2.1 ภาคเกษตรกรรม
เดือนกันยายน:
รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์สูงจากปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปี มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล สำหรับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในปีนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน (พื้นที่เสียหาย 2.6 เทียบกับ 9.0 ล้านไร่ ในปีก่อน) ยกเว้นบ่อเลี้ยงปลาในเขตจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ที่เสียหายมากกว่าปีก่อน (พื้นที่เสียหายเขตนี้ประมาณ 200,000 ไร่)
ราคาสินค้าเกษตรของไทย ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามราคาพืชผลและปศุสัตว์
- ราคาพืชผลเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะราคาข้าวหอมมะลิและยางพาราที่เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.1 และ 18.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการจากภายนอกประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง
- ราคาประมงลดลง จากราคากุ้งเป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตกุ้งในตลาดโลกยังอยู่ในเกณฑ์สูง
- ราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่เนื้อที่สูงตามความต้องการจากต่างประเทศและการควบคุมปริมาณการผลิตลูกไก่ส่วนเกินในประเทศ ซึ่งขยายเวลาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2546
แนวโน้ม :
ราคาสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะราคาพืชผลจะชะลอลงบ้างตามปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้นตามฤดูกาล ขณะที่ราคาประมงจะลดลงตามราคากุ้งซึ่งมีอุปทานในตลาดโลกสูง กว่าราคาปศุสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ไก่เนื้อจากยุโรปและญี่ปุ่น
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะสินค้า 12 ชนิด ทีมีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาข้าว มันสำปะหลัง และโดยเฉพาะยางพาราจากอุปสงค์ที่มีต่อเนื่อง
การท่องเที่ยวและโรงแรม
เดือนกันยายน 2546 ภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.5 แม้จะชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยด้านฤดูกาล แต่ก็ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์การท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังจากผลกระทบของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) สิ้นสุดลง และความมั่นใจของนักท่องเที่ยวกลับคืนมาอย่างชัดเจน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เกือบเท่าตัวจนมาอยู่ในระดับเดียวกับระยะเดียวกันในปีก่อน
สำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายคาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะยังมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง นอกเหนือจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวแล้วยังเป็นผลดีสืบเนื่องจากการจัดประชุด APEC ในเดือนตุลาคม กอปรกับภาครัฐได้ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
ภาคอสังหาริมทรัพย์
เดือนสิงหาคม 2546
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินและพื้นที่ได้รับอนุญาติก่อสร้างขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 30.7 และ 67.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนที่อยู่อาศัย จดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้บริโภคยังขยายตัวต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2546 มียอดคงค้าง 437,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนสินเชื่อพัฒนาโครงการมียอดคงค้าง 255,531 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
แนวโน้ม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีตามความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง
ภาคการค้า
เดือนกรกฎาคม 2546
มูลค่าการค้าปลีกและค้าส่งยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยสินค้าที่มียอดขายอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ สินค้าหมวดเกษตร อาหาร เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ในครัวเรือน ขณะที่สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิทยุ-โทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว
ในไตรมาสที่ 2 ภาวะการค้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกจากผลกระทบของสถานการณ์โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่และร้านค้าสะดวกซื้อยังมีความเชื่อมั่นที่จะดำเนินการขยายสาขาตามแผนการที่กำหนดไว้
โทรคมนาคม
เดือนกรกฎาคม 2546
โทรศัพท์พื้นฐาน มีจำนวนเลขหมายจดทะเบียน 6.5 ล้านเลขหมาย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี จำนวนเลขหมายจดทะเบียนคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ อย่างไรก็ดี ตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกลยังมีความต้องการคู่สายใหม่อยู่มาก ซึ่งบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังสามารถเพิ่มการลงทุนได้
โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำนวนเลขหมายจดทะเบียน 20.2 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นประมาณ 4 แสนเลขหมายจากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี ภาวะการแข่งขันของผู้ให้บริการจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราเพิ่มของจำนวนเลขหมายใหม่จะชะลอลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-นท-
