1. บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2546
เศรษฐกิจไทยในปี 2546 เติบโตดี โดยขยายตัวร้อยละ 6.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.4 ในปีก่อน แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปีความไม่แน่นอนของสถานการณ์สงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรักและความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนบ้าง ทำให้มีการเลื่อนการลงทุนบางส่วนออกไประยะหนึ่ง ประกอบกับรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหดตัวค่อนข้างรุนแรง แต่เมื่อสถานการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไปภายในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจไทยก็กลับมาขยายตัวดีซึ่งบ่งชี้ถึงพื้นฐานของการฟื้นตัวที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นต่อปัจจัยลบจากภายนอกประเทศ
แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 5.1 ส่วนมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงในอัตราร้อยละ 18.6 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนซึ่งเริ่มเร่งตัวชัดเจนก็เป็นปัจจัยเสริมให้การขยายตัวแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 13.2 ในปีนี้ สำหรับบทบาทของภาครัฐนั้น รายได้รัฐบาลขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ในปีงบประมาณ 2546 สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวดีโดยเฉพาะการใช้จ่ายของครัวเรือนและผลประกอบการของธุรกิจ และแม้ว่าการใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาลจะอ่อนตัวลง โดยหดตัวร้อยละ 3.5 ในปีงบประมาณ 2546 ส่วนหนึ่งเพราะความจำเป็นในการรักษาวินัยการคลังเพื่อให้สอดรับกับการฟื้นตัวของภาคเอกชนแต่ภาครัฐยังคงมีบทบาทสำคัญต่อเนื่องผ่านนโยบายทวิภาค(Dual Track Policy)ซึ่งเน้นการกระตุ้นกิจกรรมภายในประเทศของภาคเอกชน เช่น การต่ออายุมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์จนถึงสิ้นปี 2546 และการส่งเสริมความเข้มแข็งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการให้สินเชื่อและความรู้ในด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้จากต่างประเทศผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคและการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ
ในขณะเดียวกันภาคอุปทานก็สามารถตอบสนองอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ในปีนี้เทียบกับร้อยละ 8.5 ในปีก่อน ตามการขยายตัวของทั้งสินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก อาทิ ยานยนต์ ปิโตรเลียม และเครื่องดื่ม และสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก อาทิ แผงวงจรรวม อาหาร และ ยางแท่ง ส่วนในภาคเกษตร สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 0.0 ในปีก่อน และเมื่อประกอบกับราคาพืชผลที่สูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคายางพาราและข้าวหอมมะลิรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักจึงขยายตัวถึงร้อยละ 25.6 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ สำหรับภาคบริการในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงอย่างมากจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค SARS ส่งผลให้รวมทั้งปีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงร้อยละ 7.8 อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 3 และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศก็กลับมาขยายตัวเป็นปกติในไตรมาสสุดท้ายของปี
การขยายตัวสูงของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการก่อสร้างและภาคบริการซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวดีในอัตราร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานยังไม่ปรากฎเนื่องจากส่วนหนึ่งของการจ้างงานในภาคนอกเกษตรเป็นการดูดซับแรงงานจากภาคเกษตร ซึ่งการจ้างงานในภาคดังกล่าวหดตัวร้อยละ 1.2 ในปีนี้รวมทั้งยังมีแรงงานส่วนเกินอยู่
สภาพคล่องในระบบการเงินที่ยังคงมีสูงประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ในเดือนมิถุนายนจากร้อยละ 1.75 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์โน้มลดลงและอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2546ซึ่งภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของภาคเอกชน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในสินค้าคงทนและลดภาระต้นทุนกู้ยืมของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ภาวะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นชัดเจนในปีนี้ โดยสินเชื่อที่ปล่อยสู่ภาคอุตสาหกรรมการค้า และการส่งออกขยายตัวต่อเนื่องทั้งปีเป็นปีแรกนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและที่อยู่อาศัยขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อน
เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นในปี 2546 โดยทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.6 จากค่าเฉลี่ยในปี 2545 การแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศที่สำคัญได้แก่ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 116.6 ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบันจัดอันดับในต่างประเทศหลายแห่งอย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ธปท.พบว่าการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาทมิได้เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากมาจากการเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดการเงินด้วย ดังนั้น ธปท.จึงได้ออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในวันที่ 11 กันยายนและ 14 ตุลาคม 2546 ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดทั้งปี 2546 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในปีก่อนตามการเร่งตัวของราคาอาหารสดและพลังงาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.4 ในปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่โน้มลดลงต่อเนื่องเป็นสำคัญ ส่วนอัตราการว่างงานมีเพียงร้อยละ 2.2 และหนี้สาธารณะลดลงมาอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)ด้านต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลจากทั้งดุลการค้าและดุลบริการเงินโอนและรายได้ ส่งผลให้ทางการสามารถชำระคืนหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF Package)ก่อนกำหนดได้ถึงเกือบ 2 ปี อนึ่ง แม้เมื่อได้ชำระหนี้ก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยก็ยังอยู่ในเกณฑ์มั่นคง โดย ณ สิ้นปีอยู่ที่ 42.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นกว่า 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2547
เศรษฐกิจไทยในปี 2547 น่าจะขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากกาารเร่งตัวของการลงทุนภาคเอกชนตามความต้องการขยายกำลังการผลิตในประเทศ ประกอบกับแนวโน้มการส่งออกที่ยังแจ่มใสเพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐฯอยู่ในวัฎจักรฟื้นตัว สำหรับการอุโภคบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีในช่วงที่ผ่านมาน่าจะปรับตัวเข้าสู่ระดับการขยายตัวปกติ กล่าวคือมิได้ร้อนแรงนักแต่ก็ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจัยเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากงบกลาง 135.5 พันล้านบาทที่รัฐบาลตั้งไว้เป็นรายจ่ายเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้
การลงทุนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การนำเข้าเร่งตัว ดังนั้นแม้ว่าแนวโน้มการส่งออกจะดีอยู่แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลงในปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของเศรษฐกิจในช่วงขาขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับอัตราการว่างงาน
เมื่อเทียบกับปี 2546 ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2547 ลดลงเพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้นเป็นลำดับอย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นต้องจับตามองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ตลอดจนเงินสกุลอื่น ๆในภูมิภาคในระยะต่อไปนอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับก่อการร้ายในระดับนานาชาติและความผันผวนของราคาน้ำมันโลกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อน ส่วนความเสี่ยงจากภายในประเทศ ได้แก่ ความไม่สมดุลที่อาจเกิดขึ้นจากความร้องแรงในบางจุดของระบบเศรษฐกิจ เช่นการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อหนี้เพื่อการบริโภคของภาคครัวเรือน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังคงมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกแต่ก็คาดว่าทางการจะสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี2547
2. ภาวะเศรษฐกิจโลก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2546 เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักในช่วงต้นปี ขณะที่เศรษฐกิจประเทศหลักเริ่มฟื้นตัวแต่ยังไม่สมดุลนักและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2546 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ได้ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2546 และ 2547 ไว้ที่ร้อยละ 3.2 และ 4.1 ตามลำดับ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัว โดยความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและประชาชนปรับตัวดีขึ้นและส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุน อย่างไรก็ตามสหรัฐฯยังประสบกับภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ยังคงอ่อนแอและยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ.และอาจกระทบต่อเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงอ่อนแอแม้จะมีสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้วและทั้งภาคธุรกิจและประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่เศรษฐกิจก็ยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และการว่างงานยังคงสูงขึ้น ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีแนวโน้มของการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง(sustained upward trend)นอกจากนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีที่อยู่ในภาวะถดถอยเป็นปีที่ 3 ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ คาดว่าอุปสงค์จากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยช่วยเร่งการเติบโตของภูมิภาคในระยะต่อไป
เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นมากในปี 2546 โดยมีปัจจัยมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน(business fixed investment) กอปรกับภาวะทางการเงินต่าง ๆ ที่ดีขึ้น อาทิ ราคาหลักทรัพย์และพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว (moderate recovery)แต่ยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืด และปัญหาโครงสร้างภายในประเทศอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียชะลอตัวในช่วงต้นปี 2546 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักและผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุ่นแรง(SARS)อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 โดยปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย กอปรกับวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ปริมาณการค้าโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)ประมาณการว่าปริมาณการค้าโลกในปี 2546 จะขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.2 ในปี 2545 เนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรัก กอปรกับประเทศในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)
อัตราเงินเฟ้อ แรงกดดันด้านราคายังคงต่ำเนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ร้อยละ 5.9
อัตราดอกเบี้ย ในช่วงต้นปี 2546อัตราดอกเบี้ยยังคงโน้มลดลง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงร้อยละ 0.25 ในเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เนื่องจากมีความเสี่ยงว่าอาจจะเกิดปัญหาเงินฝืดขึ้น กอปรกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีความไม่แน่นอน ส่วนธนาคารกลางกลุ่มประเทศยูโรได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลง 2 ครั้งในเดือนมีนาคมและมิถุนายนรวมร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำและเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าอัตราดอกเบี้ยโลกน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วโดยธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมรวมร้อยละ 0.5 มาอยู่ร้อยละ 5.25 เนื่องจากเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ปรับตัวดีขึ้นได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวและสินเชื่อขยายตัวเร็วเกินไป นอกจากนี้ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการขยายตัวของสินเชื่อที่แข็งแกร่ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ลจ-/-ดพ-
ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2546
เศรษฐกิจไทยในปี 2546 เติบโตดี โดยขยายตัวร้อยละ 6.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.4 ในปีก่อน แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปีความไม่แน่นอนของสถานการณ์สงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอิรักและความกังวลเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชนบ้าง ทำให้มีการเลื่อนการลงทุนบางส่วนออกไประยะหนึ่ง ประกอบกับรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหดตัวค่อนข้างรุนแรง แต่เมื่อสถานการณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไปภายในไตรมาสที่ 3 เศรษฐกิจไทยก็กลับมาขยายตัวดีซึ่งบ่งชี้ถึงพื้นฐานของการฟื้นตัวที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นต่อปัจจัยลบจากภายนอกประเทศ
แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก ทั้งนี้ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 5.1 ส่วนมูลค่าการส่งออกขยายตัวสูงในอัตราร้อยละ 18.6 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนซึ่งเริ่มเร่งตัวชัดเจนก็เป็นปัจจัยเสริมให้การขยายตัวแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวประมาณร้อยละ 13.2 ในปีนี้ สำหรับบทบาทของภาครัฐนั้น รายได้รัฐบาลขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 ในปีงบประมาณ 2546 สะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวดีโดยเฉพาะการใช้จ่ายของครัวเรือนและผลประกอบการของธุรกิจ และแม้ว่าการใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาลจะอ่อนตัวลง โดยหดตัวร้อยละ 3.5 ในปีงบประมาณ 2546 ส่วนหนึ่งเพราะความจำเป็นในการรักษาวินัยการคลังเพื่อให้สอดรับกับการฟื้นตัวของภาคเอกชนแต่ภาครัฐยังคงมีบทบาทสำคัญต่อเนื่องผ่านนโยบายทวิภาค(Dual Track Policy)ซึ่งเน้นการกระตุ้นกิจกรรมภายในประเทศของภาคเอกชน เช่น การต่ออายุมาตรการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์จนถึงสิ้นปี 2546 และการส่งเสริมความเข้มแข็งของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการให้สินเชื่อและความรู้ในด้านการบริหารจัดการ เป็นต้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้จากต่างประเทศผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคและการแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ ๆ
ในขณะเดียวกันภาคอุปทานก็สามารถตอบสนองอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ในปีนี้เทียบกับร้อยละ 8.5 ในปีก่อน ตามการขยายตัวของทั้งสินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก อาทิ ยานยนต์ ปิโตรเลียม และเครื่องดื่ม และสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นหลัก อาทิ แผงวงจรรวม อาหาร และ ยางแท่ง ส่วนในภาคเกษตร สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 7.8 เทียบกับร้อยละ 0.0 ในปีก่อน และเมื่อประกอบกับราคาพืชผลที่สูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคายางพาราและข้าวหอมมะลิรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักจึงขยายตัวถึงร้อยละ 25.6 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงเป็นประวัติการณ์ สำหรับภาคบริการในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงอย่างมากจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค SARS ส่งผลให้รวมทั้งปีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศลดลงร้อยละ 7.8 อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่ 3 และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศก็กลับมาขยายตัวเป็นปกติในไตรมาสสุดท้ายของปี
การขยายตัวสูงของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการก่อสร้างและภาคบริการซึ่งสอดคล้องกับกิจกรรมการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวดีในอัตราร้อยละ 5.0 อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานยังไม่ปรากฎเนื่องจากส่วนหนึ่งของการจ้างงานในภาคนอกเกษตรเป็นการดูดซับแรงงานจากภาคเกษตร ซึ่งการจ้างงานในภาคดังกล่าวหดตัวร้อยละ 1.2 ในปีนี้รวมทั้งยังมีแรงงานส่วนเกินอยู่
สภาพคล่องในระบบการเงินที่ยังคงมีสูงประกอบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ในเดือนมิถุนายนจากร้อยละ 1.75 ต่อปีเป็นร้อยละ 1.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์โน้มลดลงและอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2546ซึ่งภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของภาคเอกชน โดยเฉพาะการใช้จ่ายในสินค้าคงทนและลดภาระต้นทุนกู้ยืมของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ภาวะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นชัดเจนในปีนี้ โดยสินเชื่อที่ปล่อยสู่ภาคอุตสาหกรรมการค้า และการส่งออกขยายตัวต่อเนื่องทั้งปีเป็นปีแรกนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลและที่อยู่อาศัยขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อน
เงินบาทโน้มแข็งค่าขึ้นในปี 2546 โดยทั้งปีเฉลี่ยอยู่ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. หรือแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.6 จากค่าเฉลี่ยในปี 2545 การแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายนอกและภายในประเทศที่สำคัญได้แก่ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังของสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 116.6 ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทยโดยสถาบันจัดอันดับในต่างประเทศหลายแห่งอย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ธปท.พบว่าการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาทมิได้เป็นผลจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากมาจากการเก็งกำไรของนักลงทุนในตลาดการเงินด้วย ดังนั้น ธปท.จึงได้ออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในวันที่ 11 กันยายนและ 14 ตุลาคม 2546 ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดทั้งปี 2546 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในปีก่อนตามการเร่งตัวของราคาอาหารสดและพลังงาน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.4 ในปีก่อนตามค่าเช่าบ้านที่โน้มลดลงต่อเนื่องเป็นสำคัญ ส่วนอัตราการว่างงานมีเพียงร้อยละ 2.2 และหนี้สาธารณะลดลงมาอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)ด้านต่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลจากทั้งดุลการค้าและดุลบริการเงินโอนและรายได้ ส่งผลให้ทางการสามารถชำระคืนหนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF Package)ก่อนกำหนดได้ถึงเกือบ 2 ปี อนึ่ง แม้เมื่อได้ชำระหนี้ก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วระดับทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยก็ยังอยู่ในเกณฑ์มั่นคง โดย ณ สิ้นปีอยู่ที่ 42.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นกว่า 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2547
เศรษฐกิจไทยในปี 2547 น่าจะขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากกาารเร่งตัวของการลงทุนภาคเอกชนตามความต้องการขยายกำลังการผลิตในประเทศ ประกอบกับแนวโน้มการส่งออกที่ยังแจ่มใสเพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะสหรัฐฯอยู่ในวัฎจักรฟื้นตัว สำหรับการอุโภคบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีในช่วงที่ผ่านมาน่าจะปรับตัวเข้าสู่ระดับการขยายตัวปกติ กล่าวคือมิได้ร้อนแรงนักแต่ก็ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องส่วนการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจัยเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากงบกลาง 135.5 พันล้านบาทที่รัฐบาลตั้งไว้เป็นรายจ่ายเพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้
การลงทุนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การนำเข้าเร่งตัว ดังนั้นแม้ว่าแนวโน้มการส่งออกจะดีอยู่แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลงในปี 2547 ซึ่งเป็นภาวะปกติของเศรษฐกิจในช่วงขาขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับอัตราการว่างงาน
