ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูร่วมกับกรมบังคับคดีเปิดประมูลสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้อีกครั้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ร่วมกับกรม
บังคับคดีเปิดประมูลสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้อีกครั้งของ 5 สถาบันการเงิน ได้แก่ บง.คาร์เธ่ย์ บง.เอ็มซีซี บง.นครหลวงเครดิต
บง.ไอทีเอฟ และ บง.สหวิริยา รวมมูลหนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 24-29 ก.ย.46 หลังจากที่ได้มีการขายสิทธิ
เรียกร้องในลูกหนี้ไปเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา (บ้านเมือง)
2. ธปท.ประกาศอนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืม การให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเรื่องการอนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืม และการให้ยืมหลัก
ทรัพย์ และการขายชอร์ต โดยกำหนดให้ ธพ.ต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งจัดทำแผนงานในการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของ
ธปท. รวมทั้งนโยบายในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการกำหนดวงเงินของคู่สัญญา การกำหนดระดับ
Margin ที่เหมาะสมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการประกอบธุรกรรมดังกล่าว ธปท.ไม่ได้กำหนดให้ ธพ.ต้องเรียกหลักประกัน แต่ให้ ธพ.
พิจารณาความเหมาะสม เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. รัฐบาลเชื่อมั่นเอสแอนด์พีและมูดี้ส์จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ไทยในเร็ว ๆ นี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษา
ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล เชื่อมั่นว่า ในเร็ว ๆ นี้ สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) และมูดี้ส์
อินเวสเตอร์ เซอร์วิส จะมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้กับไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากทั้ง 2 สถาบัน ใช้ตัวเลขเดียวกันกับฟิตช์
เรทติ้งส์ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟิตช์ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย
จาก BBB- เป็น BBB และเพิ่มอันดับความน่าเชื่อตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทเป็น A- จาก BBB+ เนื่องจากการลดลงของหนี้
ต่างประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของเศรษฐกิจรวมทั้งความแข็งแกร่งด้านการคลังของรัฐบาล (โพสต์ทูเดย์)
4. กรมสรรพากรมีแนวคิดปรับเพิ่มประมาณการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 47 เพิ่มอีกร้อยละ 10 แหล่งข่าวจากกรม
สรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีแนวคิดที่จะปรับเพิ่มประมาณการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 47 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 จาก
เดิมที่กำหนดไว้ 608,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยอดจัดเก็บภาษีในปีงบ
ประมาณ 46 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้าจำนวนมาก และในปีงบประมาณ 47 นี้ กรมสรรพากรจะปรับประบบการทำงานครั้งใหญ่อีก
ครั้ง ทำให้มั่นใจว่าการจัดเก็บรายได้จะสูงกว่าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน (บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
5. สศช.เห็บชอบแผนการกู้เงินต่างประเทศในระยะ 3 ปีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงิน 2,267 ล้านดอลลาร์ สรอ.
