นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ในวันนี้ นาย ซาดาคาสุ ทานิกากิ (Mr. Sadakazu Tanigaki) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้หารือในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญต่างๆดังต่อไปนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจ: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศมีความเห็นสอดคล้องกันว่าภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มในการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ซึ่ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงความยินดีที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นได้บ่งชี้ถึงการปรับตัวที่ดีขึ้น
ในโอกาสเดียวกันนี้ นาย ซาดาคาสุ ทานิกากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่นก็ได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการคลังของไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างดงาม ซึ่ง ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้อธิบายถึงการดำเนินนโยบายว่าความสำเร็จเกิดจากการจัดเก็บรายได้ภาษีอากรเกินเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และการจัดการด้านการเบิกจ่ายได้เป็นไปตามแผนการใช้เงิน และมีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ภายในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ถึง 3 ปี
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศได้ยืนยันการสนับสนุนการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียให้คืบหน้าโดยเร็ว เนื่องจากเห็นว่ามาตรการริเริ่มดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับภาครัฐและภาคเอกชนในระยะยาว ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นรากฐานในการส่งเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป พร้อมกันนี้ ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวว่ากระทรวงการคลังกำลังเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎระเบียบอันจะช่วยทำให้การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียดำเนินการได้อย่างสะดวกต่อไป
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiangmai Initiative :CMI): รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศมีความเห็นร่วมกันว่าความตกลงในการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Swap Arrangement) เป็นความร่วมมือทางการเงินที่ดี ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นของประเทศคู่สัญญา และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเสถียรภาพของค่าเงิน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศเห็นควรให้มีการพิจารณาขยายความร่วมมือในการจัดทำความตกลงในการแลกเปลี่ยนเงินตราจากเดิมที่เป็นสัญญาแบบทวิภาคีให้เป็นพหุภาคีต่อไป
4. การเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศสนับสนุนให้มีการดำเนินการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสอง
ทั้งนี้ การหารือดังกล่าว ทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศทั้งสองสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น อันจะทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียสามารถดำเนินต่อไป ให้เกิดมรรคผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 2/2547 7 มกราคม 2547--
-รก-
1. สภาวะเศรษฐกิจ: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศมีความเห็นสอดคล้องกันว่าภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคมีแนวโน้มในการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ซึ่ง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงความยินดีที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นได้บ่งชี้ถึงการปรับตัวที่ดีขึ้น
ในโอกาสเดียวกันนี้ นาย ซาดาคาสุ ทานิกากิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่นก็ได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายการคลังของไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างดงาม ซึ่ง ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้อธิบายถึงการดำเนินนโยบายว่าความสำเร็จเกิดจากการจัดเก็บรายได้ภาษีอากรเกินเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และการจัดการด้านการเบิกจ่ายได้เป็นไปตามแผนการใช้เงิน และมีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้ภายในปีงบประมาณ 2548 ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ถึง 3 ปี
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศได้ยืนยันการสนับสนุนการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียให้คืบหน้าโดยเร็ว เนื่องจากเห็นว่ามาตรการริเริ่มดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งระดมทุนสำหรับภาครัฐและภาคเอกชนในระยะยาว ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นรากฐานในการส่งเสริมความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป พร้อมกันนี้ ร.อ. สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวว่ากระทรวงการคลังกำลังเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎระเบียบอันจะช่วยทำให้การพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียดำเนินการได้อย่างสะดวกต่อไป
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiangmai Initiative :CMI): รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศมีความเห็นร่วมกันว่าความตกลงในการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Swap Arrangement) เป็นความร่วมมือทางการเงินที่ดี ซึ่งจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นของประเทศคู่สัญญา และมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเสถียรภาพของค่าเงิน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศเห็นควรให้มีการพิจารณาขยายความร่วมมือในการจัดทำความตกลงในการแลกเปลี่ยนเงินตราจากเดิมที่เป็นสัญญาแบบทวิภาคีให้เป็นพหุภาคีต่อไป
4. การเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทั้งสองประเทศสนับสนุนให้มีการดำเนินการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศทั้งสอง
ทั้งนี้ การหารือดังกล่าว ทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศทั้งสองสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น อันจะทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียสามารถดำเนินต่อไป ให้เกิดมรรคผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 2/2547 7 มกราคม 2547--
-รก-