วิเคราะห์ทิศทางการเมืองปี 47ทิศทางการเมืองในปี 2547 จะร้อนขึ้นเพราะจะมีความพยายามช่วงชิงโดยเฉพาะความได้เปรียบทางการเมืองกันมากขึ้น และจะเรียกว่าเป็นปีแห่งการเลือกตั้งก็ว่าได้ เพราะในช่วงการปี จะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นกันมาก เช่นเทศบาล อบจ. ผู้ว่ากทม. ดังนั้นในเบื้องต้นการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น จะมีความเคลื่อนไหวกันมาก ซึ่งมองได้ว่า เป็นความเตรียมพร้อมต่อการเลือกตั้งครั้งใหญ่ เช่นพรรคไทยรักไทย ที่จากเดิมจะไม่ประกาศตัวผู้สมัครลงอบจ. แต่ล่าสุดกลับมีการประกาศตัวผู้สมัครอบจ.ที่เชียงใหม่ ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าตรงนี้จะเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้งระดับใหญ่ แต่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้คิดเช่นนี้ โดยเห็นว่าท้องถิ่นไหนคนของเรามีความพร้อม มีศักยภาพเพียงพอ ก็อาจจะสนับสนุนลงเลือกตั้งที่นั่น ด้วยความมุ่งหวังที่จะใช้อำนาจบริหารท้องถิ่นแก้ปัญหาให้กับประชาชน เพราะการที่ท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้นในทุกวันนี้แม้แต่เรื่องการเงินการคลัง ประชาธิปัตย์ สามารถคุยได้เลยว่าเป็นผลจากความพยายามด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งแยกท้องถิ่นออกเป็น 3 ระดับ คือ อบจ. เทศบาล และอบต. และทีท้องถิ่นพอใจมากคือ แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ที่มีการกำหนดวงเงินที่รัฐบาลต้องให้กับท้องถิ่น ดังนั้นตรงพื้นที่ไหนที่เรามีความพร้อมก็จะสนับสนุน แต่ที่แน่นอนคือการช่วงชิงกันแล้ว นั่นหมายถึงว่าหากการเลือกตั้งใหญ่ยังไม่เกิดขึ้นในปี 47 คือ รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมตามที่นายกรัฐมนตรีใช้สติเดิมพันไว้แล้ว
การช่วงชิงอันที่สอง คือการช่วงชิงความพร้อมการเลือกตั้งใหญ่ เท่าที่ดูอยู่เวลานี้ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวในแกนนำรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ตนคาดหมายว่า จะมีความพยายามช่วงชิงความได้เปรียบตรงนี้ 3 แนวทางด้วยกัน 1 ช่วงชิงคน คือ การช่วงชิงคนที่มีศักยภาพที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามา อาจจะเริ่มต้นจาก ส.ส. ที่มีอยู่แล้วขณะนี้ หรือคนที่มีโอกาส กระแสข่าวเรื่องความพยายามที่จะกวาดต้อนเพื่อผู้คนเข้าพรรค แม้ไม่มีใครยอมรับ แต่ข่าวที่ปรากฏในหน้าสื่อ ตนว่ามีการดูดแน่นอน และขณะนี้ดูจะเป็นสาเหตุให้มีความขัดเคืองกันในพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกัน มีคนระดับหัวหน้าพรรคออกมาพูดถึงมารยาททางการเมือง เรื่องการดูดกันไปมา และตรงนี้ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนกันว่าที่คุยๆ กันนั้น ต่อไปนี้จะมีการแข่งขันด้านนโยบายมากขึ้น มีความแข็งแกร่งกันมากขึ้นเพราะมีประชาชนสนับสนุน แต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นแค่ราคาคุย เพราะถ้าเขามั่นใจว่านโยบายดีและเข้าตาประชาชน ประชาชนสนับสนุนเขาแน่นอนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแสวงหาคนที่มีศักยภาพจากพรรคอื่นมากเข้าพรรค เพราะความคิดการดึงส.ส.เก่าจากพรรคนั้นพรรคนี้มาเป็นความคิดแบบเดิม ๆ บนพื้นฐาน ของความเชื่อมั่นว่าประเทศนี้มีคนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะได้รับการเลือกตั้งเพราะฉะนั้นถ้ากวาดต้อนคนเหล่านี้ไปอยู่ที่เดียวกันได้ โอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งและยึดอำนาจก็สูง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้ง 2-3 ครั้งที่ผ่านมาเกิดจากเหตุนี้ ดังนั้นเมื่อมีคนพูดเรื่องคิดใหม่ทำใหม่ หรือพูดถึงการต่อสู้ในเชิงนโยบาย แสดงว่าที่พูดกันนั้นไม่มีความมั่นใจ แนวทางการช่วงชิงความได้เปรียบในเรื่องของคน ยังจะมีอยู่ และจะอลเวงมากขึ้น เมื่ออย่างเข้าสู่ปลายปี 2547 เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐธรรมนูญเขียนข้อยกเว้น