เมื่อเทียบกับปี 2546 ปัจจัยเสี่ยงด้านต่างประเทศต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2547 ลดลงเพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชัดเจนขึ้นเป็นลำดับอย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นต้องจับตามองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ตลอดจนปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ตลอดจนเงินสกุลอื่น ๆในภูมิภาคในระยะต่อไปนอกจากนั้นปัญหาเกี่ยวกับก่อการร้ายในระดับนานาชาติและความผันผวนของราคาน้ำมันโลกยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อน ส่วนความเสี่ยงจากภายในประเทศ ได้แก่ ความไม่สมดุลที่อาจเกิดขึ้นจากความร้องแรงในบางจุดของระบบเศรษฐกิจ เช่นการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการก่อหนี้เพื่อการบริโภคของภาคครัวเรือน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังคงมีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกแต่ก็คาดว่าทางการจะสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี2547
2. ภาวะเศรษฐกิจโลก
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2546 เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักในช่วงต้นปี ขณะที่เศรษฐกิจประเทศหลักเริ่มฟื้นตัวแต่ยังไม่สมดุลนักและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจสหรัฐฯเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2546 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ได้ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2546 และ 2547 ไว้ที่ร้อยละ 3.2 และ 4.1 ตามลำดับ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกเริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัว โดยความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและประชาชนปรับตัวดีขึ้นและส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุน อย่างไรก็ตามสหรัฐฯยังประสบกับภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณในระดับสูง ในขณะเดียวกันตลาดแรงงานก็ยังคงอ่อนแอและยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ.และอาจกระทบต่อเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปยังคงอ่อนแอแม้จะมีสัญญาณว่าภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้วและทั้งภาคธุรกิจและประชาชนเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้น แต่เศรษฐกิจก็ยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และการว่างงานยังคงสูงขึ้น ขณะที่การผลิตในภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีแนวโน้มของการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง(sustained upward trend)นอกจากนี้ เศรษฐกิจของเยอรมนีที่อยู่ในภาวะถดถอยเป็นปีที่ 3 ยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ คาดว่าอุปสงค์จากต่างประเทศจะเป็นปัจจัยช่วยเร่งการเติบโตของภูมิภาคในระยะต่อไป
เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นมากในปี 2546 โดยมีปัจจัยมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุน(business fixed investment) กอปรกับภาวะทางการเงินต่าง ๆ ที่ดีขึ้น อาทิ ราคาหลักทรัพย์และพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อย ๆ ฟื้นตัว (moderate recovery)แต่ยังคงอยู่ในภาวะเงินฝืด และปัญหาโครงสร้างภายในประเทศอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะต่อไป
เศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียชะลอตัวในช่วงต้นปี 2546 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ อาทิความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรักและผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุ่นแรง(SARS)อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 โดยปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลาย กอปรกับวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ปริมาณการค้าโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)ประมาณการว่าปริมาณการค้าโลกในปี 2546 จะขยายตัวร้อยละ 2.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.2 ในปี 2545 เนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลกระทบจากสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรัก กอปรกับประเทศในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง(SARS)
อัตราเงินเฟ้อ แรงกดดันด้านราคายังคงต่ำเนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอยู่ที่ร้อยละ 5.9
อัตราดอกเบี้ย ในช่วงต้นปี 2546อัตราดอกเบี้ยยังคงโน้มลดลง โดยธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงร้อยละ 0.25 ในเดือนมิถุนายนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0 เนื่องจากมีความเสี่ยงว่าอาจจะเกิดปัญหาเงินฝืดขึ้น กอปรกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีความไม่แน่นอน ส่วนธนาคารกลางกลุ่มประเทศยูโรได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยทางการลง 2 ครั้งในเดือนมีนาคมและมิถุนายนรวมร้อยละ 0.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำและเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งหลังของปี 2546 นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าอัตราดอกเบี้ยโลกน่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้วโดยธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมรวมร้อยละ 0.5 มาอยู่ร้อยละ 5.25 เนื่องจากเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ปรับตัวดีขึ้นได้ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวและสินเชื่อขยายตัวเร็วเกินไป นอกจากนี้ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการขยายตัวของสินเชื่อที่แข็งแกร่ง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ลจ-/-ดพ-