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบแผนการกู้เงินต่างประเทศ
ในระยะ 3 ปี (2548-2550) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงินรวม 2,267 ล้านดอลลาร์ สรอ. (9.6 หมื่นล้านบาท)
โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติรวม 18 โครงการ 7,308 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 299,658 ล้านบาท ซึ่ง สศช. จะนำแผนการกู้
เงินที่อนุมัติดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ เพื่อพิจารณาและรายงาน ครม.อีกครั้ง (เดลินิวส์)
6. ธสน.อยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยไพร์มเรทให้ต่ำกว่าร้อยละ 6 กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่ง
ออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยไพร์มเรตลงอีก จากปัจจุบันอยู่ที่
ร้อยละ 6 ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ต้องรอดูว่าต้นทุนทางการเงินของธนาคารในช่วงเดือน ส.ค.46 ปรับลดลงระดับไหน โดยธนาคารตั้ง
เป้าที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้ลงอย่างน้อยร้อยละ 0.1 รวมทั้งธนาคารมีแผนที่จะลดดอกเบี้ยไพร์มเรตให้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าราย
ใหญ่ชั้นดี (MLR) ของ ธพ. (บ้านเมือง, โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กล่าวว่าญี่ปุ่นต้องดำเนินมาตรการที่มากกว่านี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 5 ก.ย.46 IMF
คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 2 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปี 45 ซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 0.2 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5
ในปี 47 แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้เสียของภาคธุรกิจและภาคการเงิน และภาวะราคาสินค้า
ตกต่ำหรือภาวะเงินฝืดต่อเนื่องกันมาประมาณ 4 ปีและยังไม่มีสัญญาณว่าจะยุติลงเมื่อใด โดย IMF คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะ
ลดลงร้อยละ 0.3 ในขณะที่อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ IMF กระตุ้นให้รัฐบาลใช้
นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างภาคธุรกิจซึ่งมีปัญหาหนี้สินและภาคการเงินซึ่งมีปัญหาหนี้เสียจากภาคธุรกิจ โดย
การให้คำมั่นว่าจะยุติภาวะเงินฝืดภายในเวลาที่กำหนดและรับซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงิน และกล่าวว่ารัฐบาลอาจต้องเพิ่มทุนใน
สถาบันการเงินหากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับเสถียรภาพสถาบันการเงินซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งรัฐบาลต้องบริหารหนี้เหล่านี้ให้ดี
โดยหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยระยะยาว (รอยเตอร์)
2. การให้สินเชื่อในระบบ ธพ. ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน ส.ค. 46 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 ก.ย. 46 ธ.กลาง
ของญี่ปุ่นรายงานว่า การให้สินเชื่อในระบบ ธพ.ของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 68 ติดต่อกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
ญี่ปุ่นยังคงเงียบเหงาแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์และเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในเดือน ส.ค. 46 การให้สิน
เชื่อฯ ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบต่อปี จำนวนสินเชื่อโดยรวมของระบบธนาคาร 3 ประเภทหลักรวมทั้ง “City” banks” ยัง
คงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 399.41 ล้านล้านเยน (3,393 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ในขณะที่สินเชื่อทั้งระบบรวมสหกรณ์ (Shinkin
banks) มีมูลค่าสินเชื่อลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 461.36 ล้านล้านเยน อย่างไรก็ตาม ธพ. ส่วนใหญ่กำลังพยายามปรับปรุง
ประสิทธิภาพการทำงานแต่ยังคงปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ขณะที่ผู้กู้ก็พยายามปลดภาระหนี้ของตนลงมากกว่าจะขยายธุรกิจขึ้น
ทั้งนี้ ธ.กลางของญี่ปุ่นได้เคยผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศมาแล้วเมื่อสองสามปีที่ผ่านมาโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มอุปสงค์
และลดแรงกดดันด้านเงินฝืด แต่ดูเหมือนนโยบายดังกล่าวจะเห็นผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (รอยเตอร์)
3. จีดีพีเขตเศรษฐกิจยุโรป (ยูโรโซน) อาจจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 2 ปี 46 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 6
ก.ย. 46 สำนักงานสถิติแห่งชาติของกลุ่มยูโรคาดการณ์เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 46 ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2
ปี 46 (เม.ย.-มิ.ย. 46) อาจจะชะลอตัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพราะหลังจากที่ทางการฝรั่งเศสประกาศตัวเลข
เศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 46 ว่าหดตัวลงร้อยละ 0.3 จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0 ตัวเลขดังกล่าว
สร้างความผิดหวังให้กับตลาดเป็นอย่างมากจนถึงกับจะมีการทบทวนตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่จาก
เดิมประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0 เป็นลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ตัวเลขอย่างเป็นทางการจะประกาศในวันอังคารนี้ (รอย
เตอร์)
4. รมว. เศรษฐกิจเยอรมนีเชื่อว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2 ในปี 47 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 7