2. ความพยายามในการใช้กลไกของข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาได้ยินว่าใช้ผู้ว่าซีอีโอไปเกลี้ยกล่อมให้ส.ส.ย้ายพรรค และยังมีการใช้กลไกราชการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ ให้กับพรรคที่เป็นรัฐบาล ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะติดตามดูว่า มีข้าราชการที่หวังใช้การเมืองไต่เต้า ให้ตำแหน่งใหญ่โตขึ้น
3. ด้านการตลาด การปฏิบัติการทางจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อ ที่จะทำกันมากขึ้น เช่นการประกาศให้คนจน หรือคนที่ไม่มีปัญหาไปแจ้งปัญหา ต่อหน่วยราชการ โดยรับปากว่าจะแก้ไขปัญหาคนจนให้หมดสิ้นภายในเวลา 6 ปี ซึ่งหากหลายคนที่คิดว่าการแก้ปัญหาคนจนไม่ง่ายอย่างที่รัฐบาลประกาศนั้น คงคิดว่ารัฐบาลทำการตลาดและเป็นการโฆษณาชวนเชื่อจึงเป็นการปฏิบัติการทางจิตวิทยา สร้างความหวังให้กับประชาชนว่าถ้าตนมีโอกาสเข้ามามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งก็จะได้ทำสิ่งเหล่านี้
ยุทธศาสตร์ที่พรรคจะช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง
คงมีทางเดียวคือยุทธศาสตร์ที่เราจะต้องเดินลงไปหาประชาชนมากขึ้น จัดเวทีพบปะ ปราศรัยกับพี่น้องประชาชนถึงปัญหาที่มีอยู่ ถึงอนาคตของประเทศชาติ ประชาชน ยุทธศาสตร์ นี้ เป็นได้กำหนดแล้วว่า 2547 ทั้งปี จะทำเรื่องนี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเริ่มทำบ้างแล้วและได้ผลพอสมควร ซึ่งการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1. เปิดวงรับฟังความคิดเห็นที่ไม่ใหญ่มากภายใต้ชื่อ การเสวนาปัญหาของประชาชน 2. การปราศรัยในเวทีใหญ่ ซึ่งประเมินแล้วว่าใช้ได้ จะทำกันถี่ขึ้นในปี 2547
การทำงานในสภาผู้แทนราษฎรภายใต้ภารกิจปัจจุบันที่จะต้องตรวจสอบรัฐบาล ในปี 2547 จะมีความเข้มข้นขึ้น โดยจะใช้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ทุกส่วน ทั้งการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เสนอกฎหมายสำคัญในเชิงนโยบาย โดยความมุ่งหวังว่าถ้ากฎหมายเหล่านั้นได้รับการยอมรับก็จะคลี่คลายปัญหาประชาชนได้ส่วนหนึ่ง ก็จะทำกันมากขึ้น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้นค่อนข้างแน่นอนแล้ว เพราะจากการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน มีเหตุผลเพียงพอที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีบางท่านได้แล้ว แต่ขออนุญาตอุบไว้ ก่อน ซึ่งมีทุกส่วนทั้งความล้มเหลวความทุจริต และทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ก็น่าพอใจทีเดียว นอกเหนือจากการสะท้อนปัญหาข้อบกพร่องการทุจริตคอรัปชั่นแล้วยังเป็นการทำให้ประชาชนตระหนักว่า ภารกิจในการตรวจสอบรัฐบาลมีควาสมสำคัญให้เขาเห็นความสำคัญของการถ่วงดุลย์ อำนาจ ถ้าประชาชนเข้าใจถึงภารกิจเช่นนี้ประชาชนก็จะเห็นความล้มเหลวจากรัฐบาลชัดเจนมากขึ้น และประการที่สองการปล่อยให้พรรคการเมืองอื่นใดมีอำนาจมากในระบบรัฐสภา โดยปราศจากการถ่วงดุลอำนาจเท่าที่ควรจะนำไปสู่ระบบที่เป็นอันตรายมากขึ้น ซึ่งเฉพาะจุดนี้ใน 1 ปีมี่ปัญหาทั้งนั้น สดๆ ร้อน คือการที่ใช้เสียงข้างมากในสภาผ้แทนราษฎรและละเลยต่อการรับฟังเสียงข้างน้อย จนนำมาสู่การเกิดวิกฤติของรัฐธรรมนูญในท้ายที่สุด ซึ่งปัจจุบันก็ดูจะยังหาทางออกไม่ได้
