การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ทำให้จีนมีข้อผูกพันที่จะต้องเปิดเสรีด้านการค้าบริการรวมทั้งธุรกิจก่อสร้างเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 กระทรวงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศ (Ministry of Foreign Trade and Economic Cooperation: MOFTEC) และกระทรวงการก่อสร้าง (Ministry of Construction) ได้ร่วมกันออกกฎระเบียบด้านการลงทุนจากต่างชาติในธุรกิจก่อสร้างรวม 2 ฉบับ คือ Regulations on Administration of Foreign Investment Construction Enterprises (Decree No. 113) และ Regulations on Administration of Foreign Investment Construction and Engineering Design Enterprises (Decree No. 114) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของกฎระเบียบดังกล่าวมีดังนี้
1. รูปแบบการลงทุน ธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในจีนได้ 3 รูปแบบ คือ
1.1 การลงทุนโดยชาวต่างชาติทั้ง 100%
1.2 การร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นชาวจีนในลักษณะของหุ้นส่วนจดทะเบียน
1.3 การร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นชาวจีนในลักษณะของการร่วมค้าตามสัญญา
ทั้งนี้ การลงทุนตามข้อ 1.2 และ 1.3 นักลงทุนท้องถิ่นต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนรวม
2. ขั้นตอนการอนุมัติ มี 5 ขั้นตอน คือ
2.1 การยื่นใบสมัคร ผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติต้องยื่นใบสมัครต่อ Foreign Trade and Economic Cooperation Administration Department (FTEC) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑล (Province) เขตปกครองตนเอง (Autonomous Region) หรือเทศบาลนคร (Municipality) ณ เขตที่ผู้ประกอบการต้องการจัดตั้งบริษัท
2.2 การตรวจสอบเบื้องต้น หน่วยงานตามข้อ 2.1 จะตรวจสอบใบสมัครในเบื้องต้นโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่ได้รับใบสมัคร หลังจากนั้นจึงส่งให้ FTEC ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ the State Council พิจารณาต่อไป
2.3 การพิจารณาอนุมัติ
- ภายใน 10 วัน FTEC จะส่งใบสมัครให้ Construction Administration Department (CAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ the State Council เช่นเดียวกัน เพื่อทำการทบทวนและให้ความเห็น
- ภายใน 30 วัน CAD จะให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งเรื่องคืนให้ FTEC
- ภายใน 30 วันหลังจากนั้น FTEC จะแจ้งผลการอนุมัติหรือปฏิเสธให้ผู้สมัครทราบ โดยผู้สมัครที่ผ่านการอนุมัติจะได้รับ Foreign-invested Enterprise Certificate
2.4 การจดทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (Business License) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับ Foreign-invested Enterprise Certificate ผู้สมัครต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
2.5 การขออนุมัติศักยภาพของผู้ประกอบการ (Enterprise Skill Qualification Approval) สำหรับขั้นตอนนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 กล่าวคือ หลังจากได้รับ Business License แล้ว ผู้ประกอบการ ต้องยื่นขอรับการพิจารณาอนุมัติศักยภาพต่อ CAD หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเภทของผู้ประกอบการซึ่งมี 3 ประเภท คือ
- ผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractors) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ 12 ประเภท เช่น ก่อสร้างตึก ทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ ไฟฟ้า เหมืองแร่ โรงกลั่น เคมีภัณฑ์ และงานโยธา ฯลฯ
- ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialized Contractors) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ 60 ประเภท
- ผู้รับเหมาช่วง (Subcontractors) สามารถรับเหมาช่วงงานก่อสร้างได้ 13 ประเภท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการก่อสร้างแต่ละประเภทยังถูกจำแนกเป็น 4 เกรด (Grade) คือ Super Grade, Grade A, Grade B และ Grade C ตามลำดับ (บางประเภทอาจมีผู้ประกอบการไม่ครบทั้ง 4 เกรด) ขึ้นกับขนาดทุนจดทะเบียนและประเภทของงานก่อสร้าง เช่น ผู้ประกอบการประเภทรับเหมาก่อสร้าง “Super Grade” ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 300 ล้านหยวน (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ทุกขนาดโครงการ ขณะที่ผู้ประกอบการประเภทรับเหมาก่อสร้าง “Grade A”, “Grade B” และ “Grade C” มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 30-70 ล้านหยวน 15-40 ล้านหยวน และ 5-20 ล้านหยวน ตามลำดับ สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้เฉพาะโครงการก่อสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 เท่าของทุนจดทะเบียนเท่านั้น
3. โครงการก่อสร้างที่อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% ดำเนินการได้ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
3.1 โครงการก่อสร้างซึ่งเป็นการลงทุนด้วยเงินทุนของต่างชาติ 100% หรือใช้เงินจากแหล่งทุนภายนอกทั้งหมด
3.2 โครงการก่อสร้างที่ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือได้รับการอนุมัติผ่านการประกวดราคาระหว่างประเทศ (International Tendering)
3.3 โครงการร่วมทุนที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และโครงการร่วมทุนที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่ต้องใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่บริษัทก่อสร้างชาวจีนไม่สามารถทำได้โดยลำพัง กรณีนี้อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% เข้ามารับเหมาหรือรับเหมาช่วงงานได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก CAD ในระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง หรือเทศบาลนครก่อน
