จากการที่ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท ทักษิณ ชิณวัตร ได้พูดไว้ในรายการ ‘นายกทักษิณ พบประชาชน’ เมื่อวันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2546 ทำให้เห็นว่า วันที่1 ตุลาคม 2546 รัฐบาล เตรียมการอัดเงินสู่ระดับรากหญ้า ผ่านโครงการ แปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นเงินอีกนับแสนล้านบาทในปี 2547 หนึ่งปีก่อนการเลือกตั้ง เม็ดเงินก้อนแรกจะทดลองในโครงการนำร่องก่อน 8 จังหวัด ในวันที่ 1 พฤษจิกายนนี้ การอัดเม็ดเงินลงไปสู่ระดับรากหญ้าก้อนใหม่นี้ ดูผิวเผินแล้ว ทำให้การจับจ่ายใช้สอยดีขึ้น แต่ในระยะยาวน่าเป็นห่วงและอันตรายยิ่งต่อวงจรเศรษฐกิจ
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้เฝ้าติดตาม ภาพรวมทางเศรษฐกิจในขณะนี้ซึ่ง จากการวิเคราะห์ พบว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งหว่านเงินลงสู่ระดับรากหญ้า ผ่านโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งจะเริ่มมีเม็ดเงินลงไปเต็มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ประมาณ 3 — 6 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบกลางอีก 53,000 ล้านบาท ที่นายกฯ ทักษิณ มีอำนาจตัดสินใจแต่ผู้เดียวหรือการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดย รัฐบาล ได้ทำการแก้กฎหมาย เปลี่ยนทรัพย์แผ่นดิน ไม่ว่า จะเป็น ที่ดิน ส.ป.ก สิทธิการเช่าในวนอุยาน แม้แผงลอยริมถนน แจกเป็นหลักทรัพย์ให้สามารถค้ำเงินกู้ได้ ‘ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเพียงการปั่นตัวเลข GDP ของประเทศ ตามที่นายกฯได้เคยตั้งเป้าไว้ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะโตถึง 8% หากทำได้ก็จะเป็นเพียงเศรษฐกิจลวงตา และจะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตไม่ไกลนี้’ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
จากการศึกษาพบว่า โครงการต่างๆ ในรอบ 2ปี ที่ผ่านมา เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีเม็ดเงินที่เป็นภาระหนี้ของชาวบ้านไปแล้วประมาณ 74,000 ล้านบาท โครงการใหม่นี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนครัวเรือนไทยที่เป็นหนี้มากขึ้นและเป็นการขยาวงให้ครัวเรือนไทยเป็นหนี้ทับซ้อนจากหลายแหล่งเงินกู้จะเห็นได้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ใน 1 ครัวเรือนไทยมีหนี้ทับซ้อนจากหลายแหล่งเงินกู้ คือ ผู้กู้กองทุนหมู่บ้าน ยังมีหนี้ที่กู้จากแหล่งอื่นเพิ่มอีก 43.4% ซึ่งแยกเป็น กู้จาก ธกส. 24% จากญาติหรือเพื่อน 14.5% จากกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน 7.7% จากนายทุน 7.1% และจากธนาคารออมสิน 8.4% และยังพบว่าผู้ที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีหนี้ก่อนแล้วถึง 69% จากข้อมูลดังกล่าวตนคิดว่า รัฐบาลอาจจะอ้างว่านโยบายกองทุนหมู่บ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้คนจนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ในระยะยาวแล้วคือการสร้างพันธนาการหนี้ให้กับเกษตรกรมากขึ้นกว่าเดิม
พันธนาการหนี้จากโครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 มีนาคม 2547 พบว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ก้อนหนี้ยังอยู่กับเกษตรกรเหมือนเดิม ดูจากตัวเลขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.46 พบว่าเกษตรกรทั่วประเทศยังมีหนี้อยู่จำนวน 82,887 ล้านบาท ‘มีคำถามว่า2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไม่ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ย แล้วเกษตรกรนำเงินไปใช้อะไร จากการศึกษาของสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบว่า เกษตรกรถึง 99.7% นำเงินไปใช้ในการบริโภคฟุ่มเฟือยไม่ก่อให้เกิดผลผลิต จากการวิเคราะห์พบว่า เกษตรกรนำเงินไปใช้จ่ายค่าโทรศัพท์และอุปกรณ์คิดเป็นครัวเรือนละ 3,396 บาท / ปี ซึ่งหากรวมจำนวนครัวเรือนของเกษตรกรทั่วประเทศที่มี 4,130,904 ครัวเรือนแล้ว จะคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการสื่อสารทั้งหมด 13,863,313,824 บาท จะเห็นว่าเงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน จะตกอยู่กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจการดังกล่าว’ นายองอาจกล่าว