ประเมินการทำงานที่ผ่านมา 1 ปีของฝ่ายค้านมีอะไรที่จะต้องแก้ไขหรือไม่
พรรคทำมามากที่สุดภายใต้ข้อจำกัด ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งการแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จากส่วนราชการเวลานี้ ต้องยอมรับว่ายากลำบากที่สุด ที่จะได้รับข้อมูลเพิ่มจากหน่วยราชการที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในยุคที่มีรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ที่มีกฎหมายข้อมูลข่าวสาร แต่ควาสมร่วมมือดังกล่าวยังล่าช้าและมักจะถูกปฏิเสธเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกรงกลัวอำนาจฝ่ายการเมือง
ส่วนที่สองคือ รัฐบาลนี้พยายามสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นในทำนองว่า แทนที่ฝ่ายค้านจะค้านการทำงานของรัฐบาล แต่น่าจะร่วมมือทำงานกับรัฐบาลมากกว่า ซึ่งค่านิยมเหล่านี้เป็นค่านิยมที่ผิดเพราะหัวใจของรัฐสภาคือการถ่วงดุลอำนาจ ด้วยความเชื่อมั่นว่าอำนาจที่ไม่มีการถ่วงดุลคืออำนาจที่จะนำไปสู่การใช้อำนาจในทางเสียหาย ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ฝ่ายค้านบางครั้งต้องระวังว่าประชาชนเข้าใจหรือไม่ ทำให้ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ในการการกวาดต้อนส.ส.ของพรรครัฐบาลจะทำให้เกิดความกระทบกระทั่ง จนจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือไม่
เรื่องนี้ผมทายใจไม่ถูก เพราะที่ผ่านมาทายผิดมาตลอด คงต้องดูอีกระยะ หากเล่นการเมืองตามบทก็สามารถ วิเคราะห์ได้ แต่ถ้าเล่นการเมืองในลักษระเปลี่ยนบทมาเป็นเกม ถ้าเกมนั้นกำหนดโดยองค์กรก็ยังคงวิเคราะห์ออก แต่ถ้าเกมนั้นกำหนดด้วยคนเพียงคนเดียวก็วิเคราะห์ยาก การเมืองในปีหน้าถือเป็นภาระหนักของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ทางพรรคโดยคณะกรรมการเตรียมการเลือกตั้งก็เร่งทำงานกันเต็มที่ เ ตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ท้อแท้อะไร เพราะเมื่อได้ออกไปพบปะประชาชน และสร้างความเข้าใจทางการเมือง ก็มีกำลังใจทุกครั้งว่าประชาชนเริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น
การตรวจสอบขององค์กรอิสระที่ในปีหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล จะทำให้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาในการตรวจสอบรัฐบาลน้อยแค่ไหน ตรงนี้ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กร แต่ที่ผ่านมาเราตระหนักในความสำคัญขององค์กรอิสระ หากถือความรัฐธรรมนูญแล้วเป็นอำนาจที่4 ที่จะทำให้การตรวจสอบเข้มข้นขึ้น และเห็นว่า องค์กรอิสระกำลังถูกแทรกแซงในชั้นการสรรหา เราจึงได้พูดกันในส่วนนี้ แต่ส่วนนั้นจะปล่อยให้สังคมวิเคราะห์วิจารณ์การทำงานขององค์กรอิสระ แต่การที่เป็นภาระหน้าที่ตรวจสอบโดยตรงของเราก็ต้องทำให้เต็มที่
