สศอ.เผยแนวทางการผลักดันอุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง ต้องปรับตัวทั้งฝ่ายรัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับการแข่งขันทางการค้าที่จะรุนแรงมากขึ้น เหตุกำแพงภาษีที่เคยปกป้องเริ่มทลายลงทั้งจากข้อตกลงอาฟต้า WTO และ FTA เน้นใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความคล่องตัวการทำงาน ผลักดันภาคการผลิต พร้อมก้าวขึ้นสู่แท่นการเป็นศูนย์กลาง 3 อุตฯใหญ่ อาหาร แฟชั่น และ ยานยนต์ตามยุทธศาสตร์เป้าหมาย
นายดำริ สุโขธนัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า โครงสร้างการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของกระทรวงอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกที่เข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจแนวใหม่หรือ New Economy ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และตรงตามความต้องการมากขึ้น พร้อมกับการปรับบทบาทจากการกำกับดูแลมาเป็นการชี้นำ จากการควบคุมมาเป็นการส่งเสริมและการสนับสนุน และจากการจัดการมาเป็นการมีส่วนร่วม
“ กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำภารกิจ ด้านการส่งเสริมการลงทุนมารวมไว้ เพื่อให้มีการทำงานอย่างครบวงจร ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นไปตามการปรับโครงสร้างราชการที่จากนี้ไปจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เอกชนไทยมีความเข้มแข็ง” นายดำริกล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมไทยในครึ่งปีหลังยังคงจะต้องมีการปรับตัวในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ไทยจะต้องลดภาษีตามกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) องค์การการค้าโลก(WTO) และการทำข้อตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีหรือ (FTA) ที่จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการที่จะสามารถเข้าไปทำตลาดในประเทศต่างๆ ได้เพราะกำแพงภาษีนำเข้าจะลดลงและตรงกันข้ามประเทศอื่นๆ ก็สามารถเข้ามาทำการค้าในไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากอุตสาหกรรมไทยไม่เข้มแข็งพออาจสูญเสียตลาดในประเทศได้ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงคงจะต้องวางแผนผลักดันแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นโดยมีแนวพัฒนาดังนี้
1. เน้นการพัฒนาการผลิตในเชิงการผลิตเพื่อผู้บริโภค[ Mass Customization
] มากกว่าการผลิตจำนวนมาก [ Mass Production
]
2. เน้นการเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านความรู้โดยจะต้องมียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนานวัตกรรม การสร้างพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาโดยให้ความสำคัญในด้านคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
3. พัฒนาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงใน Value Chain โดยเน้นให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาไทยที่สามารถต่อยอดเข้าสู่ตลาดโลกได้และ
4. การรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจโดยเน้นการพัฒนาในลักษณะกลุ่ม Cluster
นายดำริ กล่าวเสริมว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมในอนาคตยังคงดำเนินการต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอาหาร วางเป้าหมายให้เป็น Kitchen of the World ซึ่งจะเน้นการพัฒนาตามแนวคิดของ Value Chain โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาวัตถุดิบจากฟาร์ม ที่เรียกว่า From Farm to Table ซึ่งในทุกกระบวนการนั้นจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานและคุณภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งจะต้องสร้างภาพลักษณ์ของอาหารไทยในต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนา Brand อาหารไทย
อุตสาหกรรมแฟชั่น จะเป็นการร่วมกันพัฒนาของ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ สิ่งทอ เครื่องหนัง รองเท้า และ อัญมณี ตามแผนยุทธศาสตร์ Tropical Fashion of Asia โดยกลยุทธ์ที่สำคัญจะแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์และธุรกิจแฟชั่นระหว่างประเทศซึ่งจะทำการส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยในต่างประเทศจะมีการร่วมแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้านานาชาติเพื่อผลักดันให้แฟชั่นไทยเข้าสู่ตลาดโลก ด้านการออกแบบและสร้างตราสินค้าจะมีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาเรียนรู้เพื่อต่อยอด และด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม จะเน้นการสร้างศักยภาพในภาพรวมของอุตสาหกรรมในด้านการผลิต เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการกำหนด Position ของผลิตภัณฑ์ในเวทีการแข่งขัน
อุตสาหกรรมยานยนต์ วางเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและมีความได้เปรียบในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย โดยจะดำเนินการดึงเอาทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยเพื่อให้ได้มาตรฐานในระดับสากล นอกจากนั้น จะต้องสร้างแรงจูงใจในการลงทุนของผู้ประกอบการยานยนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็น Detriot of Asia
