ 476 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพราะรายได้สุทธิจากการท่องเที่ยวเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 450 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินขาดดุล 948 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการชำระหนี้ IMF Package งวดสุดท้ายของ ธปท. จำนวน 1,682 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2546 อยู่ที่ 37.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ในเดือนกรกฎาคม ปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 1.7 และ 2.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเพราะการชะลอตัวของเงินฝากภาคเอกชน สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือครองหลักทรัพย์ภาคเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากระยะ เดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนให้แก่ภาคธุรกิจตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่วนเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 0.5 ชะลอตัวลงเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงที่ผ่านมา
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินลดลงมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.13 และ 1.03 ต่อปี ตามลำดับ
7. เงินบาท ค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 41.78 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อยจาก 41.65 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเพราะ ธปท. ได้ผ่อนคลายระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ประกอบกับ sentiment ต่อดอลลาร์ สรอ. ดีขึ้นจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น
สำหรับค่าเงินบาทเฉลี่ยในช่วงวันที่ 1-25 สิงหาคม 2546 อยู่ที่ 41.77 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนตัวลงในช่วงต้นเดือนจากเหตุระเบิดก่อการร้ายในกรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในระยะต่อมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเศรษฐกิจไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-