ที่ผ่านมาหลังจากที่ฝ่ายค้านอภิปรายก็ไม่สามารถยื่นถอดถอนได้ ทำให้ดูเหมือนไม่มีน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อถือหากใครติดตามการยื่นถอดถอนของฝ่ายค้านจริงๆจะพบความจริงว่าเราไม่ได้ล้มเหลว หากจะดูว่าไม่สามารถถอดถอนใครได้แล้วถือว่าล้มเหลว แต่ถ้าดูว่าเสียงที่วินิจฉัยก้ำกึ่งกันมาก เราถือว่าไม่ได้ล้มเหลวเลย เราพอใจในส่วนนี้และไม่ได้ท้อแท้อย่างไร เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเราทำแน่นอน เพราะในเวลาที่เราจุดประกายขึ้นมา2-3เดือนที่แล้วก็ดูจะมีการขานรับพอสมควร อย่างน้อยที่สุดก็ประแด็นของกรรมการสรรหาในองค์กรอิสระต่างๆ หลังจากมค.ไปแล้ว คณะทำงานคงจะมีโอกาสประสานกับหน่วยต่างๆเพื่อรับฟังความเห็นในเรื่องนี้เพื่อที่จะรวบรวมขึ้นมาเป็นต้นร่างในการยื่นรัฐสภา หลังเปิดประชุม โดยขอตั้งหลักในประเด็นที่เห็นสอดคล้องกันส่วนใหญ่ก่อน ขอเรียนตรงๆว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นกัน เพราะว่าการสร้างให้เกิดกระแสทำนองว่าแก้เพื่อให้รัฐเสียเปรียบทางการเมือง คงมีอยู่ต่อไป ฉะนั้นประเด็นที่จะแก้ไขต้องมีความชัดเจน ว่าไม่ใช่เป็นประเด็นที่ขอให้แก้ไขเพื่อให้รัฐเสียเปรียบทางการเมืองอย่างแน่นอน ประเด็นที่จะไปลดจำนวนเสียงเพื่อให้สามารถอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้นั้น ตนขอบอกตรงนี้เลยว่าเราจะไม่ขอเสนอแก้ไขอย่างแน่นอน ส่วนจะมีเสียงเพียงพอหรือไม่นั้น ก็ไม่เป็นไร เพราะภารกิจของพรรคการเมือง เวลาจะดำเนินการเรื่องใดก็คงต้องตั้งหลักขึ้นมาก่อนว่ามีเหตุผลสมควรทำเรื่องนั้นหรือไม่ ถ้ามีเหตุผลเพียงพอ และสมควร เป็นการกระทำเพื่อรักษาความถูกต้องของสังคมให้ดีกว่า แต่เมื่อทำไปแล้วจะได้รับการตอบสนอง สำเร็จหรือไม่ ตนคิดว่าเป็นประเด็นรอง ในทางการเมืองทุกวันนี้ถ้าจะคิดว่าทำแล้วต้องสำเร็จก็คงไม่ต้องทำอะไรเลยจะยื่นในนามพรรคประชาธิปัตย์หรือสมาชิกรัฐสภาเพื่อเปิดโอกาสให้ส.ว.ร่วมลงชื่อด้วย
พรรคเราก็พออยู่แล้ว เพราะใช้แค่1ใน5 เท่านั้น ตนยังคิดว่าองค์กรอื่นไม่ได้ติดใจว่าจะมีบทบาทร่วมมากน้อยแค่ไหน แต่สนใจว่าประเด็นที่ยื่นแก้ไขมากกว่า ว่าถูกต้อง และสมควรแก้ไขหรือไม่ เว้นแต่มีใครสนใจขอเป็นโจทก์ร่วม เราก็ยินดี ซึ่งประเด็นต่างๆในเวลานี้คณะทำงานกำลังรวบรวมอยู่ แต่ที่ไม่แถลงออกมาเพราะกลัวจะสับสน เพราะบ่างเรื่องมีคนเสนอมาแต่มันหมิ่นเหม่ หากพูดไปอาจจะตีความยุ่งวุ่นวาย มันควรจะเป็นประเด็นที่ชัดเจนว่า 1. ไม่ใช่แก้เพื่อเสริมอำนาจทางการเมือง2. แต่เป็นการทำให้กลไกของรัฐธรรมนูญเดินได้ครบถ้วนโดยเฉพาะองค์กรอิสระต่างๆ และ3ในส่วนที่มีปัญหาในทางปฏิบัติทำให้ตีความเป็นอย่างอื่นได้ หรือเถียงกันไม่จบสิ้นทำให้ชัดเจนเสียซึ่งเป็นกรอบที่วางไว้แต่ต้น หลังจากได้ประเด็นที้ไม่หมิ่นเหม่แล้ว ก็จะเปิดให้มีการประชาพิจารณ์ด้วย
จะมีการประสานไปยังองค์กรอิสระด้วยหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่าจะมีการสอบถามความประสงค์ขององค์กรเหล่านั้น เพราะเท่าที่ทราบองค์กรเหล่านั้นมีบางประเด็นเหมือนกัน แต่ด้วยความรู้สึกว่ามันยังไม่มากประเด็น จึงไม่อยากเป็นฝ่ายเสนอออกมา
หลายคนกังวลเรื่องจะมีม๊อบธงเขียวธงเหลืองเกิดขึ้น ผมไม่ค่อยกังวลในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าอยู่ที่ความชัดเจนของประเด็นที่เรานำเสนอ ถ้าชัดเจนอธิบายได้ก็ยากที่จะตีความเป็นอย่างอื่นได้ แต่ก็มีหลายคนวิตกถึงโอกาสที่รัฐบาลจะชิงเอาเวทีนี้มาแก้ไขเพื่อให้ตนเองได้เประโยชน์ ตนอยากบอกว่าในข้องบังคับรัฐสภา เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนมากว่าเวลาที่จะเสนอแก้ไข ต้องมีหลักการที่ชัดเจนจะไปแปรญัตติหรือเพิ่มเติมในเรื่องอื่นที่ขัดกับหลักการหรือนอกเหนือจากหลักการก็คงไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเราเขียนหลักการตามข้อบังคับให้ชัดเจน และเหตุผลที่เราประกาศต่อสาธารณะในการแก้ไขมีความชัดเจนตนคิดว่าใครก็ตามที่คิดพ่วงเรื่องอื่นเข้ามาก็คงทำไม่ได้ซึ่งในส่วนของครม.