ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 47 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นายกิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วย รมว.คลัง
เปิดเผยถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 47 ว่า จะสามารถเติบโตได้อีก เนื่องจากภาคการส่งออกและ
การลงทุน รวมถึงการขยายตัวของตลาดสินค้าและบริการยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจาก
ปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เติบโตถึง 8 % ได้อย่างแน่นอน ด้านการส่งออก
คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% แม้จะมีปัจจัยเรื่องค่าเงินหยวนของจีนที่มีอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่า
ความเป็นจริงประมาณ 8-10% ก็ตาม ซึ่งจีนกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่ รวมถึงการที่รัฐบาลได้ทำข้อตกลง
ทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยสามารถขยายฐานการส่งออกได้มากขึ้น ขณะที่ภาคการลงทุนภาครัฐจะเข้า
ลงทุนน้อยลง โดยจะให้เป็นการลงทุนของภาคเอกชนอย่างแท้จริง ส่วนมาตรการด้านภาษี ก.คลังจะคงดำเนิน
นโยบายตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (แนวหน้า)
2. สินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 47 มีแนวโน้มขยายตัว ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวถึงแนว
โน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 47 ว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะมีการขยายตัวได้ดีกว่าปี 46 หรือมียอด
ปล่อยกู้โดยสถาบันการเงินประมาณ 170,000-200,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-25%
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น จึงส่งผลให้รายได้ของประชาชนดีตาม ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในระบบที่ยังอยู่
ในระดับต่ำ ทำให้มีความต้องการกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยรูปแบบการแข่งขันจะยังคงเดิม คือ การใช้อัตรา
ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) (ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลกำหนดเป้าหมายผลักดันไทยให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 10 ปี นายสมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ รอง นรม. เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 10 ปีข้างหน้า
ด้วยเป้าหมายพัฒนาสังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงนาโนเทคโนโลยี
(Nano Technology) ที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วที่กำลัง
ทำกันอยู่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้านการส่งออก รัฐบาลจะผลักดันให้ขยายตัวต่อเนื่อง โดยจะเน้นให้ 4
กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ได้แก่ ก.พาณิชย์ ก.อุตสาหกรรม ก.เกษตรและสหกรณ์ และ ก.การ
ต่างประเทศ ใช้และปรับปรุงข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ ก.พาณิชย์มีข้อมูลในการวางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มการส่งออก
ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านการส่งเสริมการลงุทน ได้วางยุทธศาสตร์ให้สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุนใน
ประเทศไทยเพิ่มขึ้น ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลมีนโยบายผลักดันนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวอย่าง
ต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. และยุโรปบางประเทศขยายตัวขึ้นในเดือน ธ.ค. 46
รายงานจากชิคาโก เมื่อ 3 ม.ค. 47 ว่า จากการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ธ.ค. 46 ทั้งใน
สรอ. และยุโรปพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ฟื้นตัวขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.
ขยายตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 20 ปี อยู่ที่ระดับ 66.2 จาก 62.8 เมื่อเทียบต่อเดือน และคำสั่งซื้อใหม่ก็อยู่ใน
ระดับที่สูดสุดในรอบ 53 ปี โดย Wall Street รายงานว่าการที่อุตสาหกรรมการผลิตของโลกปรับตัวดีขึ้น
นั้นเป็นแรงผลักดันจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ขยายตัวขึ้น โดยยอดการส่งออกในหลาย ๆ อุตสาหกรรมของ สรอ. อยู่ในอัตราที่เร่งขึ้นส่งผลให้โรงงาน
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
อื่น นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีและอังกฤษก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ส่วนฝรั่งเศส อิตาลี และ
สเปนยังคงชะลอตัว แต่ประเทศในแถบเอเชียอุตสาหกรรมการผลิตยังอยู่ในช่วงรอยต่อของการฟื้นตัว
(รอยเตอร์)
2. ความคืบหน้าในการลดการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 4 ม.ค.46
รมต.เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเปิดเผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะลดการขาดดุลงบประมาณเบื้องต้น (primary
balance) โดยมุ่งที่จะทำให้รายได้และค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมการออกพันธบัตรและรายจ่ายดอกเบี้ย
สมดุลภายในต้นปี 53 หลังจากที่ขาดดุลงบประมาณเบื้องต้นถึงประมาณร้อยละ 5.4 ของผลผลิตรวมในประเทศ