นายองอาจกล่าวว่า จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ เน้นงบในเชิงสังเคราะห์มากกว่างบลงทุนจากภาครัฐอย่างแท้จริง เพราะกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการหมุนเงินงบประมาณผ่านระบบเพื่อกระตุ้น GDP ของประเทศเท่านั้น เศรษฐกิจของประเทศจึงไม่ได้โตจากพื้นฐานอย่างแท้จริง ดูได้จากงบลงทุนในโครงการต่างๆของรัฐบาลมีจำนวนน้อยมาก หรือการบริโภคที่เกิดจากรายได้จากภาคการผลิตที่แท้จริงก็มีน้อยมาก เศรษฐกิจที่ว่าดีในขณะนี้ก็เกิดขึ้นจากการปล่อยเงินกู้ของรัฐบาล เพียงเพื่อต้องการสร้างภาพกระตุ้นตัวเลข GDP โดยไม่สนใจว่า สิ่งที่รัฐบาลยื่นไปนั้น กำลังจะเป็นการที่ก่อหนี้ผูกพันกับประชาชนอย่างไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ทางรัฐบาลจะเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ด้วยการเซ็นข้อตกลงกับสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ และจะปล่อยกู้โดยใช้ ส.ป.ก. 4-01เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน นำร่องวันที่1พฤศจิกายนนี้ 8 จังหวัดที่ สุโขทัย แพร่ มหาสารคาม สกลนคร ระยอง ราชบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ประมาณ 184,329 ไร่ ส่วนปี 2547 ธ.ก.ส.เตรียมให้กู้โดยใช้ ส.ป.ก.4-01 เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันประมาณ 10 ล้านไร่
ขณะที่การสร้างหนี้ที่ผ่านมาทางราชการสำรวจพบเอาว่าเกษตรกรส่วนใหญ่นำเงินที่กู้ไปใช้บริโภคฟุ่มเฟือย มากกว่าที่จะนำไปก่อให้เกิดรายได้จากการผลิต และยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้แต่อย่างใด รัฐบาลก็กำลังจะสร้างหนี้ใหม่ให้ชาวบ้านเพิ่มขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างเครื่องพันธนาการให้ชีวิตของชาวบ้าน เกษตรกรจมปลักอยู่ในวังวนของหนี้สินอย่างน่ากลัว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 28/9/2546--จบ--
-สส-
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคได้เฝ้าติดตาม ภาพรวมทางเศรษฐกิจในขณะนี้ซึ่ง จากการวิเคราะห์ พบว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังเร่งหว่านเงินลงสู่ระดับรากหญ้า ผ่านโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งจะเริ่มมีเม็ดเงินลงไปเต็มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 ประมาณ 3 — 6 แสนล้านบาท นอกจากนี้ยังมีงบกลางอีก 53,000 ล้านบาท ที่นายกฯ ทักษิณ มีอำนาจตัดสินใจแต่ผู้เดียวหรือการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดย รัฐบาล ได้ทำการแก้กฎหมาย เปลี่ยนทรัพย์แผ่นดิน ไม่ว่า จะเป็น ที่ดิน ส.ป.ก สิทธิการเช่าในวนอุยาน แม้แผงลอยริมถนน แจกเป็นหลักทรัพย์ให้สามารถค้ำเงินกู้ได้ ‘ทั้งหมดนี้ อาจเป็นเพียงการปั่นตัวเลข GDP ของประเทศ ตามที่นายกฯได้เคยตั้งเป้าไว้ว่า เศรษฐกิจของประเทศจะโตถึง 8% หากทำได้ก็จะเป็นเพียงเศรษฐกิจลวงตา และจะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตไม่ไกลนี้’ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
