จากกรณีที่นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ วิปรัฐบาลออกมาระบุถึงระยะเวลาการนำพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎว่า ขึ้นทูลเกล้า โดยอ้างว่าจำนวน 20 วันที่ต้องส่งนั้นหมายความว่าเป็น 20 วันหลังจากถึงมือของนายกฯ แต่ขณะนี้พรบ.ดังกล่าวยังไม่ถึงมือนายกฯ ดังนั้นเพียงแค่ในฝ่ายธุรการส.ส.นำไปแก้ไขก่อนส่งถึงนายกฯเรื่องก็จบนั้น
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลไม่ควรแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ เพราะในข้อเท็จจริงหากให้ฝ่ายธุรการวุฒิสภานำกลับไปแก้นั้นคงไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการพิมพ์ตกหล่น แต่เป็นข้อผิดพลาดในสาระสำคัญของตัวบทกฎหมาย เกี่ยวกับระบบโครงสร้างการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ เช่น การแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างมหันต์
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นายกฯ หรือรัฐบาลไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องเล็กและพยายามให้เรื่องจบๆไป แต่รัฐบาลควรตระหนักว่าเป็นความผิดพลาดจากการเหิมเกริมของเสียงข้างมากของรัฐบาล ซึ่งเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและเป็นข้อผิดพลาดในกรณีเดียวกันหลายครั้ง
ส่วนที่ระบุว่าจะหาทางออกโดยใช้มาตรา 7 ที่บัญญัติว่า ‘เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดในวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ นายองอาจกล่าวว่า ไม่น่าจะนำมาอ้างใช้ในกรณีนี้ได้ เพราะยังไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน ในมาตรา 7 นั้นระบุไว้สำหรับกรณีใดที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน และไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ถ้ากฎหมายสำคัญและไม่ผ่านสภา เพราะฉะนั้นตามประเพณีรัฐบาลจะต้องลาออกหรือยุบสภาเท่านั้น
‘เชื่อว่าเรื่องนี้คงมีทางออก และพรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมให้ความร่วมมือในการหาทางออกเรื่องนี้ แต่การหาทางออกใดจะต้องไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือขัดกับกฎหมายใดๆ ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เหมือนกับว่าเราแก้ปัญหาหนึ่ง กลับต้องไปแก้อีกปัญหาหนึ่ง และรัฐบาลก็ไม่ควรดำเนินการที่จะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท’
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/12/46--จบ--
-สส-
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า วิปรัฐบาลไม่ควรแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ เพราะในข้อเท็จจริงหากให้ฝ่ายธุรการวุฒิสภานำกลับไปแก้นั้นคงไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องการพิมพ์ตกหล่น แต่เป็นข้อผิดพลาดในสาระสำคัญของตัวบทกฎหมาย เกี่ยวกับระบบโครงสร้างการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญ เช่น การแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างมหันต์
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นายกฯ หรือรัฐบาลไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องเล็กและพยายามให้เรื่องจบๆไป แต่รัฐบาลควรตระหนักว่าเป็นความผิดพลาดจากการเหิมเกริมของเสียงข้างมากของรัฐบาล ซึ่งเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและเป็นข้อผิดพลาดในกรณีเดียวกันหลายครั้ง
ส่วนที่ระบุว่าจะหาทางออกโดยใช้มาตรา 7 ที่บัญญัติว่า ‘เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดในวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ นายองอาจกล่าวว่า ไม่น่าจะนำมาอ้างใช้ในกรณีนี้ได้ เพราะยังไม่เคยมีประเพณีปฏิบัติเช่นนี้มาก่อน ในมาตรา 7 นั้นระบุไว้สำหรับกรณีใดที่ไม่เคยปฏิบัติมาก่อน และไม่มีเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น ถ้ากฎหมายสำคัญและไม่ผ่านสภา เพราะฉะนั้นตามประเพณีรัฐบาลจะต้องลาออกหรือยุบสภาเท่านั้น
‘เชื่อว่าเรื่องนี้คงมีทางออก และพรรคประชาธิปัตย์ก็พร้อมให้ความร่วมมือในการหาทางออกเรื่องนี้ แต่การหาทางออกใดจะต้องไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือขัดกับกฎหมายใดๆ ซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก เหมือนกับว่าเราแก้ปัญหาหนึ่ง กลับต้องไปแก้อีกปัญหาหนึ่ง และรัฐบาลก็ไม่ควรดำเนินการที่จะระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท’
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19/12/46--จบ--
-สส-