ก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอแก้ไขได้ ส่วนจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลเสนอเข้ามาแล้วตีประเด็นของฝ่ายค้านตกไป หรือไม่ ทางเราก็ไม่ขัดข้อง แต่คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเท่านั้น หากทั้งสองจะเสนอ ปัญหาก็มีแค่ว่าจะให้คำตอบกับสังคมว่ามีเหตุผลอะไรถึงแก้ไข
นโยบายที่จะชูหาเสียง คืบหน้าไปมากแล้ว ในฐานะที่เป็นพรรคเก่าแก่และเคยเป็นรัฐบาลหลายครั้ง เรามีนโยบายอยู่แล้ว เมื่อสภาพปัญหาความรู้สึกนึกคิดของสังคมเปลี่ยน ก็ต้องมีการแก้ไขในบางส่วน ซึ่งคณะทำงานก็กำลังทำอยู่ คิดว่าในบางจังหวะที่เหมาะสมก็จะเปิดบางเรื่องออกมา แต่หลักใหญ่คือคงต้องไปเปิดเต็มที่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เพราะภารกิจของเราเวลานี้คือตรวจสอบรัฐบาลไม่ใช่มาเสนอนโยบายแข่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 01/01/47--จบ--
-สส-
การช่วงชิงอันที่สอง คือการช่วงชิงความพร้อมการเลือกตั้งใหญ่ เท่าที่ดูอยู่เวลานี้ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวในแกนนำรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือ ตนคาดหมายว่า จะมีความพยายามช่วงชิงความได้เปรียบตรงนี้ 3 แนวทางด้วยกัน 1 ช่วงชิงคน คือ การช่วงชิงคนที่มีศักยภาพที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามา อาจจะเริ่มต้นจาก ส.ส. ที่มีอยู่แล้วขณะนี้ หรือคนที่มีโอกาส กระแสข่าวเรื่องความพยายามที่จะกวาดต้อนเพื่อผู้คนเข้าพรรค แม้ไม่มีใครยอมรับ แต่ข่าวที่ปรากฏในหน้าสื่อ ตนว่ามีการดูดแน่นอน และขณะนี้ดูจะเป็นสาเหตุให้มีความขัดเคืองกันในพรรคร่วมรัฐบาลเหมือนกัน มีคนระดับหัวหน้าพรรคออกมาพูดถึงมารยาททางการเมือง เรื่องการดูดกันไปมา และตรงนี้ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนกันว่าที่คุยๆ กันนั้น ต่อไปนี้จะมีการแข่งขันด้านนโยบายมากขึ้น มีความแข็งแกร่งกันมากขึ้นเพราะมีประชาชนสนับสนุน แต่เอาเข้าจริงแล้วเป็นแค่ราคาคุย เพราะถ้าเขามั่นใจว่านโยบายดีและเข้าตาประชาชน ประชาชนสนับสนุนเขาแน่นอนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแสวงหาคนที่มีศักยภาพจากพรรคอื่นมากเข้าพรรค เพราะความคิดการดึงส.ส.เก่าจากพรรคนั้นพรรคนี้มาเป็นความคิดแบบเดิม ๆ บนพื้นฐาน ของความเชื่อมั่นว่าประเทศนี้มีคนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่จะได้รับการเลือกตั้งเพราะฉะนั้นถ้ากวาดต้อนคนเหล่านี้ไปอยู่ที่เดียวกันได้ โอกาสที่จะได้รับการเลือกตั้งและยึดอำนาจก็สูง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้ง 2-3 ครั้งที่ผ่านมาเกิดจากเหตุนี้ ดังนั้นเมื่อมีคนพูดเรื่องคิดใหม่ทำใหม่ หรือพูดถึงการต่อสู้ในเชิงนโยบาย แสดงว่าที่พูดกันนั้นไม่มีความมั่นใจ แนวทางการช่วงชิงความได้เปรียบในเรื่องของคน ยังจะมีอยู่ และจะอลเวงมากขึ้น เมื่ออย่างเข้าสู่ปลายปี 2547 เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐธรรมนูญเขียนข้อยกเว้น
2. ความพยายามในการใช้กลไกของข้าราชการ ซึ่งที่ผ่านมาได้ยินว่าใช้ผู้ว่าซีอีโอไปเกลี้ยกล่อมให้ส.ส.ย้ายพรรค และยังมีการใช้กลไกราชการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือ ให้กับพรรคที่เป็นรัฐบาล ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะติดตามดูว่า มีข้าราชการที่หวังใช้การเมืองไต่เต้า ให้ตำแหน่งใหญ่โตขึ้น