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2202-4274 , 0-2644-8604--
-พห-
นายดำริ สุโขธนัง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า โครงสร้างการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของกระทรวงอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจของโลกที่เข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจแนวใหม่หรือ New Economy ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และตรงตามความต้องการมากขึ้น พร้อมกับการปรับบทบาทจากการกำกับดูแลมาเป็นการชี้นำ จากการควบคุมมาเป็นการส่งเสริมและการสนับสนุน และจากการจัดการมาเป็นการมีส่วนร่วม
“ กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำภารกิจ ด้านการส่งเสริมการลงทุนมารวมไว้ เพื่อให้มีการทำงานอย่างครบวงจร ทำให้เกิดความเชื่อมโยงในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นไปตามการปรับโครงสร้างราชการที่จากนี้ไปจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนให้เอกชนไทยมีความเข้มแข็ง” นายดำริกล่าว
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมไทยในครึ่งปีหลังยังคงจะต้องมีการปรับตัวในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ไทยจะต้องลดภาษีตามกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) องค์การการค้าโลก(WTO) และการทำข้อตกลงภายใต้เขตการค้าเสรีหรือ (FTA) ที่จะทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการที่จะสามารถเข้าไปทำตลาดในประเทศต่างๆ ได้เพราะกำแพงภาษีนำเข้าจะลดลงและตรงกันข้ามประเทศอื่นๆ ก็สามารถเข้ามาทำการค้าในไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน หากอุตสาหกรรมไทยไม่เข้มแข็งพออาจสูญเสียตลาดในประเทศได้ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจึงคงจะต้องวางแผนผลักดันแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นโดยมีแนวพัฒนาดังนี้
1. เน้นการพัฒนาการผลิตในเชิงการผลิตเพื่อผู้บริโภค[ Mass Customization
] มากกว่าการผลิตจำนวนมาก [ Mass Production
]
2. เน้นการเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านความรู้โดยจะต้องมียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนานวัตกรรม การสร้างพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาโดยให้ความสำคัญในด้านคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
3. พัฒนาอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงใน Value Chain โดยเน้นให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นภูมิปัญญาไทยที่สามารถต่อยอดเข้าสู่ตลาดโลกได้และ
4. การรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของกลุ่มธุรกิจโดยเน้นการพัฒนาในลักษณะกลุ่ม Cluster
นายดำริ กล่าวเสริมว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมในอนาคตยังคงดำเนินการต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอาหาร วางเป้าหมายให้เป็น Kitchen of the World ซึ่งจะเน้นการพัฒนาตามแนวคิดของ Value Chain โดยเริ่มตั้งแต่การพัฒนาวัตถุดิบจากฟาร์ม ที่เรียกว่า From Farm to Table ซึ่งในทุกกระบวนการนั้นจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานและคุณภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งจะต้องสร้างภาพลักษณ์ของอาหารไทยในต่างประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนา Brand อาหารไทย
อุตสาหกรรมแฟชั่น จะเป็นการร่วมกันพัฒนาของ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม คือ สิ่งทอ เครื่องหนัง รองเท้า และ อัญมณี ตามแผนยุทธศาสตร์ Tropical Fashion of Asia โดยกลยุทธ์ที่สำคัญจะแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์และธุรกิจแฟชั่นระหว่างประเทศซึ่งจะทำการส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยในต่างประเทศจะมีการร่วมแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้านานาชาติเพื่อผลักดันให้แฟชั่นไทยเข้าสู่ตลาดโลก ด้านการออกแบบและสร้างตราสินค้าจะมีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการไทย เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาเรียนรู้เพื่อต่อยอด และด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม จะเน้นการสร้างศักยภาพในภาพรวมของอุตสาหกรรมในด้านการผลิต เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการกำหนด Position ของผลิตภัณฑ์ในเวทีการแข่งขัน
อุตสาหกรรมยานยนต์ วางเป้าหมายการพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยมีศักยภาพและมีความได้เปรียบในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย โดยจะดำเนินการดึงเอาทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเน้นการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการชิ้นส่วนไทยเพื่อให้ได้มาตรฐานในระดับสากล นอกจากนั้น จะต้องสร้างแรงจูงใจในการลงทุนของผู้ประกอบการยานยนต์ขนาดใหญ่ในประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็น Detriot of Asia
--ศูนย์ประสานการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โทร. 0-2202-4375 , 0-2202-4274 , 0-2644-8604--
-พห-