3.4 โครงการก่อสร้างของนักลงทุนชาวจีน ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่บริษัทก่อสร้างชาวจีนไม่สามารถดำเนินการโดยลำพัง กรณีนี้อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% เข้ามารับเหมาหรือรับเหมาช่วงงานได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก CAD ในระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง หรือเทศบาลนครก่อน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2546--
-พห-
สาระสำคัญของกฎระเบียบดังกล่าวมีดังนี้
1. รูปแบบการลงทุน ธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในจีนได้ 3 รูปแบบ คือ
1.1 การลงทุนโดยชาวต่างชาติทั้ง 100%
1.2 การร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นชาวจีนในลักษณะของหุ้นส่วนจดทะเบียน
1.3 การร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่นชาวจีนในลักษณะของการร่วมค้าตามสัญญา
ทั้งนี้ การลงทุนตามข้อ 1.2 และ 1.3 นักลงทุนท้องถิ่นต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25% ของทุนจดทะเบียนรวม
2. ขั้นตอนการอนุมัติ มี 5 ขั้นตอน คือ
2.1 การยื่นใบสมัคร ผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติต้องยื่นใบสมัครต่อ Foreign Trade and Economic Cooperation Administration Department (FTEC) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑล (Province) เขตปกครองตนเอง (Autonomous Region) หรือเทศบาลนคร (Municipality) ณ เขตที่ผู้ประกอบการต้องการจัดตั้งบริษัท
2.2 การตรวจสอบเบื้องต้น หน่วยงานตามข้อ 2.1 จะตรวจสอบใบสมัครในเบื้องต้นโดยใช้เวลาไม่เกิน 30 วันนับจากวันที่ได้รับใบสมัคร หลังจากนั้นจึงส่งให้ FTEC ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ the State Council พิจารณาต่อไป
2.3 การพิจารณาอนุมัติ
- ภายใน 10 วัน FTEC จะส่งใบสมัครให้ Construction Administration Department (CAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของ the State Council เช่นเดียวกัน เพื่อทำการทบทวนและให้ความเห็น
- ภายใน 30 วัน CAD จะให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรและส่งเรื่องคืนให้ FTEC
- ภายใน 30 วันหลังจากนั้น FTEC จะแจ้งผลการอนุมัติหรือปฏิเสธให้ผู้สมัครทราบ โดยผู้สมัครที่ผ่านการอนุมัติจะได้รับ Foreign-invested Enterprise Certificate
2.4 การจดทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (Business License) ภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับ Foreign-invested Enterprise Certificate ผู้สมัครต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างจากต่างชาติเพื่อขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
2.5 การขออนุมัติศักยภาพของผู้ประกอบการ (Enterprise Skill Qualification Approval) สำหรับขั้นตอนนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 กล่าวคือ หลังจากได้รับ Business License แล้ว ผู้ประกอบการ ต้องยื่นขอรับการพิจารณาอนุมัติศักยภาพต่อ CAD หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเภทของผู้ประกอบการซึ่งมี 3 ประเภท คือ
- ผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractors) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ 12 ประเภท เช่น ก่อสร้างตึก ทางหลวง ทางรถไฟ ท่าเรือ ไฟฟ้า เหมืองแร่ โรงกลั่น เคมีภัณฑ์ และงานโยธา ฯลฯ
- ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialized Contractors) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ 60 ประเภท
- ผู้รับเหมาช่วง (Subcontractors) สามารถรับเหมาช่วงงานก่อสร้างได้ 13 ประเภท
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการก่อสร้างแต่ละประเภทยังถูกจำแนกเป็น 4 เกรด (Grade) คือ Super Grade, Grade A, Grade B และ Grade C ตามลำดับ (บางประเภทอาจมีผู้ประกอบการไม่ครบทั้ง 4 เกรด) ขึ้นกับขนาดทุนจดทะเบียนและประเภทของงานก่อสร้าง เช่น ผู้ประกอบการประเภทรับเหมาก่อสร้าง “Super Grade” ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 300 ล้านหยวน (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้ทุกขนาดโครงการ ขณะที่ผู้ประกอบการประเภทรับเหมาก่อสร้าง “Grade A”, “Grade B” และ “Grade C” มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 30-70 ล้านหยวน 15-40 ล้านหยวน และ 5-20 ล้านหยวน ตามลำดับ สามารถรับเหมางานก่อสร้างได้เฉพาะโครงการก่อสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 เท่าของทุนจดทะเบียนเท่านั้น
3. โครงการก่อสร้างที่อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% ดำเนินการได้ แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
3.1 โครงการก่อสร้างซึ่งเป็นการลงทุนด้วยเงินทุนของต่างชาติ 100% หรือใช้เงินจากแหล่งทุนภายนอกทั้งหมด
3.2 โครงการก่อสร้างที่ใช้เงินกู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือได้รับการอนุมัติผ่านการประกวดราคาระหว่างประเทศ (International Tendering)
3.3 โครงการร่วมทุนที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และโครงการร่วมทุนที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 50% แต่ต้องใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่บริษัทก่อสร้างชาวจีนไม่สามารถทำได้โดยลำพัง กรณีนี้อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% เข้ามารับเหมาหรือรับเหมาช่วงงานได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก CAD ในระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง หรือเทศบาลนครก่อน
3.4 โครงการก่อสร้างของนักลงทุนชาวจีน ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการก่อสร้างที่บริษัทก่อสร้างชาวจีนไม่สามารถดำเนินการโดยลำพัง กรณีนี้อนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติ 100% เข้ามารับเหมาหรือรับเหมาช่วงงานได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติจาก CAD ในระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง หรือเทศบาลนครก่อน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2546--
-พห-