3. ด้านการตลาด การปฏิบัติการทางจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อ ที่จะทำกันมากขึ้น เช่นการประกาศให้คนจน หรือคนที่ไม่มีปัญหาไปแจ้งปัญหา ต่อหน่วยราชการ โดยรับปากว่าจะแก้ไขปัญหาคนจนให้หมดสิ้นภายในเวลา 6 ปี ซึ่งหากหลายคนที่คิดว่าการแก้ปัญหาคนจนไม่ง่ายอย่างที่รัฐบาลประกาศนั้น คงคิดว่ารัฐบาลทำการตลาดและเป็นการโฆษณาชวนเชื่อจึงเป็นการปฏิบัติการทางจิตวิทยา สร้างความหวังให้กับประชาชนว่าถ้าตนมีโอกาสเข้ามามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งก็จะได้ทำสิ่งเหล่านี้
ยุทธศาสตร์ที่พรรคจะช่วงชิงความได้เปรียบทางการเมือง
คงมีทางเดียวคือยุทธศาสตร์ที่เราจะต้องเดินลงไปหาประชาชนมากขึ้น จัดเวทีพบปะ ปราศรัยกับพี่น้องประชาชนถึงปัญหาที่มีอยู่ ถึงอนาคตของประเทศชาติ ประชาชน ยุทธศาสตร์ นี้ เป็นได้กำหนดแล้วว่า 2547 ทั้งปี จะทำเรื่องนี้ เราไม่มีทางเลือกอื่น ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเริ่มทำบ้างแล้วและได้ผลพอสมควร ซึ่งการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ 1. เปิดวงรับฟังความคิดเห็นที่ไม่ใหญ่มากภายใต้ชื่อ การเสวนาปัญหาของประชาชน 2. การปราศรัยในเวทีใหญ่ ซึ่งประเมินแล้วว่าใช้ได้ จะทำกันถี่ขึ้นในปี 2547
การทำงานในสภาผู้แทนราษฎรภายใต้ภารกิจปัจจุบันที่จะต้องตรวจสอบรัฐบาล ในปี 2547 จะมีความเข้มข้นขึ้น โดยจะใช้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ทุกส่วน ทั้งการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เสนอกฎหมายสำคัญในเชิงนโยบาย โดยความมุ่งหวังว่าถ้ากฎหมายเหล่านั้นได้รับการยอมรับก็จะคลี่คลายปัญหาประชาชนได้ส่วนหนึ่ง ก็จะทำกันมากขึ้น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้นค่อนข้างแน่นอนแล้ว เพราะจากการรวบรวมข้อมูลหลักฐาน มีเหตุผลเพียงพอที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีบางท่านได้แล้ว แต่ขออนุญาตอุบไว้ ก่อน ซึ่งมีทุกส่วนทั้งความล้มเหลวความทุจริต และทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งที่มีอยู่ในขณะนี้ก็น่าพอใจทีเดียว นอกเหนือจากการสะท้อนปัญหาข้อบกพร่องการทุจริตคอรัปชั่นแล้วยังเป็นการทำให้ประชาชนตระหนักว่า ภารกิจในการตรวจสอบรัฐบาลมีควาสมสำคัญให้เขาเห็นความสำคัญของการถ่วงดุลย์ อำนาจ ถ้าประชาชนเข้าใจถึงภารกิจเช่นนี้ประชาชนก็จะเห็นความล้มเหลวจากรัฐบาลชัดเจนมากขึ้น และประการที่สองการปล่อยให้พรรคการเมืองอื่นใดมีอำนาจมากในระบบรัฐสภา โดยปราศจากการถ่วงดุลอำนาจเท่าที่ควรจะนำไปสู่ระบบที่เป็นอันตรายมากขึ้น ซึ่งเฉพาะจุดนี้ใน 1 ปีมี่ปัญหาทั้งนั้น สดๆ ร้อน คือการที่ใช้เสียงข้างมากในสภาผ้แทนราษฎรและละเลยต่อการรับฟังเสียงข้างน้อย จนนำมาสู่การเกิดวิกฤติของรัฐธรรมนูญในท้ายที่สุด ซึ่งปัจจุบันก็ดูจะยังหาทางออกไม่ได้
ประเมินการทำงานที่ผ่านมา 1 ปีของฝ่ายค้านมีอะไรที่จะต้องแก้ไขหรือไม่
พรรคทำมามากที่สุดภายใต้ข้อจำกัด ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งการแสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงเพิ่มเติม จากส่วนราชการเวลานี้ ต้องยอมรับว่ายากลำบากที่สุด ที่จะได้รับข้อมูลเพิ่มจากหน่วยราชการที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในยุคที่มีรัฐธรรมนูญรับรองสิทธิในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ที่มีกฎหมายข้อมูลข่าวสาร แต่ควาสมร่วมมือดังกล่าวยังล่าช้าและมักจะถูกปฏิเสธเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกรงกลัวอำนาจฝ่ายการเมือง
