บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
ณ ตึกรัฐสภา
-----------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง การเตรียมการต้อนรับและการกล่าวปราศรัย ณ ห้องประชุมรัฐสภา
ของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินเดีย นายอฏัล พิหารี วาชเปยี ซึ่งเดินทางมาเยือน
รัฐสภาไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติ
การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุภาพ คลี่ขจาย และ
นายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ ออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๕๓ และข้อ ๕๗ โดยอนุโลม
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้
นายศราวุธ เมนะเศวต นายชูศักดิ์ ปริปุญโญ นายยงยุทธ เยี่ยมประภา นางณัชชา
เกิดศรี และนางศิริรักษ์ จำแนกรส แสวงดี ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๒๒
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้รับทราบรายงานดังกล่าว
๔. รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม
ประจำปี ๒๕๔๔
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้
นางดุษฎี อัมรานุรักษ์ นางรัชยา กุลวานิชไชยนันท์ นางอุษณีย์ จันทรโมลี นายสมเกียรติ
ฉายะศรีวงค์ และนางสาวไพลิน ตั้งสัตยากิจ ผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคมและ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม โดยอนุโลมตามข้อบังคับฯ ข้อ ๖๘
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ
ผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาในระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน
สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓) ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายกริช กงเพชร เป็นกรรมาธิการแทน
นายวิทยา บุรณศิริ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา และนายถวิล ฤกษ์หร่าย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ
ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่าง
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสมบัติ อุทัยสาง ๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๓. นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ ๔. นายวิวัฒน์ สุทธิภาค
๕. นายณธกนต์ ปิ่นปรีชากุล ๖. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๙. นายวรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ ๑๐. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา
๑๑. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ๑๒. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๑๓. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ๑๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
๑๗. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๘. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๙. นายธเนศ เครือรัตน์ ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ๒๒. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา
๒๓. นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ๒๔. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๒๕. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๖. นายจุติ ไกรฤกษ์
๒๗. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๒๘. นายมานะ มหาสุวีระชัย
๒๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๐. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๓๑. นายศิริโชค โสภา ๓๒. นายวราวุธ ศิลปอาชา
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๘)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประมณฑ์ คุณะเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๐)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมและจัดการหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติใน
วาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายสมหมาย ภาษี
๓. นางพรรณี สถาวโรดม ๔. นายเสงี่ยม สันทัด
๕. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๖. นายสุธา ชันแสง
๗. นายประมณฑ์ คุณะเกษม ๘. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
๙. นายภาคิน สมมิตร ๑๐. นายชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายบัวสอน ประชามอญ
๑๓. นายวิทยา ทรงคำ ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๑๖. นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล
๑๗. นายวิสันต์ เดชเสน ๑๘. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
๑๙. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๒๐. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๒๑. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๒๒. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๕. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๒๖. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๒๗. นายสรรเสริญ สมะลาภา ๒๘. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๐. นายธนญ ตันติสุนทร
๓๑. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๒. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๓๓. ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง ๓๔. นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย
๓๕. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
ณ ตึกรัฐสภา
-----------------------
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ขึ้นบัลลังก์และกล่าวเปิดประชุม จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่อง การเตรียมการต้อนรับและการกล่าวปราศรัย ณ ห้องประชุมรัฐสภา
ของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินเดีย นายอฏัล พิหารี วาชเปยี ซึ่งเดินทางมาเยือน
รัฐสภาไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ในวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๖
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖
ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร ลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๓ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๒) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้นำร่างพระราชบัญญัติ
การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุภาพ คลี่ขจาย และ
นายพงษ์พิช รุ่งเป้า เป็นผู้เสนอ ออกจากระเบียบวาระการประชุม ตามข้อบังคับฯ
ข้อ ๕๓ และข้อ ๕๗ โดยอนุโลม
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๔
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้
นายศราวุธ เมนะเศวต นายชูศักดิ์ ปริปุญโญ นายยงยุทธ เยี่ยมประภา นางณัชชา
เกิดศรี และนางศิริรักษ์ จำแนกรส แสวงดี ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๒๒
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้รับทราบรายงานดังกล่าว
