ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแถลงว่า ในวันนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแนวทางการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามที่กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ โดยแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นแผนระยะปานกลาง 5-10 ปีนี้ เกิดขึ้นเนื่องมาจากรัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศมาโดยตลอด จนขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศได้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตไปแล้ว และดีขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากได้มีการคืนเงินกู้ให้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก่อนกำหนด กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรที่จะได้มีการจัด ระบบสถาบันการเงินเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่จำเป็นของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เสริมสร้างระบบการเงินให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ สามารถแข่งขันได้ สร้างความสมดุลระหว่างตลาดสินเชื่อ และตลาดทุน และส่งเสริมกลไกให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองและความเป็นธรรม โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมบริการทางการเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งไม่ได้รับบริการจากธนาคารพาณิชย์อย่างทั่วถึง และส่งเสริมการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อตอบสนองความต้องการบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน และปรับบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สามารถให้บริการได้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดย
1.1 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมบริการทางการเงินระดับรากหญ้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และจะมอบหมายให้ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เข้าทำหน้าที่ในลักษณะของธนาคารชุมชนกลาง เพื่อทำหน้าที่ช่วยบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน (Matching Fund) ให้กับองค์กรการเงินชุมชน ช่วยจัดอันดับ (Rating) องค์กรการเงินชุมชน และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการธนาคาร (Banking skill) ให้แก่องค์กรการเงิน
1.2 ส่งเสริมให้สถาบันการเงินพาณิชย์ที่มีอยู่แล้วให้บริการทางการเงิน แก่ผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่สนใจจัดทำโครงการนำร่อง เพื่อให้บริการทางการเงินเชิงพาณิชย์แก่ผู้มีรายได้น้อย
2. ส่งเสริมการให้บริการทางการเงิน (Core Banking)
2.1 ปรับรูปแบบสถาบันการเงินไทย โดยกำหนดให้มีธนาคารพาณิชย์เพียง 2 ประเภท คือ
2.1.1 ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ เพื่อให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าได้ทุกกลุ่มและทำธุรกรรมทางการเงินได้เกือบทุกประเภท ยกเว้น การจำหน่าย (Underwriting) การเป็นนายหน้า (Brokering ) และผู้ค้า (Trading) ตราสารทุน รวมทั้งการออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือประกันชีวิต (Insurance Underwriting) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์บริษัทประกันภัยต่างๆ ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเหล่านี้
2.1.2 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เพื่อเน้นให้สินเชื่อและบริการทางการเงินอื่นๆ แก่กลุ่ม SMEs และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีธุรกรรมหลักคือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อ SMEs เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการควบรวมกันเองระหว่างบริษัทเงินทุนหรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือควบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อปรับฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ (Full-Service Bank) ถ้ามีเงินกองทุนขั้นต่ำ 5,000 ล้านบาท
2.2 ปรับบทบาทสถาบันการเงินต่างชาติ
2.2.1 สนับสนุนให้สถาบันการเงินต่างชาติแต่ละแห่งดำเนินธุรกิจการเงินในประเทศไทยเพียง 1 สถานะ โดยให้เลือกว่าจะอยู่ในรูปของ Hybrid bank, Subsidiary หรือสาขา
2.2.2 การให้ใบอนุญาตแก่ธนาคารต่างชาติรายใหม่เพื่อเปิดสาขาในประเทศ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเมื่อมีความจำเป็น หรือพ้นระยะเวลา3 ปีแรก สำหรับการจัดตั้ง Subsidiary และการพิจารณาให้ใบอนุญาตแก่ธนาคารต่างชาติเพื่อเปิดสาขาในประเทศเพิ่มขึ้น นั้น กระทรวงการคลังจะได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต่อไป
3. มาตรการเพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดย
3.1 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดยจัดให้มีระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินในภาพรวมในลักษณะของกลุ่มธุรกิจการเงิน (Conglomerate Supervision) ในรูปแบบของคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินเป็นกรรมการ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่เป็นเลขานุการ และคณะกรรมการชุดนี้สามารถที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลในแต่ละด้าน อีกทั้ง จะมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบองค์กรให้มีความเหมาะสมต่อไปด้วย และปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2546 เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Bureau)
3.2 แก้ไขอุปสรรคของการควบรวมกันระหว่างสถาบันการเงิน โดยกระทรวงการคลัง จะได้พิจารณามาตรการสนับสนุนการควบรวมที่เหมาะสมต่อไป
3.3 ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่ขัดขวางการพัฒนาประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดย
3.3.1 ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการเปิดสาขาในเขตที่มีธนาคารพาณิชย์หนาแน่น ต้องกระจายการเปิดสาขาออกไปยังอำเภอรอบนอกด้วย และปรับเงื่อนไขเรื่องการปิดสาขาแห่งสุดท้ายในเขตอำเภอหนึ่งๆ ให้ยืดหยุ่นขึ้น
3.3.2 ผ่อนปรนเงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคต้องให้สินเชื่อในภูมิภาคนั้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินฝาก
3.3.3 ผ่อนปรนการกำหนดจำนวนบุคลากรชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงานในธนาคารพาณิชย์
3.3.4 ปรับลดเงื่อนไขที่กำหนดให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติให้สินเชื่อไปในทางที่มิใช่เพื่อการนำเข้าสินค้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเงินฝากและเงินกู้ยืมในประเทศให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
3.3.5 ปรับกระบวนการพิจารณาอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกรรมใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการอนุญาตเป็นรายกลุ่มแทนการอนุญาตเป็นรายธุรกรรม
3.4 ส่งเสริมกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค
3.4.1 ให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งจัดให้มีกระบวนการร้องเรียนของผู้บริโภคอย่างชัดเจน
3.4.2 กระทรวงการคลังจะได้พิจารณานำระบบประกันเงินฝากมาใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น ความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงิน ประสิทธิภาพของระบบการกำกับดูแล และหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ความเข้าใจและความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประชาชน
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมั่นใจว่า การดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะเป็นการสร้างฉนวนป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ และจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น รวมทั้งจะเป็นการจัดระเบียบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพให้กับระบบสถาบันการเงินในระยะยาว
หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0 -2356 -7833 ในระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2547 ถึง 14 มกราคม 2547 ยกเว้นวันหยุดราชการ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 1/2547 6 มกราคม 2547--
-รก-
1. ส่งเสริมบริการทางการเงินให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งไม่ได้รับบริการจากธนาคารพาณิชย์อย่างทั่วถึง และส่งเสริมการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรการเงินชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อตอบสนองความต้องการบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน และปรับบทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สามารถให้บริการได้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดย
1.1 กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมบริการทางการเงินระดับรากหญ้า โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และจะมอบหมายให้ธนาคารออมสินหรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เข้าทำหน้าที่ในลักษณะของธนาคารชุมชนกลาง เพื่อทำหน้าที่ช่วยบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน (Matching Fund) ให้กับองค์กรการเงินชุมชน ช่วยจัดอันดับ (Rating) องค์กรการเงินชุมชน และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการธนาคาร (Banking skill) ให้แก่องค์กรการเงิน
1.2 ส่งเสริมให้สถาบันการเงินพาณิชย์ที่มีอยู่แล้วให้บริการทางการเงิน แก่ผู้มีรายได้น้อยทั้งในเมืองและชนบท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่สนใจจัดทำโครงการนำร่อง เพื่อให้บริการทางการเงินเชิงพาณิชย์แก่ผู้มีรายได้น้อย
2. ส่งเสริมการให้บริการทางการเงิน (Core Banking)
2.1 ปรับรูปแบบสถาบันการเงินไทย โดยกำหนดให้มีธนาคารพาณิชย์เพียง 2 ประเภท คือ
2.1.1 ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ เพื่อให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าได้ทุกกลุ่มและทำธุรกรรมทางการเงินได้เกือบทุกประเภท ยกเว้น การจำหน่าย (Underwriting) การเป็นนายหน้า (Brokering ) และผู้ค้า (Trading) ตราสารทุน รวมทั้งการออกกรมธรรม์ประกันภัยหรือประกันชีวิต (Insurance Underwriting) ซึ่งเป็นธุรกรรมที่บริษัทหลักทรัพย์บริษัทประกันภัยต่างๆ ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเหล่านี้