เดือนกันยายน:
รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์สูงจากปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปี มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล สำหรับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในปีนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อน (พื้นที่เสียหาย 2.6 เทียบกับ 9.0 ล้านไร่ ในปีก่อน) ยกเว้นบ่อเลี้ยงปลาในเขตจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ที่เสียหายมากกว่าปีก่อน (พื้นที่เสียหายเขตนี้ประมาณ 200,000 ไร่)
ราคาสินค้าเกษตรของไทย ขยายตัวในเกณฑ์สูงตามราคาพืชผลและปศุสัตว์
- ราคาพืชผลเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะราคาข้าวหอมมะลิและยางพาราที่เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.1 และ 18.6 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการจากภายนอกประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง
- ราคาประมงลดลง จากราคากุ้งเป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตกุ้งในตลาดโลกยังอยู่ในเกณฑ์สูง
- ราคาปศุสัตว์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไก่เนื้อที่สูงตามความต้องการจากต่างประเทศและการควบคุมปริมาณการผลิตลูกไก่ส่วนเกินในประเทศ ซึ่งขยายเวลาจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2546
แนวโน้ม :
ราคาสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะราคาพืชผลจะชะลอลงบ้างตามปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้นตามฤดูกาล ขณะที่ราคาประมงจะลดลงตามราคากุ้งซึ่งมีอุปทานในตลาดโลกสูง กว่าราคาปศุสัตว์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ไก่เนื้อจากยุโรปและญี่ปุ่น
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะสินค้า 12 ชนิด ทีมีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามราคาข้าว มันสำปะหลัง และโดยเฉพาะยางพาราจากอุปสงค์ที่มีต่อเนื่อง
การท่องเที่ยวและโรงแรม
เดือนกันยายน 2546 ภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 57.5 แม้จะชะลอลงจากเดือนก่อนเนื่องจากปัจจัยด้านฤดูกาล แต่ก็ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักโดยเฉลี่ยใกล้เคียงกับเดือนก่อน
ในไตรมาสที่ 3 สถานการณ์การท่องเที่ยวฟื้นตัวหลังจากผลกระทบของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) สิ้นสุดลง และความมั่นใจของนักท่องเที่ยวกลับคืนมาอย่างชัดเจน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 เกือบเท่าตัวจนมาอยู่ในระดับเดียวกับระยะเดียวกันในปีก่อน
สำหรับในช่วงไตรมาสสุดท้ายคาดว่าภาวะการท่องเที่ยวจะยังมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง นอกเหนือจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวแล้วยังเป็นผลดีสืบเนื่องจากการจัดประชุด APEC ในเดือนตุลาคม กอปรกับภาครัฐได้ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
ภาคอสังหาริมทรัพย์
เดือนสิงหาคม 2546
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าการซื้อขายที่ดินและพื้นที่ได้รับอนุญาติก่อสร้างขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 30.7 และ 67.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ สอดคล้องกับจำนวนที่อยู่อาศัย จดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์สำหรับผู้บริโภคยังขยายตัวต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2546 มียอดคงค้าง 437,829 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากระยะเดียวกัน ปีก่อน ส่วนสินเชื่อพัฒนาโครงการมียอดคงค้าง 255,531 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
แนวโน้ม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีตามความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง
ภาคการค้า
เดือนกรกฎาคม 2546
มูลค่าการค้าปลีกและค้าส่งยังคงขยายตัวในเกณฑ์สูงโดยสินค้าที่มียอดขายอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ สินค้าหมวดเกษตร อาหาร เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วัสดุก่อสร้างและเครื่องใช้ในครัวเรือน ขณะที่สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น วิทยุ-โทรทัศน์ ค่อนข้างทรงตัว
ในไตรมาสที่ 2 ภาวะการค้าขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกจากผลกระทบของสถานการณ์โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่และร้านค้าสะดวกซื้อยังมีความเชื่อมั่นที่จะดำเนินการขยายสาขาตามแผนการที่กำหนดไว้
โทรคมนาคม
เดือนกรกฎาคม 2546
โทรศัพท์พื้นฐาน มีจำนวนเลขหมายจดทะเบียน 6.5 ล้านเลขหมาย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี จำนวนเลขหมายจดทะเบียนคาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับนี้ อย่างไรก็ดี ตลาดต่างจังหวัดโดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกลยังมีความต้องการคู่สายใหม่อยู่มาก ซึ่งบริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยังสามารถเพิ่มการลงทุนได้
โทรศัพท์เคลื่อนที่ มีจำนวนเลขหมายจดทะเบียน 20.2 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นประมาณ 4 แสนเลขหมายจากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี ภาวะการแข่งขันของผู้ให้บริการจะยังคงอยู่ในระดับสูง แต่อัตราเพิ่มของจำนวนเลขหมายใหม่จะชะลอลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-นท-