จากการศึกษาพบว่า โครงการต่างๆ ในรอบ 2ปี ที่ผ่านมา เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีเม็ดเงินที่เป็นภาระหนี้ของชาวบ้านไปแล้วประมาณ 74,000 ล้านบาท โครงการใหม่นี้จะเป็นการเพิ่มจำนวนครัวเรือนไทยที่เป็นหนี้มากขึ้นและเป็นการขยาวงให้ครัวเรือนไทยเป็นหนี้ทับซ้อนจากหลายแหล่งเงินกู้จะเห็นได้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ใน 1 ครัวเรือนไทยมีหนี้ทับซ้อนจากหลายแหล่งเงินกู้ คือ ผู้กู้กองทุนหมู่บ้าน ยังมีหนี้ที่กู้จากแหล่งอื่นเพิ่มอีก 43.4% ซึ่งแยกเป็น กู้จาก ธกส. 24% จากญาติหรือเพื่อน 14.5% จากกลุ่มออมทรัพย์ในหมู่บ้าน 7.7% จากนายทุน 7.1% และจากธนาคารออมสิน 8.4% และยังพบว่าผู้ที่กู้เงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีหนี้ก่อนแล้วถึง 69% จากข้อมูลดังกล่าวตนคิดว่า รัฐบาลอาจจะอ้างว่านโยบายกองทุนหมู่บ้าน เป็นการเปิดโอกาสให้คนจนเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ในระยะยาวแล้วคือการสร้างพันธนาการหนี้ให้กับเกษตรกรมากขึ้นกว่าเดิม
พันธนาการหนี้จากโครงการพักหนี้เกษตรกร ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 31 มีนาคม 2547 พบว่าตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ก้อนหนี้ยังอยู่กับเกษตรกรเหมือนเดิม ดูจากตัวเลขของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.46 พบว่าเกษตรกรทั่วประเทศยังมีหนี้อยู่จำนวน 82,887 ล้านบาท ‘มีคำถามว่า2 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไม่ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ย แล้วเกษตรกรนำเงินไปใช้อะไร จากการศึกษาของสำนักงานสถิติแห่งชาติก็พบว่า เกษตรกรถึง 99.7% นำเงินไปใช้ในการบริโภคฟุ่มเฟือยไม่ก่อให้เกิดผลผลิต จากการวิเคราะห์พบว่า เกษตรกรนำเงินไปใช้จ่ายค่าโทรศัพท์และอุปกรณ์คิดเป็นครัวเรือนละ 3,396 บาท / ปี ซึ่งหากรวมจำนวนครัวเรือนของเกษตรกรทั่วประเทศที่มี 4,130,904 ครัวเรือนแล้ว จะคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการสื่อสารทั้งหมด 13,863,313,824 บาท จะเห็นว่าเงินงบประมาณจากภาษีของประชาชน จะตกอยู่กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกิจการดังกล่าว’ นายองอาจกล่าว
นายองอาจกล่าวว่า จากข้อมูลข้างต้น สรุปได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ เน้นงบในเชิงสังเคราะห์มากกว่างบลงทุนจากภาครัฐอย่างแท้จริง เพราะกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการหมุนเงินงบประมาณผ่านระบบเพื่อกระตุ้น GDP ของประเทศเท่านั้น เศรษฐกิจของประเทศจึงไม่ได้โตจากพื้นฐานอย่างแท้จริง ดูได้จากงบลงทุนในโครงการต่างๆของรัฐบาลมีจำนวนน้อยมาก หรือการบริโภคที่เกิดจากรายได้จากภาคการผลิตที่แท้จริงก็มีน้อยมาก เศรษฐกิจที่ว่าดีในขณะนี้ก็เกิดขึ้นจากการปล่อยเงินกู้ของรัฐบาล เพียงเพื่อต้องการสร้างภาพกระตุ้นตัวเลข GDP โดยไม่สนใจว่า สิ่งที่รัฐบาลยื่นไปนั้น กำลังจะเป็นการที่ก่อหนี้ผูกพันกับประชาชนอย่างไม่รู้ตัว
โดยเฉพาะการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ทางรัฐบาลจะเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ด้วยการเซ็นข้อตกลงกับสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ และจะปล่อยกู้โดยใช้ ส.ป.ก. 4-01เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน นำร่องวันที่1พฤศจิกายนนี้ 8 จังหวัดที่ สุโขทัย แพร่ มหาสารคาม สกลนคร ระยอง ราชบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช ประมาณ 184,329 ไร่ ส่วนปี 2547 ธ.ก.ส.เตรียมให้กู้โดยใช้ ส.ป.ก.4-01 เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันประมาณ 10 ล้านไร่
ขณะที่การสร้างหนี้ที่ผ่านมาทางราชการสำรวจพบเอาว่าเกษตรกรส่วนใหญ่นำเงินที่กู้ไปใช้บริโภคฟุ่มเฟือย มากกว่าที่จะนำไปก่อให้เกิดรายได้จากการผลิต และยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้แต่อย่างใด รัฐบาลก็กำลังจะสร้างหนี้ใหม่ให้ชาวบ้านเพิ่มขึ้นเท่ากับเป็นการสร้างเครื่องพันธนาการให้ชีวิตของชาวบ้าน เกษตรกรจมปลักอยู่ในวังวนของหนี้สินอย่างน่ากลัว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ - 28/9/2546--จบ--
-สส-