ส่วนที่สองคือ รัฐบาลนี้พยายามสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นในทำนองว่า แทนที่ฝ่ายค้านจะค้านการทำงานของรัฐบาล แต่น่าจะร่วมมือทำงานกับรัฐบาลมากกว่า ซึ่งค่านิยมเหล่านี้เป็นค่านิยมที่ผิดเพราะหัวใจของรัฐสภาคือการถ่วงดุลอำนาจ ด้วยความเชื่อมั่นว่าอำนาจที่ไม่มีการถ่วงดุลคืออำนาจที่จะนำไปสู่การใช้อำนาจในทางเสียหาย ข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ฝ่ายค้านบางครั้งต้องระวังว่าประชาชนเข้าใจหรือไม่ ทำให้ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ในการการกวาดต้อนส.ส.ของพรรครัฐบาลจะทำให้เกิดความกระทบกระทั่ง จนจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหรือไม่
เรื่องนี้ผมทายใจไม่ถูก เพราะที่ผ่านมาทายผิดมาตลอด คงต้องดูอีกระยะ หากเล่นการเมืองตามบทก็สามารถ วิเคราะห์ได้ แต่ถ้าเล่นการเมืองในลักษระเปลี่ยนบทมาเป็นเกม ถ้าเกมนั้นกำหนดโดยองค์กรก็ยังคงวิเคราะห์ออก แต่ถ้าเกมนั้นกำหนดด้วยคนเพียงคนเดียวก็วิเคราะห์ยาก การเมืองในปีหน้าถือเป็นภาระหนักของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ทางพรรคโดยคณะกรรมการเตรียมการเลือกตั้งก็เร่งทำงานกันเต็มที่ เ ตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้ท้อแท้อะไร เพราะเมื่อได้ออกไปพบปะประชาชน และสร้างความเข้าใจทางการเมือง ก็มีกำลังใจทุกครั้งว่าประชาชนเริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้น
การตรวจสอบขององค์กรอิสระที่ในปีหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคล จะทำให้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีปัญหาในการตรวจสอบรัฐบาลน้อยแค่ไหน ตรงนี้ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กร แต่ที่ผ่านมาเราตระหนักในความสำคัญขององค์กรอิสระ หากถือความรัฐธรรมนูญแล้วเป็นอำนาจที่4 ที่จะทำให้การตรวจสอบเข้มข้นขึ้น และเห็นว่า องค์กรอิสระกำลังถูกแทรกแซงในชั้นการสรรหา เราจึงได้พูดกันในส่วนนี้ แต่ส่วนนั้นจะปล่อยให้สังคมวิเคราะห์วิจารณ์การทำงานขององค์กรอิสระ แต่การที่เป็นภาระหน้าที่ตรวจสอบโดยตรงของเราก็ต้องทำให้เต็มที่
ที่ผ่านมาหลังจากที่ฝ่ายค้านอภิปรายก็ไม่สามารถยื่นถอดถอนได้ ทำให้ดูเหมือนไม่มีน้ำหนัก ไม่น่าเชื่อถือหากใครติดตามการยื่นถอดถอนของฝ่ายค้านจริงๆจะพบความจริงว่าเราไม่ได้ล้มเหลว หากจะดูว่าไม่สามารถถอดถอนใครได้แล้วถือว่าล้มเหลว แต่ถ้าดูว่าเสียงที่วินิจฉัยก้ำกึ่งกันมาก เราถือว่าไม่ได้ล้มเหลวเลย เราพอใจในส่วนนี้และไม่ได้ท้อแท้อย่างไร เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเราทำแน่นอน เพราะในเวลาที่เราจุดประกายขึ้นมา2-3เดือนที่แล้วก็ดูจะมีการขานรับพอสมควร อย่างน้อยที่สุดก็ประแด็นของกรรมการสรรหาในองค์กรอิสระต่างๆ หลังจากมค.ไปแล้ว คณะทำงานคงจะมีโอกาสประสานกับหน่วยต่างๆเพื่อรับฟังความเห็นในเรื่องนี้เพื่อที่จะรวบรวมขึ้นมาเป็นต้นร่างในการยื่นรัฐสภา หลังเปิดประชุม โดยขอตั้งหลักในประเด็นที่เห็นสอดคล้องกันส่วนใหญ่ก่อน ขอเรียนตรงๆว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษเช่นกัน เพราะว่าการสร้างให้เกิดกระแสทำนองว่าแก้เพื่อให้รัฐเสียเปรียบทางการเมือง คงมีอยู่ต่อไป ฉะนั้นประเด็นที่จะแก้ไขต้องมีความชัดเจน ว่าไม่ใช่เป็นประเด็นที่ขอให้แก้ไขเพื่อให้รัฐเสียเปรียบทางการเมืองอย่างแน่นอน