ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Hard Disk Drive) หรือหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ นับเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ทั้งนี้ การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบในช่วงปี 2541 - 2545 มีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าส่งออกรวมในหมวดเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยสูงถึงปีละเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่มูลค่ากลับลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปี ขณะที่ปริมาณส่งออกในช่วงดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ต่อปี สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2546 มูลค่าส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 21 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา จีน และสิงคโปร์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบลดลงขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันของตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ปริมาณส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะมีปัจจัย สนับสนุนสำคัญ ดังนี้
- ไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบที่สำคัญของอาเซียน ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ที่สุดของโลก 4 บริษัทจากทั้งหมด 5 บริษัทได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งเอื้อให้มีการลด ต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมให้สูงยิ่งขึ้น
- การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของไทยพัฒนามาเป็นลำดับ และล่าสุดในปี 2545 ไทยเริ่มผลิตชิ้นส่วน Spindle Motor แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Fluid Dynamic ทำให้ชิ้นส่วน Spindle Motor แบบใหม่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเดิม ทั้งในด้านความทนทานต่อการสั่นสะเทือน เสียงเบาลง และสามารถเพิ่มความเร็วของการหมุนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทำให้ส่งข้อมูลไปยัง CPU ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จากขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มาเป็นขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสูงกว่า เป็นต้น
- การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาโดยตลอด โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ ด้านการลงทุน อาทิ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาในอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยได้ในระดับหนึ่ง
- ความต้องการฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในตลาดโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของตลาดคอมพิวเตอร์โลกซึ่งเป็นตลาดหลักที่รองรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทั้งนี้ คาดว่าตลาดคอมพิวเตอร์โลกจะขยายตัวราวร้อยละ 7 — 8 ในปี 2546 และขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11 ในปี 2547 นอกจากนี้ ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังได้รับผลดีจากการขยายตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ ที่ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยเฉพาะเครื่องเล่นเกมส์ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่น MP3 อุปกรณ์บันทึกรายการโทรทัศน์ และอุปกรณ์บอกพิกัดต่างๆ ในรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ ความต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของความต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั้งหมด
ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โลกประมาณร้อยละ 18 และคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2547 โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และจีน โดยเฉพาะจีนคาดว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในระยะข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลกเริ่มเข้าไปตั้งฐานการผลิตในจีนแล้ว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2546--
-พห-
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยสูงถึงปีละเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่มูลค่ากลับลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3.2 ต่อปี ขณะที่ปริมาณส่งออกในช่วงดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5.2 ต่อปี สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2546 มูลค่าส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบหดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.6 ขณะที่ปริมาณการส่งออกขยายตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 21 โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา จีน และสิงคโปร์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มูลค่าส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบลดลงขณะที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข่งขันของตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้ราคาจำหน่ายมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ ปริมาณส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะมีปัจจัย สนับสนุนสำคัญ ดังนี้
- ไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบที่สำคัญของอาเซียน ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ที่สุดของโลก 4 บริษัทจากทั้งหมด 5 บริษัทได้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย ซึ่งเอื้อให้มีการลด ต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมให้สูงยิ่งขึ้น
- การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ของไทยพัฒนามาเป็นลำดับ และล่าสุดในปี 2545 ไทยเริ่มผลิตชิ้นส่วน Spindle Motor แบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี Fluid Dynamic ทำให้ชิ้นส่วน Spindle Motor แบบใหม่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเดิม ทั้งในด้านความทนทานต่อการสั่นสะเทือน เสียงเบาลง และสามารถเพิ่มความเร็วของการหมุนของฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทำให้ส่งข้อมูลไปยัง CPU ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการปรับเปลี่ยนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จากขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มาเป็นขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีสูงกว่า เป็นต้น
- การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมาโดยตลอด โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ ด้านการลงทุน อาทิ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีนำเข้าเครื่องจักร ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาในอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และส่วนประกอบของไทยได้ในระดับหนึ่ง
- ความต้องการฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในตลาดโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของตลาดคอมพิวเตอร์โลกซึ่งเป็นตลาดหลักที่รองรับการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ทั้งนี้ คาดว่าตลาดคอมพิวเตอร์โลกจะขยายตัวราวร้อยละ 7 — 8 ในปี 2546 และขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 11 ในปี 2547 นอกจากนี้ ตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังได้รับผลดีจากการขยายตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ ที่ต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นส่วนประกอบสำคัญ โดยเฉพาะเครื่องเล่นเกมส์ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องเล่น MP3 อุปกรณ์บันทึกรายการโทรทัศน์ และอุปกรณ์บอกพิกัดต่างๆ ในรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ ความต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ในเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ๆ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของความต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั้งหมด
ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์โลกประมาณร้อยละ 18 และคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2547 โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และจีน โดยเฉพาะจีนคาดว่าจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในระยะข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลกเริ่มเข้าไปตั้งฐานการผลิตในจีนแล้ว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2546--
-พห-