๔. รายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่ายเงินกองทุนประกันสังคม
ประจำปี ๒๕๔๔
ก่อนที่สมาชิกฯ จะอภิปราย ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้อนุญาตให้
นางดุษฎี อัมรานุรักษ์ นางรัชยา กุลวานิชไชยนันท์ นางอุษณีย์ จันทรโมลี นายสมเกียรติ
ฉายะศรีวงค์ และนางสาวไพลิน ตั้งสัตยากิจ ผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคมและ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเข้าร่วมชี้แจงต่อที่ประชุม โดยอนุโลมตามข้อบังคับฯ ข้อ ๖๘
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ โดยมีรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่งได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและ
ผู้แทนจากสำนักงานประกันสังคมและสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตอบชี้แจงจนได้เวลา
พอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาในระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน
สภาผู้แทนราษฎรได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
คือ ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓) ขึ้นมาพิจารณาก่อน
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายกริช กงเพชร เป็นกรรมาธิการแทน
นายวิทยา บุรณศิริ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
เรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน) โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำ
ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๑ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา และนายถวิล ฤกษ์หร่าย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๒)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ
ผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีรองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับพร้อมกันไป
และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่าง
ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสมบัติ อุทัยสาง ๒. นายดิสทัต โหตระกิตย์
๓. นายจำรัส ตันตรีสุคนธ์ ๔. นายวิวัฒน์ สุทธิภาค
๕. นายณธกนต์ ปิ่นปรีชากุล ๖. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๗. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ ๘. นายพ้อง ชีวานันท์
๙. นายวรวุฒิ ภุมมะกาญจนะ ๑๐. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา
๑๑. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ๑๒. นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์
๑๓. นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ ๑๔. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๑๕. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ๑๖. นายสานิต ว่องสัธนพงษ์
๑๗. นายสุชาย ศรีสุรพล ๑๘. นายอรรถพล สนิทวงศ์ชัย
๑๙. นายธเนศ เครือรัตน์ ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ ๒๒. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา
๒๓. นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล ๒๔. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๒๕. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๖. นายจุติ ไกรฤกษ์
๒๗. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๒๘. นายมานะ มหาสุวีระชัย
๒๙. นายเชน เทือกสุบรรณ ๓๐. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
๓๑. นายศิริโชค โสภา ๓๒. นายวราวุธ ศิลปอาชา
๓๓. นายธรรมา ปิ่นสุกาญจนะ ๓๔. นายสุภาพ คลี่ขจาย
๓๕. นายเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๕) โดยที่ประชุมเห็นชอบ
ให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๔ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๘)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๓๙)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายประมณฑ์ คุณะเกษม กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๐)
(๔) ร่างพระราชบัญญัติควบคุมและจัดการหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้เสนอได้แถลงหลักการและ
เหตุผล ตามลำดับ มีสมาชิกฯ อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรและ
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติใน
วาระที่ ๑ รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๕ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติ
ให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน เพื่อพิจารณา โดยถือเอาร่างของ
คณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายวราเทพ รัตนากร ๒. นายสมหมาย ภาษี
๓. นางพรรณี สถาวโรดม ๔. นายเสงี่ยม สันทัด
๕. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ ๖. นายสุธา ชันแสง
๗. นายประมณฑ์ คุณะเกษม ๘. นายบุรินทร์ หิรัญบูรณะ
๙. นายภาคิน สมมิตร ๑๐. นายชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ
๑๑. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ๑๒. นายบัวสอน ประชามอญ
๑๓. นายวิทยา ทรงคำ ๑๔. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์
๑๕. นายจำนงค์ โพธิสาโร ๑๖. นายพงษ์ศักดิ์ บุญศล
๑๗. นายวิสันต์ เดชเสน ๑๘. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น
๑๙. นายธราพงษ์ สีลาวงษ์ ๒๐. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน
๒๑. นายรุ่งเรือง พิทยศิริ ๒๒. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
๒๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๒๔. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๒๕. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๒๖. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๒๗. นายสรรเสริญ สมะลาภา ๒๘. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์
๒๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๓๐. นายธนญ ตันติสุนทร
๓๑. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๓๒. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์
๓๓. ศาสตราจารย์เดช บุญ-หลง ๓๔. นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย
๓๕. นายสมศักดิ์ โสมกลาง
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๓๐ วัน
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระที่ ๔
เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๑)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้
วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
เลิกประชุมเวลา ๑๘.๑๐ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๓
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๒ ฉบับ)
๒. ร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ….
(คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ เสนอรวม ๕ ฉบับ)
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
***********************************