หรือ GDP ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเป็นที่ชัดเจนว่าการขาดดุลงบประมาณเบื้องต้นจะลดลงในปีงบประมาณ
หน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.47 โดยเมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลได้ร่างงบประมาณสำหรับปีหน้าจำนวน 82.11
ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากปีงบประมาณปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้ได้รวมการออกพันธบัตรมูลค่า
36.59 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจาก 36.45 ล้านล้านเยนในปีนี้ โดยปัจจุบันสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณเบื้อง
ต้นต่อ GDP อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องลดการงบดุลงบประมาณให้ได้อย่างน้อย
ร้อยละ 0.5 ทุกปี จึงจะทำให้งบประมาณเบื้องต้นสมดุลได้ภายในปี 53 และคาดว่าจะสามารถลดการขาดดุล
งบประมาณเบื้องต้นได้มากกว่าร้อยละ 0.5 ในปีงบประมาณหน้าซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.8
(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่า PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 5 ม.ค.47 ผลสำรวจรอยเตอร์พบว่า Purchasing Managers’ Index (PMI)
ของญี่ปุ่นยังคงขยายตัวต่อเนื่องจนถึงเดือน ธ.ค.46 แม้จะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยในเดือน ธ.ค.46
อยู่ที่ระดับ 56.0 ลดลงจากระดับ 56.4 ในเดือน พ.ย.46 อันเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจในเดือน
ต.ค.44 อย่างไรก็ตาม ดัชนี PMI ในเดือน ธ.ค.46 ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากเดือน
พ.ย.46 และอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทั้งนี้ ดัชนี PMI ที่อยู่เหนือกว่าระดับ 50 แสดง
ถึงกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมที่ขยายตัว และหากตรงกันข้ามแสดงว่าอยู่ในภาวะหดตัว สำหรับปัจจัยหลักที่ส่งผล
ให้ตัวเลข PMI เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ ผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ โดยผลสำรวจดัชนีผล
ผลิตในเดือน ธ.ค.46 อยู่ที่ระดับ 58.8 ลดลงจากระดับ 59.5 ในเดือน พ.ย.46 แต่ยังคงเป็นตัวเลขที่
ขยายตัวเป็นอันดับสองตั้งแต่มีผลสำรวจมาและเป็นเดือนที่ 7 ที่ขยายตัว ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในเดือน
ธ.ค.46 อยู่ที่ระดับ 60.2 ลดลงจากระดับ 61.4 ในเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 เป็นเดือนที่ 7
(รอยเตอร์)
4. คาดว่าผู้ว่างงานของเยอรมนีในเดือนธ.ค. 46 จะสูงถึง 4.31 ล้านคนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 40
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 47 ก.แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ได้คาดการณ์ตัวเลขเบื้องต้น
จำนวนผู้ว่างงานของเยอรมนีในเดือนธ.ค. 46 จะสูงถึง 4.31 ล้านคนเพิ่มขึ้น ประมาณ 125,000 คน จาก
เดือนพ.ย. ที่มีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 4.184 ล้านคน (ตัวเลขก่อนปรับ) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก
ประชากรในวัยทำงานของเยอรมนี การว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากดังกล่าวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวที่ไม่มีงานชั่ว
คราวทางด้านเกษตรกรรมและการก่อสร้าง และจากผลการสำรวจจำนวนผู้ว่างงานของรอยเตอร์คาดว่าใน
เดือน ธ.ค. จะมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึงระดับ 4.3 ล้านคนและคาดว่าหลังจากปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วจำนวนผู้ว่างงานจะลดลงประมาณ 9,500 คน อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ว่างงานในเดือน พ.ย.หลังจากปรับ
ตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ระดับ 4.363 ล้านคน ลดลง 18,000 คนนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
แต่เศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอเกินกว่าที่จะมีการจ้างงานใหม่ ทั้งรัฐบาลเยอรมนีและก. แรงงานได้
พยายามปฎิรูปตลาดแรงงานโดยให้มีการจ้างงานแบบ Part-time และฝึกอบรมแรงงานเพื่อให้มีการจ้างงาน
ส่วนตัว นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้คาดหวังว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งหลังปี 47 ทั้งนี้ ก.แรง
งานมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันที่พฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5/1/2547 31/12/3089 27/12/3088 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.622 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4435/39.7378 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2800 - 1.3000 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 772.15/41.74 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.17 28.66 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 30 ส.ต./สิตร เมื่อ 16 ธ.ค. 46 17.29*/14.39 17.29*/14.39 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 47 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง นายกิตติ ลิ่มสกุล ผู้ช่วย รมว.คลัง
เปิดเผยถึงแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 47 ว่า จะสามารถเติบโตได้อีก เนื่องจากภาคการส่งออกและ
การลงทุน รวมถึงการขยายตัวของตลาดสินค้าและบริการยังคงมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจาก
ปัจจัยดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เติบโตถึง 8 % ได้อย่างแน่นอน ด้านการส่งออก
คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10% แม้จะมีปัจจัยเรื่องค่าเงินหยวนของจีนที่มีอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่า
ความเป็นจริงประมาณ 8-10% ก็ตาม ซึ่งจีนกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาอยู่ รวมถึงการที่รัฐบาลได้ทำข้อตกลง
ทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ทำให้ไทยสามารถขยายฐานการส่งออกได้มากขึ้น ขณะที่ภาคการลงทุนภาครัฐจะเข้า
ลงทุนน้อยลง โดยจะให้เป็นการลงทุนของภาคเอกชนอย่างแท้จริง ส่วนมาตรการด้านภาษี ก.คลังจะคงดำเนิน
นโยบายตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลง (แนวหน้า)
2. สินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 47 มีแนวโน้มขยายตัว ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวถึงแนว
โน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 47 ว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะมีการขยายตัวได้ดีกว่าปี 46 หรือมียอด
ปล่อยกู้โดยสถาบันการเงินประมาณ 170,000-200,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 20-25%
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น จึงส่งผลให้รายได้ของประชาชนดีตาม ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในระบบที่ยังอยู่
ในระดับต่ำ ทำให้มีความต้องการกู้เงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย โดยรูปแบบการแข่งขันจะยังคงเดิม คือ การใช้อัตรา
ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) (ผู้จัดการรายวัน)
3. รัฐบาลกำหนดเป้าหมายผลักดันไทยให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 10 ปี นายสมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ รอง นรม. เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 10 ปีข้างหน้า
ด้วยเป้าหมายพัฒนาสังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ เน้นพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงนาโนเทคโนโลยี
(Nano Technology) ที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยแบบก้าวกระโดด เช่นเดียวกับประเทศพัฒนาแล้วที่กำลัง
ทำกันอยู่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้านการส่งออก รัฐบาลจะผลักดันให้ขยายตัวต่อเนื่อง โดยจะเน้นให้ 4
กระทรวงหลักที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ได้แก่ ก.พาณิชย์ ก.อุตสาหกรรม ก.เกษตรและสหกรณ์ และ ก.การ
ต่างประเทศ ใช้และปรับปรุงข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ ก.พาณิชย์มีข้อมูลในการวางยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มการส่งออก
ของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านการส่งเสริมการลงุทน ได้วางยุทธศาสตร์ให้สำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะบรรษัทข้ามชาติให้เข้ามาลงทุนใน
ประเทศไทยเพิ่มขึ้น ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลมีนโยบายผลักดันนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวอย่าง
ต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. และยุโรปบางประเทศขยายตัวขึ้นในเดือน ธ.ค. 46
รายงานจากชิคาโก เมื่อ 3 ม.ค. 47 ว่า จากการสำรวจอุตสาหกรรมการผลิตในเดือน ธ.ค. 46 ทั้งใน
สรอ. และยุโรปพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ฟื้นตัวขึ้น โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.
ขยายตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 20 ปี อยู่ที่ระดับ 66.2 จาก 62.8 เมื่อเทียบต่อเดือน และคำสั่งซื้อใหม่ก็อยู่ใน
ระดับที่สูดสุดในรอบ 53 ปี โดย Wall Street รายงานว่าการที่อุตสาหกรรมการผลิตของโลกปรับตัวดีขึ้น
นั้นเป็นแรงผลักดันจากการที่ภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ขยายตัวขึ้น โดยยอดการส่งออกในหลาย ๆ อุตสาหกรรมของ สรอ. อยู่ในอัตราที่เร่งขึ้นส่งผลให้โรงงาน
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก
อื่น นอกจากนี้อุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีและอังกฤษก็ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ส่วนฝรั่งเศส อิตาลี และ
สเปนยังคงชะลอตัว แต่ประเทศในแถบเอเชียอุตสาหกรรมการผลิตยังอยู่ในช่วงรอยต่อของการฟื้นตัว
(รอยเตอร์)
2. ความคืบหน้าในการลดการขาดดุลงบประมาณของญี่ปุ่น รายงานจากโตเกียว เมื่อ 4 ม.ค.46
รมต.เศรษฐกิจของญี่ปุ่นเปิดเผยว่ารัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะลดการขาดดุลงบประมาณเบื้องต้น (primary
balance) โดยมุ่งที่จะทำให้รายได้และค่าใช้จ่ายพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมการออกพันธบัตรและรายจ่ายดอกเบี้ย
สมดุลภายในต้นปี 53 หลังจากที่ขาดดุลงบประมาณเบื้องต้นถึงประมาณร้อยละ 5.4 ของผลผลิตรวมในประเทศ