ก.ย. 46 รมว. เศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า เขามั่นใจว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตถึงร้อยละ 2 แม้ว่าจะมีการคาด
การณ์กันว่าในปี 47 เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เขาคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 2 เนื่องจากใน
ปีหน้าจะมีวันทำงานมากขึ้นประกอบกับรัฐบาลมีแผนที่จะนำการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ในปีหน้าคาดว่าจะกระตุ้นให้
เศรษฐกิจขยายตัวรวมทั้งผลจากการปฏิรูปตลาดแรงงาน แต่นักเศรษฐศาสตร์อิสระเห็นว่า การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี
47 ที่ว่าจะเติบโตร้อยละ 2.0 ไม่สมเหตุสมผล และคาดว่าในปี 47 รัฐบาลเยอรมนี จะขาดดุลงบประมาณถึงเกือบร้อยละ 4.0 ซึ่ง
ที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมนีไม่อาจจำกัดการขาดดุลงบประมาณให้เป็นไปตามกฎของยูโรติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ทั้งนี้ในปี 46 เยอรมนี
ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตลอดโดยในไตรมาสที่ 2 ปี46 เศรษฐกิจขยายตัว
เพียงร้อยละ 0.1 หลังจากที่หดตัวถึงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8/9/46 5/9/46 27/12/45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.82 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6662/40.9618 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.25 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 557.81/29.34 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,150/7,250 7,150/7,250 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.75 25.49 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับราคา เมื่อ 6 ก.ย. 46 16.69*/13.79* 16.99*/13.99* 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กองทุนฟื้นฟูร่วมกับกรมบังคับคดีเปิดประมูลสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้อีกครั้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ร่วมกับกรม
บังคับคดีเปิดประมูลสิทธิเรียกร้องในลูกหนี้อีกครั้งของ 5 สถาบันการเงิน ได้แก่ บง.คาร์เธ่ย์ บง.เอ็มซีซี บง.นครหลวงเครดิต
บง.ไอทีเอฟ และ บง.สหวิริยา รวมมูลหนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ในระหว่างวันที่ 24-29 ก.ย.46 หลังจากที่ได้มีการขายสิทธิ
เรียกร้องในลูกหนี้ไปเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา (บ้านเมือง)
2. ธปท.ประกาศอนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการยืม การให้ยืมหลักทรัพย์ และการขายชอร์ต ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเรื่องการอนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืม และการให้ยืมหลัก
ทรัพย์ และการขายชอร์ต โดยกำหนดให้ ธพ.ต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งจัดทำแผนงานในการประกอบธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของ
ธปท. รวมทั้งนโยบายในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการกำหนดวงเงินของคู่สัญญา การกำหนดระดับ
Margin ที่เหมาะสมด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากการประกอบธุรกรรมดังกล่าว ธปท.ไม่ได้กำหนดให้ ธพ.ต้องเรียกหลักประกัน แต่ให้ ธพ.
พิจารณาความเหมาะสม เนื่องจากมีความเสี่ยงด้านเครดิต ด้านตลาด และด้านปฏิบัติการ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. รัฐบาลเชื่อมั่นเอสแอนด์พีและมูดี้ส์จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้ไทยในเร็ว ๆ นี้ นายวีรพงษ์ รามางกูร ที่ปรึกษา
ด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล เชื่อมั่นว่า ในเร็ว ๆ นี้ สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์ (เอสแอนด์พี) และมูดี้ส์
อินเวสเตอร์ เซอร์วิส จะมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือให้กับไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากทั้ง 2 สถาบัน ใช้ตัวเลขเดียวกันกับฟิตช์
เรทติ้งส์ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฟิตช์ประกาศปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของไทย
จาก BBB- เป็น BBB และเพิ่มอันดับความน่าเชื่อตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทเป็น A- จาก BBB+ เนื่องจากการลดลงของหนี้
ต่างประเทศในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของเศรษฐกิจรวมทั้งความแข็งแกร่งด้านการคลังของรัฐบาล (โพสต์ทูเดย์)
4. กรมสรรพากรมีแนวคิดปรับเพิ่มประมาณการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 47 เพิ่มอีกร้อยละ 10 แหล่งข่าวจากกรม
สรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรมีแนวคิดที่จะปรับเพิ่มประมาณการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 47 เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 จาก
เดิมที่กำหนดไว้ 608,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับยอดจัดเก็บภาษีในปีงบ
ประมาณ 46 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้าจำนวนมาก และในปีงบประมาณ 47 นี้ กรมสรรพากรจะปรับประบบการทำงานครั้งใหญ่อีก
ครั้ง ทำให้มั่นใจว่าการจัดเก็บรายได้จะสูงกว่าที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน (บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
5. สศช.เห็บชอบแผนการกู้เงินต่างประเทศในระยะ 3 ปีของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงิน 2,267 ล้านดอลลาร์ สรอ.