ประเด็นที่จะไปลดจำนวนเสียงเพื่อให้สามารถอภิปรายนายกรัฐมนตรีได้นั้น ตนขอบอกตรงนี้เลยว่าเราจะไม่ขอเสนอแก้ไขอย่างแน่นอน ส่วนจะมีเสียงเพียงพอหรือไม่นั้น ก็ไม่เป็นไร เพราะภารกิจของพรรคการเมือง เวลาจะดำเนินการเรื่องใดก็คงต้องตั้งหลักขึ้นมาก่อนว่ามีเหตุผลสมควรทำเรื่องนั้นหรือไม่ ถ้ามีเหตุผลเพียงพอ และสมควร เป็นการกระทำเพื่อรักษาความถูกต้องของสังคมให้ดีกว่า แต่เมื่อทำไปแล้วจะได้รับการตอบสนอง สำเร็จหรือไม่ ตนคิดว่าเป็นประเด็นรอง ในทางการเมืองทุกวันนี้ถ้าจะคิดว่าทำแล้วต้องสำเร็จก็คงไม่ต้องทำอะไรเลยจะยื่นในนามพรรคประชาธิปัตย์หรือสมาชิกรัฐสภาเพื่อเปิดโอกาสให้ส.ว.ร่วมลงชื่อด้วย
พรรคเราก็พออยู่แล้ว เพราะใช้แค่1ใน5 เท่านั้น ตนยังคิดว่าองค์กรอื่นไม่ได้ติดใจว่าจะมีบทบาทร่วมมากน้อยแค่ไหน แต่สนใจว่าประเด็นที่ยื่นแก้ไขมากกว่า ว่าถูกต้อง และสมควรแก้ไขหรือไม่ เว้นแต่มีใครสนใจขอเป็นโจทก์ร่วม เราก็ยินดี ซึ่งประเด็นต่างๆในเวลานี้คณะทำงานกำลังรวบรวมอยู่ แต่ที่ไม่แถลงออกมาเพราะกลัวจะสับสน เพราะบ่างเรื่องมีคนเสนอมาแต่มันหมิ่นเหม่ หากพูดไปอาจจะตีความยุ่งวุ่นวาย มันควรจะเป็นประเด็นที่ชัดเจนว่า 1. ไม่ใช่แก้เพื่อเสริมอำนาจทางการเมือง2. แต่เป็นการทำให้กลไกของรัฐธรรมนูญเดินได้ครบถ้วนโดยเฉพาะองค์กรอิสระต่างๆ และ3ในส่วนที่มีปัญหาในทางปฏิบัติทำให้ตีความเป็นอย่างอื่นได้ หรือเถียงกันไม่จบสิ้นทำให้ชัดเจนเสียซึ่งเป็นกรอบที่วางไว้แต่ต้น หลังจากได้ประเด็นที้ไม่หมิ่นเหม่แล้ว ก็จะเปิดให้มีการประชาพิจารณ์ด้วย
จะมีการประสานไปยังองค์กรอิสระด้วยหรือไม่ นายบัญญัติกล่าวว่าจะมีการสอบถามความประสงค์ขององค์กรเหล่านั้น เพราะเท่าที่ทราบองค์กรเหล่านั้นมีบางประเด็นเหมือนกัน แต่ด้วยความรู้สึกว่ามันยังไม่มากประเด็น จึงไม่อยากเป็นฝ่ายเสนอออกมา
หลายคนกังวลเรื่องจะมีม๊อบธงเขียวธงเหลืองเกิดขึ้น ผมไม่ค่อยกังวลในเรื่องนี้ เพราะคิดว่าอยู่ที่ความชัดเจนของประเด็นที่เรานำเสนอ ถ้าชัดเจนอธิบายได้ก็ยากที่จะตีความเป็นอย่างอื่นได้ แต่ก็มีหลายคนวิตกถึงโอกาสที่รัฐบาลจะชิงเอาเวทีนี้มาแก้ไขเพื่อให้ตนเองได้เประโยชน์ ตนอยากบอกว่าในข้องบังคับรัฐสภา เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนมากว่าเวลาที่จะเสนอแก้ไข ต้องมีหลักการที่ชัดเจนจะไปแปรญัตติหรือเพิ่มเติมในเรื่องอื่นที่ขัดกับหลักการหรือนอกเหนือจากหลักการก็คงไม่ได้ ฉะนั้นถ้าเราเขียนหลักการตามข้อบังคับให้ชัดเจน และเหตุผลที่เราประกาศต่อสาธารณะในการแก้ไขมีความชัดเจนตนคิดว่าใครก็ตามที่คิดพ่วงเรื่องอื่นเข้ามาก็คงทำไม่ได้ซึ่งในส่วนของครม.ก็มีสิทธิ์ที่จะเสนอแก้ไขได้ ส่วนจะเปิดโอกาสให้รัฐบาลเสนอเข้ามาแล้วตีประเด็นของฝ่ายค้านตกไป หรือไม่ ทางเราก็ไม่ขัดข้อง แต่คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเท่านั้น หากทั้งสองจะเสนอ ปัญหาก็มีแค่ว่าจะให้คำตอบกับสังคมว่ามีเหตุผลอะไรถึงแก้ไข
นโยบายที่จะชูหาเสียง คืบหน้าไปมากแล้ว ในฐานะที่เป็นพรรคเก่าแก่และเคยเป็นรัฐบาลหลายครั้ง เรามีนโยบายอยู่แล้ว เมื่อสภาพปัญหาความรู้สึกนึกคิดของสังคมเปลี่ยน ก็ต้องมีการแก้ไขในบางส่วน ซึ่งคณะทำงานก็กำลังทำอยู่ คิดว่าในบางจังหวะที่เหมาะสมก็จะเปิดบางเรื่องออกมา แต่หลักใหญ่คือคงต้องไปเปิดเต็มที่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เพราะภารกิจของเราเวลานี้คือตรวจสอบรัฐบาลไม่ใช่มาเสนอนโยบายแข่ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 01/01/47--จบ--
-สส-