ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ในปี 2546 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.6 และราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.7 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงเป้าหมายร้อยละ 0-3.5 ของนโยบายการเงิน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ได้แก่
(1) การลดลงอย่างต่อเนื่องของค่าเช่าบ้านในหมวดเคหสถาน ส่วนหนึ่งเพราะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจูงใจให้ประชาชนซื้อบ้านเป็นของตนเองแทนการเช่า
(2) ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากเฉลี่ย 43.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในปี 2545 เป็น 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในปี 2546 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทลดลง
(3) ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาสินค้าไว้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด
(4) การที่รัฐเข้ามาดูแลราคาสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชนบางรายการ เช่นค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน และค่าเล่าเรียน ทำให้ราคาของสินค้าในกลุ่มนี้ไม่สูงขึ้นมาก
อย่างไรก็ดี มีราคาสินค้าบางหมวดที่เพิ่มขึ้นมากในปีนี้ ได้แก่ สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแห้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามความต้องการข้าวหอมมะลิเพื่อส่งออกที่เพิ่ม่ขึ้น รวมทั้งสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
โดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงานเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในปี 2546 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 10.9 5.8 และ 2.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวเปลือกและยางพาราเพราะผลจากนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
ส่วนสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นตามราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซธรรมชาติและแร่โลหะ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย---ดพ-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ได้แก่
(1) การลดลงอย่างต่อเนื่องของค่าเช่าบ้านในหมวดเคหสถาน ส่วนหนึ่งเพราะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจูงใจให้ประชาชนซื้อบ้านเป็นของตนเองแทนการเช่า
(2) ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากเฉลี่ย 43.00 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในปี 2545 เป็น 41.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ในปี 2546 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทลดลง
(3) ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาสินค้าไว้เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด
(4) การที่รัฐเข้ามาดูแลราคาสินค้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชนบางรายการ เช่นค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน และค่าเล่าเรียน ทำให้ราคาของสินค้าในกลุ่มนี้ไม่สูงขึ้นมาก
อย่างไรก็ดี มีราคาสินค้าบางหมวดที่เพิ่มขึ้นมากในปีนี้ ได้แก่ สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแห้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ตามความต้องการข้าวหอมมะลิเพื่อส่งออกที่เพิ่ม่ขึ้น รวมทั้งสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น
โดยรวม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดและพลังงานเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ในปี 2546 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.6 ในปีก่อน โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 10.9 5.8 และ 2.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นตามราคาข้าวเปลือกและยางพาราเพราะผลจากนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
ส่วนสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นตามราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ก๊าซธรรมชาติและแร่โลหะ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย---ดพ-