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบแผนการกู้เงินต่างประเทศ
ในระยะ 3 ปี (2548-2550) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จำนวนเงินรวม 2,267 ล้านดอลลาร์ สรอ. (9.6 หมื่นล้านบาท)
โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติรวม 18 โครงการ 7,308 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 299,658 ล้านบาท ซึ่ง สศช. จะนำแผนการกู้
เงินที่อนุมัติดังกล่าวเสนอให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ เพื่อพิจารณาและรายงาน ครม.อีกครั้ง (เดลินิวส์)
6. ธสน.อยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยไพร์มเรทให้ต่ำกว่าร้อยละ 6 กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่ง
ออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยไพร์มเรตลงอีก จากปัจจุบันอยู่ที่
ร้อยละ 6 ซึ่งการปรับลดครั้งนี้ต้องรอดูว่าต้นทุนทางการเงินของธนาคารในช่วงเดือน ส.ค.46 ปรับลดลงระดับไหน โดยธนาคารตั้ง
เป้าที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้ลงอย่างน้อยร้อยละ 0.1 รวมทั้งธนาคารมีแผนที่จะลดดอกเบี้ยไพร์มเรตให้เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าราย
ใหญ่ชั้นดี (MLR) ของ ธพ. (บ้านเมือง, โลกวันนี้, สยามรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF กล่าวว่าญี่ปุ่นต้องดำเนินมาตรการที่มากกว่านี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 5 ก.ย.46 IMF
คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวร้อยละ 2 ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากปี 45 ซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 0.2 และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5
ในปี 47 แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้เสียของภาคธุรกิจและภาคการเงิน และภาวะราคาสินค้า
ตกต่ำหรือภาวะเงินฝืดต่อเนื่องกันมาประมาณ 4 ปีและยังไม่มีสัญญาณว่าจะยุติลงเมื่อใด โดย IMF คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในปีนี้จะ
ลดลงร้อยละ 0.3 ในขณะที่อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ IMF กระตุ้นให้รัฐบาลใช้
นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างภาคธุรกิจซึ่งมีปัญหาหนี้สินและภาคการเงินซึ่งมีปัญหาหนี้เสียจากภาคธุรกิจ โดย
การให้คำมั่นว่าจะยุติภาวะเงินฝืดภายในเวลาที่กำหนดและรับซื้อหนี้เสียจากสถาบันการเงิน และกล่าวว่ารัฐบาลอาจต้องเพิ่มทุนใน
สถาบันการเงินหากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับเสถียรภาพสถาบันการเงินซึ่งจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นซึ่งรัฐบาลต้องบริหารหนี้เหล่านี้ให้ดี
โดยหลีกเลี่ยงการขึ้นดอกเบี้ยระยะยาว (รอยเตอร์)
2. การให้สินเชื่อในระบบ ธพ. ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน ส.ค. 46 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 8 ก.ย. 46 ธ.กลาง
ของญี่ปุ่นรายงานว่า การให้สินเชื่อในระบบ ธพ.ของญี่ปุ่นลดลงเป็นเดือนที่ 68 ติดต่อกัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
ญี่ปุ่นยังคงเงียบเหงาแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์และเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจหลายตัวมีแนวโน้มดีขึ้น โดยในเดือน ส.ค. 46 การให้สิน
เชื่อฯ ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบต่อปี จำนวนสินเชื่อโดยรวมของระบบธนาคาร 3 ประเภทหลักรวมทั้ง “City” banks” ยัง
คงทรงตัวอยู่ที่ระดับ 399.41 ล้านล้านเยน (3,393 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ในขณะที่สินเชื่อทั้งระบบรวมสหกรณ์ (Shinkin
banks) มีมูลค่าสินเชื่อลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 461.36 ล้านล้านเยน อย่างไรก็ตาม ธพ. ส่วนใหญ่กำลังพยายามปรับปรุง