2.1.2 ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย เพื่อเน้นให้สินเชื่อและบริการทางการเงินอื่นๆ แก่กลุ่ม SMEs และกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีธุรกรรมหลักคือ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อ SMEs เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการควบรวมกันเองระหว่างบริษัทเงินทุนหรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือควบรวมเข้าด้วยกัน เพื่อปรับฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ (Full-Service Bank) ถ้ามีเงินกองทุนขั้นต่ำ 5,000 ล้านบาท
2.2 ปรับบทบาทสถาบันการเงินต่างชาติ
2.2.1 สนับสนุนให้สถาบันการเงินต่างชาติแต่ละแห่งดำเนินธุรกิจการเงินในประเทศไทยเพียง 1 สถานะ โดยให้เลือกว่าจะอยู่ในรูปของ Hybrid bank, Subsidiary หรือสาขา
2.2.2 การให้ใบอนุญาตแก่ธนาคารต่างชาติรายใหม่เพื่อเปิดสาขาในประเทศ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาเมื่อมีความจำเป็น หรือพ้นระยะเวลา3 ปีแรก สำหรับการจัดตั้ง Subsidiary และการพิจารณาให้ใบอนุญาตแก่ธนาคารต่างชาติเพื่อเปิดสาขาในประเทศเพิ่มขึ้น นั้น กระทรวงการคลังจะได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต่อไป
3. มาตรการเพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดย
3.1 ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดยจัดให้มีระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินในภาพรวมในลักษณะของกลุ่มธุรกิจการเงิน (Conglomerate Supervision) ในรูปแบบของคณะกรรมการที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน มีผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานกำกับสถาบันการเงินเป็นกรรมการ และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่เป็นเลขานุการ และคณะกรรมการชุดนี้สามารถที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลในแต่ละด้าน อีกทั้ง จะมีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบองค์กรให้มีความเหมาะสมต่อไปด้วย และปรับปรุงพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2546 เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลเครดิต (Credit Bureau)
3.2 แก้ไขอุปสรรคของการควบรวมกันระหว่างสถาบันการเงิน โดยกระทรวงการคลัง จะได้พิจารณามาตรการสนับสนุนการควบรวมที่เหมาะสมต่อไป
3.3 ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ที่ขัดขวางการพัฒนาประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน โดย
3.3.1 ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการเปิดสาขาในเขตที่มีธนาคารพาณิชย์หนาแน่น ต้องกระจายการเปิดสาขาออกไปยังอำเภอรอบนอกด้วย และปรับเงื่อนไขเรื่องการปิดสาขาแห่งสุดท้ายในเขตอำเภอหนึ่งๆ ให้ยืดหยุ่นขึ้น
3.3.2 ผ่อนปรนเงื่อนไขที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ในภูมิภาคต้องให้สินเชื่อในภูมิภาคนั้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของเงินฝาก
3.3.3 ผ่อนปรนการกำหนดจำนวนบุคลากรชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงานในธนาคารพาณิชย์
3.3.4 ปรับลดเงื่อนไขที่กำหนดให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างชาติให้สินเชื่อไปในทางที่มิใช่เพื่อการนำเข้าสินค้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเงินฝากและเงินกู้ยืมในประเทศให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
3.3.5 ปรับกระบวนการพิจารณาอนุญาตให้สถาบันการเงินประกอบธุรกรรมใหม่ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยการอนุญาตเป็นรายกลุ่มแทนการอนุญาตเป็นรายธุรกรรม
3.4 ส่งเสริมกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค
3.4.1 ให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งจัดให้มีกระบวนการร้องเรียนของผู้บริโภคอย่างชัดเจน
3.4.2 กระทรวงการคลังจะได้พิจารณานำระบบประกันเงินฝากมาใช้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น ความเข้มแข็งของระบบสถาบันการเงิน ประสิทธิภาพของระบบการกำกับดูแล และหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ความเข้าใจและความเชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินของประชาชน
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยมั่นใจว่า การดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินจะเป็นการสร้างฉนวนป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ และจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น รวมทั้งจะเป็นการจัดระเบียบเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเสถียรภาพให้กับระบบสถาบันการเงินในระยะยาว
หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0 -2356 -7833 ในระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2547 ถึง 14 มกราคม 2547 ยกเว้นวันหยุดราชการ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 1/2547 6 มกราคม 2547--
-รก-