หรือ GDP ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเป็นที่ชัดเจนว่าการขาดดุลงบประมาณเบื้องต้นจะลดลงในปีงบประมาณ
หน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.47 โดยเมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลได้ร่างงบประมาณสำหรับปีหน้าจำนวน 82.11
ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากปีงบประมาณปัจจุบัน โดยในจำนวนนี้ได้รวมการออกพันธบัตรมูลค่า
36.59 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นจาก 36.45 ล้านล้านเยนในปีนี้ โดยปัจจุบันสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณเบื้อง
ต้นต่อ GDP อยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องลดการงบดุลงบประมาณให้ได้อย่างน้อย
ร้อยละ 0.5 ทุกปี จึงจะทำให้งบประมาณเบื้องต้นสมดุลได้ภายในปี 53 และคาดว่าจะสามารถลดการขาดดุล
งบประมาณเบื้องต้นได้มากกว่าร้อยละ 0.5 ในปีงบประมาณหน้าซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.8
(รอยเตอร์)
3. ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่า PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค.46 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 5 ม.ค.47 ผลสำรวจรอยเตอร์พบว่า Purchasing Managers’ Index (PMI)
ของญี่ปุ่นยังคงขยายตัวต่อเนื่องจนถึงเดือน ธ.ค.46 แม้จะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยในเดือน ธ.ค.46
อยู่ที่ระดับ 56.0 ลดลงจากระดับ 56.4 ในเดือน พ.ย.46 อันเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจในเดือน
ต.ค.44 อย่างไรก็ตาม ดัชนี PMI ในเดือน ธ.ค.46 ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากเดือน
พ.ย.46 และอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ทั้งนี้ ดัชนี PMI ที่อยู่เหนือกว่าระดับ 50 แสดง
ถึงกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมที่ขยายตัว และหากตรงกันข้ามแสดงว่าอยู่ในภาวะหดตัว สำหรับปัจจัยหลักที่ส่งผล
ให้ตัวเลข PMI เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือ ผลผลิตอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ โดยผลสำรวจดัชนีผล
ผลิตในเดือน ธ.ค.46 อยู่ที่ระดับ 58.8 ลดลงจากระดับ 59.5 ในเดือน พ.ย.46 แต่ยังคงเป็นตัวเลขที่
ขยายตัวเป็นอันดับสองตั้งแต่มีผลสำรวจมาและเป็นเดือนที่ 7 ที่ขยายตัว ส่วนคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ในเดือน
ธ.ค.46 อยู่ที่ระดับ 60.2 ลดลงจากระดับ 61.4 ในเดือนก่อน แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 เป็นเดือนที่ 7
(รอยเตอร์)
4. คาดว่าผู้ว่างงานของเยอรมนีในเดือนธ.ค. 46 จะสูงถึง 4.31 ล้านคนสูงสุดนับตั้งแต่ปี 40
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 47 ก.แรงงานเยอรมนีเปิดเผยว่า ได้คาดการณ์ตัวเลขเบื้องต้น
จำนวนผู้ว่างงานของเยอรมนีในเดือนธ.ค. 46 จะสูงถึง 4.31 ล้านคนเพิ่มขึ้น ประมาณ 125,000 คน จาก
เดือนพ.ย. ที่มีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 4.184 ล้านคน (ตัวเลขก่อนปรับ) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก
ประชากรในวัยทำงานของเยอรมนี การว่างงานที่เพิ่มขึ้นมากดังกล่าวเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวที่ไม่มีงานชั่ว
คราวทางด้านเกษตรกรรมและการก่อสร้าง และจากผลการสำรวจจำนวนผู้ว่างงานของรอยเตอร์คาดว่าใน
เดือน ธ.ค. จะมีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นถึงระดับ 4.3 ล้านคนและคาดว่าหลังจากปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วจำนวนผู้ว่างงานจะลดลงประมาณ 9,500 คน อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ว่างงานในเดือน พ.ย.หลังจากปรับ
ตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอยู่ที่ระดับ 4.363 ล้านคน ลดลง 18,000 คนนับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
แต่เศรษฐกิจก็ยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอเกินกว่าที่จะมีการจ้างงานใหม่ ทั้งรัฐบาลเยอรมนีและก. แรงงานได้
พยายามปฎิรูปตลาดแรงงานโดยให้มีการจ้างงานแบบ Part-time และฝึกอบรมแรงงานเพื่อให้มีการจ้างงาน
ส่วนตัว นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้คาดหวังว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวจนกว่าจะถึงช่วงครึ่งหลังปี 47 ทั้งนี้ ก.แรง
งานมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันที่พฤหัสบดีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5/1/2547 31/12/3089 27/12/3088 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.622 43.24 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.4435/39.7378 42.9993/43.3039 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2800 - 1.3000 1.8750-1.9375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 772.15/41.74 356.48/3.27 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,000/7,100 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 28.17 28.66 27.65 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 30 ส.ต./สิตร เมื่อ 16 ธ.ค. 46 17.29*/14.39 17.29*/14.39 16.19/14.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-