ประสิทธิภาพการทำงานแต่ยังคงปล่อยสินเชื่ออย่างระมัดระวัง ขณะที่ผู้กู้ก็พยายามปลดภาระหนี้ของตนลงมากกว่าจะขยายธุรกิจขึ้น
ทั้งนี้ ธ.กลางของญี่ปุ่นได้เคยผ่อนคลายนโยบายการเงินของประเทศมาแล้วเมื่อสองสามปีที่ผ่านมาโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มอุปสงค์
และลดแรงกดดันด้านเงินฝืด แต่ดูเหมือนนโยบายดังกล่าวจะเห็นผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (รอยเตอร์)
3. จีดีพีเขตเศรษฐกิจยุโรป (ยูโรโซน) อาจจะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 2 ปี 46 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 6
ก.ย. 46 สำนักงานสถิติแห่งชาติของกลุ่มยูโรคาดการณ์เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 46 ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2
ปี 46 (เม.ย.-มิ.ย. 46) อาจจะชะลอตัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพราะหลังจากที่ทางการฝรั่งเศสประกาศตัวเลข
เศรษฐกิจของประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 46 ว่าหดตัวลงร้อยละ 0.3 จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0 ตัวเลขดังกล่าว
สร้างความผิดหวังให้กับตลาดเป็นอย่างมากจนถึงกับจะมีการทบทวนตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปที่จาก
เดิมประมาณการไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0 เป็นลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ตัวเลขอย่างเป็นทางการจะประกาศในวันอังคารนี้ (รอย
เตอร์)
4. รมว. เศรษฐกิจเยอรมนีเชื่อว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2 ในปี 47 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 7
ก.ย. 46 รมว. เศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า เขามั่นใจว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 47 จะเติบโตถึงร้อยละ 2 แม้ว่าจะมีการคาด
การณ์กันว่าในปี 47 เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เขาคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวและจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 2 เนื่องจากใน
ปีหน้าจะมีวันทำงานมากขึ้นประกอบกับรัฐบาลมีแผนที่จะนำการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้ในปีหน้าคาดว่าจะกระตุ้นให้
เศรษฐกิจขยายตัวรวมทั้งผลจากการปฏิรูปตลาดแรงงาน แต่นักเศรษฐศาสตร์อิสระเห็นว่า การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี
47 ที่ว่าจะเติบโตร้อยละ 2.0 ไม่สมเหตุสมผล และคาดว่าในปี 47 รัฐบาลเยอรมนี จะขาดดุลงบประมาณถึงเกือบร้อยละ 4.0 ซึ่ง
ที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมนีไม่อาจจำกัดการขาดดุลงบประมาณให้เป็นไปตามกฎของยูโรติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ทั้งนี้ในปี 46 เยอรมนี
ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยมาตลอดโดยในไตรมาสที่ 2 ปี46 เศรษฐกิจขยายตัว
เพียงร้อยละ 0.1 หลังจากที่หดตัวถึงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8/9/46 5/9/46 27/12/45 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.82 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6662/40.9618 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.25 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 557.81/29.34 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,150/7,250 7,150/7,250 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.75 25.49 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับราคา เมื่อ 6 ก.ย. 46 16.69*/13.79* 16.99*/13.99* 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-